04 มี.ค. 2556 เวลา 15:18:19 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ปี 2555 กลายเป็นปีที่ธุรกิจค้าปลีกเติบโตอย่างมโหฬาร ชนิดไม่เคยปรากฏมาก่อน โมเมนตัมดังกล่าวต่อเนื่องมาถึงปี 2556 ที่ทุกค่ายทุ่มโถมทุกสรรพกำลัง สอดคล้องกับคาดการณ์ของสมาคมผู้ค้าปลีกไทยระบุว่า ปี 2556 จะขยายตัว 12% จากปี 2555 มีมูลค่าตลาดรวม 2,399,377 ล้านบาท เติบโต 10-11%
เนื่อง จากความพยายามของผู้ประกอบการค้าปลีกต้องการรักษาการเติบโต ต่อยอดความแรงจากปี 2555 ซึ่งแต่ละค่ายโชว์ผลงานยอดเยี่ยม สะท้อนจากตัวเลขผลประกอบการปี 2555 ของบริษัทที่มีชื่ออยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งล้วนเป็นยักษ์ค้าปลีกของเมืองไทยทั้งสิ้น
เริ่มจากบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ยักษ์ใหญ่คอนวีเนี่ยนสโตร์ "เซเว่นอีเลฟเว่น" รายได้ปี 2555 อยู่ที่ 194,695 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากปี 2554 ที่มีรายได้ 159,226 ล้านบาท เติบโต 22.3% ส่วนกำไรสุทธิพุ่งขึ้นไปถึง 9,982 ล้านบาท เติบโต 37.2% ทีเดียว โดยปัจจัยเติบโตมาจากการขยายสาขาใหม่ อีกทั้งยอดขายของสาขาเดิมก็โตขึ้น 13% ทั้งในแง่ของยอดใช้จ่ายเฉลี่ย 58 บาท/คน/บิล เพิ่มขึ้นจากปี 2554 เฉลี่ยอยู่ที่ 54 บาท รวมถึงจำนวนคนเข้ามาใช้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ 1,290 คน/วัน สูงขึ้นจากปี 2554 อยู่ที่ 1,224 คน/วัน
ด้านบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) มียอดขาย 112,136 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 9.3% มาจากการเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิม และเปิดสาขาใหม่อีก 129 สาขา ทำให้สิ้นปี 2555 มีสาขาทั้งสิ้น 384 สาขา นอกจากนี้ยังมีรายได้จากค่าเช่าและค่าบริการ 7,926 ล้านบาท โตจากปีก่อน 13.5% ส่งผลให้มีกำไรสุทธิปี 2555 มีจำนวน 6,074 ล้านบาท โต 15.9% จากปี 2554
ส่วนบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ระบุว่า มียอดขายรวมใน
ปี 2555 ทั้งสิ้น 112,140 ล้านบาท เติบโตขึ้น 15.4% เทียบกับปีก่อนหน้ามีรายได้ 96,000 ล้านบาท กำไรก่อนหักภาษีอยู่ที่ 4,777 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 823 ล้านบาท หรือ 20.8% เป็นผลจากการเปิดสาขาใหม่อีก 5 สาขา รวมทั้งการขยายพื้นที่ขายของสาขาภูเก็ต ทำให้แม็คโครมีสาขาทั้งสิ้น 57 สาขาทั่วประเทศ
ขณะที่บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด รายงานต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มียอดขายในรอบปีบัญชี 2554 (มีนาคม 2554-29 กุมภาพันธ์ 2555) มีรายได้กว่า 171,890 ล้านบาท สูงขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีรายได้ 148,046 แสนล้านบาท
