คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
การที่ผู้ชายจ่ายให้หมายถึง
1.การบอกให้ทราบถึงความสามารถในการดูแล 2.การบอกให้ทราบถึงความเป็นผู้ใหญ่กว่าในทางจิตใจ
อย่านึกว่า การที่ฝ่ายหญิงไม่จ่ายเป็นการเอาเปรียบ เขาอาจไม่มีตังมากแต่ผู้หญิงเขามีรูปแบบในการตอบแทนกลับ
อีกหลายรูปแบบที่ไม่ใช่เงินตรา เมื่ออยู่ด้วยกันเป็นครอบครัวจะรู้ อย่าสายตาสั้น
1.การบอกให้ทราบถึงความสามารถในการดูแล 2.การบอกให้ทราบถึงความเป็นผู้ใหญ่กว่าในทางจิตใจ
อย่านึกว่า การที่ฝ่ายหญิงไม่จ่ายเป็นการเอาเปรียบ เขาอาจไม่มีตังมากแต่ผู้หญิงเขามีรูปแบบในการตอบแทนกลับ
อีกหลายรูปแบบที่ไม่ใช่เงินตรา เมื่ออยู่ด้วยกันเป็นครอบครัวจะรู้ อย่าสายตาสั้น
แสดงความคิดเห็น
ค่านิมยม เป็นแฟนกันผู้ชายต้องจ่าย ถ้าLGBTQ ใครจ่าย
ผู้ชายที่ไม่จ่ายค่าอาหารให้แฟนผู้หญิง
จะถูกมองแรง ถูกด้อยค่า
ถ้าผู้หญิงจ่ายค่าอาหารให้ ผู้ชายจะถูกมองว่าแมงดา
ผู้ชายเปย์ เสื้อผ้า เครื่องสำอาง ของใช้ ก็ยังเป็นเรื่องปกติ
ผู้หญิงเปย์ฝ่ายชาย ผู้ชายก็ถูกมองว่าแมงดา มันผิดขนาดนั้นเลยหรอครับ
กลับกันถ้าไม่แบ่งแยกผู้ชายกับผู้หญิง
แต่เป็น LGBTQ ล่ะ ใครจ่าย, หารกัน
อย่างกรณีรายการโหนกระแส EP.1901 แม่ผัวลูกสะใภ้
ที่ฝ่ายหญิงเล่าว่า เจอกันครั้งแรก นัดกินข้าว ตกใจที่หารค่าอาหารกัน และยังได้รับการสนับสนุนจาก คุณต้นอ้อ เป็นหนึ่งที่นั่งข้างฝ่ายหญิงเหมือนจะให้เหตุผลว่า ผู้ชายต้องจ่าย เพราะ เค้าเป็นคนมาจีบ ส่วนตัวผมก็มองว่าก็ควรหารค่าอาหารอยู่ดี แต่ขอยกประเด็นที่คุณต้นอ้อ ให้เหตุผลว่าผู้ชายมาจีบ ต้องเลี้ยงต้องเปย์ แล้วถ้าผู้หญิงเป็นฝ่ายมาจีบผู้ชาย ก็ไม่ต้องเลี้ยงต้องเปย์ใช่ไหม ? ค่า BTS หารกัน ถูกมองแรง ส่วนตัวผมก็มองว่ายังควรที่จะหารกันอยู่ดี เพราะอยู่ในช่วงคบหาดูใจ
อีกกรณี ตอนที่ฝ่ายชายโทรมาบอกฝ่ายหญิงว่าไม่ต้องจดทะเบียน ฝ่ายหญิงถามเหตุผล ฝ่ายชายตอบว่าเธออยากเป็นหนี้หรอ ?
ผมมองว่าหมอผู้ชายอาจจะลองใจก็ได้
เธออยากเป็นหนี้หรอ ?เธออยากเหนื่อยหรอ ? เธออยากร้อนหรอ ? ถ้าฝ่ายหญิงตอบรับก็คงได้จดทะเบียน