เรื่องหนึ่งที่ผมได้ยินมานานทั้งในห้องมาบุญครองแห่งนี้ และในโลกออนไลน์รวมทั้งสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ ในช่วงปี 2 ปีมานี้คือการกล่าวอ้างกันไปมาว่า 3G ของค่ายนั้นเป็น 3G แท้ ส่วนอีกค่ายเป็น 3G เทียม หรือบางคนก็ถึงขนาดออกมาพูดว่า 3G ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ไม่ใช่ของแท้เลย ต้องเป็น 3G-2100 MHz ที่ทั้ง 3 Operator รวมทั้ง Vendor ต่างๆ กำลังเร่งติดตั้งเท่านั้นจึงเป็น 3G แท้ๆ ผมว่าหลายๆ คนคงสับสนว่าใครแท้ใครเทียมกันแน่วะ ขนาด 3G ยังมีของปลอมด้วยหรือ วันนี้เลยอยากมาเล่าให้ฟังง่ายๆ จากประสบการณ์และความเห็นส่วนตัว
วาทกรรม 3G แท้/เทียม เริ่มขึ้นเมื่อใด
จำกันได้ไหมครับเมื่อปลายปี 2011 ทาง กทช. (ตอนนั้นยังไม่มี กสทช.) ได้จัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ 2100 MHz หรือที่เราชอบเรียกว่าการประมูล 3G นั่นแหละครับ ตรงนี้อยากให้ทุกคนเข้าใจตรงกันก่อนนะครับว่าการประมูลในที่นี้คือ "การประมูลสิทธิ์ในการครอบครองและใช้งานความถี่ย่านนั้นๆ เพื่อนำมาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่" พอได้ความถี่มาก็เอามาใช้ในการให้บริการ 3G (จะทำ 4G ก็ได้ถ้าเทคโนโลยีที่นำมาให้บริการ ไม่ขัดกับข้อกำหนดทางเทคนิคที่กำหนดไว้ในการประมูล) ทีนี้ไอ้การประมูลครั้งนั้นก็โดนเตะตัดขาโดย TOT หรือ CAT นี่แหละผมจำไม่ได้ ทำให้ทุกค่ายฝันค้างกันถ้วนหน้า เพราะตอนนั้น Demand ของ User ที่มีต่อการใช้งาน Data และ Mobile Broadband ในเมืองไทยเพิ่มขึ้นมาก และอีกหนึ่งเหตุผลหลักก็คือ 3 ค่ายอยากจะหนีออกมาจากระบบสัมปทานที่ลดทอนกำไรของทั้ง 3 รายลงไปเสียที.
ในเมื่อการประมูลไม่เกิด แต่ Demand ของ User มันไม่ได้ลดลง มันก็ต้องหา Product เข้ามารองรับความต้องการของตลาด โดยทางฟาก Truemove และ DTAC ที่มี CAT เป็นเจ้าของสัมปทาน ได้รับความกรุณาจาก CAT ให้หยิบยืมคลื่น 850 MHz ที่ตัวเองเป็นเจ้าของ นำไปให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 850 MHz แต่ทั้งสองเจ้าได้รูปแบบและขนาดความกรุณาแตกต่างกันไป จะไม่ขอเล่าตรงนี้เพราะมันเป็นหนังชีวิต เอาเป็นว่าอย่างที่เห็น Truemove H ขยาย Network ใหญ่โต มีความร่วมมือกับ CAT ชัดเจนแม้ว่าสัญญามันจะทะแม่งๆ ในขณะที่ DTAC กว่าจะได้คลื่นนี้มาทำ ต้องใช้ทั้งไม้อ่อนไม้แข็งอยู่หลายรอบแต่ท้ายที่สุด CAT ก็จำใจให้ DTAC ได้มาร่วมใช้คลื่นดังกล่าวเพื่อให้บริการ 3G ชั่วคราว เพราะไม่อย่างนั้น DTAC คงตามราวีไม่เลิก สรุป Truemove H ได้ Bandwidth ไป 15 MHz ส่วน DTAC เป็นลูกคนรองเอาไป 10 MHz (เรื่อง Bandwidth นี่เอาง่ายๆ ก็เหมือนถนนนี่แหละครับถนน 15 ช่อง กับ 10 ช่องใครจะรับปริมาณการจราจรได้มากกว่ากันล่ะครับ)