ด้านกลุ่มดี พาร์ตเมนต์สโตร์ บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) มีรายได้ในปีที่ผ่านมารวม 23,512 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.3% กำไรสุทธิ 2,063 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42% ซึ่งสร้างยอดขายได้ตามเป้า เนื่องจากการปรับโปรดักต์มิกซ์และการทำตลาด ช่วยให้ยอดขายของสาขาเดิมเติบโตในระดับที่ดีอย่างต่อเนื่องทั้งปี แม้ว่าระหว่างปียอดขายสาขารัชดาจะได้รับผลกระทบจากการเปิดสาขาพระราม 9 ที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน
จากผลประกอบการของทั้ง "บิ๊กซี-แม็คโคร-เซเว่นฯ-เทสโก้ โลตัส" รวมถึงโรบินสัน มีรายได้รวมกันพุ่งกระฉูดกว่า 6 แสนล้านบาทเลยทีเดียว
ผล จากยอดขายของทุกค่ายที่ทะลุเป้า ดังนั้นทิศทางปี 2556 จึงยังเห็นภาพยักษ์ค้าปลีกเดินหน้าขยายสาขาไม่ยั้ง ครบทุกไซซ์ทั้งขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่ รวมถึงการปั้นโมเดลใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด ควบคู่แคมเปญการตลาดที่เข้มข้นเพื่อรักษาฐานลูกค้า ท่ามกลางคู่แข่งรายใหม่ ๆ ที่กระโดดเข้ามา อาทิ ลอว์สัน ร้านสะดวกซื้อจากญี่ปุ่น
สอดคล้อง กับกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) "ปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล" ผู้บริหารเซเว่นอีเลฟเว่น ฉายภาพรวมตลาดว่า กลุ่มคอนวีเนี่ยนเติบโตขึ้นมาก เพราะการขยายสาขาขนาดใหญ่ ประเภทดิสเคานต์สโตร์ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต มีอุปสรรคในแง่ของกฎหมายผังเมือง และความคุ้มทุน จึงหันมาลงทุนร้านค้าปลีกคอนวีเนี่ยนมากขึ้น
อีกปัจจัยคือภาพ เศรษฐกิจที่ดีขึ้น คนมีรายได้สูงขึ้น โดยเฉพาะคนชั้นกลางจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 30% ตามการขยายตัวของเมืองออกไปชานเมืองและต่างจังหวัด ขนาดของครัวเรือนที่เล็กลงและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่มีเวลาจำกัด ทำให้ร้านสะดวกซื้อและอาหารพร้อมทานเข้ามาตอบโจทย์ได้ดี
เช่นเดียว กับ "สลิลลา สีหพันธุ์" รองประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท สื่อสารองค์กร เทสโก้ โลตัส ฉายภาพสถานการณ์ค้าปลีกปี 2556 ว่า เป็นปีที่น่าตื่นเต้นเพราะมีคนเข้ามาแข่งขันมากขึ้น ต่างพยายามนำเสนอนวัตกรรมค้าปลีกรูปแบบใหม่ ๆ ออกมา อาทิ ออนไลน์ช็อปปิ้ง
ทั้ง นี้ปัจจัยที่เอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจก็คือ แนวโน้มเศรษฐกิจที่ดี การเมืองนิ่ง และภาครัฐส่งเสริมการใช้จ่ายในประเทศเต็มที่ ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามว่าจะมีผลต่อกำลังซื้อก็คือ นโยบายรถคันแรก
