เรื่องนี้ได้เคยเขียนไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว (เดือนมีนาคม ปี ๒๕๕๕) คลังกระทู้เก่าก็ยังคงมีอยู่ แต่ขอเอามาลงใหม่อีกรอบหนึ่ง เพราะเดี๋ยวนี้ไปหาดูตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็ยังมีคนลงไว้ในหลาย ๆ แห่ง โยงเรื่องมาฆบูชา กับศิวาราตรีอยู่หลายเว็บ อยากให้เรื่องเข้าใจผิด ๆ อย่างนี้หมดไปจากสังคมไทยเสียที
เลิกพูดกันเสียที เรื่องมาฆบูชากับศิวาราตรี
ความเข้าใจผิด ๆ ในเรื่องพระพุทธศาสนา ในเมืองไทยประการหนึ่ง คือ...มักมีนักวิชาการชาวพุทธไทยบางท่าน (หรือหลายท่าน) แล้วคนเข้าใจผิด ๆ หลาย ๆ คน กล่าวถึงวันมาฆบูชา และการประชุมกันของหมู่ภิกษุสงฆ์อรหันต์ ว่า...
---------------------------------
"เหตุการณ์ประชุมสงฆ์ในวันมาฆบูชานั้น เกิดจากการที่วันนั้นตรงกับวันศิวาราตรี แล้วท่านเหล่านั้น เคยไปอาบน้ำลอยบาปกัน พอมาบวชในพระพุทธศาสนา ก็ไม่รู้จะต้องปฏิบัติอย่างไร เลยมาหาพระพุทธเจ้า" .......ฯลฯ
----------------------------------
การอ้างอย่างนี้ เท่ากับกำลังกล่าวหาว่าพระสงฆ์ทั้ง ๑,๒๕๐ องค์นั้น ยังติดค่านิยมพราหมณ์ ยังอาบน้ำลอยบาปแบบพราหมณ์อยู่ แล้วก็ทั้ง ๆ ที่บรรลุอรหันต์แล้ว ก็ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร
ข้อควรทราบมีดังนี้
๑. การประชุมสงฆ์ในวันนั้น ไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องศิวาราตรี เป็นคนละเรื่อง
มีข้อควรทราบสองประการคือ
๑) ในครั้งพุทธกาลนั้น แน่นอนว่าความเชื่อเรื่องพระศิวะ ยังไม่มี วันศิวาราตรีอะไรนั่น ก็ไม่มีทางมีด้วย (แม้แต่ที่จะบอกว่า มีความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ว่าควรมีการประชุมกันในวันเพ็ญ อะไรทำนองนั้น ก็ไม่ใช่อีก)
๒) พระอรหันต์ที่มาประชุมกันนั้น ทั้ง ๑,๒๕๐ รูป ไม่มีรูปไหนมีค่านิยมพราหมณ์เลยแม้แต่รูปเดียว ดังนั้นแม้แต่ความเชื่อเรื่องอาบน้ำลอยบาป ก็ไม่มีด้วย เนื่องจากว่า
ก) พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป กลุ่มแรก คือ ๑,๐๐๐ รูป แบ่งได้เป็นกลุ่มพระอดีตชฏิล ๓ พี่น้อง คือท่าน พระอุรุเวลกัสสปะ คยากัสสปะ นทีกัสสปะ ทั้งสามท่าน พร้อมบริวาร เป็นนักบวชนอกศาสนาก็จริง แต่เป็น นักบวชจำพวกชฏิล บูชาไฟ ไม่ได้เชื่อเรื่องการอาบน้ำลอยบาป หรือวันอาบน้ำลอยบาป และอีกประการหนึ่ง นักบวชชฏิลนี้ เป็น นักบวชจำพวกเชื่อกรรม และผลของกรรม พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าหากนักบวชจำพวก ปริพาชกเดียรถีย์ มาขอบวชในพระพุทธศาสนา ให้หมู่สงฆ์ จัดการให้เขาฝึกฝนตนเอง ๔ เดือน เพื่อทดสอบความ ตั้งใจในการบวช เรียกว่า "ติตถิยปริวาส" แต่ทรงอนุญาตว่า ถ้าเป็นนักบวชจำพวกชฏิล ดาบส ฤาษี (จริง ๆ แล้วทั้งสามอย่างนี้ก็นักบวชจำพวกเดียวกันนั่นแหละ ในคัมภีร์เอง แม้จะกล่าวถึงนักบวชคนเดียวกัน ก็ ยังใช้ คำเรียกว่า ชฎิลบ้าง ดาบสบ้าง ยักเยื้องตามแต่ถ้อยประโยค) มาขอบวช สงฆ์สามารถให้บวชได้โดยไม่ ต้องถือติตถิยปริวาส
แน่นอนว่า เมื่อท่านมาบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว บรรลุอรหันต์แล้ว ท่านจึงไม่ได้ไปมีความเชื่อเรื่อง การบูชาไฟเหมือนเดิมอีก แม้แต่เรื่องอาบน้ำลอยบาปก็ไม่มีอยู่แล้วตั้งแต่เดิม จึงไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องวันอาบน้ำ ลอยบาป