ข้ามฟากมาดูทางพี่ใหญ่ AIS ซึ่งอยู่ใต้สัมปทานของ TOT ซึ่งไม่มีคลื่นอื่นที่สามารถทำ 3G อยู่ในมือของเจ้าของสัมปทานที่พอจะหยิบยืมมาทำแก้ขัด แต่เพื่อนเขามีกัน ยกนี้ AIS จึงตกเป็นรองและจำใจต้องนำความถี่ 900 MHz ที่ตัวเองมีอยู่ 17.5 MHz เฉือนมาทำ 3G ยกตัวอย่างเช่นบางพื้นที่เฉือนมา 5 MHz ให้ 3G วิ่งทำให้เหลือให้ 2G วิ่งแค่ 12.5 MHz (17.5-5 = 12.5) บางพื้นที่เฉือนมา 10 เหลือให้ 2G วิ่งอยู่ 7.5 ในขณะที่ชาวบ้านเขามีคลื่นอื่นมาทำ 3G โดยเฉพาะ AIS ต้องมานั่งวุ่นวายกับการจัดสรร Capacity ของตัวเอง ทำให้คุณภาพของการใช้งาน 2G ก็ตกลงไปในขณะที่ 3G ก็เอาแน่เอานอนไม่ได้ (ถนนมีเท่าเดิม รถมากขึ้น) แต่ทำไงได้ชาวบ้านเค้ามีกัน กูเป็นพี่ใหญ่ไม่มีนี่เสียแมวแน่นอน ดังนั้นอย่าแปลกใจครับที่ปัญหาของ AIS จะเรื้อรังมาจนทุกวันนี้ และบอกได้เลยว่าถ้าเมื่อปีที่แล้วการประมูลใบอนุญาต 2100 MHz ล้มลงอีกรอบ AIS นี่แหละเดือดร้อนสุด ถึงตอนนี้คงไม่ต้องบอกแล้วนะครับว่า Network 3G 2100 MHz นี้ใครจะต้องติดตั้งให้เร็วที่สุด
จากที่มาที่ไปที่เล่ามาด้านบน จะเห็นได้เลาๆ แล้วว่าไอ้คำพูดหรือวาทกรรมเรื่อง 3G แท้/เทียม (ซึ่งมีการใช้งานในหลายบริบท) เกิดจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้
บริบทที่ 1. เกิดจากการที่ค่ายใบพัดสีฟ้าและค่ายจานแดง ใช้เป็น Message ทางการตลาดเพื่อฟาดฟันพี่เบิ้มเบอร์ 1 ว่าเป็น 3G เทียมเพราะทางพี่เบิ้มใช้ความถี่เก่า (900 MHz) ไป Refarm เพื่อนำความถี่บางส่วนมาให้บริการ 3G ทำให้คุณภาพในการให้บริการไม่สามารถสู้กับใบพัดและจานแดงได้ ทำให้ลูกค้าบางส่วนไหลไปหาสองเจ้านี้
บริบทที่ 2. เกิดขึ้นจากตัว Operator และผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเอง ต้องการเร่งรัดให้เกิดการประมูลใบอนุญาตใช้งานคลื่นความถี่ 2100 MHz ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว ดังนั้นการใช้คำว่า 3G เทียมในบริบทนี้จะหมายรวมไปถึง 3G 850/900 MHz ในคราวเดียวกัน ถามว่าทำไมต้องเร่งกระบวนการของการประมูล ในมุมของ Operator ก็คือต้องการหลุดจากสัมปทานซึ่งต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้สูงกว่าเมื่อเทียบกับระบบใบอนุญาต (License) ที่กำลังจะเกิดขึ้น ส่วนในมุมของ Vendor ที่ขายตัวเครื่องโทรศัพท์และอุปรณ์โครงข่าย นี่คือโอกาสทางธุรกิจในช่วงเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี
ที่เขียนมาเสียยืดยาว ก็เพียงเพื่อจะบอกว่าไม่มีหรอกครับ 3G แท้หรือ 3G เทียม จะ 850, 900 หรือ 2100 MHz ถ้าโทรศัพท์คุณมันขึ้นว่า 3G แล้วมันก็คือ 3G นั่นแหละ แต่คุณภาพของการให้บริการมันจะดีขนาดไหนมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับความถี่ที่ใช้อย่างเดียว เรื่อง Bandwidth การทำ Network Planning รวมทั้งการจัดการต่างๆ Operator ล้วนมีผลต่อคุณภาพของการให้บริการทั้งสิ้น