อย่าง ไรก็ตามถึงแม้ยักษ์ใหญ่รายนี้จะยังไม่ยอมเปิดเผยถึงแผนการลงทุนด้านสาขา แต่เชื่อได้ว่าขึ้นชื่อว่า เทสโก้ โลตัส ย่อมไม่เป็นสองรองใครแน่นอน
ขณะที่ "ณัฐ วงศ์พานิช" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามแฟมิลี่
มา ร์ท จำกัด มองว่า ปีนี้เป็นปีที่สนุกเพราะตลาดมีการแข่งขันสูง จากผู้ประกอบการค้าปลีกในตลาดที่มีทั้งแบรนด์ของคนไทย และความร่วมมือกันระหว่างแบรนด์คนไทยและต่างประเทศ ซึ่งทุกรายล้วนแต่มีศักยภาพรอบด้าน
อย่างไรก็ตามแม้ว่าค้าปลีกประเภท คอนวีเนี่ยนสโตร์มีการแข่งขันสูง ทว่าผู้บริหารของแฟมิลี่มาร์ทเชื่อว่า ตลาดยังมีโอกาสและช่องว่างให้สอดแทรกเข้าไปอีกมาก ทั้งในแง่ของการขยายตัวของรายได้ประชากรที่สูงขึ้น โดยเฉพาะกำลังซื้อในต่างจังหวัด รวมทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามา ทำให้มีทำเลใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพเกิดขึ้นตลอดเวลา
ด้วยศักยภาพของ ตลาด ดังนั้นทุกค่ายจึงพร้อมบุกเต็มที่เห็นได้จากผู้นำตลาดร้านสะดวกซื้ออย่าง "เซเว่นฯ" ครองจำนวนสาขาและทำเลเกรดเอ ทิ้งห่างจากรายอื่น ๆ ในปีนี้ก็ปรับแผนเร่งการเติบโต ด้วยการเพิ่มจำนวนสาขาใหม่เป็นปีละ 550 สาขา จากปกติเปิด 500 สาขา
ปัจจุบัน "เซเว่นฯ" มีจำนวนสาขากว่า 6,800 สาขาทั่วประเทศ ขณะที่ "เทสโก้" ที่มีจำนวนสาขาเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส กว่า 1,000 สาขา มากเป็นอันดับ 2 บวกกับโมเดลสาขาในแบบอื่น ๆ รวมกันแล้วกว่า 1,200 สาขา ก็มีแผนขยายการลงทุนทุกโมเดลต่อเนื่อง โดยเฉพาะไซซ์เล็กที่เข้าถึงชุมชนได้ง่าย และที่เบียดเทสโก้ โลตัส ในตลาดร้านสะดวกซื้อมาติด ๆ คือ "แฟมิลี่มาร์ท" ที่มีความพร้อมมากขึ้น หลังจากเซ็นทรัล รีเทล เข้ามาถือหุ้นเมื่อปลายปีก่อน
ล่าสุด แฟมิลี่มาร์ทเพิ่งออกมาแถลงแผนธุรกิจ พร้อมเดินเครื่องบุกเต็มที่ทั้งในแง่ของการขยายสาขาใหม่ เฉพาะปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มอีก 200 สาขา และมีเป้าหมายครบ 3,000 สาขาภายใน 4 ปี ด้วยเงินทุนมหาศาลถึง 10,000 ล้านบาท เป็นงบฯเฉพาะการขยายสาขาถึง 7,000 ล้านบาททีเดียว
ทั้งยังคาดหวังรายได้ทะยานขึ้นไปถึง 60,000 ล้านบาท ในอีก 4 ปีข้างหน้า
แฟมิลี่มาร์ ทนำกลยุทธ์ "นิว แฟมิลี่มาร์ท" ปรับโฉมตัวร้านและรีเฟรชแบรนด์ให้สดใส พร้อมเดินหน้ารุกหนักด้านอาหารพร้อมรับประทานสไตล์ญี่ปุ่นเป็นจุดขาย เรียกว่าโฟรเซ่น เบนโตะ และชิล เบนโตะ อาทิ ข้าวปลาซาบะย่างซีอิ๊ว ข้าวแกงกะหรี่หมูญี่ปุ่น ทั้งยังซื้อไลเซนส์คิตตี้ นำมาผลิตสินค้าคิตตี้ คอลเล็กชั่น หวังสร้างความต่าง
