D.I.Y. เปลี่ยนสายพานคอมแอร์ และสายพานไดร์ชาร์ท รถยนต์ Isuzu Commonrail ปี 2005-2011
สายพานหน้าเครื่องยนต์ เมื่อมีการใช้งาน ก็ต้องมีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา
ถ้าเราสามารถกะะระยะคราวๆ ได้ว่าน่าจะเปลี่ยนได้สักระยะทางเท่าไรดี ก็น่าจะดีไม่น้อย
โดยอาศัยการตรวจดูด้วยสายตาก็ส่วนนึง หรือจะทำการจดบันทึกเอาไว้ สำหรับตรวจดู
ในภายหลังได้ว่า มีการเปลี่ยนไปครั้งสุดท้าย ที่ใด เมื่อไร ระยะทางกี่กิโลเมตร ถ้างั้นตามไปดูกัน
ข้อมูลรุ่นรถที่เอามา D.I.Y. นั้น อาจจะไม่ตรงรุ่นกับที่ท่านผู้อ่านใช้รถกันอยู่ ก็อย่า
เพิ่งด่วนตัดสินใจมองข้ามไป เนื่องจากวิธีการเปลี่ยนสายพานนี้ สามารถนำไปปรับให้
เข้ากับรุ่นรถที่ท่านใช้กันอยู่ เพราะว่าหลักการของการปรับตั้งสายพาน คือ เมื่อมีตัวปรับตั้ง
ก็ต้องมีตัวล็อคเป็นของคู่กัน โปรดติดตาม
1. รถยนต์ Isuzu 3.0 VGS รุ่นปี 2008 ที่จะนำมาเปลี่ยนสายพานคอมแอร์ และสายพาน ไดร์ชาร์ท ดังรูป
2. สายพานคอมแอร์ และสายพานไดร์ชาร์ทครับ สำหรับรุ่นรถแบบนี้ ถ้าใครใช้แบบอื่น
หรือยี่ห้ออื่น ลองตรวจสอบรหัสสายพานเบื้องต้น ในรถที่ใช้กันอยู่น่ะครับ
สายพานคอมแอร์ และสายพานไดร์ชาร์ท ที่ใช้กับรถยนต์ Isuzu Commonrail ปี 2005-2011
สายพานไดร์ชาร์ท ยี่ห้อ Gates รหัสสายพาน 7PK990
สายพานคอมแอร์ ยี่ห้อ Gates รหัสสายพาน V13x1360
สายพานคอมแอร์ ยี่ห้อ Mitsuboshi รหัสสายพาน 12.5x1375
สายพานคอมแอร์ ยี่ห้อ Bando รหัสสายพาน 12.5x1375
3. เครื่องมือที่จะใช้ในการเปลี่ยนสายพาน จริงๆ แล้วไม่จำเป็นต้องเยอะแบบนี้ก็ได้
แต่ถ้าเราทำงานโดยเครื่องมือครบ จะทำให้ทุ่นแรง และใช้เวลาในการทำงานน้อยกว่านั่นเอง
4. จากรูป ดูแล้วไม่น่าใช่ช่างไทย เพราะว่าช่างไทยไม่ชอบสวมถุงมือ แซวกันเล่นๆ
ขณะปฎิบัติงาน แนะนำให้สวมถุงมือ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
5. มองเห็นเป้าหมายแล้ว สายพาน 2 เส้น ที่เราต้องการเปลี่ยนนี่เอง เดี๋ยวเจอกัน
6. ท่อดูดอากาศหลังหม้อกรอง ก่อนเข้าเทอร์โบ ถ้าถอดออกมาได้ จะเพิ่มพื้นที่ใน
การทำงานได้มากขึ้น ส่วนใครจะไม่ถอดก็ได้ ผมชอบทำงานแบบโล่งๆ ทำการคลาย
น็อตล็อค หรือปลดท่อยางออก ดังรูป
7. เอาออกไปรอข้างนอกก่อน เดี่ยวเสร็จแล้ว ค่อยทำการประกอบคืนเหมือนเดิม
8. เมื่อเอาท่อดูดอากาศออกไปแล้ว จะได้พื้นที่ทำงานที่โล่งมาก ใครจะถอดเปลี่ยน