ทุกวันนี้ข้อมูลหาได้เพียงปลายนิ้ว ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือการใช้วิจารณญาณ การกลั่นกรองและตรวจสอบข้อมูล อย่าให้ใครมาหลอกเราได้ครับ
####### Updated ########
หลังจากอ่านเพื่อนๆ พี่ตอบกระทู้นี้เข้ามา ก็มีเรื่องที่อยากจะสรุปดังนี้ครับ
1. FUP มันเป็นเรื่องจำเป็นจริงๆ ครับ อย่าไปคิดว่า Operator เขาเอาเปรียบเลย Bandwidth ที่มีมันต้องถูก Share เพื่อให้ทุกคนใช้งานตามความจำเป็น (พูดแบบนี้เดี๋ยวคนก็หาว่าผมอยู่กับ Operator อีก ผมจบสายนี้แต่ผมไม่ได้ทำงานให้ Operator หรือ Vendor นะครับ)
2. ความเร็วสูงสุดไม่ว่าจะเป็น 42 Mbps, 100 Mbps มันเป็นความเร็วสูงสุดทางทฤษฎี ซึ่งต้องอยู่ในสภาวะควบคุมเช่น ต้องห่างจาก Base Station ไม่เกินรัศมีที่กำหนด ไม่มีใครใช้งานใน BTS นั้นๆ ซึ่งตามการใช้งานปกติจะยากมากที่เราจะอยู่ในเงื่อนไขแบบนั้น แต่การโฆษณาแบบนี้ไม่ใช่ Operator พูดเกินจริง เพราะตามมาตรฐานของอุตสาหกรรมเค้าก็วัดกันแบบนี้ เค้าไม่ผิด แต่เราต้องรู้เท่าทันสิ่งที่เขากล่าวอ้าง
3. ท่านที่พูดว่าแท้ เทียมเป็นแค่เพียงการประชดในเรื่องคุณภาพการให้บริการของ Operator ผมไม่ได้ว่าท่านไม่รู้ แต่ผมแค่จะแบ่งปันให้ท่านอื่นที่สับสนได้รับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ถ้าท่านรู้อยู่แล้วก็ขออนุโมทนาและเชิญไปยังกระทู้อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์กว่าเถิดครับ
4. เรื่องที่ว่าบางค่ายไม่รีบลง 2100 เพราะตัวเองมี 850 เพียงพออยู่แล้ว ตามข้อเท็จจริงและความเห็นส่วนตัวคิดว่าถ้าไม่มีปัญหาเรื่องเงินลงทุน ทุกค่ายคงอยากย้ายลูกค้าไป 2100 ให้เร็วที่สุดเพราะส่วนแบ่งรายได้ของสัมปทานเดิม (2G 900/1800) อยู่ที่ 25-30% แล้วแต่สัญญา แต่ในขณะที่ภายใต้ใบอนุญาติ 2100 ทาง Operator จะมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพียง 5.75% (License Fee 2% + USO 3.75%) จากรายได้การให้บริการ (ไม่รวมค่าใบอนุญาติที่จ่ายกันไปก่อนแล้ว) อีกอย่างคือถ้าสร้าง Network 2100 เร็วปัญหาเรื่องข้อจำกัดของ Handset (Frequency Band) ก็จะหมดไป
5. เรื่องการติดตั้งในงาน Event ที่ทำก่อน 2 วันอะไรน่ะอย่าไปใส่ใจมันเลยครับ งานแบบนี้ทุกเจ้าก็ทำแบบนี้เหมือนๆ กันหมด สิ่งที่เราเห็นในงานแถลงข่าวบอกอะไรไม่ได้หรอกครับ อย่าไปใส่ใจมันมาก
6. การที่ True เฉือนความถี่ 2100 MHz ของตัวเองมาทำ LTE (จริงๆ แล้ว LTE ปกติไม่ถือเป็น 4G ตามนิยามของ 3GPP นะครับ แต่ก็ตามเคยครับอานุภาพของเรื่องเล่าทำให้คนลืมเรื่องจริง) นั้นแสดงว่า True เองก็มั่นใจว่าตัวเองจะมีสิทธิ์ใช้งานความถี่ 850 MHz ของ CAT ได้ในระยะยาว (ถ้าว่างจะเขียนถึงเรื่องนี้สักที) แม้ว่าสัญญาระหว่าง CAT กับ True ยังอยู่ในขั้นตอนของการสอบสวนอยู่เลย
