ส.ส.ระยอง รุดโรงงานผลิตเหล็ก ส่งสร้างตึกสตง. รถขนเหล็กเจอเลี้ยวกลับทันที ข้องใจใช่ที่ถูกอายัดหรือไม่ ? https://www.matichon.co.th/politics/news_5118809
.
.
ส.ส.ระยอง รุดโรงงานผลิตเหล็ก ส่งสร้างตึกสตง. รถขนเหล็กเจอเลี้ยวกลับทันที ข้องใจใช่ที่ถูกอายัดหรือไม่ ?
.
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2568 นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ส.ส.ระยอง พรรคประชาชน ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ว่า
.
หลังจากผมรับทราบว่า เหล็กที่ใช้ก่อสร้างตึกใน สตง. อาจจะมาจากโรงงานซิงเคอหยวนที่เขตผม วันนี้ผมจึงมาประสานขอข้อมูลเพิ่มเติมที่โรงงานที่สาขาหนองละลอก แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าโรงงาน
.
แต่อย่างไรก็ดี ระหว่างที่รอคำตอบว่าให้เข้าไหม มีรถขนฝุ่นแดง ซึ่งเป็นเศษผงที่มาจากการหลอมเหล็กขนออกไป ตัวฝุ่นแดงนี้ไม่ได้อายัดไว้ ก็น่าจะขนได้ ติดแต่ที่ว่า ไม่ได้ประกอบกิจการมาตั้งแต่ปลายปี 2567 ทำไมฝุ่นแดงยังไม่หมด?
.
ที่หนักกว่านัน คือรถคันถัดมาที่คลุมผ้าแบนๆ เป็นเหล็กแน่ๆไม่ใช่ฝุ่นแดงที่บรรจุถุง แต่พอเห็นผมก็วนรถกลับไปในโรงงาน ไม่ยอมออกมา
.
เนื่องจากผมเข้าไปไม่ได้ จึงประสานอุตสาหกรรมจังหวัดให้ตรวจสอบว่า ทำไมมีการขนเหล็ก ใช่เหล็กที่อายัดไหม ได้อายัดหมดไหม ซึ่งทางอุตสาหกรรมจังหวัดให้ความร่วมมือรับไปประสานต่อเป็นอย่างดี
.
ทั้งนี้ เรื่องนี้เพราะเกิดความกังวลในสังคมว่า หากสาเหตุหลักของการถล่มมาจากเหล็กไม่ได้มาตรฐาน เหล็กเหล่านี้เอาไปสร้างตึกหรืออะไรอีกบ้าง? เป็นความกังวลของประชาชนที่ผมไม่ปล่อยผ่านแน่นอน
.
ทั้งนี้ เรากำลังรอการตรวจสอบคุณภาพเหล็กจากซากตึก สตง. ที่ส่งตรวจอยู่ มีความคืบหน้ายังไง จะมารีบแจ้ง
.
ติดตามกันต่อครับ”
.
https://www.facebook.com/alieninsf/posts/pfbid02LRGqxyR3MS3q5uxu4WxbNGHjFVQNjVyx6jmSGh6pkojVsCF42ifjgXGNTWQJMY7kl
.
.
ย้อนอดีต!! สภากทม.เคยตีตกงบประเมินแผ่นดินไหวตึกสูง ชี้ไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง สก.เนอร์สยันเสนอใหม่ปีหน้า
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_5118623
.
ย้อนอดีต!! เผยสภากทม.เคยตีตก งบประเมินแผ่นดินไหวตึกสูง ชี้ไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง
.
ส.ก.เนอร์ส เคยเสนอสภากทม.จ้างที่ปรึกษาเฉพาะด้านแผ่นดินไหว-ซื้อเครื่องมือตรวจสอบอาคารเสี่ยง 9ล้าน แต่โดนตีตก อ้าง กรุงเทพไม่ใช่พื้นที่เสี่ยง เมื่อเทียบกับเชียงราย-เมืองกาญจน์
ภายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวมีจุดศูนย์กลางที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ความรุนแรง 8.2 ริกเตอร์ ส่งผลมาถึงประเทศไทย มีตึกร้าวหลายที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้โครงสร้างตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ถล่มลงมาทั้งตึก มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บ รวมไปถึงยังสูญหาย จำนวนมากนั้น
มติชน ออนไลน์ ได้ค้นย้อนหลัง ไปเมื่อคราวที่มีการประชุมสภากรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาร่างงบประมาณกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2568 วาระที่ 2 และวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2567
.
