ประสบการณ์รกเกาะต่ำ นอนโรงพยาบาลเป็นเดือน ผ่าคลอดฉุกเฉินก่อนกำหนดที่อเมริกา กว่าจะได้ลูกชายมาอยู่ในอ้อมกอด

สวัสดีคะชาวชานเรื่อนทุกคน เราเป็นสมาชิกมานานแต่ไม่ค่อยได้ตั่งกระทู้เท่าไรแต่เข้ามาอ่านทุกวัน วันนี้ได้โอกาสมาเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตัวเองเพื่อเป็นประโยชน์กับแม่ๆที่กำลังตั่งท้องในนี้ ข้อมูลบางส่วนเจ้าของกระทู้เอามาจากเว็บการแพทย์ ข้อมูลส่วนมากมาจากประสบการณ์ตรงที่เจ้าของกระทู้ได้คุยกับคุณหมอนะคะ ผิดพลาดประการใดแนะนำกันได้

ปล ขออณุญาตแท็กห้องสวนลุมด้วยนะคะเพราะเห็นว่าเกี่ยวกับการรักษาของแพทย์


ก่อนจะเล่าประสบการณ์คลอดของต้วเองอยากให้หลายคนเข้าใจภาวะรกเกาะต่ำก่อน

รกเกาะต่ำคืออะไร

ภาวะรกเกาะต่ำ หรือ placenta previa(placenta=รก) หมายถึงภาวะ ที่การเกาะของรก เกาะต่ำลงจากปกติที่อยู่สูงขึ้นไปในมดลูก บางครั้ง เกาะต่ำลงมาถึงปากช่องคลอด และทำให้เกิดปัญหา คือเลือดออกในช่วงที่ปากช่องคลอดขยายตัว คือช่วงครึ่งหลัง (3-8 เดือน)ของการตั้งครรภ์ และถ้าเป็นมาก อาจทำให้ตกเลือด เด็กไม่สามารถคลอดตามปกติ ต้องผ่า เพราะมีรกขวางอยู่ ตามรูป

อุบัติการ การเกิดรกเกาะต่ำ เกิดได้ประมาณ 2-5 รายต่อการตั้งครรภ์1000 ราย และเป็นสาเหตุทำให้แม่เสียชีวิต ประมาณ 3ใน 10000 คน
รก คืออวัยวะพิเศษ ที่สร้างขึ้นมาในช่วงตั้งครรภ์ ทำหน้าที่ส่งอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกและกำจัดของเสีย โดยด้านหนึ่งของรก ต่อกับเส้นเลือดที่สายสะดือของเด็ก อีกด้านของรก จะเกาะกับผนังมดลูก เลือดลูกกับแม่จะไม่ผสมกัน แต่จะมีการแลกเปลี่ยนสารระหว่างกัน
ในภาวะปกติ รกจะเกาะสูงขึ้นไปในมดลูก (ในระยะแรก ๆ จะเกาะต่ำ ๆ ได้ถึง20% แต่เมื่อการตั้งครรภ์พัฒนาไป จะเลื่อนขึ้นด้านบนไปเรื่อย ๆ)

ชนิดของรกเกาะต่ำ
เกาะต่ำแต่ไม่ถึงปากมดลูก
เกาะต่ำและเลยไปบางส่วนของปากมดลูก
เกาะต่ำและปิดปากมดลูกไว้ทั้งหมด



สาเหตุ ไม่มีใครทราบ แตปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกี่ยวข้องคือ การที่มารดาอายุมาก เช่นพบว่า มารดาอายุ30ปี โอกาสเกิดรกเกาะต่ำมากเป็น 3เท่าของมารดาอายุ 20 ปี การที่มีรกเกาะต่ำมาก่อน การผ่าตัดคลอดบุตรมาก่อน เคยทำแท้ง หรือการสูบบุหรี่

อาการและอาการแสดง

เลือดออกทางช่องคลอด ในอายุครรภ์มากกว่า 6 เดือน มักไม่ปวดท้อง และเป็นเลือดสดๆ การมีเลือดออกครั้งแรกมักไม่มาก แต่รอบต่อๆไปอาจมากจนเสียชีวิต ที่เรียกว่าตกเลือดได้อาจมีการหดรัดตัวของมดลูกได้ สิ่งสำคัญของแพทย์เมื่อสงสัยคือ ทำอัลตราซาวด์และตรวจหัวใจเด็ก เมื่อสงสัย แพทย์ต้องระมัดระวังอย่างมากในการตรวจภายใน เพราะจะกระตุ้นการลอกของรกให้ตกเลือดรุนแรงได้ (แพทย์อาวุโสแนะนำว่า ถ้าจะตรวจภายใน ก็ต้องเตรียมพร้อมที่จะทำผ่าตัดเอาเด็กออกได้เลย)

ในแผนกฉุกเฉิน เมื่อมีการตกเลือดในอายุครรภ์ช่วงนี้ และสงสัย ต้องมีการเตรียมพร้อม โดยเรียกสูตินรีแพทย์ สังเกตอาการในรพ. เตรียมเลือด แทงน้ำเกลือ และพร้อมที่จะเปิดห้องผ่าตัด ในกรณีไม่พร้อม ควรส่งตัวไปในสถานที่ที่มีการผ่าตัดได้อย่างรวดเร็ว ถ้าเด็กมีอาการของการขาดออกซิเจน เด็กโตพอที่จะคลอดได้ ก็มักทำผ่าตัดเอาเด็กออกเลย

ในสตรีที่มีรกเกาะต่ำบางราย โดยเฉพาะเคยมีรกเกาะต่ำมาก่อน หรือเคยทำผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง จะมีความเสี่ยงต่อภาวะอีกอย่างที่เรียกว่า placenta accreta คือรกเกาะแน่น และบางครั้งเกาะมานอกผนังมดลูกเลย ทำให้เวลาคลอด รกไม่คลอดหรือหลุด มดลุกจะหดตัวไม่ได้และไม่สามารถหยุดเลือดตามธรรมชาติ เกิดการตกเลือดรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ภาวะนี้ มักลงเอยในขั้นที่ต้องตัดมดลูกของแม่ ภายหลังผ่าเด็กออก เพราะมักมีเลือดออกมากจนเสี่ยงต่อชีวิตได้

ภาวะ placenta accreta นี้บางครั้งวินิจฉัยยากมาก แม้จะทำเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็ก หรือวิธีอื่นๆ บางทีเจอในห้องผ่าตัดโดยบังเอิญ ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางสูตินรีเวชที่อันตรายอย่างมาก

เรียบเรียงโดย นพ.กิจการ จันทร์ดา

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaihealth.net/h/article573.html
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่