ปีแต่งพระอภัยมณี
พิพัฒน์ พงศ์รพีพร ๒๕๖๗
ตอนต้นเรื่อง เมื่อสามพราหมณ์กับศรีสุวรรณเข้าเมืองรมจักร
นางกระจงเป็นวิเสท(คนครัว)ในวังของนางเกษรา ออกมาจ่ายตลาด เกิดหลงไหลในตัวศรีสุวรรณ
เอาไปอวดว่าเป็นผัว ได้เสียกันแล้วกำลังจะมาสู่ขอ ถูกด่าว่า
๏ นายวิเสทซ้ำด่าอีหน้าด้าน ยังให้การชมงามเจ้าพราหมณ์ผัว
ทรลักษณ์รักเขาจนเมามัว จะคิดกลัวเกรงใครก็ไม่มี
กูจะไปแจ้งคดีพระพี่เลี้ยง ให้ไล่เลียงเฆี่ยนส่งไปโรงสี
คำว่าโรงสีนี้เอง เป็นหมุดบอกเวลา
เพราะคนไทยไม่เคยสีข้าวสะสมไว้ พอมีสัญญาเบาริงก์ ส่งออกได้โดยเสรี ก็มีฝรั่งมาตั้งโรงสี
ข้าวสารก็หาง่ายขึ้น พระจอมเกล้าจึงทรงมีประกาศเรื่อง "ตำเข้าสารกรอกหม้อ" ในปี ๒๔๐๗ เตือนว่า
“แต่ก่อนเมื่อมีโรงสีเข้าสารขายยังน้อยอยู่ ตามบ้านเรือนต่างๆ จนในพระบรมมหาราชวังแลพระบวรราชวัง
ก็มีกระเดื่องแลครกตำเข้าแทบทุกเหย้าเรือน กลางวันหรือบ่ายแล้วนายก็ใช้ให้บ่าวตำครกละสากบ้าง สองสากบ้าง
แล้วก็ฝัดเป็นเข้าสารกรอกหม้อทีเดียว”
แสดงว่าโรงสีนั้น เป็นของใหม่ ทรงเล่าไว้ในพระราชสาส์นถึงประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อปี ๒๔๐๒ ว่า
“มีลูกค้าชาวอเมริกาพวกหนึ่งได้เอาเครื่องจักรสีข้าวมาตั้งทำโรงสีข้าวอยู่ในแขวงกรุงเทพมหานครนี้แห่งหนึ่ง”
โรงสีนี้ตั้งอยู่ปากคลองบางน้ำชน ถนนตก มีมิสเตอร์ เอฟ.เพล็กซ์เป็นผู้จัดการ
ในกลอนบอกไว้ว่าใหัจับอีกระจง "เฆี่ยนส่งไปโรงสี" แสดงว่าโรงสีเป็นของวัง
นี่ตรงกับเหตุการณ์จริง เพราะเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง) ได้ซื้อโรงสีฝรั่งไว้ในปี ๒๔๐๙
"๒๒ ตุลาคม ๒๔๐๑ โรงสีข้าวแห่งแรกของไทยเปิดทำการ ต่อมาเมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๐๙ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง
ได้ซื้อโรงสีจากบริษัทสก๊อตแอนด์กำปะนี นับเป็นคนไทยคนแรกที่ตั้งโรงสีไฟในไทย"
https://www.baanjomyut.com/library_4/in_the_past/10.html
เจ้าพระยาท่านนี้เป็นลูกเลี้ยงพระจอมเกล้า กิจการนี้ก็อาจนับว่าเป็นของหลวงได้
การเอานางวิเสทมาทำงานเพื่อลงโทษ ย่อมสามารถกระทำได้
ปีแต่งแต่งพระอภัยมณี จึงเกิดหลังปี ๒๔๐๙
ถึงปี ๒๔๑๒ ครูสมิทก็เริ่มการตีพิมพ์นิทานคำกลอนนี้ เพื่อถวายทรงแจกในงานพระเมรุฯ รัชกาลที่สี่
เราควรนับพระอภัยมณีเป็นวรรณกรรมเอกไนรัชกาลที่สี่ ได้หรือไม่
-------------------
บทความนี้ เขียนตามพระประสงค์ของเจ้านายพระองค์หนึ่ง ให้เขียนเรื่องพระจอมเกล้าฯ ที่แตกต่างออกไปจากปกติธรรมดาให้เป็นที่รับทราบไว้
