(ธรรมศึกษาชั้นโทหน้า1/4)
เลขที่00
ประโยคธรรมศึกษาชั้นโท
วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม
สอบในสนามหลวง
วันที่ 17 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2553
ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺหติ
กุสาปิ ปูติ วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา
นรชนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าก็พลอยเหม็นไปด้วยฉันใด การส้องเสพคนพาลก็ฉันนั้น
บัดนี้ จักได้อธิบายขยายเนื้อความแห่งกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและนำไปปฏิบัติสืบต่อไป ดำเนินความว่า คนพาลหรือคนชั่ว ได้แก่คนประพฤติเลวทรามทางกาย วาจา ใจ ถ้าบุคคลใดคบคนพาล ย่อมถูกคนพาลชักนำให้คิดชั่ว กล่าวชั่ว ทำชั่วตาม คือมีชักชวนดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน มัวเมาในการเล่นและเล่นการพนัน คนพาลนั้นทำลายความสุข ความเจริญทั้งฝ่ายตนและผู้อื่น ย่อมถือเอาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่ายคือทำลายความพินาศให้เกิดแก่ตนและคนอื่น เพราะใจไม่ยึดธรรมเป็นหลัก ดังนั้น ถ้าใครก็ตามที่คบคนพาลย่อมจะทำให้ความประพฤติของตนเองเลวลง มีแต่ความเดือดร้อนในที่สุด ก็ต้องพินาศล่มจมเหมือนคนเอา
พิมพ์ที่:ร.พ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
(ธรรมศึกษาชั้นโทหน้า2/4)
ใบหญ้าคาห่อปลาเน่า ใบหญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉะนั้น สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ชาดก วีสตินิบาตว่า
ยาทิสํ กุรุเต มิตฺตํ ยาทิสญฺจูปเสวติ โสปิ ตาทิสโก โหติ สหวาโส หิตาทิโส
คบคนเช่นใดเป็นมิตร และสมคบคนเช่นใด เขาก็เป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น.
คำว่า คบ คือการอยู่ร่วมกัน เช่นร่วมกิน ร่วมนอน ส่วนคำว่า สมคบ คือการร่วมคบคิดกันมีความคิดอ่านไปในทางเดียวกัน การคบหรือสมคบ มีส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตของตน เพราะเมื่อคบคนพาลย่อมพาลไปด้วย แต่หากคบบัณฑิตก็พลอยเป็นบัณฑิตไปด้วยดังมีคำพูดว่า คบคนพาลพาลไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล คบคนชั่วให้ตัวอับจน ฉะนั้นจึงควรระมัดระวังในการคบหา พึงคบกับคนดีที่เรียกว่าบัณฑิต ผู้มีปกติทำดีทั้งกาย วาจา ใจ เพราะท่านว่าคบคนเช่นใดก็มักเป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันจึงเป็นเช่นนั้น ผู้เป็นบัณฑิตเห็นผลแห่งการคบหาสมาคมแล้ว พึงคบกับบุคคลผู้มีศรัทธาคือ เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรมว่ามีจริง เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อผู้มีศีลคือมีปกติประพฤติเรียบร้อยทั้งทางกาย วาจา ใจ ผู้มีปัญญาเครื่องสอดส่องพินิจพิจารณาเห็นสิ่งที่ดีที่ชั่วตามความเป็น สามารถแยกแยะว่า
พิมพ์ที่:ร.พ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
(ธรรมศึกษาชั้นโทหน้า3/4)
อะไรดี อะไรไม่ดี มีประโยชน์ หรือไม่มีประโยชน์ อะไรควรอะไรไม่ควร และประพฤติตามที่ได้เล่าเรียนมาเมื่อบัณฑิตคบกับบุคคลดังกล่าวมานี้ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาในขุททกนิกาย เถรคาถา ว่า
ปาปมิตฺเต วิวชฺเชตฺวา ภเชยฺยุตฺเตมปุคฺคเล
โอวาเท จสฺส ติฏเฐยฺย ปตฺเถนฺโต อจลํ สุขํ
ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง พึงเว้นมิตรชั่วเสีย คบแต่บุคคลสูงสุดและพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน.