ข) พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป กลุ่มที่สอง คือ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และบริวาร กลุ่มนี้แน่ชัดว่า เดิมท่านเป็นพราหมณ์ก็จริง แต่ก็ได้ออกจากเรือน บวชในลัทธิของสัญชัยเวลัฏฐบุตร ดังนั้นต้องถือว่า ท่านได้ละ ความเชื่อถือแบบพราหมณ์ไปตั้งแต่แรกแล้ว และยิ่งมาบวชในพระพุทธศาสนาด้วย ความเชื่อในลัทธิเดียรถีย์ ของสัญชัย ก็เป็นอันยกเลิกไปด้วย เหลือแต่สัมมาทิฏฐิในพระพุทธศาสนา ดังนั้น กลุ่มนี้เอง ท่านก็ไม่มีการมา ประชุมเรื่องวันลอยบาปล้างบาปอะไรอยู่เช่นเดิม
๓)การประชุมกันของหมู่สงฆ์ในครั้งนั้น เรื่องจริงๆ ก็คือว่า แต่เดิมมา พระสงฆ์ไม่มีประเพณีอะไรที่จะมาประชุมกันในวันเพ็ญ วันข้างขึ้นข้างแรมอะไรทั้งนั้น คือไม่มีวันที่เรียกกันในปัจจุบัน ว่าเป็นวันพระ นั่นเอง
ต่อมาวันหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ ได้ทรงเห็นว่า พวกปริพาชก อัญญเดียรถีย์ ได้ประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ แล้วมีการกล่าวธรรมกัน ประชาชนก็พากันเข้าไปฟังธรรมจากพวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น แล้วก็ได้ความรักความเลื่อมใส พระเจ้าพิมพิสาร ทรงดำริว่า ถ้าหากพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จะได้มีการประชุมกันในวัน ๑๔, ๑๕ ค่ำ และ
๘ ค่ำ บ้าง ก็จะเป็นการดี จึงได้เสด็จไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบแล้ว ขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ บ้าง
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงประชุมสงฆ์ มีพุทธานุญาตให้พระสงฆ์ ประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ, ๑๕ ค่ำ, ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ พระสงฆ์ก็ได้ปฏิบัติตามนั้น แต่เมื่อถึงวันนั้นแล้ว ก็เพียงแต่นั่งนิ่ง ไม่ได้มี แสดงธรรมอะไร ชาวบ้านนึกว่าจะได้มาฟังธรรมจากพระสงฆ์บ้าง เหมือนที่พวกเดียรถีย์มีประชุมกันแสดงธรรม พอเห็นพระสงฆ์นั่งนิ่ง ก็ติเตียนว่า พระสมณศากยบุตรนี้ เมื่อประชุมกันแล้วก็นั่งนิ่งเหมือนสุกรอ้วน ทำไมไม่มีการแสดงธรรมอะไรบ้าง
เมื่อพระสงฆ์ได้รับคำติเตียนเช่นนั้น ก็กราบทูลแจ้งต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์จึงได้มีพุทธานุญาตเพิ่มเติม (ทำนองสำทับให้หนักแน่น) ว่า อนุญาตให้ประชุมกันแล้วกล่าวธรรม ในวัน ๑๔, ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์
เรื่องที่เกิดขึ้นนี้ เห็นได้ชัดว่า เป็นเรื่องสมัยแรก ๆ ของการวางรากฐานพระศาสนาในแคว้นมคธ ดังนั้นช่วงเวลาของเหตุการณ์วันมาฆบูชา จึงเกิดขึ้นในช่วงต้นปีที่ ๒ แห่งพุทธกิจ คือหลังจากออกพรรษาแรกมาแล้วนั่นเอง
ถ้าหากลำดับเหตุการณ์ให้เห็นชัด ๆ ก็จะเป็นดังนี้
- พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในพระชนมายุที่ ๓๕ ช่วงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
- ทรงแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ แล้วทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร ในวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘
- ในระหว่างนั้น ทรงโปรดยสกุลบุตร และครอบครัว พร้อมทั้งสหายของพระยสะ (ช่วงพรรษาแรก ตั้งแต่ เดือน ๘ - เดือน ๑๑
- ทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา หลังออกพรรษา แล้วเสด็จไปโปรดชฏิลสามพี่น้อง กับบริวาร บรรลุอรหันต์แล้ว เสด็จมายังแคว้นมคธ โปรดพระเจ้าพิมพิสาร ได้รับถวายพระเวฬุวัน และแสดงธรรมสั่งสอนในแคว้นมคธ(ช่วงนี้น่าจะอยู่ราว ๆ ปลายเดือน๑๒ - ก่อนเดือน ๓ ประมาณ ๑ - ๒เดือน (ระหว่างนี้คงเป็นช่วงเดียวกับที่ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ประชุมกันกล่าวธรรมในวันข้างขึ้น ข้างแรม แห่งปักษ์ ดังกล่าวแล้ว)
- พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ พร้อมบริวาร มาบวชในช่วง วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๓ พระโมคคัลลานะ บรรลุพระอรหันต์ในวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๓ พระสารีบุตร บรรลุอรหันต์ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แล้วในเวลาเย็น พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
ดังนั้น การประชุมกันของสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ก็คือมาประชุมกันเพื่อกล่าวธรรม หรือฟังธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นต้น ในวันข้างขึ้น / ข้างแรม แห่งปักษ์ ดังที่ได้ทรงมีพุทธานุญาตไว้ก่อนแล้วนั่นเอง
ถามว่า การมาประชุมกันครั้งนั้น โดยนัดหมาย หรือไม่นัดหมาย?
ก็ตอบได้ว่า โดยไม่ได้นัดหมาย แต่มาประชุมกันเพราะกติกาที่ตั้งไว้อยู่แล้ว คือพระท่านทราบกันอยู่แล้วว่า วันนี้พระพุทธเจ้าทรงให้ประชุมกันเพื่อกล่าวธรรม ฟังธรรม ท่านก็มากัน โดยไม่ต้องไปนัดหมายกันว่า เอ้อ วันนี้นะ มาประชุมกันนะ คือเป็นเรื่องที่ท่านทราบกันอยู่แล้วนั่นเอง
สรุปว่า ไม่ต้องไปอ้างเรื่องศิวาราตรี เพราะไม่เกี่ยว (เพราะความเชื่อเรื่องพระศิวะก็ยังไม่เกิดเลย) เป็นเรื่องประชุมกันในวันข้างขึ้นข้างแรม คือ ประชุมในวันอุโบสถ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตไว้แต่เดิมนั่นเอง
๒. เรื่องการประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย (เรื่องนี้ได้พูดไว้บ้างแล้วในกระทู้ก่อนหน้า มีข้อที่เพิ่มเติมบ้างเล็กน้อย)
ความมหัศจรรย์ในวันนั้น พูดกันตามตรงก็คือ ไม่ได้มีสาระอยู่ที่มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย พระอรรถกถาจารย์เอง ท่านก็กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ (ในอรรถกถา ทีฆนขสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์) โดยธรรมดา ๆ ไม่ได้กล่าวเป็นพิเศษ หรือกล่าวทำนองว่ามีเรื่องการสื่อสารทางจิต โดยท่านกล่าวว่า
ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อดวงอาทิตย์ยังปรากฏอยู่* ทรงจบเทศนานี้ แล้วเสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏ เสด็จไปพระวิหารเวฬุวันได้ทรงประชุมพระสาวก. ได้มีสันนิบาตประกอบด้วยองค์ ๔. องค์ ๔ เหล่านี้คือ วันนั้นเป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ ประกอบด้วยมาฆนักษัตร ๑ , ภิกษุ ๑,๒๕0 รูป ประชุมกันตามธรรมดาของตน ๆ ไม่มีใครนัดหมายมา ๑ ภิกษุเหล่านั้นไม่มีแม้สักรูปหนึ่งที่เป็นปุถุชน หรือพระโสดาบัน พระสกกาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก ภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ใดอภิญญาหกทั้งนั้น ๑ มิได้ปลงผมด้วยมีดโกนบวชแม้แต่รูปเดียว ภิกษุทั้งหมดเป็นเอหิภิกขุ ๑.
