อันที่จริงหากย้อนไปดู ต้นเหตุของความปั่นป่วน ที่เกิดขึ้น จนทำให้การประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 20 ส.ค. กลายเป็นภาพข่าวอื้อฉาวไปทั้งโลก มาจากประธานในที่ประชุม สร้างเงื่อนไขความขัดแย้งขึ้นมา หลังจากเกิดกระแสข่าวว่า พรรคเพื่อไทย ไม่พอใจกับการปฏิบัติหน้าที่ของ ผู้นำด้านนิติบัญญัติ
นายสมศักดิ์พยายาม ปิดกั้นไม่ให้สมาชิกรัฐสภา 57 คน ใช้สิทธิอภิปราย หลังจากยื่นขอสงวนคำแปรญัตติ จนถูกสมาชิกรัฐสภาต่อต้าน
ส่วนนายนิคมก็แสดงท่าที สนับสนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่างออกหน้าออกตา แถมยังกล่าวหา ส.ว. ที่ไม่เห็นด้วยว่า เป็นพวกเดียวกับฝ่ายค้าน เลยทำให้ถูกวิจารณ์จากสมาชิกรัฐสภา ว่าไม่เป็นกลาง ไร้วุฒิภาวะ มักพูดจาจนทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง
ยิ่งการแก้กฎหมายที่มาของ ส.ว. ให้มาจากการเลือกตั้ง หวังเปิดทางให้ ส.ว.ชุดปัจจุบันลงสมัครรับเลือกตั้ง กลับถูกมองว่า เป็นการแลกเปลี่ยนประโยชน์ระหว่างรัฐบาลกับวุฒิสภา เพื่อเป้าหมายนำไปสู่ยึดอำนาจเบ็ดเสร็จของฝ่ายนิติบัญญัติ เท่ากับฟื้นตำนาน “สภาทาส” ให้กลับมาอีกครั้ง
เพราะหากรัฐบาลไม่เร่งรีบรวบรัด จนเชื่อว่ามี ’วาระซ่อนเร้น“ คงไม่นำกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาพิจารณา ก่อนผลักดันร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 57 ซึ่งคงหวังเสียงสนับสนุนจาก ส.ว. ช่วยผลักดันกฎหมายที่มีกระแสต่อต้าน ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และ กฎหมายเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นเป้าหมายของนายใหญ่ ก่อนตัดสินใจยุบสภาช่วงต้นปี 57
ตัดตอนจากเดลินิวส์
เหตุที่มาของความปั่นป่วนประท้วงแก้ รธน ในรัฐสภา
นายสมศักดิ์พยายาม ปิดกั้นไม่ให้สมาชิกรัฐสภา 57 คน ใช้สิทธิอภิปราย หลังจากยื่นขอสงวนคำแปรญัตติ จนถูกสมาชิกรัฐสภาต่อต้าน
ส่วนนายนิคมก็แสดงท่าที สนับสนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญ อย่างออกหน้าออกตา แถมยังกล่าวหา ส.ว. ที่ไม่เห็นด้วยว่า เป็นพวกเดียวกับฝ่ายค้าน เลยทำให้ถูกวิจารณ์จากสมาชิกรัฐสภา ว่าไม่เป็นกลาง ไร้วุฒิภาวะ มักพูดจาจนทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง
ยิ่งการแก้กฎหมายที่มาของ ส.ว. ให้มาจากการเลือกตั้ง หวังเปิดทางให้ ส.ว.ชุดปัจจุบันลงสมัครรับเลือกตั้ง กลับถูกมองว่า เป็นการแลกเปลี่ยนประโยชน์ระหว่างรัฐบาลกับวุฒิสภา เพื่อเป้าหมายนำไปสู่ยึดอำนาจเบ็ดเสร็จของฝ่ายนิติบัญญัติ เท่ากับฟื้นตำนาน “สภาทาส” ให้กลับมาอีกครั้ง
เพราะหากรัฐบาลไม่เร่งรีบรวบรัด จนเชื่อว่ามี ’วาระซ่อนเร้น“ คงไม่นำกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาพิจารณา ก่อนผลักดันร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 57 ซึ่งคงหวังเสียงสนับสนุนจาก ส.ว. ช่วยผลักดันกฎหมายที่มีกระแสต่อต้าน ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และ กฎหมายเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งถือเป็นเป้าหมายของนายใหญ่ ก่อนตัดสินใจยุบสภาช่วงต้นปี 57
ตัดตอนจากเดลินิวส์