วันนี้ขอยกเว้นเรื่องฆ่าๆ แกงๆ และเรื่องบันเทิงกันสักวันเถอะครับ เพราะเป็นวันพระใหญ่ วันมาฆบูชา
ภาพเก่าเล่าเรื่องประจำวันนี้ ลุงเจียวต้ายคงอธิบายได้ดีที่สุด เพราะเป็นภาพถ่ายฝีมือท่านเอง ในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตรวรรษ ที่ท้องสนามหลวง ตอนนั้นผมยังมีอายุแค่ ๑ ขวบเองครับ แฮ่ะๆ
งานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ในประเทศไทย เริ่มจัดขึ้นโดยการปรารภของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยการแนะนำของ ฯพณฯ อู ถั่น ชาวพุทธพม่า เลขาธิการองค์การสหประชาชาติในขณะนั้น ที่ท่านได้ดำริให้ชาวพุทธทั่วโลกร่วมกันจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ หรือ 2500th Buddha Jayanti Celebration โดยมีการรณรงค์ให้ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาต่าง ๆ จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในปีนั้น เช่น ประเทศพม่า ประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย โดยประเทศต่าง ๆ ได้จัดกิจกรรมเพื่อการฉลองนี้เป็นงานสำคัญระดับประเทศ
ในส่วนของประเทศไทย รัฐบาลของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้นำโอกาสนี้จัดเป็นงานฉลองทางพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย โดยเริ่มงานตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๕ มีการวางโครงการและระดมทุนเพื่อจัดสร้างพุทธมณฑล เพื่อเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมีการออกประกาศพระบรมราชโองการ พระราชทานบริเวณสนามหลวง เป็นสังฆปริมณฑลสำหรับจัดงานฉลองในครั้งนี้เป็นการชั่วคราว โดยมีการจัดสร้างพระเครื่องจำนวนมากที่สุด เรียกว่า "พระฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ" จำนวนกว่า ๕,๐๔๒,๕๐๐ องค์ เพื่อระดมทุนในการสร้างพุทธมณฑล โดยมีพระพุทธรูปปางลีลาประจำพุทธมณฑล เรียกว่า พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ซึ่งพระพุทธรูปนี้มีความโดดเด่นทางผ้าจีวรที่พลิ้วเหมือนจริง (พระพุทธรูปนี้สร้างเสร็จและฉลอง เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕ คราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี)
มีการออกประกาศให้วันธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ มีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม พระราชบัญญัติล้างมลทิน
นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยังได้ออกพระราชบัญญัติเหรียญงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เป็นกรณีพิเศษด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประเทศไทยที่รัฐบาลมีการออกเหรียญที่ระลึก และแพรแถบ เนื่องในโอกาสสำคัญทางศาสนา
และยังได้มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค เพื่อฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๐ อีกด้วย ซึ่งเป็นการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคเป็นครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบันอีกด้วย
.............................
ขอบคุณภาพถ่ายจากลุงเจียวต้าย และข้อมูลประกอบกระทู้จากเว็บไซต์ Wikipedia Thai มา ณ โอกาสนี้
ภาพเก่าเล่าเรื่อง (๑๘)
ภาพเก่าเล่าเรื่องประจำวันนี้ ลุงเจียวต้ายคงอธิบายได้ดีที่สุด เพราะเป็นภาพถ่ายฝีมือท่านเอง ในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตรวรรษ ที่ท้องสนามหลวง ตอนนั้นผมยังมีอายุแค่ ๑ ขวบเองครับ แฮ่ะๆ
งานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ในประเทศไทย เริ่มจัดขึ้นโดยการปรารภของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยการแนะนำของ ฯพณฯ อู ถั่น ชาวพุทธพม่า เลขาธิการองค์การสหประชาชาติในขณะนั้น ที่ท่านได้ดำริให้ชาวพุทธทั่วโลกร่วมกันจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ หรือ 2500th Buddha Jayanti Celebration โดยมีการรณรงค์ให้ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาต่าง ๆ จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในปีนั้น เช่น ประเทศพม่า ประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย โดยประเทศต่าง ๆ ได้จัดกิจกรรมเพื่อการฉลองนี้เป็นงานสำคัญระดับประเทศ
ในส่วนของประเทศไทย รัฐบาลของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้นำโอกาสนี้จัดเป็นงานฉลองทางพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย โดยเริ่มงานตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๕ มีการวางโครงการและระดมทุนเพื่อจัดสร้างพุทธมณฑล เพื่อเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมีการออกประกาศพระบรมราชโองการ พระราชทานบริเวณสนามหลวง เป็นสังฆปริมณฑลสำหรับจัดงานฉลองในครั้งนี้เป็นการชั่วคราว โดยมีการจัดสร้างพระเครื่องจำนวนมากที่สุด เรียกว่า "พระฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ" จำนวนกว่า ๕,๐๔๒,๕๐๐ องค์ เพื่อระดมทุนในการสร้างพุทธมณฑล โดยมีพระพุทธรูปปางลีลาประจำพุทธมณฑล เรียกว่า พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ซึ่งพระพุทธรูปนี้มีความโดดเด่นทางผ้าจีวรที่พลิ้วเหมือนจริง (พระพุทธรูปนี้สร้างเสร็จและฉลอง เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๕ คราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๒๐๐ ปี)
มีการออกประกาศให้วันธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ มีการออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม พระราชบัญญัติล้างมลทิน
นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยังได้ออกพระราชบัญญัติเหรียญงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เป็นกรณีพิเศษด้วย ซึ่งเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประเทศไทยที่รัฐบาลมีการออกเหรียญที่ระลึก และแพรแถบ เนื่องในโอกาสสำคัญทางศาสนา
และยังได้มีการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค เพื่อฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๐ อีกด้วย ซึ่งเป็นการจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารคเป็นครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบันอีกด้วย
.............................
ขอบคุณภาพถ่ายจากลุงเจียวต้าย และข้อมูลประกอบกระทู้จากเว็บไซต์ Wikipedia Thai มา ณ โอกาสนี้