.
.
นกเลขานุการ Secretary
ชนะรางวัลประเภทนิเวศวิทยา
และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ของ Royal Society Publishing 2024
© Peter Hudson
.
.
.
Royal Society Publishing
Photography Competition 2024
.
.
นกเลขานุการ
Sagittarius serpentarius
ภาพถ่ายสุดตระการตาที่จับภาพได้
ช่วงเวลาที่นกยักษ์ปิดเปลือกตาที่สาม
ที่ซ่อนอยู่ข้างในขณะจับตั๊กแตนกลางอากาศ
ภาพนี้เป็นหนึ่งในผู้ชนะการแข่งขันถ่ายภาพ
Royal Society Publishing 2024
ซึ่งจัดนิทรรษการภาพถ่ายขึ้นร่วมกับ
Royal Photographic Society
และมอบรางวัลให้กับภาพที่แสดงถึง
ปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์
ที่ซ่อนอยู่ในโลกธรรมชาติ
" นกเลขานุการมีความใกล้ชิดกับเหยี่ยว
แต่ได้วิวัฒนาการรูปแบบชีวิตแบบนกกระสา
โดยจะเดินเพ่นพ่านไปทั่วทุ่งหญ้าสะวันนา
กินตั๊กแตน จิ้งจก สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
โดยการจิกพวกมันกดลงกับพื้นดิน
นกตัวนี้เพิ่งจับตั๊กแตน
และในขณะที่มันกลืนเหยื่อ
มันจะปิดเปลือกตาที่สาม
ซึ่งก็คือเยื่อตาสองชั้นพร้อมกัน
เพื่อปกป้องเยื่อตาจากอันตราย
(หนาม/ขอที่ขาตั๊กแตนอาจบาดตา) ”
นักชีววิทยาและช่างภาพ
Peter Hudson
กล่าวในเอกสารอีเมลที่ส่งถึง Live Science
.
.
.
.
นกเลขานุการเป็นนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่
สูงประมาณ 4 ฟุต (1.2 เมตร)
มีลำตัวคล้ายนกอินทรี
มีขาที่ยาวเหมือนนกกระเรียน
มีถิ่นกำเนิดในแถบแอฟริกาใต้สะฮารา
และถึงแม้จะบินได้ แต่จะใช้เวลาส่วนใหญ่
เดินผ่านทุ่งหญ้าสูงเพื่อหาอาหาร
การเผยให้เห็นเปลือกตาที่สามของนก
ซึ่งมีลักษณะเหมือนลูกบอลสีน้ำเงิน
ที่อยู่ในเบ้าตาตามข้อมูลของ
National Audubon Society
เปลือกตาที่สามอยู่ใต้เปลือกตาทั้งบนและล่าง
เปลือกตานี้พับอยู่ที่ด้านในของดวงตา
และเคลื่อนตัวในแนวนอนข้ามลูกตา
เพื่อป้องกันฝุ่น ลม และอันตราย
จึงทำให้เปลือกตานี้ได้รับฉายาว่า
แว่นตาแห่งธรรมชาติ
Nature's goggles
.
เรียบเรียง/ที่มา
Livescience
Secretary bird
.
.
.
.
.

.
นกเลขานุการชอบหากินบนพื้นดิน
แต่ก็เป็นนกบินได้สูงมาก
เพราะจะสร้างรังบนต้น Acacia
.
.
.
เส้นขนสีดำบนหัว ทำให้มันดูโดดเด่น
.
.
.
ฝูงนกสามารถหากินทางเท้าได้
ในระยะทาง 32 กิโลเมตร/วัน
.
.
.
ขาที่ยาวเหมือนนกกระสา
ทำให้ร่างกายส่วนใหญ่อยู่เหนือพืชพรรณ
ช่วยให้มองเห็นเหยื่อได้ชัดเจนขึ้น
.
.
.
ถึงแม้ว่าจะใช้ชีวิตกลางวันอยู่บนพื้นดิน
แต่ในตอนกลางคืน พวกมันมีรังบนต้นไม้
พวกมันมักจะนอนโดยเกาะคอนต้นไม้
.
.
.
ลูกนกเลขานุการจะออกจากรังได้
เมื่ออายุประมาณ 12 สัปดาห์
.
.