(* คำว่า เมื่อดวงอาทิตย์ยังปรากฏอยู่ แสดงว่าเป็นตอนบ่าย หรือเย็น ไม่ใช่มืด ดังนั้นยิ่งไม่มีอะไรไปโยงถึงศิวาราตรี)
ลองสังเกตตอนที่ท่านกล่าวว่า "ภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันตามธรรมดาของตน ๆ ไม่มีใครนัดหมายมา " นั่นก็คือ ท่านมาประชุมตามปกติ เพราะเป็นวันอุโบสถที่พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตไว้ คือท่านรู้เองว่า วันนี้ต้องประชุมฟังธรรม ท่านก็มากัน คือรู้ด้วยกติกาที่ตั้งไว้อยู่แล้ว
จริง ๆ นี่แล้วควรถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่น่ายกย่อง คือมีกติกา (พุทธานุญาต) อยู่แล้ว แล้วท่านก็มาประชุมกัน พูดกันอย่างง่าย ๆ ก็คือว่า "เอ้อ วันนี้เป็นวันฟังธรรมนะ เราต้องไปฟังธรรม" แล้วท่านอื่น ๆ ก็คิดเหมือนกันนั่นแหละ ท่านก็มา โดยไม่ต้องมีใครไปตาม หรือไปบอกถึงกุฏิ ก็มากันด้วยตัวท่านเอง
อย่างที่วัดใกล้บ้านผม จะมีประเพณีที่แปลกอยู่อย่างหนึ่ง คือถ้าเป็นวันที่มีการทำวัตรสวดมนต์ทั่วไป ท่านก็จะตีระฆังเป็นสัญญาณบอกกล่าว แต่พอถึงวันลงปาฏิโมกข์ ท่านจะไม่ตีระฆัง มีแต่ว่าพระรูปหนึ่งไปเปิดโรงอุโบสถแล้ว พระในวัดก็จะลงอุโบสถกัน โดยไม่ต้องเรียก
เคยถามพระคุณเจ้าในวัดนั้นว่า เอ๊ะ ไม่มีระฆังแล้วรู้ได้อย่างไรว่าต้องลง ท่านอธิบายว่า "กติกามันมีอยู่ ไม่ต้องเรียก ไม่ต้องตาม ก็รู้กันว่าต้องปฏิบัติอย่างไร"
ถ้าเราไม่เอาข้อพิจารณาเช่นว่าพระที่มาประชุมกัน ๑,๒๕๐ รูป ท่านเป็นพระอรหันต์ มาจับประเด็นตรงนี้ ก็ต้องบอกว่า ท่านเป็นผู้เคารพในระเบียบวิธีปฏิบัติ โดยไม่ต้องมีใครบอก พอถึงเวลา ท่านก็มาประชุมกันฟังธรรมตามปกติของท่าน ไม่ต้องมีใครไปเคาะกุฏิเรียกกัน อันนี้ควรถือว่า เป็นความงดงามในสังคมสงฆ์อย่างหนึ่งก็ว่าได้
ทีนี้พอท่านมาประชุมกันแล้ว แน่นอนอยู่ว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระประมุขสงฆ์ ก็ต้องทรงกล่าวธรรมเอง พระองค์ก็ทรงกระทำวิสุทธิอุโบสถ (อุโบสถที่บริสุทธิ์หมดจด หมายถึงการประชุมอุโบสถที่มีแต่พระอรหันต์ล้วน ๆ) แล้วทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งก็คือคาถา ๓ คาถากึ่ง มีคำว่า ขันตี ปรมัง ตะโป ตีติกขา เป็นต้น ดังที่เราทราบกันอยู่แล้ว
เมื่อบอกว่าความมหัศจรรย์ ไม่ได้อยู่ที่มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย แล้วความมหัศจรรย์อยู่ตรงไหน?
ตอบได้ว่า อยู่ตรงที่ผู้มาประชุมกันนั้น ท่านเป็นพระอรหันต์ทุกรูป
พูดง่าย ๆ ก็คือว่า การประชุมกันนั้น ไม่ว่าใครจะประชุมกันเยอะขนาดไหนก็แล้วแต่ ก็ไม่แปลกอะไร มาชุมนุมกันได้ จะจ้างมา หรือมาเอง จะเอามากี่คนก็ได้ แต่จะหาคนที่ดี ๆ ในที่ประชุมนั้น จะมีซักเท่าไหร่
ดังนั้น การประชุมของพระสงฆ์สาวกในครั้งนั้น จึงเป็นการประชุมกันของ "สุดยอดคนดี" (จริง ๆควรเรียกว่า คนที่ไม่ดีไม่ชั่ว แต่อาจเข้าใจยากหน่อย) หรือ การประชุมของผู้บริสุทธิ์หมดจด เพราะไม่มีใครมีมลทิน (กิเลส) ในที่นั้นเลย
ดังนั้น การประชุมกันของพระสงฆ์อรหันต์ ๑,๒๕๐ รูปนั้น จึงเรียกว่า มหัศจรรย์ ตรงที่เป็นการประชุมของคนหมู่มาก ที่ "หมดกิเลสแล้ว" ไม่มีท่านไหนเป็นปุถุชนเลยแม้แต่รูปเดียว
ความมหัศจรรย์ อยู่ที่ตรงนี้มากกว่าอย่างอื่น
เลิกพูดกันเสียที เรื่องมาฆบูชา กับศิวาราตรี....
