ถอดบทเรียน แผ่นดินไหว จนเกิดตำนานวันรถติดแห่งชาติ และการเดินเท้าเข้าบ้าน

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 8.2 ตามมาตราริกเตอร์ (อ้างอิงข้อมูลกรมอุตุนิยมวิทยา) เมื่อ 28 มีนาคม 2658 ซึ่งเหตุเกิดตอน 13.20 น. ในส่วนของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทห้างร้านต่างๆ ก็ใช้แผนเผชิญเหตุกรณีการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งจะเห็นภาพจาก Tiktok, Youtube และโซเชี่ยลมีเดียอื่นๆ ว่ามีการอพยพผู้คนในอาคารลงมาข้างล่าง ซึ่งกลุ่มบุคคลที่น่าเห็นใจที่สุดคือบุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องอพยพผู้ป่วยจากอาคารสูง ลงมาชั้นล่าง จนเตียงผู้ป่วยไม่มีที่ จนทำให้ตำรวจท้องที่มาปิดการจราจรชั่วคราว เพื่อนำเตียงผู้ป่วยมาด้านนอก และภาพตามศูนย์การค้าใหญ่ๆ มีพนักงานห้าง และลูกค้า ต่างอพยพลงมาบริเวณด้านหน้าอาคาร จนเกิดปัญหาการจราจรติดขัด นอกจากนี้ยังมีข่าวลือว่าจะมี After Shock ตามมาอีก จนตลาดหลักทรัพย์ ศูนย์การค้าต่างๆ ธนาคารต่างๆ ต้องประกาศปิดทำการทันที ซึ่งเมื่อสถานการณ์มาถึงจุดนี้ คนที่เอารถส่วนตัวมาทำงาน เรียกว่าต่างคนต่างออก คนที่ไม่เอารถส่วนตัวมาทำงาน ก็จะออกมาขึ้นรถไฟฟ้า แต่ข่าวออกมาว่ารถไฟฟ้าหยุดวิ่งแล้ว ก็ปรับแผนไปขึ้นรถเมล์ ซึ่งในช่วงแรกยังมีรถเมล์อยู่ แต่ซักพักก็เกิดปัญหารถติด ถึงแม้สถานการณ์แผ่นดินไหวเริ่มคลี่คลาย และถนนบางเส้นเริ่มเปิดการจราจรปกติ ปัญหาที่ตามมาคือ รถเข้ามาติดสะสมในทุกเส้นทาง ส่วนขนส่งสาธารณะอีกประเภทคือรถแท็กซี่ เรียกว่าหายไปจากระบบ เนื่องจากรถไฟฟ้าหยุดวิ่ง ทำให้แท็กซี่ถูกเรียกใช้บริการจนหมดระบบ และแท็กซี่บางคันคิดค่าโดยสารในราคาเหมาจ่าย ไม่คิดราคาตามมิเตอร์ เมื่อแท็กซี่มีน้อย รถเมล์ก็คือที่พึ่งสุดท้าย แต่เมื่อรถติดมาก ทำให้รถเมล์ขาดไปจากระบบอีก และมาทีก็แน่นมาก จนมีคลิปตามโซเชี่ยลมีเดียมาให้เห็นว่ามีการเดินเท้ากลับบ้าน บางคนแสดงความเห็นไว้ว่า เดินจากสาธรไปอ่อนนุช, เดินจากประตูน้ำไปห้าแยกลาดพร้าว ใช้เวลากี่ชั่วโมง
แผ่นดินไหวไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นในวันใด ซึ่งมันมีโอกาสเกิดการไหวใหญ่แบบนี้โดยเฉพาะรอยเลื่อนแถวภาคตะวันตก ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งมีโอกาสส่งผลต่อ กทม. และปริมณฑลอีกแน่ แต่อาจเกิดในระยะเวลา 1 ปี, 5 ปี, 10 ปี, 50 ปี หรือ 100 ปี ก็ได้ คำถามคือหากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้นอีก จะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดวันรถติดแห่งชาติ จนต้องเดินเท้ากลับบ้านอีก ส่วนรถไฟฟ้าทุกสี เขาต้องหยุดเดินรถเพื่อความปลอดภัยของเราในฐานะผู้โดยสาร

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่