แว่นตาธรรมชาติของนก
เปลือกตาที่สามของนก Nature's goggles
หรือ Nictitating membrane คือ
แว่นตาธรรมชาติของนก
เป็นเยื่อบางๆ โปร่งแสงที่เลื่อนปิดตา
ในแนวนอนจากมุมด้านในของตา
ไปยังมุมด้านนอก มีหลักการทำงานดังนี้:
1. โครงสร้างและกลไก:
- เป็นเยื่อบางใสหรือกึ่งโปร่งแสง
- เคลื่อนที่ในแนวนอนจาก
มุมด้านในไปด้านนอกของตา
- ควบคุมการเคลื่อนไหวด้วย
กล้ามเนื้อพิเศษ 2 มัด
2. หน้าที่สำคัญ:
- ปกป้องดวงตาขณะบิน
โดยไม่ต้องหลับตาสนิท
ทำให้ยังมองเห็นได้
- ทำความสะอาดและหล่อลื่นกระจกตา
- ช่วยกรองแสงและป้องกันฝุ่นละออง
- ช่วยในการมองเห็นใต้น้ำสำหรับนกที่ดำน้ำ
3. การใช้งาน:
- นกจะกะพริบเปลือกตาที่สามนี้
เป็นระยะๆ เพื่อทำความสะอาดตา
- ใช้ปกป้องตาเมื่อบินผ่าน
ที่มีฝุ่นละอองหรือลมแรง
- ช่วยในการมองเห็น
ขณะบินด้วยความเร็วสูง
นี่เป็นวิวัฒนาการที่น่าสนใจ
ที่ช่วยให้นกสามารถบินได้
อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
.
.
เปลือกตาที่สามนี้ยังพบในสัตว์อื่นๆ ด้วย เช่น:
- สัตว์เลื้อยคลาน เช่น จิ้งจก ตุ๊กแก งู
- สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ คางคก
- สัตว์น้ำบางชนิด เช่น ปลาฉลาม
- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด เช่น
แมวน้ำ สัตว์ในตระกูลปลาวาฬ
ที่น่าสนใจคือ ในคนเราก็มี
ซากเหลือของโครงสร้างนี้
ในรูปของ เนื้อเยื่อรูปพระจันทร์เสี้ยว
(plica semilunaris) ที่อยู่ตรงหัวตาด้านใน
แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เหมือนในสัตว์อื่นๆ
เพราะมีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไป
.
.
.
นกประเภทอื่นที่ปิดเปลือกตาได้
@
Nature's goggles
.
.
Bald Eagle © Andy Kenutis/Audubon
Photography Awards
.
.
.
American Crow
.
.
.
Anna's Hummingbird
.
.
.
Hairy Woodpecker (as observed by
a Dark-eyed Junco)
.
.
.
Downy Woodpecker (Female)
.
.
.
Bald Eagle
.
.
.
Common Raven
.
.
.
Juicy fruits คาบเมล็ดพืชพิษ
.
.
.
Great Blue Heron
.
.
.
Pileated Woodpecker
.
.
.
Pileated Woodpecker
.
.
.
Belted Kingfisher ปิดเปลือกตา
ขณะคาบปลา Sculpin
© Gregg Thompson
.
.
.
เปลือกตาที่สามของนกเลขานุการ
.
นกเลขานุการ Secretary
ชนะรางวัลประเภทนิเวศวิทยา
และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ของ Royal Society Publishing 2024
© Peter Hudson
.
.
.
Royal Society Publishing
Photography Competition 2024
.
นกเลขานุการ Sagittarius serpentarius
ภาพถ่ายสุดตระการตาที่จับภาพได้
ช่วงเวลาที่นกยักษ์ปิดเปลือกตาที่สาม
ที่ซ่อนอยู่ข้างในขณะจับตั๊กแตนกลางอากาศ
ภาพนี้เป็นหนึ่งในผู้ชนะการแข่งขันถ่ายภาพ
Royal Society Publishing 2024
ซึ่งจัดนิทรรษการภาพถ่ายขึ้นร่วมกับ
Royal Photographic Society
และมอบรางวัลให้กับภาพที่แสดงถึง
ปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์
ที่ซ่อนอยู่ในโลกธรรมชาติ
" นกเลขานุการมีความใกล้ชิดกับเหยี่ยว
แต่ได้วิวัฒนาการรูปแบบชีวิตแบบนกกระสา
โดยจะเดินเพ่นพ่านไปทั่วทุ่งหญ้าสะวันนา
กินตั๊กแตน จิ้งจก สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
โดยการจิกพวกมันกดลงกับพื้นดิน
นกตัวนี้เพิ่งจับตั๊กแตน
และในขณะที่มันกลืนเหยื่อ
มันจะปิดเปลือกตาที่สาม
ซึ่งก็คือเยื่อตาสองชั้นพร้อมกัน
เพื่อปกป้องเยื่อตาจากอันตราย
(หนาม/ขอที่ขาตั๊กแตนอาจบาดตา) ”
นักชีววิทยาและช่างภาพ Peter Hudson
กล่าวในเอกสารอีเมลที่ส่งถึง Live Science
.
.