เรื่องราวในวงการโทรคมนาคมบ้านเราเป็นเรื่องหนึ่งที่ผมภูมิใจมากเวลาไปเล่าให้คนต่างชาติฟัง เพราะว่าทุกคนจะทึ่งกับความซับซ้อนและความ "เหนือเมฆ" ของเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้มาก ภูมิใจ (จริงๆ นะ)
3G แท้/เทียม มายาคติของการตลาดช่วงเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมเมืองไทย
วาทกรรม 3G แท้/เทียม เริ่มขึ้นเมื่อใด
จำกันได้ไหมครับเมื่อปลายปี 2011 ทาง กทช. (ตอนนั้นยังไม่มี กสทช.) ได้จัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ 2100 MHz หรือที่เราชอบเรียกว่าการประมูล 3G นั่นแหละครับ ตรงนี้อยากให้ทุกคนเข้าใจตรงกันก่อนนะครับว่าการประมูลในที่นี้คือ "การประมูลสิทธิ์ในการครอบครองและใช้งานความถี่ย่านนั้นๆ เพื่อนำมาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่" พอได้ความถี่มาก็เอามาใช้ในการให้บริการ 3G (จะทำ 4G ก็ได้ถ้าเทคโนโลยีที่นำมาให้บริการ ไม่ขัดกับข้อกำหนดทางเทคนิคที่กำหนดไว้ในการประมูล) ทีนี้ไอ้การประมูลครั้งนั้นก็โดนเตะตัดขาโดย TOT หรือ CAT นี่แหละผมจำไม่ได้ ทำให้ทุกค่ายฝันค้างกันถ้วนหน้า เพราะตอนนั้น Demand ของ User ที่มีต่อการใช้งาน Data และ Mobile Broadband ในเมืองไทยเพิ่มขึ้นมาก และอีกหนึ่งเหตุผลหลักก็คือ 3 ค่ายอยากจะหนีออกมาจากระบบสัมปทานที่ลดทอนกำไรของทั้ง 3 รายลงไปเสียที.
ในเมื่อการประมูลไม่เกิด แต่ Demand ของ User มันไม่ได้ลดลง มันก็ต้องหา Product เข้ามารองรับความต้องการของตลาด โดยทางฟาก Truemove และ DTAC ที่มี CAT เป็นเจ้าของสัมปทาน ได้รับความกรุณาจาก CAT ให้หยิบยืมคลื่น 850 MHz ที่ตัวเองเป็นเจ้าของ นำไปให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 850 MHz แต่ทั้งสองเจ้าได้รูปแบบและขนาดความกรุณาแตกต่างกันไป จะไม่ขอเล่าตรงนี้เพราะมันเป็นหนังชีวิต เอาเป็นว่าอย่างที่เห็น Truemove H ขยาย Network ใหญ่โต มีความร่วมมือกับ CAT ชัดเจนแม้ว่าสัญญามันจะทะแม่งๆ ในขณะที่ DTAC กว่าจะได้คลื่นนี้มาทำ ต้องใช้ทั้งไม้อ่อนไม้แข็งอยู่หลายรอบแต่ท้ายที่สุด CAT ก็จำใจให้ DTAC ได้มาร่วมใช้คลื่นดังกล่าวเพื่อให้บริการ 3G ชั่วคราว เพราะไม่อย่างนั้น DTAC คงตามราวีไม่เลิก สรุป Truemove H ได้ Bandwidth ไป 15 MHz ส่วน DTAC เป็นลูกคนรองเอาไป 10 MHz (เรื่อง Bandwidth นี่เอาง่ายๆ ก็เหมือนถนนนี่แหละครับถนน 15 ช่อง กับ 10 ช่องใครจะรับปริมาณการจราจรได้มากกว่ากันล่ะครับ)