การคบมิตรนั้น ถ้าเป็นมิตรดี เรียกว่า กัลยาณมิตร ถ้ามิตรชั่ว เรียก มิตรปฏิรูปหรือมิตรเทียม ท่านแบ่งออกเป็น 4 จำพวก คือ 1.เป็นคนปอกลอกเห็นแก่ได้ 2.เป็นคนดีแต่พูด 3.เป็นคนหัวประจบ 4.ชักชวนเราไปในทาง

คนสี่จำพวกนี้พึงรู้ว่าไม่ใช่มิตร แต่เป็นดังอสรพิษ บุคคลผู้ปรารถนาความสุขแก่ตน พึงหลีกเสียให้ห่างกันแต่พึงให้คบแต่บุคคลที่สูงสุดคือมิตรที่ดี มีศีลธรรม แนะนำให้ทำ พูด คิด แต่ในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ และพึงปฏิบัติตามคำที่ท่านสั่งสอนหรือโอวาทของท่าน จึงจะได้ผลที่พึงประสงค์ เพราะท่านผู้รู้ทั้งหลาย มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น เป็นแต่ผู้บอกชี้แนะเท่านั้น ส่วนเรื่องการปฏิบัติเป็นเรื่องของผู้ฟังพึงกระทำตามเอง จึงจะได้แต่ความสุขความเจริญ ความมั่นคงสถาพรต่อไป
สรุปว่า การคบหาสมาคมกับคนอื่นเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะสามารถทำคนให้เป็น
พิมพ์ที่:ร.พ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
(ธรรมศึกษาชั้นโทหน้า4/4)
ดีและ เป็นคนเสียก็ได้ เป็นเสมือนดาบสองคม เพราะถ้าคบคนดีก็จะเป็นคนดีได้ แต่ถ้าคบคนชั่วก็จะเป็นคนชั่วได้ เพราะคบคนใดเป็นมิตรก็เป็นคนเช่นนั้น ดังนั้นบุคคลจึงจะต้องหลีกหนีจากพาลหรือคนชั่ว แต่ให้หันไปคบสมาคมคนที่มีคุณธรรม เป็นบัณฑิตพึงเข้าไปรับคำชี้แนะคำสั่งจากท่านเหล่านั้น หากปรารถนาประโยชน์และความเจริญในชีวิต พึงจะต้องคบคนแต่คนดีคนสูงสุดเท่านั้น สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบท ณ เบื้องต้นว่า
ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺหติ
กุสาปิ ปูติ วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา
นรชนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าก็ย่อมพลอยเหม็นไปด้วยฉันใด การส้องเสพเสพคนพาลก็ฉันนั้น.
มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้.
พิมพ์ที่:ร.พ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ<!--/data/user/0/com.samsung.android.app.notes/files/clipdata/clipdata_bodytext_241124_201141_623.sdocx-->
กระทู้ธรรม ธรรมศึกษาชั้นโท ฉบับพิมพ์
เลขที่00
ประโยคธรรมศึกษาชั้นโท
วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม
สอบในสนามหลวง
วันที่ 17 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2553
ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺหติ
กุสาปิ ปูติ วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา
นรชนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าก็พลอยเหม็นไปด้วยฉันใด การส้องเสพคนพาลก็ฉันนั้น
บัดนี้ จักได้อธิบายขยายเนื้อความแห่งกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและนำไปปฏิบัติสืบต่อไป ดำเนินความว่า คนพาลหรือคนชั่ว ได้แก่คนประพฤติเลวทรามทางกาย วาจา ใจ ถ้าบุคคลใดคบคนพาล ย่อมถูกคนพาลชักนำให้คิดชั่ว กล่าวชั่ว ทำชั่วตาม คือมีชักชวนดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน มัวเมาในการเล่นและเล่นการพนัน คนพาลนั้นทำลายความสุข ความเจริญทั้งฝ่ายตนและผู้อื่น ย่อมถือเอาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่ายคือทำลายความพินาศให้เกิดแก่ตนและคนอื่น เพราะใจไม่ยึดธรรมเป็นหลัก ดังนั้น ถ้าใครก็ตามที่คบคนพาลย่อมจะทำให้ความประพฤติของตนเองเลวลง มีแต่ความเดือดร้อนในที่สุด ก็ต้องพินาศล่มจมเหมือนคนเอา
พิมพ์ที่:ร.พ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
(ธรรมศึกษาชั้นโทหน้า2/4)
ใบหญ้าคาห่อปลาเน่า ใบหญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉะนั้น สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ชาดก วีสตินิบาตว่า
ยาทิสํ กุรุเต มิตฺตํ ยาทิสญฺจูปเสวติ โสปิ ตาทิสโก โหติ สหวาโส หิตาทิโส
คบคนเช่นใดเป็นมิตร และสมคบคนเช่นใด เขาก็เป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น.