โดย น.ส.ภัทราภรณ์ เก่งรุ่งเรืองชัย ส.ก.เขตบางซื่อ พรรคประชาชน ได้อภิปราย ‘แผนงานอาคารและการก่อสร้าง ผลผลิตควบคุมอาคารและการก่อสร้าง งบรายจ่ายอื่น ค่าจ้างที่ปรึกษาประเมินกำลังต้านทานแรงแผ่นดินไหวอาคารสูงในสังกัดกรุงเทพมหานคร’ มูลค่าโครงการ 9 ล้านบาท เพื่อให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) อนุมัติงบประมาณ โดยระบุว่า โครงการจ้างที่ปรึกษา เพื่อประเมินโครงการอาคารที่จะได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งภายในโครงการจะมีการติดตั้งชุดเครื่องมือวัดความสั่นสะเทือน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดรายงานประเมินกำลังต้านทางแรงแผ่นดินไหวของอาคารสูงในสังกัด กทม. ตามกฎกระทรวง กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทางแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ.2565 ขณะเดียวกัน ยังให้มีการจัดทำรายงานการตรวจวัดระดับการสั่นสะเทือนของพื้นอาคารสูงในสังกัด กทม. ในรูปแบบของความเร่งและแสดงค่าระดับความเร่งของพื้นแต่ละทิศทาง รวมถึงระบบแสดงค่าความสูงสุดของพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา ในรูปแบบของระบบออนไลน์ โดยสามารถแจ้งเตือนผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทันที
.
น.ส.ภัทราภรณ์ กล่าวว่า หลายคนอาจจะคิดว่า การจ้างที่ปรึกษานั้นไม่มีความจำเป็น และอาจจะเป็นที่มาของการทุจริต แต่สำหรับเรื่องนี้อยากให้พิจารณาจากความเป็นจริง และความจำเป็น เพราะก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 ได้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ประเทศเมียนมา ส่งผลให้ตึกสูงหลายแห่งในกรุงเทพได้รับผลกระทบ บางที่ถึงกับต้องหยุดทำงานหลายวันเพื่อรอตรวจให้เกิดความมั่นใจว่าปลอดภัยสามารถขึ้นไปทำงานได้ ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว แม้ว่าจะมีประกาศของกระทรวงมหาดไทยปี 2550 และ ฉบับใหม่ปี 2564 บังคับให้ตึกที่สร้างหลังจากปี 2550 จะต้องถูกออกแบบให้สามารถรองรับการเกิดแผ่นดินไหวได้ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุด ปี 2566 นั้น กรุงเทพ มีอาคารสูง ที่สร้างตามเกณฑ์บังคับเพียง 3,028 อาคารเท่านั้น ขณะที่มีอาคารเก่าที่ไม่รองรับถึง 10,386 อาคาร
.
น.ส.ภัทราภรณ์ กล่าวว่า สำหรับสถานที่ดำเนินการก่อน ได้แก่ อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง, อาคาร 72 พรรษา โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, อาคารสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โรงพยาบาลตากสิน, อาคารธนบุรีศรีมหาสมุทร โรงพยาบาลตากสิน, อาคารเพชรรัตน์ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล และอาคารคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ยืนยันว่า งบประมาณ 9 ล้านบาทนั้น ไม่ใช่งบผูกพัน แลเครื่องมือที่นำไปใช้นั้นสามารถใช้ได้ในระยะยาว
.