หรือซ่อมไดร์ชาร์ท ก็สามารถทำงานได้สะดวกมากขึ้นแล้ว
9. ขนาดของไดร์ชาร์ทติดรถมาครับ รถยนต์ แต่ละรุ่น แต่ละแบบ ขนาดของไดร์ชาร์ท
ไม่เท่ากัน ถ้าอยากรู้ต้องหาวิธีก้มลงไปดูครับ จากรูป ไดร์ชาร์ทขนาด 12 โวลต์ 90 แอมป์
เป็นของรถยนต์ Isuzu 3.0 VGS ปี 2008
10. จะทำการถอดสายพานทั้งสองเส้นออกไปได้ ก็ต้องเริ่มที่สายพานเส้นนอกที่สุดก่อน
คือสายพานคอมแอร์ ใช้ประแจแหวนเบอร์ 14 ทำการคลายล็อคออกมาพอหลวมๆ
11. ใช้ประแจบล็อค พร้อมลูกบล็อคหกเหลี่ยมเบอร์ 12 ทำการหย่อนสายพานคอมแอร์
ลงมา โดยทำการหมุนซ้าย ทวนเข็มนาฬิกาไปเรื่อยๆ
ข้อควรระวัง : ในการปรับตั้งสายพานคอมแอร์ที่ตำแหน่งนี้อาจจะไปโดนท่อทางเดินน้ำหล่อเย็น
อาจจะทำให้เกิดการรั่วในอนาคต เพราะว่าเกิดจากรอยเฉือน หรือฉีกขาดแค่เพียงเล็กน้อย
หลายคันที่เคยเจอว่า น้ำในหม้อพักน้ำหายไป พบว่าน้ำหล่อเย็นรั่วออกมาที่บริเวณนี้ครับ
12. ทำการหย่อนตัวปรับตั้งสายพานคอมแอร์ลงไปเรื่อยๆ จนสามารถที่จะนำสายพาน
ออกมาจากร่องพูเล่ได้ ดังรูป
13. ทำการถอดสายพานคอมแอร์ออกมา โดยลอดผ่านพัดลมหน้าเครื่อง ดังรูป
14. ด้วยความอยากรู้ ลูกรอกสายพานคอมแอร์เป็นอย่างไร ก็ต้องถอดออกมารื้อดูกันหน่อย
รถเพื่อนผม Isuzu รุ่นปี 2007 ตอนนี้วิ่งไป 300,000 Km. ยังไม่เคยเจอปัญหาต้องเปลี่ยน
ลูกรอกตัวนี้ครับ ก็เลยอยากรู้ว่ามันประกอบกันอย่างไร เพราะว่ามันไม่เคยพัง เวลาถอด
ออก โปรดใช้ความระมัดระวังจะทำหล่นหลุดมือลงไปข้างล่างนะครับ
15. เนื่องจากไม่เคยพัง ก็เลยต้องขอถ่ายรูปเอาไว้ดูซักหน่อย เคยเห็นช่างข้างนอก
เขาทำการตีเปลี่ยนชุดลูกปืนข้างในนี้ครับ ถ้าของเรายังไม่พังอย่าหาเรื่องเสียตังค์ ดีที่สุด
ในกรณีที่ลูกปืนข้างในมันแตก เราสามารถเทียบขนาดลูกปืนนำมาเปลี่ยนได้ แต่ต้องใช้
เครื่องมือในการตอกลูกปืนออก และทำการใส่เข้ากลับคืน ผมใช้วิธีให้ช่างที่ร้านรับกลึง
ทำการดันลูกปืนเข้าให้ครับ แต่เราต้องเตรียมอะไหล่ไปเอง
16. สายพานเส้นแรกออกไปแล้ว ต่อไปจะทำการถอดสายพานเส้นที่สอง กันต่อเลย
17. จะเอาสายพานไดร์ชาร์ท ออกมาได้ ต้องทำการหย่อนสายพานที่ตัวไดร์ชาร์ท
โดยจะมีน็อตเบอร์ 12 จำนวน 2 ตัว ตัวซ้ายมือจะเป็นตัวปรับตั้ง ตัวขวามือจะเป็นตัวล็อค
18. ใช้ประแจแหวน หรือประแจก๊อกแก๊ก เบอร์ 12 ทำการหมุนซ้าย คลายหลวม
ที่น็อตล็อคสายพานไดร์ชาร์ท ดังรูป
