JJNY : ณัฐพงษ์ เสนอ 10 มาตรการด่วน│ภาคเอกชนใต้ประเมินอุทกภัย│อุตุเตือน หนาวมาพร้อมฝุ่น│สหรัฐวิจารณ์ผู้นำเกาหลีใต้ คิดผิด

ณัฐพงษ์ เสนอ 10 มาตรการด่วน ถึงนายกฯ-รัฐบาล เร่งฟื้นฟูน้ำท่วมภาคใต้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4938404
 
“ณัฐพงษ์” เสนอ 10 มาตรการเร่งด่วน ฟื้นฟูน้ำท่วมใต้ แนะนายกฯ-รัฐบาลเร่งจัดการในการลงพื้นที่ 6 ธ.ค.นี้ 

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2567 นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างว่า ขณะนี้หลายพื้นที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย แต่ก็มีอีกหลายพื้นที่ที่น้ำยังคงท่วมอยู่ในระดับสูง บางพื้นที่น้ำลดลงจนหมดแล้ว แต่พี่น้องประชาชนผู้ประสบภัยก็ยังต้องเผชิญกับปัญหาตามมาหลายประการ ทั้งขยะที่เกิดจากความเสียหายในช่วงน้ำท่วม การซ่อมแซมบ้านเรือนที่เสียหาย การซ่อมแซมอุปกรณ์ในการดำรงชีพ และการฟื้นฟูกิจการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย

นายณัฐพงษ์ กล่าวต่อไปว่า ตัวแทนพรรคประชาชน นำโดย นายรอมฎอน ปันจอร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ,น.ส.ภคมน หนุนอนันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ได้เข้าไปสำรวจ และพูดคุยกับพี่น้องประชาชน ที่ได้รับผลกระทบ โดยวันนี้พวกเขาอยู่กันที่จังหวัดปัตตานี พี่น้องประชาชนได้เรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ นอกเหนือจากที่มีมติ ครม.ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาค่าดำรงชีพเบื้องต้นครัวเรือนละ 9,000 บาทไปแล้ว

จากการรับฟัง และรวบรวมความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนผู้ประสบภัย ตนเสนอเป็น 10 มาตรการเร่งด่วนที่รัฐบาลควรดำเนินการภายใน 1 เดือน ได้แก่
 
1. พี่น้องประชาชนเห็นว่า การจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยา 9,000 บาทต่อครัวเรือนตามที่ ครม.มีมติไว้ รัฐบาลควรกำหนดเงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือให้น้อยที่สุด และอย่าให้มีขั้นตอนยุ่งยากที่จะนำมาซึ่งความล่าช้าในการได้รับความช่วยเหลือ ดังนั้น รัฐบาลจึงควรใช้ภาพถ่ายดาวเทียม และ/หรือระบบ geolocation เข้ามาใช้ในการพิสูจน์สิทธิในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
 
2. ในส่วนของการซ่อมแซม-ฟื้นฟูบ้าน รัฐบาลควรสนับสนุนทีมอาสาสมัครทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ ในการฟื้นฟูซ่อมแซมบ้าน พาหนะ และอุปกรณ์การประกอบอาชีพ รวมถึงจ่ายเงินค่าซ่อมแซมบ้านและสถานประกอบการ เพื่อช่วยเหลือให้กลับมาดำรงชีพและประกอบอาชีพตามปกติโดยไม่ล่าช้า
 
3. รัฐบาลควรสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการขยะที่ตกค้างภายในพื้นที่โดยเร่งด่วนที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ก่อผลกระทบทางสุขอนามัยต่อประชาชนในพื้นที่
 
4. รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณและร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณะโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งการคมนาคม ระบบสาธารณสุข และน้ำประปา ให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็วที่สุด
 
5. เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างยังเสี่ยงที่จะมีฝนตกต่อเนื่องอีก เพราะฉะนั้นในพื้นที่ที่ดินถล่ม และ/หรือมีความเสี่ยงกับดินถล่มเพิ่มเติม ต้องรีบให้เจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญเข้าไปประเมินหน้างานทันที รวมถึงกำหนดมาตรการในการป้องกันดินถล่มและการอพยพประชาชนจากพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม
 
