สอบถามเรื่องขนาดบันไดวน

ขนาดของบันไดวน (ถ้าจะใช้เป็นบันไดหลักของอาคารเลยเข้าไปในโถงแล้วเจอเลย) สำหรับอาคารขนาดใหญ่2ชั้น ควรมีขนาด ความกว้าง ลูกตั้ง ลูกนอนเท่าไหร่คะ ต้องดูตามกฎกระทรวง
ฉบับที่ 55 ข้อที่ 24 ไหมคะหรือไม่ใช่

ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 3
...ชนิดของบันไดโค้ง  ประเภทโค้งวงกลม จุดศูนย์กลางเดียว  ในหมู่นักออกแบบสร้างในอารยประเทศ   ได้แบ่งรูปแบบให้เข้าใจง่ายๆเป็น 3 รูปแบบ(ในทางวิชาการ  ทุกรูปแบบเป็น Helical Cone Type) ตามขนาดวงและแนวทางจร  ดังนี้
   1. บันไดวน (Spiral Staircase)  มีวงในเล็ก  มักใช้ระบบโครงสร้างแบบบันไดยื่นโดยมีเสากลางเป็นแม่บันได  เป็นบันไดแบบ 1 ทางจร ออกแบบได้  2  แบบ
    1.1 แบบบันไดเฉพาะกิจ  ที่มีความชันบันไดมากกว่า 45 ํ  ความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 600  mm  หรือมีวงนอกเล็กสุดไม่น้อยกว่า 1,500 mm
    1.2 แบบบันไดหลักตามข้อกำหนด (ข้อกำหนดขนาดขั้นบันไดของประเทศไทยกำหนดขนาดขั้นที่มีความสูงขั้นไม่เกิน 200  mm ความลึกขั้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 220 mm  และขนาดขั้น​ 200mm/220mm เป็นขนาดขั้นมาตรฐานขั้นต่ำ) ความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 800 mm  และด้วยเป็นบันได 1  ทางจร  ความกว้างสุทธิไม่เกิน 1,000 mm  วงนอกเล็กสุดประมาณ  1,800 +mm
  
   2. บันไดวนแบบเกลียว(Helicai  Staircase)  มีวงในขนาดใหญ่ขึ้นกว่าบันไดวน   มักใช้ระบบโครงสร้างการรับแรงและน้ำหนักบันไดในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่เสากลาง(จะใช้ก็ได้  แต่ไม่สวยงาม)  ในบันไดหลักที่ความสูงระหว่างชั้น 3,000mm ขั้นจะวนมากกว่า  180 ํ น้อยกว่า 360 ํ  เป็นบันได 1 ทางจร(ความกว้างสุทธิ 800 mm ถึง 1,000 mm) เท่านั้น

   3.บันไดเวียนหรือบันไดโค้งส่วนของวงกลม (Arch Circular Staircase)   มีวงในกว้างถึงกว้างมาก เป็นบันไดมากกว่า 1 ทางจร (ความกว้างสุทธิบันไดมากกว่า  1,100 mm  ขึ้นไป)  ที่ความสูงระหว่างชั้น  3,000 mm ขั้นหมุนไม่เกิน  180 ํ

   ในการออกแบบ-คำนวณขนาดขั้นบันได(ความสูงขั้นหรือระยะตั้งหรือข้อกำหนดไทยเรียกลูกตั้ง  และความลึกขั้นหรือระยะนอนหรือข้อกำหนดไทยเรียกลูกนอนไม่รวมระยะเหลื่อม ) ขึ้นกับช่องบันไดที่พื้นชั้นบนและปล่องบันได(ความสูงระหว่างชั้นและพื้นที่ที่บันไดจะตั้งอยู่ได้) ขนาดขั้นที่คำนวณได้จะบ่งบอกความชันบันไดและค่าการก้าวบนขั้นบันไดว่าดี เหมาะสม เดินใช้งานสะดวกสบายหรือไม่อย่างไร​  และนำไปสู่การหารูปแบบบันไดที่เหมาะสม
    ในบันไดโค้ง 1  ทางจร การหาขนาดขั้นเพื่อให้ค่าตรงกับค่าระยะขึ้น (Rise) และระยะก้าว(Run  or Going)ที่สัมพันธ์กันตามกฎการย่างก้าว ที่เป็นหลักการยศาสตร์(Ergonomic or  Human Factor)ของบันไดไม่ยุ่งยากมากนัก (กฎกระทรวงข้อ 26 ยังคงใช้ได้) แต่ในบันไดมากกว่า 1  ทางจร จะยุ่งยากกว่ามาก เพราะต้องหาขนาดขั้นตามจำนวนแนวทางจร  ควรหาผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ออกแบบคำนวณ จึงจะได้บันไดที่ดี   ก้าวเดินใช้งานสะดวกสบาย (ความชันบันไดต่ำกว่า 35 ํ และมีคารย่างก้าวภายในกำหนด  ไม่ก้าวยาวหรือสั้นเกินไป ใช้งานได้ดีตลอดความกว้างบันได)

   รูปที่ 1 บันไดวนแบบเฉพาะกิจ  ความกว้างสุทฺธิ 600+ mm  สร้างตามกฎของ IRC
   รูปที 2 บันไดวน 1 ทางจร  ที่มีขนาดขั้นเป็นบันไดหลัก
   รูปที่ 3 บันไดวนแบบเกลียว 1 ทางจร มีขนาดขั้นเป็นบันไดหลัก

  แก้ไขเพิ่มข้อมูล
ความคิดเห็นที่ 4
บันไดเวียนหรือบันไดโค้งส่วนของวงกลม เป็นบันได 2 ทางจร +  มีความกว้างสุทธิประมาณ 1,500  ตัวบันไดกว้าง  1,700 mm
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่