ข้ามฟากมาดูทางพี่ใหญ่ AIS ซึ่งอยู่ใต้สัมปทานของ TOT ซึ่งไม่มีคลื่นอื่นที่สามารถทำ 3G อยู่ในมือของเจ้าของสัมปทานที่พอจะหยิบยืมมาทำแก้ขัด แต่เพื่อนเขามีกัน ยกนี้ AIS จึงตกเป็นรองและจำใจต้องนำความถี่ 900 MHz ที่ตัวเองมีอยู่ 17.5 MHz เฉือนมาทำ 3G ยกตัวอย่างเช่นบางพื้นที่เฉือนมา 5 MHz ให้ 3G วิ่งทำให้เหลือให้ 2G วิ่งแค่ 12.5 MHz (17.5-5 = 12.5) บางพื้นที่เฉือนมา 10 เหลือให้ 2G วิ่งอยู่ 7.5 ในขณะที่ชาวบ้านเขามีคลื่นอื่นมาทำ 3G โดยเฉพาะ AIS ต้องมานั่งวุ่นวายกับการจัดสรร Capacity ของตัวเอง ทำให้คุณภาพของการใช้งาน 2G ก็ตกลงไปในขณะที่ 3G ก็เอาแน่เอานอนไม่ได้ (ถนนมีเท่าเดิม รถมากขึ้น) แต่ทำไงได้ชาวบ้านเค้ามีกัน กูเป็นพี่ใหญ่ไม่มีนี่เสียแมวแน่นอน ดังนั้นอย่าแปลกใจครับที่ปัญหาของ AIS จะเรื้อรังมาจนทุกวันนี้ และบอกได้เลยว่าถ้าเมื่อปีที่แล้วการประมูลใบอนุญาต 2100 MHz ล้มลงอีกรอบ AIS นี่แหละเดือดร้อนสุด ถึงตอนนี้คงไม่ต้องบอกแล้วนะครับว่า Network 3G 2100 MHz นี้ใครจะต้องติดตั้งให้เร็วที่สุด
จากที่มาที่ไปที่เล่ามาด้านบน จะเห็นได้เลาๆ แล้วว่าไอ้คำพูดหรือวาทกรรมเรื่อง 3G แท้/เทียม (ซึ่งมีการใช้งานในหลายบริบท) เกิดจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้
บริบทที่ 1. เกิดจากการที่ค่ายใบพัดสีฟ้าและค่ายจานแดง ใช้เป็น Message ทางการตลาดเพื่อฟาดฟันพี่เบิ้มเบอร์ 1 ว่าเป็น 3G เทียมเพราะทางพี่เบิ้มใช้ความถี่เก่า (900 MHz) ไป Refarm เพื่อนำความถี่บางส่วนมาให้บริการ 3G ทำให้คุณภาพในการให้บริการไม่สามารถสู้กับใบพัดและจานแดงได้ ทำให้ลูกค้าบางส่วนไหลไปหาสองเจ้านี้
บริบทที่ 2. เกิดขึ้นจากตัว Operator และผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเอง ต้องการเร่งรัดให้เกิดการประมูลใบอนุญาตใช้งานคลื่นความถี่ 2100 MHz ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว ดังนั้นการใช้คำว่า 3G เทียมในบริบทนี้จะหมายรวมไปถึง 3G 850/900 MHz ในคราวเดียวกัน ถามว่าทำไมต้องเร่งกระบวนการของการประมูล ในมุมของ Operator ก็คือต้องการหลุดจากสัมปทานซึ่งต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้สูงกว่าเมื่อเทียบกับระบบใบอนุญาต (License) ที่กำลังจะเกิดขึ้น ส่วนในมุมของ Vendor ที่ขายตัวเครื่องโทรศัพท์และอุปรณ์โครงข่าย นี่คือโอกาสทางธุรกิจในช่วงเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี
ที่เขียนมาเสียยืดยาว ก็เพียงเพื่อจะบอกว่าไม่มีหรอกครับ 3G แท้หรือ 3G เทียม จะ 850, 900 หรือ 2100 MHz ถ้าโทรศัพท์คุณมันขึ้นว่า 3G แล้วมันก็คือ 3G นั่นแหละ แต่คุณภาพของการให้บริการมันจะดีขนาดไหนมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับความถี่ที่ใช้อย่างเดียว เรื่อง Bandwidth การทำ Network Planning รวมทั้งการจัดการต่างๆ Operator ล้วนมีผลต่อคุณภาพของการให้บริการทั้งสิ้น
ทุกวันนี้ข้อมูลหาได้เพียงปลายนิ้ว ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือการใช้วิจารณญาณ การกลั่นกรองและตรวจสอบข้อมูล อย่าให้ใครมาหลอกเราได้ครับ
####### Updated ########