เลิกพูดกันเสียที เรื่องมาฆบูชากับศิวาราตรี
ความเข้าใจผิด ๆ ในเรื่องพระพุทธศาสนา ในเมืองไทยประการหนึ่ง คือ...มักมีนักวิชาการชาวพุทธไทยบางท่าน (หรือหลายท่าน) แล้วคนเข้าใจผิด ๆ หลาย ๆ คน กล่าวถึงวันมาฆบูชา และการประชุมกันของหมู่ภิกษุสงฆ์อรหันต์ ว่า...
---------------------------------
"เหตุการณ์ประชุมสงฆ์ในวันมาฆบูชานั้น เกิดจากการที่วันนั้นตรงกับวันศิวาราตรี แล้วท่านเหล่านั้น เคยไปอาบน้ำลอยบาปกัน พอมาบวชในพระพุทธศาสนา ก็ไม่รู้จะต้องปฏิบัติอย่างไร เลยมาหาพระพุทธเจ้า" .......ฯลฯ
----------------------------------
การอ้างอย่างนี้ เท่ากับกำลังกล่าวหาว่าพระสงฆ์ทั้ง ๑,๒๕๐ องค์นั้น ยังติดค่านิยมพราหมณ์ ยังอาบน้ำลอยบาปแบบพราหมณ์อยู่ แล้วก็ทั้ง ๆ ที่บรรลุอรหันต์แล้ว ก็ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร
ข้อควรทราบมีดังนี้
๑. การประชุมสงฆ์ในวันนั้น ไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องศิวาราตรี เป็นคนละเรื่อง
มีข้อควรทราบสองประการคือ
๑) ในครั้งพุทธกาลนั้น แน่นอนว่าความเชื่อเรื่องพระศิวะ ยังไม่มี วันศิวาราตรีอะไรนั่น ก็ไม่มีทางมีด้วย (แม้แต่ที่จะบอกว่า มีความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ว่าควรมีการประชุมกันในวันเพ็ญ อะไรทำนองนั้น ก็ไม่ใช่อีก)
๒) พระอรหันต์ที่มาประชุมกันนั้น ทั้ง ๑,๒๕๐ รูป ไม่มีรูปไหนมีค่านิยมพราหมณ์เลยแม้แต่รูปเดียว ดังนั้นแม้แต่ความเชื่อเรื่องอาบน้ำลอยบาป ก็ไม่มีด้วย เนื่องจากว่า
ก) พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป กลุ่มแรก คือ ๑,๐๐๐ รูป แบ่งได้เป็นกลุ่มพระอดีตชฏิล ๓ พี่น้อง คือท่าน พระอุรุเวลกัสสปะ คยากัสสปะ นทีกัสสปะ ทั้งสามท่าน พร้อมบริวาร เป็นนักบวชนอกศาสนาก็จริง แต่เป็น นักบวชจำพวกชฏิล บูชาไฟ ไม่ได้เชื่อเรื่องการอาบน้ำลอยบาป หรือวันอาบน้ำลอยบาป และอีกประการหนึ่ง นักบวชชฏิลนี้ เป็น นักบวชจำพวกเชื่อกรรม และผลของกรรม พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าหากนักบวชจำพวก ปริพาชกเดียรถีย์ มาขอบวชในพระพุทธศาสนา ให้หมู่สงฆ์ จัดการให้เขาฝึกฝนตนเอง ๔ เดือน เพื่อทดสอบความ ตั้งใจในการบวช เรียกว่า "ติตถิยปริวาส" แต่ทรงอนุญาตว่า ถ้าเป็นนักบวชจำพวกชฏิล ดาบส ฤาษี (จริง ๆ แล้วทั้งสามอย่างนี้ก็นักบวชจำพวกเดียวกันนั่นแหละ ในคัมภีร์เอง แม้จะกล่าวถึงนักบวชคนเดียวกัน ก็ ยังใช้ คำเรียกว่า ชฎิลบ้าง ดาบสบ้าง ยักเยื้องตามแต่ถ้อยประโยค) มาขอบวช สงฆ์สามารถให้บวชได้โดยไม่ ต้องถือติตถิยปริวาส
แน่นอนว่า เมื่อท่านมาบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว บรรลุอรหันต์แล้ว ท่านจึงไม่ได้ไปมีความเชื่อเรื่อง การบูชาไฟเหมือนเดิมอีก แม้แต่เรื่องอาบน้ำลอยบาปก็ไม่มีอยู่แล้วตั้งแต่เดิม จึงไม่เกี่ยวอะไรกับเรื่องวันอาบน้ำ ลอยบาป
ข) พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป กลุ่มที่สอง คือ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ และบริวาร กลุ่มนี้แน่ชัดว่า เดิมท่านเป็นพราหมณ์ก็จริง แต่ก็ได้ออกจากเรือน บวชในลัทธิของสัญชัยเวลัฏฐบุตร ดังนั้นต้องถือว่า ท่านได้ละ ความเชื่อถือแบบพราหมณ์ไปตั้งแต่แรกแล้ว และยิ่งมาบวชในพระพุทธศาสนาด้วย ความเชื่อในลัทธิเดียรถีย์ ของสัญชัย ก็เป็นอันยกเลิกไปด้วย เหลือแต่สัมมาทิฏฐิในพระพุทธศาสนา ดังนั้น กลุ่มนี้เอง ท่านก็ไม่มีการมา ประชุมเรื่องวันลอยบาปล้างบาปอะไรอยู่เช่นเดิม
๓)การประชุมกันของหมู่สงฆ์ในครั้งนั้น เรื่องจริงๆ ก็คือว่า แต่เดิมมา พระสงฆ์ไม่มีประเพณีอะไรที่จะมาประชุมกันในวันเพ็ญ วันข้างขึ้นข้างแรมอะไรทั้งนั้น คือไม่มีวันที่เรียกกันในปัจจุบัน ว่าเป็นวันพระ นั่นเอง