ปีแต่งพระอภัยมณี
พิพัฒน์ พงศ์รพีพร ๒๕๖๗
ตอนต้นเรื่อง เมื่อสามพราหมณ์กับศรีสุวรรณเข้าเมืองรมจักร
นางกระจงเป็นวิเสท(คนครัว)ในวังของนางเกษรา ออกมาจ่ายตลาด เกิดหลงไหลในตัวศรีสุวรรณ
เอาไปอวดว่าเป็นผัว ได้เสียกันแล้วกำลังจะมาสู่ขอ ถูกด่าว่า
๏ นายวิเสทซ้ำด่าอีหน้าด้าน ยังให้การชมงามเจ้าพราหมณ์ผัว
ทรลักษณ์รักเขาจนเมามัว จะคิดกลัวเกรงใครก็ไม่มี
กูจะไปแจ้งคดีพระพี่เลี้ยง ให้ไล่เลียงเฆี่ยนส่งไปโรงสี
คำว่าโรงสีนี้เอง เป็นหมุดบอกเวลา
เพราะคนไทยไม่เคยสีข้าวสะสมไว้ พอมีสัญญาเบาริงก์ ส่งออกได้โดยเสรี ก็มีฝรั่งมาตั้งโรงสี
ข้าวสารก็หาง่ายขึ้น พระจอมเกล้าจึงทรงมีประกาศเรื่อง "ตำเข้าสารกรอกหม้อ" ในปี ๒๔๐๗ เตือนว่า
“แต่ก่อนเมื่อมีโรงสีเข้าสารขายยังน้อยอยู่ ตามบ้านเรือนต่างๆ จนในพระบรมมหาราชวังแลพระบวรราชวัง
ก็มีกระเดื่องแลครกตำเข้าแทบทุกเหย้าเรือน กลางวันหรือบ่ายแล้วนายก็ใช้ให้บ่าวตำครกละสากบ้าง สองสากบ้าง
แล้วก็ฝัดเป็นเข้าสารกรอกหม้อทีเดียว”
แสดงว่าโรงสีนั้น เป็นของใหม่ ทรงเล่าไว้ในพระราชสาส์นถึงประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อปี ๒๔๐๒ ว่า
“มีลูกค้าชาวอเมริกาพวกหนึ่งได้เอาเครื่องจักรสีข้าวมาตั้งทำโรงสีข้าวอยู่ในแขวงกรุงเทพมหานครนี้แห่งหนึ่ง”
โรงสีนี้ตั้งอยู่ปากคลองบางน้ำชน ถนนตก มีมิสเตอร์ เอฟ.เพล็กซ์เป็นผู้จัดการ
ในกลอนบอกไว้ว่าใหัจับอีกระจง "เฆี่ยนส่งไปโรงสี" แสดงว่าโรงสีเป็นของวัง
นี่ตรงกับเหตุการณ์จริง เพราะเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง) ได้ซื้อโรงสีฝรั่งไว้ในปี ๒๔๐๙
"๒๒ ตุลาคม ๒๔๐๑ โรงสีข้าวแห่งแรกของไทยเปิดทำการ ต่อมาเมื่อ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๐๙ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง
ได้ซื้อโรงสีจากบริษัทสก๊อตแอนด์กำปะนี นับเป็นคนไทยคนแรกที่ตั้งโรงสีไฟในไทย"
https://www.baanjomyut.com/library_4/in_the_past/10.html
เจ้าพระยาท่านนี้เป็นลูกเลี้ยงพระจอมเกล้า กิจการนี้ก็อาจนับว่าเป็นของหลวงได้
การเอานางวิเสทมาทำงานเพื่อลงโทษ ย่อมสามารถกระทำได้
ปีแต่งแต่งพระอภัยมณี จึงเกิดหลังปี ๒๔๐๙
ถึงปี ๒๔๑๒ ครูสมิทก็เริ่มการตีพิมพ์นิทานคำกลอนนี้ เพื่อถวายทรงแจกในงานพระเมรุฯ รัชกาลที่สี่
เราควรนับพระอภัยมณีเป็นวรรณกรรมเอกไนรัชกาลที่สี่ ได้หรือไม่
-------------------
บทความนี้ เขียนตามพระประสงค์ของเจ้านายพระองค์หนึ่ง ให้เขียนเรื่องพระจอมเกล้าฯ ที่แตกต่างออกไปจากปกติธรรมดาให้เป็นที่รับทราบไว้