19. ต่อมาใช้ประแจแหวน หรือประแจก๊อกแก๊ก เบอร์ 12 ทำการหมุนซ้าย คลายหลวม
ที่น็อตปรับตั้งสายพานไดร์ชาร์ท ดังรูป
20. ในบางกรณีอาจจะพบว่าไม่สามารถทำการหย่อนสายพานไดร์ชาร์ทได้ เนื่องจาก
ตัวไดร์ชาร์ทไม่ขยับ จึงต้องทำการคลายน็อตล็อคไดร์ชาร์ทอีกตัวนึงที่อยู่ด้านล่างสุด
อาการนี้มักจะเจอกับรถยนต์ที่เพิ่งเปลี่ยนสายพานไดร์ชาร์ทเส้นแรก เพราะว่าน็อตที่
ทำการล็อคมาจากโรงงานแน่นมาก หรือไม่ก็สนิมอาจจะล็อคเกลียวจนติด ต้องทำการ
พ่นน้ำยา Sonax ก่อน จึงจะทำการหมุนน็อตออกมาได้
ตำแหน่งนี้ ประแจบล็อค , ข้อต่อสั้น , ลูกบล็อคเบอร์ 14 และประแจแหวนเบอร์ 14
ทำการคลายน็อต หมุนซ้าย ดังรูป โดยข้างนึงหมุน อีกอันกันหมุนตาม
21. ทำการขยับตัวไดร์ชาร์ทเข้าหาเครื่องยนต์ เพื่อที่จะทำการถอดสายพานออกจาก
ร่องพูเล่ของไดร์ชาร์ท
22. ทำการถอดสายพานไดร์ชาร์ทออกมา โดยลอดผ่านพัดลมหน้าเครื่อง ดังรูป
23. ทำการตรวจสอบสายพานคอมแอร์ จากที่ทำการจดบันทึกพบว่าเพิ่งผ่านการใช้งาน
มาแค่ 6,000 Km. และสภาพยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ สรุปว่าจะทำการใช้ต่อไป
ความเห็นส่วนตัว ผมว่าสายพานคอมแอร์เส้นนี้ควรเปลี่ยนทุกๆ 50,000 Km. ครับ
ไม่ว่าสภาพจะเป็นอย่างไร ก็ควรที่จะเปลี่ยนครับ ราคาไม่แพงมากด้วย ดีกว่าทนรำคาญ
เสียงดัง หรืออาจจะงานเข้าไปสายพานขาดระหว่างทาง
สายพานเส้นเดิม ถ้ายังอยู่ในสภาพดีอย่าทิ้ง ให้เก็บเอาไว้เพื่อฉุกเฉิน สำหรับรถเราเอง
และช่วยเหลือรถคนอื่นได้ครับ
24. ทำการตรวจสอบสายพานไดร์ชาร์ท จากที่ทำการจดบันทึกพบว่าเพิ่งผ่านการใช้งาน
มาแล้ว 100,000 Km. และสภาพก็ยังพอใช้ได้อีก สรุปว่าจะทำการเปลี่ยนครับ
ความเห็นส่วนตัว ผมว่าสายพานไดร์ชาร์ทเส้นนี้ควรเปลี่ยนทุกๆ 100,000 Km. ครับ
ไม่ว่าสภาพจะเป็นอย่างไร ก็ควรที่จะเปลี่ยนครับ ราคาไม่แพงมากด้วย ดีกว่าจะมาคอย
ลุ้นเอาว่า จะงานเข้าไปสายพานขาดระหว่างทาง
สายพานเส้นเดิม ถ้ายังอยู่ในสภาพดีอย่าทิ้ง ให้เก็บเอาไว้เพื่อฉุกเฉิน สำหรับรถเราเอง
และช่วยเหลือรถคนอื่นได้ครับ
25. ขั้นตอนการใส่สายพานให้ทำการใส่ย้อนกลับ วิธีการถอดออก เริ่มจากที่สายพาน
ไดร์ชาร์ท ทำการคล้องสายพานผ่านพัดลมหน้าเครื่อง เข้ากับพูเล่ไดร์ชาร์, พูเล่พัดลม
หน้าเครื่อง และพูเล่เพลาข้อเหวี่ยง ดังรูป
26. ทำการปรับตั้งสายพานไดร์ชาร์ โดยใช้ประแจแหวน หรือประแจก๊อกแก๊ก เบอร์ 12
