ก็ขอประกาศเหมือนเดิม กระทู้นี้ไม่ใช่เป็นกระทู้ข้อมูลประวัติศาสตร์ ต้องตรวจสอบก่อนนำไปใช้อ้างอิง
จากตอนที่แล้ว เราเดินทางไปปราสาทเขาโล้น ไปยังกลุ่มปราสาทตาเมือน จังหวัดสุรินทร์ ระยะทาง 100 กว่ากิโล ความสำคัญของกลุ่มปราสาทชุดนี้คือ
เป็นกลุ่มปราสาทแรกในเส้นทางราชมรรคา จากเมืองพระนคร สู่ เมืองพิมาย ในเขตประเทศไทย ( ที่มีการแบ่งเขตแดนในชั้นหลัง )
บริเวณที่ตั้งกลุ่มปราสาทตาเมือนนี้ อยู่ทางช่องเขาตาเมือน รอยต่อระหว่างไทย - กัมพูชา ประกอบไปด้วยปราสาท 3 ส่วน ปราสาทตาเมือน , ปราสาทตาเมือนโต๊ด , ปราสาทตาเมือนธม
ปราสาทตาเมือน เป็นปราสาทที่อยู่ทางด้านหลัง ปราสาทตาเมือนธม ที่เป็นศาสนสถาน ถ้าหันหน้าไปทางนครวัด

คือ
ปราสาทตาเมือน นี้มีลักษณะเด่นคือ เป็น ที่พักคนเดินทาง ธรรมศาลา อารมร์แบบว่าเดินทางมาจากเมืองพระนคร แล้วสักการะ ที่ปราสาทตาเมือนธม
แล้วเดินมาพักเหนื่อยหรือค้างแรม ที่ปราสาทแห่งนี้
ถ้าเดินไปอีกประมาณ 300 - 400 เมตร ก็จะพบปราสาทหลังถัดไป
ปราสาทตาเมือนโต๊ด
เป็นปราสาทที่เชื่อว่า สร้างขึ้นเพื่อเป็นอโรคยาศาล ซึ่งขออ้างคำพูดของคุณ สุจิตต์ วงษ์เทศ ว่า อโรคยาศาล ไม่ใช่โรงพยาบาล
แต่เป็นสถานพยาบาลเพื่อแก้ไข เจ็บป่วยเล็กน้อย ประเภท ปวดเมื่อย ขัดยอก และรักษาแบบพื้นบ้าน
ปราสาทตาเมือนธม
เป็นปราสาทหลังสุดท้าย ในกลุ่มปราสาทตาเมือน แต่เป็นปราสาทที่ใกล้กับชายแดน ไทย - กัมพูชา มากที่สุด ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัย
บูชา
ในปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงระหว่า ไทย และ กัมพูชา ว่า เขตแดนตรงนี้ เป็นของใคร จึงมีการนำทหารทั้ง 2 ฝ่าย ดูแล แบบทำนองเดียวกันกับปราสาทเขาพระวิหาร
มีข้อแตกต่างอยู่นิดเดียวคือ บริเวณนี้ไม่ใช่เป็นชะง่อนผาที่ยื่นเข้าไปในดินแดนกัมพูชา ถ้าเป้นที่ตกลงแล้วก็อยากให้มีการบูรณะ
น่าจะเป็นอีกปราสาทหนึ่งที่มีความสวยงามทางสถาปัตยกรรม เขมรโบราณ
EP2 : Stone Castle Travel trip เส้นทางราชมรรคา อีสานใต้ ตอนที่ 3
จากตอนที่แล้ว เราเดินทางไปปราสาทเขาโล้น ไปยังกลุ่มปราสาทตาเมือน จังหวัดสุรินทร์ ระยะทาง 100 กว่ากิโล ความสำคัญของกลุ่มปราสาทชุดนี้คือ
เป็นกลุ่มปราสาทแรกในเส้นทางราชมรรคา จากเมืองพระนคร สู่ เมืองพิมาย ในเขตประเทศไทย ( ที่มีการแบ่งเขตแดนในชั้นหลัง )
บริเวณที่ตั้งกลุ่มปราสาทตาเมือนนี้ อยู่ทางช่องเขาตาเมือน รอยต่อระหว่างไทย - กัมพูชา ประกอบไปด้วยปราสาท 3 ส่วน ปราสาทตาเมือน , ปราสาทตาเมือนโต๊ด , ปราสาทตาเมือนธม
ปราสาทตาเมือน เป็นปราสาทที่อยู่ทางด้านหลัง ปราสาทตาเมือนธม ที่เป็นศาสนสถาน ถ้าหันหน้าไปทางนครวัด
ปราสาทตาเมือน นี้มีลักษณะเด่นคือ เป็น ที่พักคนเดินทาง ธรรมศาลา อารมร์แบบว่าเดินทางมาจากเมืองพระนคร แล้วสักการะ ที่ปราสาทตาเมือนธม
แล้วเดินมาพักเหนื่อยหรือค้างแรม ที่ปราสาทแห่งนี้
ถ้าเดินไปอีกประมาณ 300 - 400 เมตร ก็จะพบปราสาทหลังถัดไป
ปราสาทตาเมือนโต๊ด
เป็นปราสาทที่เชื่อว่า สร้างขึ้นเพื่อเป็นอโรคยาศาล ซึ่งขออ้างคำพูดของคุณ สุจิตต์ วงษ์เทศ ว่า อโรคยาศาล ไม่ใช่โรงพยาบาล
แต่เป็นสถานพยาบาลเพื่อแก้ไข เจ็บป่วยเล็กน้อย ประเภท ปวดเมื่อย ขัดยอก และรักษาแบบพื้นบ้าน
ปราสาทตาเมือนธม
เป็นปราสาทหลังสุดท้าย ในกลุ่มปราสาทตาเมือน แต่เป็นปราสาทที่ใกล้กับชายแดน ไทย - กัมพูชา มากที่สุด ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัย
บูชา
ในปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงระหว่า ไทย และ กัมพูชา ว่า เขตแดนตรงนี้ เป็นของใคร จึงมีการนำทหารทั้ง 2 ฝ่าย ดูแล แบบทำนองเดียวกันกับปราสาทเขาพระวิหาร
มีข้อแตกต่างอยู่นิดเดียวคือ บริเวณนี้ไม่ใช่เป็นชะง่อนผาที่ยื่นเข้าไปในดินแดนกัมพูชา ถ้าเป้นที่ตกลงแล้วก็อยากให้มีการบูรณะ
น่าจะเป็นอีกปราสาทหนึ่งที่มีความสวยงามทางสถาปัตยกรรม เขมรโบราณ