คำว่า คบ คือการอยู่ร่วมกัน เช่นร่วมกิน ร่วมนอน ส่วนคำว่า สมคบ คือการร่วมคบคิดกันมีความคิดอ่านไปในทางเดียวกัน การคบหรือสมคบ มีส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตของตน เพราะเมื่อคบคนพาลย่อมพาลไปด้วย แต่หากคบบัณฑิตก็พลอยเป็นบัณฑิตไปด้วยดังมีคำพูดว่า คบคนพาลพาลไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล คบคนชั่วให้ตัวอับจน ฉะนั้นจึงควรระมัดระวังในการคบหา พึงคบกับคนดีที่เรียกว่าบัณฑิต ผู้มีปกติทำดีทั้งกาย วาจา ใจ เพราะท่านว่าคบคนเช่นใดก็มักเป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันจึงเป็นเช่นนั้น ผู้เป็นบัณฑิตเห็นผลแห่งการคบหาสมาคมแล้ว พึงคบกับบุคคลผู้มีศรัทธาคือ เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรมว่ามีจริง เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อผู้มีศีลคือมีปกติประพฤติเรียบร้อยทั้งทางกาย วาจา ใจ ผู้มีปัญญาเครื่องสอดส่องพินิจพิจารณาเห็นสิ่งที่ดีที่ชั่วตามความเป็น สามารถแยกแยะว่า
พิมพ์ที่:ร.พ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
(ธรรมศึกษาชั้นโทหน้า3/4)
อะไรดี อะไรไม่ดี มีประโยชน์ หรือไม่มีประโยชน์ อะไรควรอะไรไม่ควร และประพฤติตามที่ได้เล่าเรียนมาเมื่อบัณฑิตคบกับบุคคลดังกล่าวมานี้ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาในขุททกนิกาย เถรคาถา ว่า
ปาปมิตฺเต วิวชฺเชตฺวา ภเชยฺยุตฺเตมปุคฺคเล
โอวาเท จสฺส ติฏเฐยฺย ปตฺเถนฺโต อจลํ สุขํ
ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง พึงเว้นมิตรชั่วเสีย คบแต่บุคคลสูงสุดและพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน.
การคบมิตรนั้น ถ้าเป็นมิตรดี เรียกว่า กัลยาณมิตร ถ้ามิตรชั่ว เรียก มิตรปฏิรูปหรือมิตรเทียม ท่านแบ่งออกเป็น 4 จำพวก คือ 1.เป็นคนปอกลอกเห็นแก่ได้ 2.เป็นคนดีแต่พูด 3.เป็นคนหัวประจบ 4.ชักชวนเราไปในทาง
สรุปว่า การคบหาสมาคมกับคนอื่นเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะสามารถทำคนให้เป็น
พิมพ์ที่:ร.พ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
(ธรรมศึกษาชั้นโทหน้า4/4)
ดีและ เป็นคนเสียก็ได้ เป็นเสมือนดาบสองคม เพราะถ้าคบคนดีก็จะเป็นคนดีได้ แต่ถ้าคบคนชั่วก็จะเป็นคนชั่วได้ เพราะคบคนใดเป็นมิตรก็เป็นคนเช่นนั้น ดังนั้นบุคคลจึงจะต้องหลีกหนีจากพาลหรือคนชั่ว แต่ให้หันไปคบสมาคมคนที่มีคุณธรรม เป็นบัณฑิตพึงเข้าไปรับคำชี้แนะคำสั่งจากท่านเหล่านั้น หากปรารถนาประโยชน์และความเจริญในชีวิต พึงจะต้องคบคนแต่คนดีคนสูงสุดเท่านั้น สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบท ณ เบื้องต้นว่า
ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺหติ
กุสาปิ ปูติ วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา
นรชนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าก็ย่อมพลอยเหม็นไปด้วยฉันใด การส้องเสพเสพคนพาลก็ฉันนั้น.
มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้.
พิมพ์ที่:ร.พ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ<!--/data/user/0/com.samsung.android.app.notes/files/clipdata/clipdata_bodytext_241124_201141_623.sdocx-->