สถานการณ์ในตะวันออกกลาง ทวีความตึงเครียดมากขึ้น หลังจากสหรัฐฯ เข้าร่วมสงครามช่วยอิสราเอลโจมตีโครงการนิวเคลียร์อิหร่าน ทั่วโลกต่างจับตาดูว่าอิหร่านจะตอบโต้อย่างไร
ปัจจุบันทางการอิหร่านยังแบ่งรับแบ่งสู้ในกรณีของการปิดช่องแคบฮอร์มุซ โดยยังต้องรอการตัดสินใจของอยาตอลลาห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดอิหร่าน หลังจากก่อนหน้านี้ มีรายงานว่ารัฐสภาอิหร่านลงมติรับรองมาตรการดังกล่าวไปแล้ว ซึ่งถ้ามีการปิดช่องแคบฮอร์มุซขึ้นมาจริง ๆ ใครจะเจ็บตัวบ้าง
สำนักงานข้อมูลด้านพลังงานสหรัฐฯ ชี้ว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ มีน้ำมันลำเลียงผ่านช่องแคบฮอร์มุซกว่า 14 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งในจำนวนนี้ลำเลียงส่งไปที่จีนมากที่สุด อยู่ที่ประมาณ 5.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามด้วยอินเดีย เกาหลีใต้และญี่ปุ่น โดยเอเชียกินส่วนแบ่งมากกว่า 80% ของปริมาณน้ำมันที่ลำเลียงผ่านเส้นทางนี้ทั้งหมด
ขณะที่น้ำมันที่ส่งไปยังสหรัฐฯ และยุโรปรวมกันมีไม่ถึง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังจากในระยะหลัง ๆ มานี้ สหรัฐฯ ยกระดับการผลิตน้ำมันเพื่อบริโภคในประเทศ รวมทั้งนำเข้าจากแคนาดาเป็นหลัก
ประเมินอิหร่าน จะใช้มาตรการอะไรตอบโต้สหรัฐฯ ?
สถานการณ์ในตะวันออกกลาง ทวีความตึงเครียดมากขึ้น หลังจากสหรัฐฯ เข้าร่วมสงครามช่วยอิสราเอลโจมตีโครงการนิวเคลียร์อิหร่าน ทั่วโลกต่างจับตาดูว่าอิหร่านจะตอบโต้อย่างไร
ปัจจุบันทางการอิหร่านยังแบ่งรับแบ่งสู้ในกรณีของการปิดช่องแคบฮอร์มุซ โดยยังต้องรอการตัดสินใจของอยาตอลลาห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดอิหร่าน หลังจากก่อนหน้านี้ มีรายงานว่ารัฐสภาอิหร่านลงมติรับรองมาตรการดังกล่าวไปแล้ว ซึ่งถ้ามีการปิดช่องแคบฮอร์มุซขึ้นมาจริง ๆ ใครจะเจ็บตัวบ้าง
สำนักงานข้อมูลด้านพลังงานสหรัฐฯ ชี้ว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ มีน้ำมันลำเลียงผ่านช่องแคบฮอร์มุซกว่า 14 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งในจำนวนนี้ลำเลียงส่งไปที่จีนมากที่สุด อยู่ที่ประมาณ 5.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามด้วยอินเดีย เกาหลีใต้และญี่ปุ่น โดยเอเชียกินส่วนแบ่งมากกว่า 80% ของปริมาณน้ำมันที่ลำเลียงผ่านเส้นทางนี้ทั้งหมด
ขณะที่น้ำมันที่ส่งไปยังสหรัฐฯ และยุโรปรวมกันมีไม่ถึง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังจากในระยะหลัง ๆ มานี้ สหรัฐฯ ยกระดับการผลิตน้ำมันเพื่อบริโภคในประเทศ รวมทั้งนำเข้าจากแคนาดาเป็นหลัก