ทั้งนี้ นางกนกนุช กลิ่นสังข์ ส.ก.เขตดอนเมือง พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมการวิสามัญร่างงบประมาณกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2568 ได้กล่าวถึงโครงการดังกล่าวในที่ประชุมสภาฯ กทม. โดยระบุว่ากรรมการมีมติเห็นชอบให้ปรับโครงการนี้ ออกทั้งรายการ เพราะเห็นว่า กรุงเทพฯ ไม่ได้มีความเสี่ยงสูงต่อแผ่นดินไหว ถ้าเทียบกับจังหวัดในภาคเหนือหรือภาคอื่นๆ เช่น เชียงราย หรือกาญจนบุรี ที่อยู่ใกล้กับรอยเลื่อนแผ่นดินไหวสำคัญ
.
โดยล่าสุด น.ส.ภัทราภรณ์ ให้สัมภาษณ์ ว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ผู้ว่ากทม.เสนอเข้ามา ซึ่งทางพรรคเห็นว่า เป็นโครงการที่มีประโยชน์ จึงพยายามผลักดัน อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดเหตุขึ้นมาจริงๆ คิดว่า การพิจารณา งบประมาณของกทม.ในปี 2569 ซึ่งจะประชุมในเดือนกรกฎาคม นี้ โครงการนี้จะถูกเสนอเข้ามาอีก และงบประมาณน่าจะมากกว่า 9 ล้านบาท ซึ่งจะมีการติดตั้งเครื่องมือวัดความสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวครบทุกโรงพยาบาลที่สังกัดกทม.คือ 11 โรงพยาบาล
.
“ล่าสุดนี้ ทางกทม.ได้ใช้งบกลาง นำเครื่องมือดังกล่าวไปติดตั้งเพื่อวัดความสั่นสะเทือน ที่อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง ก็พบว่า อาคารมีความปลอดภัยดีแล้ว ทั้งนี้วันที่ 2 เมษายน นี้สภากทมเปิดประชุม ก็จะมีการเอาเรื่องนี้มาพูดคุยด้วย” น.ส.ภัทราภรณ์ กล่าว.
.
ภายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวมีจุดศูนย์กลางที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ความรุนแรง 8.2 ริกเตอร์ ส่งผลมาถึงประเทศไทย มีตึกร้าวหลายที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้โครงสร้างตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ถล่มลงมาทั้งตึก มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บ รวมไปถึงยังสูญหาย จำนวนมากนั้น
.
มติชน ออนไลน์ ได้ค้นย้อนหลัง ไปเมื่อคราวที่มีการประชุมสภากรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาร่างงบประมาณกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2568 วาระที่ 2 และวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2567
.
โดย น.ส.
ภัทราภรณ์ เก่งรุ่งเรืองชัย ส.ก.เขตบางซื่อ พรรคประชาชน ได้อภิปราย ‘แผนงานอาคารและการก่อสร้าง ผลผลิตควบคุมอาคารและการก่อสร้าง งบรายจ่ายอื่น ค่าจ้างที่ปรึกษาประเมินกำลังต้านทานแรงแผ่นดินไหวอาคารสูงในสังกัดกรุงเทพมหานคร’ มูลค่าโครงการ 9 ล้านบาท เพื่อให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) อนุมัติงบประมาณ โดยระบุว่า โครงการจ้างที่ปรึกษา เพื่อประเมินโครงการอาคารที่จะได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งภายในโครงการจะมีการติดตั้งชุดเครื่องมือวัดความสั่นสะเทือน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดรายงานประเมินกำลังต้านทางแรงแผ่นดินไหวของอาคารสูงในสังกัด กทม. ตามกฎกระทรวง กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทางแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ.2565 ขณะเดียวกัน ยังให้มีการจัดทำรายงานการตรวจวัดระดับการสั่นสะเทือนของพื้นอาคารสูงในสังกัด กทม. ในรูปแบบของความเร่งและแสดงค่าระดับความเร่งของพื้นแต่ละทิศทาง รวมถึงระบบแสดงค่าความสูงสุดของพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา ในรูปแบบของระบบออนไลน์ โดยสามารถแจ้งเตือนผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทันที
.