นอกจากนี้แฟมิลี่มาร์ทยังชูกลยุทธ์ "store clustering" คัดสรรสินค้าให้เหมาะสมกับทำเล ทั้งโรงเรียน ชุมชน ออฟฟิศ และในอนาคตสนใจจะพัฒนาโมเดลใหม่ ๆ
เนื่องจากศักยภาพของ เซ็นทรัล กรุ๊ป ที่มีบิสซิเนสยูนิตที่หลากหลาย อาทิ ห้างท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านหนังสือบีทูเอส สามารถจัดแคมเปญครอสโปรโมชั่น
"ใน ญี่ปุ่นเรามีโมเดลที่หลากหลาย มีทั้งร้านปกติในสถานีรถไฟ หรือบางสาขามีร้านหนังสืออยู่ด้วย เราก็กำลังศึกษาอยู่ เพราะกลุ่มเซ็นทรัลก็มีหน่วยธุรกิจอยู่มาก"
นอกจากบรรดายักษ์จะช่วง ชิงทำเลเปิดสาขาใหม่ ในด้านโปรโมชั่นแคมเปญมีความเข้มข้นไม่แพ้กัน ทั้งกลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งหัวขบวนอย่าง "เทสโก้" และ "บิ๊กซี" ยังคงงัดราคาเป็นจุดแข็งแข่งกันเองแล้ว ยังมองไปถึงการแข่งขันกับกลุ่มคอนวีเนี่ยน ซึ่งร้านสะดวกซื้อเหล่านี้ไม่ได้แค่ชูความสะดวกเท่านั้น แต่ปัจจุบันยังใช้โปรโมชั่นเข้ามาจูงใจ โดยภาพรวมแล้วสมรภูมิค้าปลีกสมัยใหม่ตลอดปีนี้จึงน่าสนใจยิ่ง
เมื่อทุกค่ายต่างพยายามงัดกลยุทธ์ทีเด็ดรักษาส่วนแบ่งตลาด รับมือการแข่งขัน
นั่นหมายความว่ายิ่งใครสามารถมัดใจลูกค้าได้มาก ย่อมหมายถึงโอกาสที่จะปั๊มยอดขายและกำไรให้เติบโตต่อเนื่องนั้นเอง
ยักษ์ค้าปลีก โกย 6 แสนล้าน ลุยต่อเนื่อง ปูพรมสาขาทั่วประเทศ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ปี 2555 กลายเป็นปีที่ธุรกิจค้าปลีกเติบโตอย่างมโหฬาร ชนิดไม่เคยปรากฏมาก่อน โมเมนตัมดังกล่าวต่อเนื่องมาถึงปี 2556 ที่ทุกค่ายทุ่มโถมทุกสรรพกำลัง สอดคล้องกับคาดการณ์ของสมาคมผู้ค้าปลีกไทยระบุว่า ปี 2556 จะขยายตัว 12% จากปี 2555 มีมูลค่าตลาดรวม 2,399,377 ล้านบาท เติบโต 10-11%
เนื่อง จากความพยายามของผู้ประกอบการค้าปลีกต้องการรักษาการเติบโต ต่อยอดความแรงจากปี 2555 ซึ่งแต่ละค่ายโชว์ผลงานยอดเยี่ยม สะท้อนจากตัวเลขผลประกอบการปี 2555 ของบริษัทที่มีชื่ออยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งล้วนเป็นยักษ์ค้าปลีกของเมืองไทยทั้งสิ้น
เริ่มจากบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ยักษ์ใหญ่คอนวีเนี่ยนสโตร์ "เซเว่นอีเลฟเว่น" รายได้ปี 2555 อยู่ที่ 194,695 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากปี 2554 ที่มีรายได้ 159,226 ล้านบาท เติบโต 22.3% ส่วนกำไรสุทธิพุ่งขึ้นไปถึง 9,982 ล้านบาท เติบโต 37.2% ทีเดียว โดยปัจจัยเติบโตมาจากการขยายสาขาใหม่ อีกทั้งยอดขายของสาขาเดิมก็โตขึ้น 13% ทั้งในแง่ของยอดใช้จ่ายเฉลี่ย 58 บาท/คน/บิล เพิ่มขึ้นจากปี 2554 เฉลี่ยอยู่ที่ 54 บาท รวมถึงจำนวนคนเข้ามาใช้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ 1,290 คน/วัน สูงขึ้นจากปี 2554 อยู่ที่ 1,224 คน/วัน
