ไม่เห็นด้วยกับบทความไม่ควรยุบ รร.ขนาดเล็ก ใน นสพ.มติชน

กระทู้สนทนา
ได้อ่านบทความเรื่องโรงเรียนขนาดเล็กใน นสพ.มติชน วันที่ 6 มีนา เรื่องการคัดค้านการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก แล้วไม่เห็นด้วยหลาย ๆ ประการ
บทความครึ่งหน้าหนังสือพิมพ์ผู้เขียนให้ข้อมูลไม่รอบด้าน ให้แต่ข้อมูลที่สนับสนุนตัวเองเป็นหลัก และมีอคติปนอยู่เยอะมาก
นี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวที่ได้ข้อจากพื้นที่ในจังหวัดสุพรรณเรื่องโรงเรียนขนาดเล็ก
ผมเองอยากให้ยุบหลาย ๆ โรง ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ เพราะบางโรงมีเ็ด็กนักเรียนต่ำกว่า 30 คน บางโรงมีแค่ 20 ต้น ๆ ด้วยซ้ำ
ทำไมต้องยุบ ผมมองว่าโอกาสที่เด็กนักเรียนที่จะเพิ่มนั้นไม่มีอีกแล้ว เพราะในพื้นที่สุพรรณ อัตราการเกิดหรือการย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ต่ำมาก มีแต่ย้ายออกไปอยู่เมืองใหญ่ หรือนิคมอุตสหกรรม จึงไม่มีโอกาสที่เด็กจะมีเพิ่มในโรงเรียนขนาดเล็ก ทำต่อไปก็จะยุบไปเองโดยปริยาย จึงควรยุบไปรวมกับโรงเรียนใกล้เคียง เพราะโรงเรียนประถมในระดับหมู่บ้าน ตำบลมีมาก และระบะทางไม่เกิน 5 กม. สำหรับต่างจังหวัด ระยะทาง 5 กม.เป็นระยะทางที่สั้นมาก ขี่รถมอเตอร์ไซด์แป๊ปเดียวก็ถึง

เมื่อเด็กน้อย ครูก็น้อยตาม ตามอัตรากำลัง หลาย ๆ โรง มีครูแค่ 2 คน รวม ผอ.อีก1 ก็เป็น 3 อาจจะมีครูจ้างสอน หรือนักการที่ยังไม่เกษียณเหลืออยู่ แน่นอน ครูที่สอนไม่ตรงวิชาเอกแน่ และไม่ครบชั้นอีกต่างหาก

เมื่อมีเด็กน้อย กิจกรรมหลาย ๆ จัดได้ยาก เช่นกีฬา ลูกเสือ ทั้งโรงเรียนมีเด็กแค่ 20 กว่า ๆ จะเตะฟุตบอลยังลำบากเลยครับ ฝึกลูกเสือเข้าแถวเป็นหมู่ก็ลำบากจัง จะจัดกิจกรรมอื่น ๆ นอกห้องเรียนก็ลำบาก เพราะกระทรวงจัดงบประมาณแบบรายหัว เมื่อเด็กน้อย เิงินงบประมาณก็น้อยลงไปด้วย จะจ้างรถบัสไปเที่ยวไหนก็ไม่คุ้ม

ปัจจุบันครูโดยส่วนใหญ่ใกล้เกษียณ กำลังเริ่มล้า ปัญหาส่วนตัวก็มีมาก และต้องรับผิดชอบงานจรบ่อยเกินไป เพราะกระทรวงมักจะมีนโยบายเรื่องงานเอกสารมากเกินความจำเป็น เมื่อโรงเรียนเล็กต้องทำเอกสารเหมือนกับโรงเรียนอื่น ๆ ที่ขนาดใหญ่กว่าทำเหมือนกัน แต่ไม่สามารถเฉลี่ยงานให้กันได้ จึงต้องรับหน้าที่ทำเอกสารปริยาย ซึ่งจะลดเวลาการเตรียมตัวสอนอีก เพราะครู 1 คนอาจจะสอนควบหลายชั้น และทุกวิชา

เงินเดือนครูแพงมากเมื่อเทียบกับเด็กที่ต้องดูแล ปัจจุบันครูส่วนใหญ่ จะได้ คศ.3 แล้วซึ่งมีฐานเงินเดือน 3หมื่นขึ้นทั้งหมด ก็หมายความว่าต้องจ่ายเงินเดือนมากว่า 1 แสนในแต่ละเดือนเพื่อดูแลนักเรียนไม่กี่คน

ที่พูดถึงว่าถ้ายุบโรงเรียนแล้วผู้ปกครองเดือนร้อน ต่อต้าน ไม่เป็นความจริงเสมอไป ลองคิดดูเด็กที่ไปเรียนโรงเรียนขนาดเล็กอย่างนี้คือกลุ่มไหน ก็คือเด็กกลุ่มที่ไม่พร้อมนั้นเอง ถ้าเป็นเด็กที่ผู้ปกครองใส่ใจมาก ๆ ก็พาเข้าไปเรียนในตลาด หรือ โรงเรียนเอกชนที่มีความพร้อมสูงกว่า เด็กที่พ่อแม่ได้ไม่อยู่ด้วย ให้ปู่ย่าตายายเลี้ยงดูตามมีตามเกิด แล้วคนกลุ่มนี้จะมีเพาเวอร์ในการต่อต้านหรือ หากมีการบริการที่ดี คนกลุ่มนี้พร้อมยอมรับทุกกรณีด้วยซ้ำ

ปัญหาจริง ๆ ที่ สพฐ. ไม่เคยพูดเลยคือ ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งปัจจุบัน ไม่ว่าโรงเรียนเล็ก หรือใหญ่ ก็เป็น ระดับ ผอ. ทั้งหมด ถ้ายุบแล้ว ผอ.เหล่านี้จะไปไหน
ไปเป็นรองผอ.เขตเหรอ ไม่ได้ละ เพราะปัจจุบัน รองผอ.เขตก็มีเป็นสิบ อยู่แล้ว และยังมีการสอบเลื่อนตำแหน่งอยู่เรื่อย ๆ และคนที่ต่อต้านการยุบโรงเรียนขนาดเล็กจริง ๆ คงไม่พ้นกลุ่มนี้ และเมื่อได้เป็น ผอ.โรงเรียนขนาดเล็กมาก ๆ ที่มีครู 2 -3 คน ก็จะพยายามย้ายตัวเองออกไปให้เร็ว เพื่อไปอยู่โรงเรียนใหญ่ ๆ ใ้ห้ได้ และ ผอ.โรงเรียนใหญ่ ๆ ก็ไม่มีทางที่จะลดตัว เอาทักษะฝีมือมาพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กแน่นอน

ผมมองทางออกเรื่องนี้ไว้ ปล่อยให้ ผอ.แต่ละท่านเกษียณไปตามสภาพ แล้วไม่ต้องแต่งตั้งใครมาแทน เท่านี้โรงเีรียนก็จะยุบไปเองตามสภาพ แล้วย้ายครูไปรวมกันใกล้ ๆ ในรัศมี 5 กม. แล้วจัดหารถรับส่งเด็กนักเรียน เฉพาะเงินเดือน ผอ.ที่ไม่ต้องจ่าย เดือนเดียวก็พอค่าน้ำมันรับส่งได้ทั้งเทอม

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่