ทำการถ่างสายพานไดร์ชาร์ท ให้ค่อยๆ ตึงขึ้นเรื่อยๆ จนมีความตึงที่เหมาะสม
27. ใช้ประแจแหวนเบอร์ 12 ทำการขันน็อตล็อคตัวปรับตั้งสายพานคอมแอร์ จากนั้น
ทำการตรวจสอบสายพานอีกครั้ง เป็นอันเรียบร้อย สายพานไม่ควรที่จะตั้งตึงจนเกินไป
ควรให้มีระยะหย่อนบ้าง โปรดศึกษาจากคู่มือประจำรถของท่านกันอีกครั้ง
28. อย่าลืมหมุนน็อตล็อคไดร์ชาร์ทกลับคืนที่เดิม และตรวจเช็คสายพานไดร์ชาร์ท
อีกครั้งว่าสายพานลงร่องดีไหม ความตึงเหมาะสมไหม เป็นอันเรียบร้อย
29. ต่อมาทำการคล้องสายพานคอมแอร์ลงในร่องพูเล่ โดยทำการคล้องสายพานผ่าน
พัดลมหน้าเครื่อง เข้ากับพูเล่เพลาข้อเหวี่ยง, พูเล่พัดลมหน้าเครื่อง, พูเล่คอมแอร์
และลูกรอกปรับตั้งสายพานคอมแอร์
30. ทำการปรับตั้งความตึงของสายพานคอมแอร์ โดยใช้ประแจบล็อค พร้อมลูกบล็อค
เบอร์ 12 ทำการหมุนขวา ตามเข็มนาฬิกา เพื่อให้สายพานตึงขึ้นจนถึงระยะที่เหมาะสม
ข้อควรระวัง : ในการปรับตั้งสายพานคอมแอร์ที่ตำแหน่งนี้อาจจะไปโดนท่อทางเดินน้ำหล่อเย็น
อาจจะทำให้เกิดการรั่วในอนาคต เพราะว่าเกิดจากรอยเฉือน หรือฉีกขาดแค่เพียงเล็กน้อย
หลายคันที่เคยเจอว่า น้ำในหม้อพักน้ำหายไป พบว่าน้ำหล่อเย็นรั่วออกมาที่บริเวณนี้ครับ
31. ใช้ประแจแหวนเบอร์ 14 ทำการขันน็อตล็อคตัวปรับตั้งสายพานคอมแอร์ จากนั้น
ทำการตรวจสอบสายพานอีกครั้ง เป็นอันเรียบร้อย สายพานไม่ควรที่จะตั้งตึงจนเกินไป
ควรให้มีระยะหย่อนบ้าง โปรดศึกษาจากคู่มือประจำรถของท่านกันอีกครั้ง
32. ทำการประกอบท่อดูดอากาศกลับคืนที่เดิม เป็นอันเรียบร้อย แล้วทำการติดเครื่องยนต์
ตรวจสอบความถูกต้อง และความเรียบร้อยอีกครั้ง
เรื่องของกำหนดในการเปลี่ยนสายพานหน้าเครื่อง สำหรับรุ่นรถที่ไม่ใช้สายพานไทม์มิ่ง
ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าต้องทำการเปลี่ยนที่ระยะทางเท่าไร อาศัยว่าเจ้าของรถต้อง
หมั่นทำการตรวจสอบรถยนต์ของท่านเองอย่างเป็นประจำ แล้วทำการจดบันทึกเอาไว้
เมื่อถึงระยะทางที่กำหนด อาจจะใช้วิธีเปลี่ยนอย่างที่ผมทำก็ได้คือ ถึงระยะเปลี่ยนเลย
ไม่สนใจสภาพ เนื่องจากราคาอะไหล่ไม่แพง ดีกว่ามาทนใช้ไปเรื่อยๆ รอวันที่จะงานเข้า
ไปขาดระหว่างทาง ซึ่งถ้าในบริเวณนั้นอยู่ใกล้ช่าง และมีร้านอะไหล่ก็รอดตัวไป แต่
ถ้าเป็นเส้นทางระหว่างอำเภอที่ไม่มีผู้คน ต้องรอความช่วยเหลืออย่างเดียว คำนวณแล้ว
เปลี่ยนเถอะครับ