ด้านบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) มียอดขาย 112,136 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 9.3% มาจากการเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิม และเปิดสาขาใหม่อีก 129 สาขา ทำให้สิ้นปี 2555 มีสาขาทั้งสิ้น 384 สาขา นอกจากนี้ยังมีรายได้จากค่าเช่าและค่าบริการ 7,926 ล้านบาท โตจากปีก่อน 13.5% ส่งผลให้มีกำไรสุทธิปี 2555 มีจำนวน 6,074 ล้านบาท โต 15.9% จากปี 2554
ส่วนบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ระบุว่า มียอดขายรวมใน
ปี 2555 ทั้งสิ้น 112,140 ล้านบาท เติบโตขึ้น 15.4% เทียบกับปีก่อนหน้ามีรายได้ 96,000 ล้านบาท กำไรก่อนหักภาษีอยู่ที่ 4,777 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 823 ล้านบาท หรือ 20.8% เป็นผลจากการเปิดสาขาใหม่อีก 5 สาขา รวมทั้งการขยายพื้นที่ขายของสาขาภูเก็ต ทำให้แม็คโครมีสาขาทั้งสิ้น 57 สาขาทั่วประเทศ
ขณะที่บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด รายงานต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มียอดขายในรอบปีบัญชี 2554 (มีนาคม 2554-29 กุมภาพันธ์ 2555) มีรายได้กว่า 171,890 ล้านบาท สูงขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีรายได้ 148,046 แสนล้านบาท
ด้านกลุ่มดี พาร์ตเมนต์สโตร์ บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) มีรายได้ในปีที่ผ่านมารวม 23,512 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.3% กำไรสุทธิ 2,063 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42% ซึ่งสร้างยอดขายได้ตามเป้า เนื่องจากการปรับโปรดักต์มิกซ์และการทำตลาด ช่วยให้ยอดขายของสาขาเดิมเติบโตในระดับที่ดีอย่างต่อเนื่องทั้งปี แม้ว่าระหว่างปียอดขายสาขารัชดาจะได้รับผลกระทบจากการเปิดสาขาพระราม 9 ที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน
จากผลประกอบการของทั้ง "บิ๊กซี-แม็คโคร-เซเว่นฯ-เทสโก้ โลตัส" รวมถึงโรบินสัน มีรายได้รวมกันพุ่งกระฉูดกว่า 6 แสนล้านบาทเลยทีเดียว
ผล จากยอดขายของทุกค่ายที่ทะลุเป้า ดังนั้นทิศทางปี 2556 จึงยังเห็นภาพยักษ์ค้าปลีกเดินหน้าขยายสาขาไม่ยั้ง ครบทุกไซซ์ทั้งขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่ รวมถึงการปั้นโมเดลใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด ควบคู่แคมเปญการตลาดที่เข้มข้นเพื่อรักษาฐานลูกค้า ท่ามกลางคู่แข่งรายใหม่ ๆ ที่กระโดดเข้ามา อาทิ ลอว์สัน ร้านสะดวกซื้อจากญี่ปุ่น
