“แรงงานไทยว่างงานกว่า 3.6 แสนคน แต่ต้องยืนดูต่างด้าวขายของริมทางอย่างคึกคัก”

“แรงงานไทยว่างงานกว่า 3.6 แสนคน แต่ต้องยืนดูต่างด้าวขายของริมทางอย่างคึกคัก” นี่ไม่ใช่แค่เรื่องกฎหมาย แต่มันคือเรื่องทัศนคติทั้งประเทศ และที่สำคัญ อาชีพขายของ ขายอาหาร หน้าร้านเป็นหนึ่งใน 27 อาชีพสงวน ที่ต้องให้คนไทยทำเท่านั้น  แต่ปัจจุบันเราแทบจะเห็นแต่ต่างด้าวจนเป็นภาพชินตา....

นอกจากถูก Ai แย่งงาน ยังต้องถูกต่างด้าว  แย่งอาชีพสงวนไปอีก แต่ปัญหานี้อย่าโทษแค่รอยรั่วของระบบคัดกรองต่างชาติ แต่ต้องโทษ ทัศนคติคนไทย กันเองด้วย   รายละเอียดเป็นยังไงเดี๋ยวสรุปให้ฟัง
-----
🟠 เรียบเรียง : จ๊ะโอ๋-ณัฏฐ์อาภา ผ่องทิพาภรณ์ TNN Senior content creator
-----
❗️ แรงงานไทยวันนี้ น่าเห็นใจสุดๆ
คนว่างงานกว่า 360,000 คน ในไตรมาสแรกของปี 2568
แม้จะคิดเป็นเพียง 0.9% ของแรงงานทั้งประเทศ
แต่ในโลกความจริง…มันคือ “แรงงานจำนวนมากที่ไม่มีที่ไป”

❗️สาเหตุหลัก?
• โครงสร้างการศึกษาที่ไม่ตอบตลาด
• เศรษฐกิจซบเซา บริษัทไม่จ้างเพิ่ม
• คนไทย “เลือกงาน” หนัก เหนื่อย สกปรก ไม่ทำ ....แต่ที่หนักกว่า คือ…

แรงงานต่างด้าวแอบแทรกเข้ามาทำงานในไทย ผ่าน ช่องโหว่ "วีซ่านักท่องเที่ยว"
จน “อาชีพสงวนของคนไทย” ถูกยึดแบบเงียบๆ!

❗️อาชีพสงวนของคนไทยที่วันนี้ต่างด้าว “แย่งไปแล้ว” จาก 27 อาชีพ
• ขายอาหารหน้าร้าน
• ตัดผม เสริมสวย
• นวดแผนไทย
• ก่อสร้าง-กรรมกร
• ขายของบนฟุตบาท

📌 แล้วทำไมถึงแย่งได้ง่ายขนาดนี้?

1. เพราะวีซ่าท่องเที่ยว = ช่องโหว่ใหญ่ของประเทศ
หลายคนเข้ามาเที่ยว…แต่แอบทำงาน

2. เพราะนายจ้าง “เลือกประหยัดต้นทุน” มากกว่าเคารพกฎหมาย

3. เพราะคนไทยบางคนเลือกงาน และ ไม่ชอบ งานหนักเงินน้อย แต่ทักษะแรงงานตนยังไม่ตอบโจทย์ ทักษะขั้นสูง ต่างด้าวก็เข้ามาอุดตรงนี้  

🧠 ไม่ใช่แค่ปัญหาของแรงงาน…แต่มันคือปัญหาทั้งระบบ
• เศรษฐกิจซบเซา → คนว่างงาน
• แรงงานต่างด้าวล้นเมือง → คนไทยแย่งพื้นที่ทำกินไม่ได้
• ราคาสินค้าในตลาดบิดเบี้ยว → คนทำถูกกฎหมายสู้ไม่ได้
• ลูกค้าไม่มั่นใจในคุณภาพ → ธุรกิจเสียหายยาว

และสุดท้าย…ถ้าภาครัฐยังไม่รัดกุม แก้ไขระบบคัดกรองวีซ่า หรือ ติดตามนักท่องเที่ยว
รวมถึงถ้าคนไทยยังไม่เปลี่ยนมุมมอง สุดท้ายต่อให้มีกฎหมายเขียนไว้ยังไง

" อาชีพที่ควรเป็นของคนไทย…ก็จะไม่เหลือ
เพราะคนไทยด้วยกันนี่แหละ ที่เลือกทำร้ายกันเอง "

📍อ่านฉบับเต็มได้ที่ : https://www.tnnthailand.com/tnnexclusive/199948/
-----
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่