D.I.Y. เปลี่ยนสายพานคอมแอร์ และสายพานไดร์ชาร์ท รถยนต์ Isuzu Commonrail ปี 2005-2011
สายพานหน้าเครื่องยนต์ เมื่อมีการใช้งาน ก็ต้องมีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา
ถ้าเราสามารถกะะระยะคราวๆ ได้ว่าน่าจะเปลี่ยนได้สักระยะทางเท่าไรดี ก็น่าจะดีไม่น้อย
โดยอาศัยการตรวจดูด้วยสายตาก็ส่วนนึง หรือจะทำการจดบันทึกเอาไว้ สำหรับตรวจดู
ในภายหลังได้ว่า มีการเปลี่ยนไปครั้งสุดท้าย ที่ใด เมื่อไร ระยะทางกี่กิโลเมตร ถ้างั้นตามไปดูกัน
ข้อมูลรุ่นรถที่เอามา D.I.Y. นั้น อาจจะไม่ตรงรุ่นกับที่ท่านผู้อ่านใช้รถกันอยู่ ก็อย่า
เพิ่งด่วนตัดสินใจมองข้ามไป เนื่องจากวิธีการเปลี่ยนสายพานนี้ สามารถนำไปปรับให้
เข้ากับรุ่นรถที่ท่านใช้กันอยู่ เพราะว่าหลักการของการปรับตั้งสายพาน คือ เมื่อมีตัวปรับตั้ง
ก็ต้องมีตัวล็อคเป็นของคู่กัน โปรดติดตาม
1. รถยนต์ Isuzu 3.0 VGS รุ่นปี 2008 ที่จะนำมาเปลี่ยนสายพานคอมแอร์ และสายพาน ไดร์ชาร์ท ดังรูป
2. สายพานคอมแอร์ และสายพานไดร์ชาร์ทครับ สำหรับรุ่นรถแบบนี้ ถ้าใครใช้แบบอื่น
หรือยี่ห้ออื่น ลองตรวจสอบรหัสสายพานเบื้องต้น ในรถที่ใช้กันอยู่น่ะครับ
สายพานคอมแอร์ และสายพานไดร์ชาร์ท ที่ใช้กับรถยนต์ Isuzu Commonrail ปี 2005-2011
สายพานไดร์ชาร์ท ยี่ห้อ Gates รหัสสายพาน 7PK990
สายพานคอมแอร์ ยี่ห้อ Gates รหัสสายพาน V13x1360
สายพานคอมแอร์ ยี่ห้อ Mitsuboshi รหัสสายพาน 12.5x1375
สายพานคอมแอร์ ยี่ห้อ Bando รหัสสายพาน 12.5x1375
3. เครื่องมือที่จะใช้ในการเปลี่ยนสายพาน จริงๆ แล้วไม่จำเป็นต้องเยอะแบบนี้ก็ได้
แต่ถ้าเราทำงานโดยเครื่องมือครบ จะทำให้ทุ่นแรง และใช้เวลาในการทำงานน้อยกว่านั่นเอง
4. จากรูป ดูแล้วไม่น่าใช่ช่างไทย เพราะว่าช่างไทยไม่ชอบสวมถุงมือ แซวกันเล่นๆ
ขณะปฎิบัติงาน แนะนำให้สวมถุงมือ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
5. มองเห็นเป้าหมายแล้ว สายพาน 2 เส้น ที่เราต้องการเปลี่ยนนี่เอง เดี๋ยวเจอกัน
6. ท่อดูดอากาศหลังหม้อกรอง ก่อนเข้าเทอร์โบ ถ้าถอดออกมาได้ จะเพิ่มพื้นที่ใน
การทำงานได้มากขึ้น ส่วนใครจะไม่ถอดก็ได้ ผมชอบทำงานแบบโล่งๆ ทำการคลาย
น็อตล็อค หรือปลดท่อยางออก ดังรูป
7. เอาออกไปรอข้างนอกก่อน เดี่ยวเสร็จแล้ว ค่อยทำการประกอบคืนเหมือนเดิม
8. เมื่อเอาท่อดูดอากาศออกไปแล้ว จะได้พื้นที่ทำงานที่โล่งมาก ใครจะถอดเปลี่ยน