สอดคล้อง กับกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) "ปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล" ผู้บริหารเซเว่นอีเลฟเว่น ฉายภาพรวมตลาดว่า กลุ่มคอนวีเนี่ยนเติบโตขึ้นมาก เพราะการขยายสาขาขนาดใหญ่ ประเภทดิสเคานต์สโตร์ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต มีอุปสรรคในแง่ของกฎหมายผังเมือง และความคุ้มทุน จึงหันมาลงทุนร้านค้าปลีกคอนวีเนี่ยนมากขึ้น
อีกปัจจัยคือภาพ เศรษฐกิจที่ดีขึ้น คนมีรายได้สูงขึ้น โดยเฉพาะคนชั้นกลางจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 30% ตามการขยายตัวของเมืองออกไปชานเมืองและต่างจังหวัด ขนาดของครัวเรือนที่เล็กลงและไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่มีเวลาจำกัด ทำให้ร้านสะดวกซื้อและอาหารพร้อมทานเข้ามาตอบโจทย์ได้ดี
เช่นเดียว กับ "สลิลลา สีหพันธุ์" รองประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท สื่อสารองค์กร เทสโก้ โลตัส ฉายภาพสถานการณ์ค้าปลีกปี 2556 ว่า เป็นปีที่น่าตื่นเต้นเพราะมีคนเข้ามาแข่งขันมากขึ้น ต่างพยายามนำเสนอนวัตกรรมค้าปลีกรูปแบบใหม่ ๆ ออกมา อาทิ ออนไลน์ช็อปปิ้ง
ทั้ง นี้ปัจจัยที่เอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจก็คือ แนวโน้มเศรษฐกิจที่ดี การเมืองนิ่ง และภาครัฐส่งเสริมการใช้จ่ายในประเทศเต็มที่ ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามว่าจะมีผลต่อกำลังซื้อก็คือ นโยบายรถคันแรก
อย่าง ไรก็ตามถึงแม้ยักษ์ใหญ่รายนี้จะยังไม่ยอมเปิดเผยถึงแผนการลงทุนด้านสาขา แต่เชื่อได้ว่าขึ้นชื่อว่า เทสโก้ โลตัส ย่อมไม่เป็นสองรองใครแน่นอน
ขณะที่ "ณัฐ วงศ์พานิช" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามแฟมิลี่
มา ร์ท จำกัด มองว่า ปีนี้เป็นปีที่สนุกเพราะตลาดมีการแข่งขันสูง จากผู้ประกอบการค้าปลีกในตลาดที่มีทั้งแบรนด์ของคนไทย และความร่วมมือกันระหว่างแบรนด์คนไทยและต่างประเทศ ซึ่งทุกรายล้วนแต่มีศักยภาพรอบด้าน
อย่างไรก็ตามแม้ว่าค้าปลีกประเภท คอนวีเนี่ยนสโตร์มีการแข่งขันสูง ทว่าผู้บริหารของแฟมิลี่มาร์ทเชื่อว่า ตลาดยังมีโอกาสและช่องว่างให้สอดแทรกเข้าไปอีกมาก ทั้งในแง่ของการขยายตัวของรายได้ประชากรที่สูงขึ้น โดยเฉพาะกำลังซื้อในต่างจังหวัด รวมทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามา ทำให้มีทำเลใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพเกิดขึ้นตลอดเวลา
ด้วยศักยภาพของ ตลาด ดังนั้นทุกค่ายจึงพร้อมบุกเต็มที่เห็นได้จากผู้นำตลาดร้านสะดวกซื้ออย่าง "เซเว่นฯ" ครองจำนวนสาขาและทำเลเกรดเอ ทิ้งห่างจากรายอื่น ๆ ในปีนี้ก็ปรับแผนเร่งการเติบโต ด้วยการเพิ่มจำนวนสาขาใหม่เป็นปีละ 550 สาขา จากปกติเปิด 500 สาขา