น.ส.
ภัทราภรณ์ กล่าวว่า หลายคนอาจจะคิดว่า การจ้างที่ปรึกษานั้นไม่มีความจำเป็น และอาจจะเป็นที่มาของการทุจริต แต่สำหรับเรื่องนี้อยากให้พิจารณาจากความเป็นจริง และความจำเป็น เพราะก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 ได้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ประเทศเมียนมา ส่งผลให้ตึกสูงหลายแห่งในกรุงเทพได้รับผลกระทบ บางที่ถึงกับต้องหยุดทำงานหลายวันเพื่อรอตรวจให้เกิดความมั่นใจว่าปลอดภัยสามารถขึ้นไปทำงานได้ ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว แม้ว่าจะมีประกาศของกระทรวงมหาดไทยปี 2550 และ ฉบับใหม่ปี 2564 บังคับให้ตึกที่สร้างหลังจากปี 2550 จะต้องถูกออกแบบให้สามารถรองรับการเกิดแผ่นดินไหวได้ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุด ปี 2566 นั้น กรุงเทพ มีอาคารสูง ที่สร้างตามเกณฑ์บังคับเพียง 3,028 อาคารเท่านั้น ขณะที่มีอาคารเก่าที่ไม่รองรับถึง 10,386 อาคาร
.
น.ส.
ภัทราภรณ์ กล่าวว่า สำหรับสถานที่ดำเนินการก่อน ได้แก่ อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง, อาคาร 72 พรรษา โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, อาคารสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โรงพยาบาลตากสิน, อาคารธนบุรีศรีมหาสมุทร โรงพยาบาลตากสิน, อาคารเพชรรัตน์ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล และอาคารคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ยืนยันว่า งบประมาณ 9 ล้านบาทนั้น ไม่ใช่งบผูกพัน แลเครื่องมือที่นำไปใช้นั้นสามารถใช้ได้ในระยะยาว
.
ทั้งนี้ นาง
กนกนุช กลิ่นสังข์ ส.ก.เขตดอนเมือง พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมการวิสามัญร่างงบประมาณกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2568 ได้กล่าวถึงโครงการดังกล่าวในที่ประชุมสภาฯ กทม. โดยระบุว่ากรรมการมีมติเห็นชอบให้ปรับโครงการนี้ ออกทั้งรายการ เพราะเห็นว่า กรุงเทพฯ ไม่ได้มีความเสี่ยงสูงต่อแผ่นดินไหว ถ้าเทียบกับจังหวัดในภาคเหนือหรือภาคอื่นๆ เช่น เชียงราย หรือกาญจนบุรี ที่อยู่ใกล้กับรอยเลื่อนแผ่นดินไหวสำคัญ
JJNY : 5in1 รุดโรงงานผลิตเหล็ก│ย้อนอดีต!! สภากทม.เคยตีตก│ทสท.จี้สภา│ท่องเที่ยวคาดแผ่นดินไหวกระทบ│ญี่ปุ่นปรับแผนเฝ้าระวัง
.
.
.
ย้อนอดีต!! สภากทม.เคยตีตกงบประเมินแผ่นดินไหวตึกสูง ชี้ไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง สก.เนอร์สยันเสนอใหม่ปีหน้า
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_5118623
.
ภายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวมีจุดศูนย์กลางที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ความรุนแรง 8.2 ริกเตอร์ ส่งผลมาถึงประเทศไทย มีตึกร้าวหลายที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทำให้โครงสร้างตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)ถล่มลงมาทั้งตึก มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บ รวมไปถึงยังสูญหาย จำนวนมากนั้น
.
มติชน ออนไลน์ ได้ค้นย้อนหลัง ไปเมื่อคราวที่มีการประชุมสภากรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาร่างงบประมาณกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2568 วาระที่ 2 และวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2567
.