ต่อมาวันหนึ่ง พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ ได้ทรงเห็นว่า พวกปริพาชก อัญญเดียรถีย์ ได้ประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ แล้วมีการกล่าวธรรมกัน ประชาชนก็พากันเข้าไปฟังธรรมจากพวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น แล้วก็ได้ความรักความเลื่อมใส พระเจ้าพิมพิสาร ทรงดำริว่า ถ้าหากพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จะได้มีการประชุมกันในวัน ๑๔, ๑๕ ค่ำ และ
๘ ค่ำ บ้าง ก็จะเป็นการดี จึงได้เสด็จไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบแล้ว ขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ บ้าง
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงประชุมสงฆ์ มีพุทธานุญาตให้พระสงฆ์ ประชุมกันในวัน ๑๔ ค่ำ, ๑๕ ค่ำ, ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ พระสงฆ์ก็ได้ปฏิบัติตามนั้น แต่เมื่อถึงวันนั้นแล้ว ก็เพียงแต่นั่งนิ่ง ไม่ได้มี แสดงธรรมอะไร ชาวบ้านนึกว่าจะได้มาฟังธรรมจากพระสงฆ์บ้าง เหมือนที่พวกเดียรถีย์มีประชุมกันแสดงธรรม พอเห็นพระสงฆ์นั่งนิ่ง ก็ติเตียนว่า พระสมณศากยบุตรนี้ เมื่อประชุมกันแล้วก็นั่งนิ่งเหมือนสุกรอ้วน ทำไมไม่มีการแสดงธรรมอะไรบ้าง
เมื่อพระสงฆ์ได้รับคำติเตียนเช่นนั้น ก็กราบทูลแจ้งต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์จึงได้มีพุทธานุญาตเพิ่มเติม (ทำนองสำทับให้หนักแน่น) ว่า อนุญาตให้ประชุมกันแล้วกล่าวธรรม ในวัน ๑๔, ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์
เรื่องที่เกิดขึ้นนี้ เห็นได้ชัดว่า เป็นเรื่องสมัยแรก ๆ ของการวางรากฐานพระศาสนาในแคว้นมคธ ดังนั้นช่วงเวลาของเหตุการณ์วันมาฆบูชา จึงเกิดขึ้นในช่วงต้นปีที่ ๒ แห่งพุทธกิจ คือหลังจากออกพรรษาแรกมาแล้วนั่นเอง
ถ้าหากลำดับเหตุการณ์ให้เห็นชัด ๆ ก็จะเป็นดังนี้
- พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในพระชนมายุที่ ๓๕ ช่วงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
- ทรงแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ แล้วทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร ในวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘
- ในระหว่างนั้น ทรงโปรดยสกุลบุตร และครอบครัว พร้อมทั้งสหายของพระยสะ (ช่วงพรรษาแรก ตั้งแต่ เดือน ๘ - เดือน ๑๑
- ทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา หลังออกพรรษา แล้วเสด็จไปโปรดชฏิลสามพี่น้อง กับบริวาร บรรลุอรหันต์แล้ว เสด็จมายังแคว้นมคธ โปรดพระเจ้าพิมพิสาร ได้รับถวายพระเวฬุวัน และแสดงธรรมสั่งสอนในแคว้นมคธ(ช่วงนี้น่าจะอยู่ราว ๆ ปลายเดือน๑๒ - ก่อนเดือน ๓ ประมาณ ๑ - ๒เดือน (ระหว่างนี้คงเป็นช่วงเดียวกับที่ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ประชุมกันกล่าวธรรมในวันข้างขึ้น ข้างแรม แห่งปักษ์ ดังกล่าวแล้ว)
- พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ พร้อมบริวาร มาบวชในช่วง วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๓ พระโมคคัลลานะ บรรลุพระอรหันต์ในวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๓ พระสารีบุตร บรรลุอรหันต์ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แล้วในเวลาเย็น พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์
ดังนั้น การประชุมกันของสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ก็คือมาประชุมกันเพื่อกล่าวธรรม หรือฟังธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นต้น ในวันข้างขึ้น / ข้างแรม แห่งปักษ์ ดังที่ได้ทรงมีพุทธานุญาตไว้ก่อนแล้วนั่นเอง
ถามว่า การมาประชุมกันครั้งนั้น โดยนัดหมาย หรือไม่นัดหมาย?