ปัจจุบัน "เซเว่นฯ" มีจำนวนสาขากว่า 6,800 สาขาทั่วประเทศ ขณะที่ "เทสโก้" ที่มีจำนวนสาขาเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส กว่า 1,000 สาขา มากเป็นอันดับ 2 บวกกับโมเดลสาขาในแบบอื่น ๆ รวมกันแล้วกว่า 1,200 สาขา ก็มีแผนขยายการลงทุนทุกโมเดลต่อเนื่อง โดยเฉพาะไซซ์เล็กที่เข้าถึงชุมชนได้ง่าย และที่เบียดเทสโก้ โลตัส ในตลาดร้านสะดวกซื้อมาติด ๆ คือ "แฟมิลี่มาร์ท" ที่มีความพร้อมมากขึ้น หลังจากเซ็นทรัล รีเทล เข้ามาถือหุ้นเมื่อปลายปีก่อน
ล่าสุด แฟมิลี่มาร์ทเพิ่งออกมาแถลงแผนธุรกิจ พร้อมเดินเครื่องบุกเต็มที่ทั้งในแง่ของการขยายสาขาใหม่ เฉพาะปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มอีก 200 สาขา และมีเป้าหมายครบ 3,000 สาขาภายใน 4 ปี ด้วยเงินทุนมหาศาลถึง 10,000 ล้านบาท เป็นงบฯเฉพาะการขยายสาขาถึง 7,000 ล้านบาททีเดียว
ทั้งยังคาดหวังรายได้ทะยานขึ้นไปถึง 60,000 ล้านบาท ในอีก 4 ปีข้างหน้า
แฟมิลี่มาร์ ทนำกลยุทธ์ "นิว แฟมิลี่มาร์ท" ปรับโฉมตัวร้านและรีเฟรชแบรนด์ให้สดใส พร้อมเดินหน้ารุกหนักด้านอาหารพร้อมรับประทานสไตล์ญี่ปุ่นเป็นจุดขาย เรียกว่าโฟรเซ่น เบนโตะ และชิล เบนโตะ อาทิ ข้าวปลาซาบะย่างซีอิ๊ว ข้าวแกงกะหรี่หมูญี่ปุ่น ทั้งยังซื้อไลเซนส์คิตตี้ นำมาผลิตสินค้าคิตตี้ คอลเล็กชั่น หวังสร้างความต่าง
นอกจากนี้แฟมิลี่มาร์ทยังชูกลยุทธ์ "store clustering" คัดสรรสินค้าให้เหมาะสมกับทำเล ทั้งโรงเรียน ชุมชน ออฟฟิศ และในอนาคตสนใจจะพัฒนาโมเดลใหม่ ๆ
เนื่องจากศักยภาพของ เซ็นทรัล กรุ๊ป ที่มีบิสซิเนสยูนิตที่หลากหลาย อาทิ ห้างท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านหนังสือบีทูเอส สามารถจัดแคมเปญครอสโปรโมชั่น
"ใน ญี่ปุ่นเรามีโมเดลที่หลากหลาย มีทั้งร้านปกติในสถานีรถไฟ หรือบางสาขามีร้านหนังสืออยู่ด้วย เราก็กำลังศึกษาอยู่ เพราะกลุ่มเซ็นทรัลก็มีหน่วยธุรกิจอยู่มาก"
นอกจากบรรดายักษ์จะช่วง ชิงทำเลเปิดสาขาใหม่ ในด้านโปรโมชั่นแคมเปญมีความเข้มข้นไม่แพ้กัน ทั้งกลุ่มไฮเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งหัวขบวนอย่าง "เทสโก้" และ "บิ๊กซี" ยังคงงัดราคาเป็นจุดแข็งแข่งกันเองแล้ว ยังมองไปถึงการแข่งขันกับกลุ่มคอนวีเนี่ยน ซึ่งร้านสะดวกซื้อเหล่านี้ไม่ได้แค่ชูความสะดวกเท่านั้น แต่ปัจจุบันยังใช้โปรโมชั่นเข้ามาจูงใจ โดยภาพรวมแล้วสมรภูมิค้าปลีกสมัยใหม่ตลอดปีนี้จึงน่าสนใจยิ่ง
เมื่อทุกค่ายต่างพยายามงัดกลยุทธ์ทีเด็ดรักษาส่วนแบ่งตลาด รับมือการแข่งขัน
นั่นหมายความว่ายิ่งใครสามารถมัดใจลูกค้าได้มาก ย่อมหมายถึงโอกาสที่จะปั๊มยอดขายและกำไรให้เติบโตต่อเนื่องนั้นเอง