หรือซ่อมไดร์ชาร์ท ก็สามารถทำงานได้สะดวกมากขึ้นแล้ว
9. ขนาดของไดร์ชาร์ทติดรถมาครับ รถยนต์ แต่ละรุ่น แต่ละแบบ ขนาดของไดร์ชาร์ท
ไม่เท่ากัน ถ้าอยากรู้ต้องหาวิธีก้มลงไปดูครับ จากรูป ไดร์ชาร์ทขนาด 12 โวลต์ 90 แอมป์
เป็นของรถยนต์ Isuzu 3.0 VGS ปี 2008
10. จะทำการถอดสายพานทั้งสองเส้นออกไปได้ ก็ต้องเริ่มที่สายพานเส้นนอกที่สุดก่อน
คือสายพานคอมแอร์ ใช้ประแจแหวนเบอร์ 14 ทำการคลายล็อคออกมาพอหลวมๆ
11. ใช้ประแจบล็อค พร้อมลูกบล็อคหกเหลี่ยมเบอร์ 12 ทำการหย่อนสายพานคอมแอร์
ลงมา โดยทำการหมุนซ้าย ทวนเข็มนาฬิกาไปเรื่อยๆ
ข้อควรระวัง : ในการปรับตั้งสายพานคอมแอร์ที่ตำแหน่งนี้อาจจะไปโดนท่อทางเดินน้ำหล่อเย็น
อาจจะทำให้เกิดการรั่วในอนาคต เพราะว่าเกิดจากรอยเฉือน หรือฉีกขาดแค่เพียงเล็กน้อย
หลายคันที่เคยเจอว่า น้ำในหม้อพักน้ำหายไป พบว่าน้ำหล่อเย็นรั่วออกมาที่บริเวณนี้ครับ
12. ทำการหย่อนตัวปรับตั้งสายพานคอมแอร์ลงไปเรื่อยๆ จนสามารถที่จะนำสายพาน
ออกมาจากร่องพูเล่ได้ ดังรูป
13. ทำการถอดสายพานคอมแอร์ออกมา โดยลอดผ่านพัดลมหน้าเครื่อง ดังรูป
14. ด้วยความอยากรู้ ลูกรอกสายพานคอมแอร์เป็นอย่างไร ก็ต้องถอดออกมารื้อดูกันหน่อย
รถเพื่อนผม Isuzu รุ่นปี 2007 ตอนนี้วิ่งไป 300,000 Km. ยังไม่เคยเจอปัญหาต้องเปลี่ยน
ลูกรอกตัวนี้ครับ ก็เลยอยากรู้ว่ามันประกอบกันอย่างไร เพราะว่ามันไม่เคยพัง เวลาถอด
ออก โปรดใช้ความระมัดระวังจะทำหล่นหลุดมือลงไปข้างล่างนะครับ
15. เนื่องจากไม่เคยพัง ก็เลยต้องขอถ่ายรูปเอาไว้ดูซักหน่อย เคยเห็นช่างข้างนอก
เขาทำการตีเปลี่ยนชุดลูกปืนข้างในนี้ครับ ถ้าของเรายังไม่พังอย่าหาเรื่องเสียตังค์ ดีที่สุด
ในกรณีที่ลูกปืนข้างในมันแตก เราสามารถเทียบขนาดลูกปืนนำมาเปลี่ยนได้ แต่ต้องใช้
เครื่องมือในการตอกลูกปืนออก และทำการใส่เข้ากลับคืน ผมใช้วิธีให้ช่างที่ร้านรับกลึง
ทำการดันลูกปืนเข้าให้ครับ แต่เราต้องเตรียมอะไหล่ไปเอง
16. สายพานเส้นแรกออกไปแล้ว ต่อไปจะทำการถอดสายพานเส้นที่สอง กันต่อเลย
17. จะเอาสายพานไดร์ชาร์ท ออกมาได้ ต้องทำการหย่อนสายพานที่ตัวไดร์ชาร์ท
โดยจะมีน็อตเบอร์ 12 จำนวน 2 ตัว ตัวซ้ายมือจะเป็นตัวปรับตั้ง ตัวขวามือจะเป็นตัวล็อค
18. ใช้ประแจแหวน หรือประแจก๊อกแก๊ก เบอร์ 12 ทำการหมุนซ้าย คลายหลวม
ที่น็อตล็อคสายพานไดร์ชาร์ท ดังรูป