ก็ตอบได้ว่า โดยไม่ได้นัดหมาย แต่มาประชุมกันเพราะกติกาที่ตั้งไว้อยู่แล้ว คือพระท่านทราบกันอยู่แล้วว่า วันนี้พระพุทธเจ้าทรงให้ประชุมกันเพื่อกล่าวธรรม ฟังธรรม ท่านก็มากัน โดยไม่ต้องไปนัดหมายกันว่า เอ้อ วันนี้นะ มาประชุมกันนะ คือเป็นเรื่องที่ท่านทราบกันอยู่แล้วนั่นเอง
สรุปว่า ไม่ต้องไปอ้างเรื่องศิวาราตรี เพราะไม่เกี่ยว (เพราะความเชื่อเรื่องพระศิวะก็ยังไม่เกิดเลย) เป็นเรื่องประชุมกันในวันข้างขึ้นข้างแรม คือ ประชุมในวันอุโบสถ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตไว้แต่เดิมนั่นเอง
๒. เรื่องการประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย (เรื่องนี้ได้พูดไว้บ้างแล้วในกระทู้ก่อนหน้า มีข้อที่เพิ่มเติมบ้างเล็กน้อย)
ความมหัศจรรย์ในวันนั้น พูดกันตามตรงก็คือ ไม่ได้มีสาระอยู่ที่มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย พระอรรถกถาจารย์เอง ท่านก็กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ (ในอรรถกถา ทีฆนขสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์) โดยธรรมดา ๆ ไม่ได้กล่าวเป็นพิเศษ หรือกล่าวทำนองว่ามีเรื่องการสื่อสารทางจิต โดยท่านกล่าวว่า
ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อดวงอาทิตย์ยังปรากฏอยู่* ทรงจบเทศนานี้ แล้วเสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏ เสด็จไปพระวิหารเวฬุวันได้ทรงประชุมพระสาวก. ได้มีสันนิบาตประกอบด้วยองค์ ๔. องค์ ๔ เหล่านี้คือ วันนั้นเป็นวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ ประกอบด้วยมาฆนักษัตร ๑ , ภิกษุ ๑,๒๕0 รูป ประชุมกันตามธรรมดาของตน ๆ ไม่มีใครนัดหมายมา ๑ ภิกษุเหล่านั้นไม่มีแม้สักรูปหนึ่งที่เป็นปุถุชน หรือพระโสดาบัน พระสกกาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก ภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ใดอภิญญาหกทั้งนั้น ๑ มิได้ปลงผมด้วยมีดโกนบวชแม้แต่รูปเดียว ภิกษุทั้งหมดเป็นเอหิภิกขุ ๑.