โดย น.ส.ภัทราภรณ์ เก่งรุ่งเรืองชัย ส.ก.เขตบางซื่อ พรรคประชาชน ได้อภิปราย ‘แผนงานอาคารและการก่อสร้าง ผลผลิตควบคุมอาคารและการก่อสร้าง งบรายจ่ายอื่น ค่าจ้างที่ปรึกษาประเมินกำลังต้านทานแรงแผ่นดินไหวอาคารสูงในสังกัดกรุงเทพมหานคร’ มูลค่าโครงการ 9 ล้านบาท เพื่อให้สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) อนุมัติงบประมาณ โดยระบุว่า โครงการจ้างที่ปรึกษา เพื่อประเมินโครงการอาคารที่จะได้รับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งภายในโครงการจะมีการติดตั้งชุดเครื่องมือวัดความสั่นสะเทือน และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดรายงานประเมินกำลังต้านทางแรงแผ่นดินไหวของอาคารสูงในสังกัด กทม. ตามกฎกระทรวง กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทางแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ.2565 ขณะเดียวกัน ยังให้มีการจัดทำรายงานการตรวจวัดระดับการสั่นสะเทือนของพื้นอาคารสูงในสังกัด กทม. ในรูปแบบของความเร่งและแสดงค่าระดับความเร่งของพื้นแต่ละทิศทาง รวมถึงระบบแสดงค่าความสูงสุดของพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา ในรูปแบบของระบบออนไลน์ โดยสามารถแจ้งเตือนผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทันที
.
น.ส.ภัทราภรณ์ กล่าวว่า หลายคนอาจจะคิดว่า การจ้างที่ปรึกษานั้นไม่มีความจำเป็น และอาจจะเป็นที่มาของการทุจริต แต่สำหรับเรื่องนี้อยากให้พิจารณาจากความเป็นจริง และความจำเป็น เพราะก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 ได้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ประเทศเมียนมา ส่งผลให้ตึกสูงหลายแห่งในกรุงเทพได้รับผลกระทบ บางที่ถึงกับต้องหยุดทำงานหลายวันเพื่อรอตรวจให้เกิดความมั่นใจว่าปลอดภัยสามารถขึ้นไปทำงานได้ ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว แม้ว่าจะมีประกาศของกระทรวงมหาดไทยปี 2550 และ ฉบับใหม่ปี 2564 บังคับให้ตึกที่สร้างหลังจากปี 2550 จะต้องถูกออกแบบให้สามารถรองรับการเกิดแผ่นดินไหวได้ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุด ปี 2566 นั้น กรุงเทพ มีอาคารสูง ที่สร้างตามเกณฑ์บังคับเพียง 3,028 อาคารเท่านั้น ขณะที่มีอาคารเก่าที่ไม่รองรับถึง 10,386 อาคาร
.
น.ส.ภัทราภรณ์ กล่าวว่า สำหรับสถานที่ดำเนินการก่อน ได้แก่ อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ดินแดง, อาคาร 72 พรรษา โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, อาคารสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โรงพยาบาลตากสิน, อาคารธนบุรีศรีมหาสมุทร โรงพยาบาลตากสิน, อาคารเพชรรัตน์ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล และอาคารคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ยืนยันว่า งบประมาณ 9 ล้านบาทนั้น ไม่ใช่งบผูกพัน แลเครื่องมือที่นำไปใช้นั้นสามารถใช้ได้ในระยะยาว
.
ทั้งนี้ นางกนกนุช กลิ่นสังข์ ส.ก.เขตดอนเมือง พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกรรมการวิสามัญร่างงบประมาณกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2568 ได้กล่าวถึงโครงการดังกล่าวในที่ประชุมสภาฯ กทม. โดยระบุว่ากรรมการมีมติเห็นชอบให้ปรับโครงการนี้ ออกทั้งรายการ เพราะเห็นว่า กรุงเทพฯ ไม่ได้มีความเสี่ยงสูงต่อแผ่นดินไหว ถ้าเทียบกับจังหวัดในภาคเหนือหรือภาคอื่นๆ เช่น เชียงราย หรือกาญจนบุรี ที่อยู่ใกล้กับรอยเลื่อนแผ่นดินไหวสำคัญ