19. ต่อมาใช้ประแจแหวน หรือประแจก๊อกแก๊ก เบอร์ 12 ทำการหมุนซ้าย คลายหลวม
ที่น็อตปรับตั้งสายพานไดร์ชาร์ท ดังรูป
20. ในบางกรณีอาจจะพบว่าไม่สามารถทำการหย่อนสายพานไดร์ชาร์ทได้ เนื่องจาก
ตัวไดร์ชาร์ทไม่ขยับ จึงต้องทำการคลายน็อตล็อคไดร์ชาร์ทอีกตัวนึงที่อยู่ด้านล่างสุด
อาการนี้มักจะเจอกับรถยนต์ที่เพิ่งเปลี่ยนสายพานไดร์ชาร์ทเส้นแรก เพราะว่าน็อตที่
ทำการล็อคมาจากโรงงานแน่นมาก หรือไม่ก็สนิมอาจจะล็อคเกลียวจนติด ต้องทำการ
พ่นน้ำยา Sonax ก่อน จึงจะทำการหมุนน็อตออกมาได้
ตำแหน่งนี้ ประแจบล็อค , ข้อต่อสั้น , ลูกบล็อคเบอร์ 14 และประแจแหวนเบอร์ 14
ทำการคลายน็อต หมุนซ้าย ดังรูป โดยข้างนึงหมุน อีกอันกันหมุนตาม
21. ทำการขยับตัวไดร์ชาร์ทเข้าหาเครื่องยนต์ เพื่อที่จะทำการถอดสายพานออกจาก
ร่องพูเล่ของไดร์ชาร์ท
22. ทำการถอดสายพานไดร์ชาร์ทออกมา โดยลอดผ่านพัดลมหน้าเครื่อง ดังรูป
23. ทำการตรวจสอบสายพานคอมแอร์ จากที่ทำการจดบันทึกพบว่าเพิ่งผ่านการใช้งาน
มาแค่ 6,000 Km. และสภาพยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ สรุปว่าจะทำการใช้ต่อไป
ความเห็นส่วนตัว ผมว่าสายพานคอมแอร์เส้นนี้ควรเปลี่ยนทุกๆ 50,000 Km. ครับ
ไม่ว่าสภาพจะเป็นอย่างไร ก็ควรที่จะเปลี่ยนครับ ราคาไม่แพงมากด้วย ดีกว่าทนรำคาญ
เสียงดัง หรืออาจจะงานเข้าไปสายพานขาดระหว่างทาง
สายพานเส้นเดิม ถ้ายังอยู่ในสภาพดีอย่าทิ้ง ให้เก็บเอาไว้เพื่อฉุกเฉิน สำหรับรถเราเอง
และช่วยเหลือรถคนอื่นได้ครับ
24. ทำการตรวจสอบสายพานไดร์ชาร์ท จากที่ทำการจดบันทึกพบว่าเพิ่งผ่านการใช้งาน
มาแล้ว 100,000 Km. และสภาพก็ยังพอใช้ได้อีก สรุปว่าจะทำการเปลี่ยนครับ
ความเห็นส่วนตัว ผมว่าสายพานไดร์ชาร์ทเส้นนี้ควรเปลี่ยนทุกๆ 100,000 Km. ครับ
ไม่ว่าสภาพจะเป็นอย่างไร ก็ควรที่จะเปลี่ยนครับ ราคาไม่แพงมากด้วย ดีกว่าจะมาคอย
ลุ้นเอาว่า จะงานเข้าไปสายพานขาดระหว่างทาง
สายพานเส้นเดิม ถ้ายังอยู่ในสภาพดีอย่าทิ้ง ให้เก็บเอาไว้เพื่อฉุกเฉิน สำหรับรถเราเอง
และช่วยเหลือรถคนอื่นได้ครับ
25. ขั้นตอนการใส่สายพานให้ทำการใส่ย้อนกลับ วิธีการถอดออก เริ่มจากที่สายพาน
ไดร์ชาร์ท ทำการคล้องสายพานผ่านพัดลมหน้าเครื่อง เข้ากับพูเล่ไดร์ชาร์, พูเล่พัดลม
หน้าเครื่อง และพูเล่เพลาข้อเหวี่ยง ดังรูป
26. ทำการปรับตั้งสายพานไดร์ชาร์ โดยใช้ประแจแหวน หรือประแจก๊อกแก๊ก เบอร์ 12