(* คำว่า เมื่อดวงอาทิตย์ยังปรากฏอยู่ แสดงว่าเป็นตอนบ่าย หรือเย็น ไม่ใช่มืด ดังนั้นยิ่งไม่มีอะไรไปโยงถึงศิวาราตรี)
ลองสังเกตตอนที่ท่านกล่าวว่า "ภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันตามธรรมดาของตน ๆ ไม่มีใครนัดหมายมา " นั่นก็คือ ท่านมาประชุมตามปกติ เพราะเป็นวันอุโบสถที่พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตไว้ คือท่านรู้เองว่า วันนี้ต้องประชุมฟังธรรม ท่านก็มากัน คือรู้ด้วยกติกาที่ตั้งไว้อยู่แล้ว
จริง ๆ นี่แล้วควรถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่น่ายกย่อง คือมีกติกา (พุทธานุญาต) อยู่แล้ว แล้วท่านก็มาประชุมกัน พูดกันอย่างง่าย ๆ ก็คือว่า "เอ้อ วันนี้เป็นวันฟังธรรมนะ เราต้องไปฟังธรรม" แล้วท่านอื่น ๆ ก็คิดเหมือนกันนั่นแหละ ท่านก็มา โดยไม่ต้องมีใครไปตาม หรือไปบอกถึงกุฏิ ก็มากันด้วยตัวท่านเอง
อย่างที่วัดใกล้บ้านผม จะมีประเพณีที่แปลกอยู่อย่างหนึ่ง คือถ้าเป็นวันที่มีการทำวัตรสวดมนต์ทั่วไป ท่านก็จะตีระฆังเป็นสัญญาณบอกกล่าว แต่พอถึงวันลงปาฏิโมกข์ ท่านจะไม่ตีระฆัง มีแต่ว่าพระรูปหนึ่งไปเปิดโรงอุโบสถแล้ว พระในวัดก็จะลงอุโบสถกัน โดยไม่ต้องเรียก
เคยถามพระคุณเจ้าในวัดนั้นว่า เอ๊ะ ไม่มีระฆังแล้วรู้ได้อย่างไรว่าต้องลง ท่านอธิบายว่า "กติกามันมีอยู่ ไม่ต้องเรียก ไม่ต้องตาม ก็รู้กันว่าต้องปฏิบัติอย่างไร"
ถ้าเราไม่เอาข้อพิจารณาเช่นว่าพระที่มาประชุมกัน ๑,๒๕๐ รูป ท่านเป็นพระอรหันต์ มาจับประเด็นตรงนี้ ก็ต้องบอกว่า ท่านเป็นผู้เคารพในระเบียบวิธีปฏิบัติ โดยไม่ต้องมีใครบอก พอถึงเวลา ท่านก็มาประชุมกันฟังธรรมตามปกติของท่าน ไม่ต้องมีใครไปเคาะกุฏิเรียกกัน อันนี้ควรถือว่า เป็นความงดงามในสังคมสงฆ์อย่างหนึ่งก็ว่าได้
ทีนี้พอท่านมาประชุมกันแล้ว แน่นอนอยู่ว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระประมุขสงฆ์ ก็ต้องทรงกล่าวธรรมเอง พระองค์ก็ทรงกระทำวิสุทธิอุโบสถ (อุโบสถที่บริสุทธิ์หมดจด หมายถึงการประชุมอุโบสถที่มีแต่พระอรหันต์ล้วน ๆ) แล้วทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งก็คือคาถา ๓ คาถากึ่ง มีคำว่า ขันตี ปรมัง ตะโป ตีติกขา เป็นต้น ดังที่เราทราบกันอยู่แล้ว
เมื่อบอกว่าความมหัศจรรย์ ไม่ได้อยู่ที่มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย แล้วความมหัศจรรย์อยู่ตรงไหน?
ตอบได้ว่า อยู่ตรงที่ผู้มาประชุมกันนั้น ท่านเป็นพระอรหันต์ทุกรูป
พูดง่าย ๆ ก็คือว่า การประชุมกันนั้น ไม่ว่าใครจะประชุมกันเยอะขนาดไหนก็แล้วแต่ ก็ไม่แปลกอะไร มาชุมนุมกันได้ จะจ้างมา หรือมาเอง จะเอามากี่คนก็ได้ แต่จะหาคนที่ดี ๆ ในที่ประชุมนั้น จะมีซักเท่าไหร่
ดังนั้น การประชุมของพระสงฆ์สาวกในครั้งนั้น จึงเป็นการประชุมกันของ "สุดยอดคนดี" (จริง ๆควรเรียกว่า คนที่ไม่ดีไม่ชั่ว แต่อาจเข้าใจยากหน่อย) หรือ การประชุมของผู้บริสุทธิ์หมดจด เพราะไม่มีใครมีมลทิน (กิเลส) ในที่นั้นเลย
ดังนั้น การประชุมกันของพระสงฆ์อรหันต์ ๑,๒๕๐ รูปนั้น จึงเรียกว่า มหัศจรรย์ ตรงที่เป็นการประชุมของคนหมู่มาก ที่ "หมดกิเลสแล้ว" ไม่มีท่านไหนเป็นปุถุชนเลยแม้แต่รูปเดียว
ความมหัศจรรย์ อยู่ที่ตรงนี้มากกว่าอย่างอื่น