หลังจากอ่านเพื่อนๆ พี่ตอบกระทู้นี้เข้ามา ก็มีเรื่องที่อยากจะสรุปดังนี้ครับ
1. FUP มันเป็นเรื่องจำเป็นจริงๆ ครับ อย่าไปคิดว่า Operator เขาเอาเปรียบเลย Bandwidth ที่มีมันต้องถูก Share เพื่อให้ทุกคนใช้งานตามความจำเป็น (พูดแบบนี้เดี๋ยวคนก็หาว่าผมอยู่กับ Operator อีก ผมจบสายนี้แต่ผมไม่ได้ทำงานให้ Operator หรือ Vendor นะครับ)
2. ความเร็วสูงสุดไม่ว่าจะเป็น 42 Mbps, 100 Mbps มันเป็นความเร็วสูงสุดทางทฤษฎี ซึ่งต้องอยู่ในสภาวะควบคุมเช่น ต้องห่างจาก Base Station ไม่เกินรัศมีที่กำหนด ไม่มีใครใช้งานใน BTS นั้นๆ ซึ่งตามการใช้งานปกติจะยากมากที่เราจะอยู่ในเงื่อนไขแบบนั้น แต่การโฆษณาแบบนี้ไม่ใช่ Operator พูดเกินจริง เพราะตามมาตรฐานของอุตสาหกรรมเค้าก็วัดกันแบบนี้ เค้าไม่ผิด แต่เราต้องรู้เท่าทันสิ่งที่เขากล่าวอ้าง
3. ท่านที่พูดว่าแท้ เทียมเป็นแค่เพียงการประชดในเรื่องคุณภาพการให้บริการของ Operator ผมไม่ได้ว่าท่านไม่รู้ แต่ผมแค่จะแบ่งปันให้ท่านอื่นที่สับสนได้รับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ถ้าท่านรู้อยู่แล้วก็ขออนุโมทนาและเชิญไปยังกระทู้อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์กว่าเถิดครับ
4. เรื่องที่ว่าบางค่ายไม่รีบลง 2100 เพราะตัวเองมี 850 เพียงพออยู่แล้ว ตามข้อเท็จจริงและความเห็นส่วนตัวคิดว่าถ้าไม่มีปัญหาเรื่องเงินลงทุน ทุกค่ายคงอยากย้ายลูกค้าไป 2100 ให้เร็วที่สุดเพราะส่วนแบ่งรายได้ของสัมปทานเดิม (2G 900/1800) อยู่ที่ 25-30% แล้วแต่สัญญา แต่ในขณะที่ภายใต้ใบอนุญาติ 2100 ทาง Operator จะมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพียง 5.75% (License Fee 2% + USO 3.75%) จากรายได้การให้บริการ (ไม่รวมค่าใบอนุญาติที่จ่ายกันไปก่อนแล้ว) อีกอย่างคือถ้าสร้าง Network 2100 เร็วปัญหาเรื่องข้อจำกัดของ Handset (Frequency Band) ก็จะหมดไป
5. เรื่องการติดตั้งในงาน Event ที่ทำก่อน 2 วันอะไรน่ะอย่าไปใส่ใจมันเลยครับ งานแบบนี้ทุกเจ้าก็ทำแบบนี้เหมือนๆ กันหมด สิ่งที่เราเห็นในงานแถลงข่าวบอกอะไรไม่ได้หรอกครับ อย่าไปใส่ใจมันมาก
6. การที่ True เฉือนความถี่ 2100 MHz ของตัวเองมาทำ LTE (จริงๆ แล้ว LTE ปกติไม่ถือเป็น 4G ตามนิยามของ 3GPP นะครับ แต่ก็ตามเคยครับอานุภาพของเรื่องเล่าทำให้คนลืมเรื่องจริง) นั้นแสดงว่า True เองก็มั่นใจว่าตัวเองจะมีสิทธิ์ใช้งานความถี่ 850 MHz ของ CAT ได้ในระยะยาว (ถ้าว่างจะเขียนถึงเรื่องนี้สักที) แม้ว่าสัญญาระหว่าง CAT กับ True ยังอยู่ในขั้นตอนของการสอบสวนอยู่เลย
เรื่องราวในวงการโทรคมนาคมบ้านเราเป็นเรื่องหนึ่งที่ผมภูมิใจมากเวลาไปเล่าให้คนต่างชาติฟัง เพราะว่าทุกคนจะทึ่งกับความซับซ้อนและความ "เหนือเมฆ" ของเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้มาก ภูมิใจ (จริงๆ นะ)