ทำการถ่างสายพานไดร์ชาร์ท ให้ค่อยๆ ตึงขึ้นเรื่อยๆ จนมีความตึงที่เหมาะสม
27. ใช้ประแจแหวนเบอร์ 12 ทำการขันน็อตล็อคตัวปรับตั้งสายพานคอมแอร์ จากนั้น
ทำการตรวจสอบสายพานอีกครั้ง เป็นอันเรียบร้อย สายพานไม่ควรที่จะตั้งตึงจนเกินไป
ควรให้มีระยะหย่อนบ้าง โปรดศึกษาจากคู่มือประจำรถของท่านกันอีกครั้ง
28. อย่าลืมหมุนน็อตล็อคไดร์ชาร์ทกลับคืนที่เดิม และตรวจเช็คสายพานไดร์ชาร์ท
อีกครั้งว่าสายพานลงร่องดีไหม ความตึงเหมาะสมไหม เป็นอันเรียบร้อย
29. ต่อมาทำการคล้องสายพานคอมแอร์ลงในร่องพูเล่ โดยทำการคล้องสายพานผ่าน
พัดลมหน้าเครื่อง เข้ากับพูเล่เพลาข้อเหวี่ยง, พูเล่พัดลมหน้าเครื่อง, พูเล่คอมแอร์
และลูกรอกปรับตั้งสายพานคอมแอร์
30. ทำการปรับตั้งความตึงของสายพานคอมแอร์ โดยใช้ประแจบล็อค พร้อมลูกบล็อค
เบอร์ 12 ทำการหมุนขวา ตามเข็มนาฬิกา เพื่อให้สายพานตึงขึ้นจนถึงระยะที่เหมาะสม
ข้อควรระวัง : ในการปรับตั้งสายพานคอมแอร์ที่ตำแหน่งนี้อาจจะไปโดนท่อทางเดินน้ำหล่อเย็น
อาจจะทำให้เกิดการรั่วในอนาคต เพราะว่าเกิดจากรอยเฉือน หรือฉีกขาดแค่เพียงเล็กน้อย
หลายคันที่เคยเจอว่า น้ำในหม้อพักน้ำหายไป พบว่าน้ำหล่อเย็นรั่วออกมาที่บริเวณนี้ครับ
31. ใช้ประแจแหวนเบอร์ 14 ทำการขันน็อตล็อคตัวปรับตั้งสายพานคอมแอร์ จากนั้น
ทำการตรวจสอบสายพานอีกครั้ง เป็นอันเรียบร้อย สายพานไม่ควรที่จะตั้งตึงจนเกินไป
ควรให้มีระยะหย่อนบ้าง โปรดศึกษาจากคู่มือประจำรถของท่านกันอีกครั้ง
32. ทำการประกอบท่อดูดอากาศกลับคืนที่เดิม เป็นอันเรียบร้อย แล้วทำการติดเครื่องยนต์
ตรวจสอบความถูกต้อง และความเรียบร้อยอีกครั้ง
เรื่องของกำหนดในการเปลี่ยนสายพานหน้าเครื่อง สำหรับรุ่นรถที่ไม่ใช้สายพานไทม์มิ่ง
ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าต้องทำการเปลี่ยนที่ระยะทางเท่าไร อาศัยว่าเจ้าของรถต้อง
หมั่นทำการตรวจสอบรถยนต์ของท่านเองอย่างเป็นประจำ แล้วทำการจดบันทึกเอาไว้
เมื่อถึงระยะทางที่กำหนด อาจจะใช้วิธีเปลี่ยนอย่างที่ผมทำก็ได้คือ ถึงระยะเปลี่ยนเลย
ไม่สนใจสภาพ เนื่องจากราคาอะไหล่ไม่แพง ดีกว่ามาทนใช้ไปเรื่อยๆ รอวันที่จะงานเข้า
ไปขาดระหว่างทาง ซึ่งถ้าในบริเวณนั้นอยู่ใกล้ช่าง และมีร้านอะไหล่ก็รอดตัวไป แต่
ถ้าเป็นเส้นทางระหว่างอำเภอที่ไม่มีผู้คน ต้องรอความช่วยเหลืออย่างเดียว คำนวณแล้ว
เปลี่ยนเถอะครับ