นกเลขานุการเป็นนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่
สูงประมาณ 4 ฟุต (1.2 เมตร)
มีลำตัวคล้ายนกอินทรี
มีขาที่ยาวเหมือนนกกระเรียน
มีถิ่นกำเนิดในแถบแอฟริกาใต้สะฮารา
และถึงแม้จะบินได้ แต่จะใช้เวลาส่วนใหญ่
เดินผ่านทุ่งหญ้าสูงเพื่อหาอาหาร
การเผยให้เห็นเปลือกตาที่สามของนก
ซึ่งมีลักษณะเหมือนลูกบอลสีน้ำเงิน
ที่อยู่ในเบ้าตาตามข้อมูลของ
National Audubon Society
เปลือกตาที่สามอยู่ใต้เปลือกตาทั้งบนและล่าง
เปลือกตานี้พับอยู่ที่ด้านในของดวงตา
และเคลื่อนตัวในแนวนอนข้ามลูกตา
เพื่อป้องกันฝุ่น ลม และอันตราย
จึงทำให้เปลือกตานี้ได้รับฉายาว่า
แว่นตาแห่งธรรมชาติ Nature's goggles
.
เรียบเรียง/ที่มา
Livescience
Secretary bird
.
.
.
.
.
นกเลขานุการชอบหากินบนพื้นดิน
แต่ก็เป็นนกบินได้สูงมาก
เพราะจะสร้างรังบนต้น Acacia
.
.
.
เส้นขนสีดำบนหัว ทำให้มันดูโดดเด่น
.
.
.
ฝูงนกสามารถหากินทางเท้าได้
ในระยะทาง 32 กิโลเมตร/วัน
.
.
.
ขาที่ยาวเหมือนนกกระสา
ทำให้ร่างกายส่วนใหญ่อยู่เหนือพืชพรรณ
ช่วยให้มองเห็นเหยื่อได้ชัดเจนขึ้น
.
.
.
ถึงแม้ว่าจะใช้ชีวิตกลางวันอยู่บนพื้นดิน
แต่ในตอนกลางคืน พวกมันมีรังบนต้นไม้
พวกมันมักจะนอนโดยเกาะคอนต้นไม้
.
.
.
ลูกนกเลขานุการจะออกจากรังได้
เมื่ออายุประมาณ 12 สัปดาห์
.
.
แว่นตาธรรมชาติของนก
เปลือกตาที่สามของนก Nature's goggles
หรือ Nictitating membrane คือ
แว่นตาธรรมชาติของนก
เป็นเยื่อบางๆ โปร่งแสงที่เลื่อนปิดตา
ในแนวนอนจากมุมด้านในของตา
ไปยังมุมด้านนอก มีหลักการทำงานดังนี้:
1. โครงสร้างและกลไก:
- เป็นเยื่อบางใสหรือกึ่งโปร่งแสง
- เคลื่อนที่ในแนวนอนจาก
มุมด้านในไปด้านนอกของตา
- ควบคุมการเคลื่อนไหวด้วย
กล้ามเนื้อพิเศษ 2 มัด
2. หน้าที่สำคัญ:
- ปกป้องดวงตาขณะบิน
โดยไม่ต้องหลับตาสนิท
ทำให้ยังมองเห็นได้
- ทำความสะอาดและหล่อลื่นกระจกตา
- ช่วยกรองแสงและป้องกันฝุ่นละออง
- ช่วยในการมองเห็นใต้น้ำสำหรับนกที่ดำน้ำ
3. การใช้งาน:
- นกจะกะพริบเปลือกตาที่สามนี้
เป็นระยะๆ เพื่อทำความสะอาดตา
- ใช้ปกป้องตาเมื่อบินผ่าน
ที่มีฝุ่นละอองหรือลมแรง
- ช่วยในการมองเห็น
ขณะบินด้วยความเร็วสูง
นี่เป็นวิวัฒนาการที่น่าสนใจ
ที่ช่วยให้นกสามารถบินได้
อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
.
.
เปลือกตาที่สามนี้ยังพบในสัตว์อื่นๆ ด้วย เช่น:
- สัตว์เลื้อยคลาน เช่น จิ้งจก ตุ๊กแก งู
- สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ คางคก
- สัตว์น้ำบางชนิด เช่น ปลาฉลาม
- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด เช่น
แมวน้ำ สัตว์ในตระกูลปลาวาฬ
ที่น่าสนใจคือ ในคนเราก็มี
ซากเหลือของโครงสร้างนี้
ในรูปของ เนื้อเยื่อรูปพระจันทร์เสี้ยว
(plica semilunaris) ที่อยู่ตรงหัวตาด้านใน
แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เหมือนในสัตว์อื่นๆ
เพราะมีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไป
.
.
นกประเภทอื่นที่ปิดเปลือกตาได้
@ Nature's goggles
.
.
Bald Eagle © Andy Kenutis/Audubon
Photography Awards
.
.
.
American Crow
.
.
.
Anna's Hummingbird
.
.
.
Hairy Woodpecker (as observed by
a Dark-eyed Junco)
.
.
.
Downy Woodpecker (Female)
.
.
.
Bald Eagle
.
.
.
Common Raven
.
.
.
Juicy fruits คาบเมล็ดพืชพิษ
.
.
.
Great Blue Heron
.
.
.
Pileated Woodpecker
.
.
.
Pileated Woodpecker
.
.
.
Belted Kingfisher ปิดเปลือกตา
ขณะคาบปลา Sculpin
© Gregg Thompson
.
.