6. เช่นเดียวกับเรื่องดินถล่มที่ภาคใต้ยังมีความเสี่ยงน้ำท่วมอีกในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้านี้ รัฐบาลควรจัดตั้งศูนย์กลางอุปกรณ์การช่วยเหลือในพื้นที่ และมีคลังสำรองอาหารฉุกเฉินไว้อีกอย่างน้อยในช่วง 2 เดือนต่อจากนี้ เพื่อไม่ให้เกิดสถานการณ์อาหาร-อุปกรณ์ขาดแคลนเช่นครั้งนี้ โดยควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรอาสาสมัครภาคประชาชนเป็นผู้ดำเนินการ
 
7. รัฐบาลควรเร่งกระบวนการเยียวยาจิตใจอย่างเร่งด่วนสำหรับผู้ประสบภัย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและมีความอ่อนไหวทางด้านอารมณ์และจิตใจ เพื่อทำการเยียวยาให้ทันท่วงทีก่อนที่ภาวะเหล่านั้นจะสะสมกลายเป็นบาดแผลและทำให้เป็นโรคทางสุขภาพจิต หลังจากนั้น รัฐบาลควรระดมสรรพกำลังของจิตแพทย์และนักจิตวิทยาจากจังหวัดข้างเคียงเพื่อมารองรับความต้องการในการรับบริการการรักษาทางด้านสุขภาพจิตของประชาชน หรืออาจจะมีการเปิดรับอาสาที่เคยผ่านการอบรมแล้ว เพื่อเข้ามาเป็นบุคลากรด่านหน้า ช่วยแบ่งเบาหน้าที่ของบุคลากรทางด้านสุขภาพจิตด้วย โดยจะต้องมีการทำงานบูรณาการร่วมกันเพื่อเก็บข้อมูลจำนวนผู้ที่มีความเสี่ยงหรือผู้ที่ได้เข้ามารับบริการแล้ว เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการทำงานต่อไป
 
8. รัฐบาลต้องมีแพ็กเกจกระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูการท่องเที่ยวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ให้มีประสิทธิผลกว่าโครงการ “แอ่วเหนือคนละครึ่ง” ที่ให้แรงจูงใจกับนักท่องเที่ยวน้อยเกินไป (400 บาทต่อคน รวมผู้มีสิทธิ 10,000 คน)

9. รัฐบาลควรออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยในไทย ทั้ง (ก) การพักชำระหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ สำหรับผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย และ (ข) การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถนำมาใช้ในการฟื้นฟูกิจการ โดยปลอดจากดอกเบี้ย

และ 10.ชดเชยความเสียหายของโรงเรียนที่อุปกรณ์และอาคารเรียนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เพื่อให้กลับมาเปิดการเรียนการสอนได้ตามปกติโดยเร็ว
นายณัฐพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ตนอยากบอกรัฐบาลด้วยความหวังดี ว่าแม้พี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้จำนวนหนึ่งอาจไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย จากเหตุการณ์ข้อพิพาทและความตึงเครียดทางการเมือง และสังคมในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่ตนก็เห็นว่า สาธารณภัยครั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีที่นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลจะสามารถดูแลพี่น้องประชาชนให้ดีที่สุด เพื่อกู้ความเชื่อมั่นของพี่น้องประชาชนกลับมาได้
 


ภาคเอกชนใต้ ประเมินอุทกภัย 4 จังหวัดชายแดนใต้ สร้างความเสียหาย 4,000 ล้าน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9535520

สงขลา ภาคเอกชนใต้ ประเมินอุทกภัย 4 จังหวัดชายแดนใต้ สร้างความเสียหาย 4,000 ล้าน วอนรัฐบาลเร่งฟื้นฟูรวดเร็ว-ตรงเป้าหมาย เศรษฐกิจซึมยาวถึงต้นปี’68

4 ธ.ค. 67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์อุทกภัย พื้นที่ จ.สงขลา ตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย.- 3 ธ.ค. 67 ได้ส่งผลกระทบในพื้นที่ 16 อำเภอ ครอบคลุม 125 ตำบล 949 หมู่บ้าน และ 249 ชุมชน
 
โดยมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 691,016 คน 235,896 ครัวเรือน รายงานผู้เสียชีวิตสะสม 10 ราย และมีการอพยพประชาชนจากพื้นที่เสี่ยงภัยไปยังพื้นที่ปลอดภัย 1,943 ครัวเรือน 6,142 คน
 
อุทกภัยครั้งนี้ทำให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านทรัพย์สินและทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ โดยบ้านเรือนถูกน้ำท่วมเสียหายทั้งหลัง 19 หลัง และบางส่วน 2,138 หลัง พื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมมีมากกว่า 59,096 ไร่ ปศุสัตว์ได้รับความเสียหายกว่า 74,700 ตัว และพื้นที่ประมงกว่า 77,543 ตารางเมตรถูกน้ำท่วมเสียหาย นอกจากนี้ยังมีถนนถูกตัดขาดถึง 244 สาย วัดและมัสยิดได้รับผลกระทบ 113 แห่ง และโรงเรียนอีก 512 แห่งได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม
 
นายธนวัฒน์ พูนศิลป์ ที่ปรึกษาสมาคมอสังหาริมทรัพย์ จ.สงขลา กล่าวว่า สถานการณ์อุทกภัยใน 4 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง จ.สงขลา ยะลา ปัตตานี และ จ.นราธิวาส หนักมาก พื้นที่ที่ไม่เคยน้ำท่วมกลับมาท่วม ระดับน้ำสูง ทรัพย์สินยกขึ้นไว้ที่สูงไม่ทันจมน้ำแทบทั้งหมด สร้างความเสียหายในวงกว้าง
 
ประมาณความเสียหายในภาพรวมไม่น้อยกว่า 4,000 ล้านบาท ความหวังว่า หลังปีใหม่การซื้อขายบ้าน รถยนต์ การท่องเที่ยว จะดีขึ้น ความหวังกลับพังทลาย ความเสียหายในระยะยาวยังประมาณค่าไม่ได้ โดยเฉพาะบ้านและที่ดิน รถยนต์ การท่องเที่ยวทุกอย่างกระทบยาว หากรัฐบาลไม่มีมาตรการออกมาฟื้นฟูหลังน้ำลด เศรษฐกิจซึมยาวต่อเนื่องถึงต้นปี2568


 
อุตุ เตือน หนาวมาพร้อมฝุ่น อากาสแห้งระวังไฟไหม้ มรสุมใต้ยังไม่ซา ต้องเฝ้าน้ำท่วม-ป่าหลาก
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4938625

อุตุ พยากรณ์อากาศ วันนี้ ช่วงเช้าหมอกหนา อากาศหนาว ยอดดอยอุณหภูมิต่ำสุด 10 องศา ฝุ่นอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงมาก มรสุมยังพัดปกคลุมใต้ ยังต้องเฝ้าระวังฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน-ป่าหลาก
 
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณช่องแคบมะละกา มีแนวโน้มเคลื่อนออกไปทางเกาะสุมาตรา ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
 
ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
 
สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับบริเวณยอดดอยและยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยยอดดอยอุณหภูมิต่ำสุด 10-16 องศาเซลเซียส ส่วนยอดภูอุณหภูมิต่ำสุด 12-17 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้ง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย
 
ฝุ่นละอองในระยะนี้ : ประเทศไทยตอนบนมีการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างมาก เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง
ออกประกาศ 05 ธันวาคม 2567
 
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย
 
06.00 น. วันนี้ ถึง 06.00 น. วันพรุ่งนี้
 
ภาคเหนือ
อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีกเล็กน้อย โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-16 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 5-15 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีกเล็กน้อย
อุณหภูมิต่ำสุด 18-22 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-17 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
 
ภาคกลาง
มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีกเล็กน้อย
อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก
มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีกเล็กน้อย
อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
 
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
 
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
 
กรุงเทพและปริมณฑล
มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีกเล็กน้อย
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่