( มีสปอยล์)
ถ้าวัดจากกระทู้พันทิปที่ถกกันเรื่องพล็อตเวลา จะพบว่าซีรี่ส์นี้ประสปความสำเร็จระดับหนึ่งเลยทีเดียว หลายคนอาจจะชอบช่วง ep1-3 ด้วยเหตุผลว่าลึกลับ คาดเดายาก
แต่สำหรับเราช่วง ep ที่ดีที่สุด คือ 4-6 ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงหลังการเฉลยปมไปแล้วก็ตาม เพราะเป็นอีพีที่ทำให้เราเห็นอารมณ์ ปม ความรู้สึก ของ แม่สามคนอย่างชัดเจน
- สารวัตรฟ้า แม่ผู้มีอาชีพผดุงกฏหมาย ยอมที่จะทำผิดเสียเองโดยการเป็นเมียน้อยผู้กำกับ หลายคนคิดว่าเธอต้องการเลื่อนขั้น
ซึ่งเธอก็ได้พิสูจน์ในฉากสุดท้ายแล้วว่าไม่ใช่ โตมาในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรง สารวัตรฟ้าตั้งใจเลือกผู้กำกับที่อ่อนโยน ไม่ก้าวร้าว ซึ่งขั้วตรงข้ามกับ พ่อแท้ๆของตัวเองที่ตบตีแม่ทุกวัน สารวัตรฟ้า เป็นคนพร้อมฉะ พร้อมลุย ไม่ให้ใครมาหมิ่น ยกเว้นเรื่องเดียวคือยอมกลืนศักดิ์ศรี เป็นเมียน้อยให้นินทากันทั้งโรงพัก แต่เมื่อเธอไขคดีปริศนาสองช่วงเวลานี้สำเร็จ ผู้หญิงคนนึงโดนสามีซ้อม โดนแม่แท้ๆฆ่า เธอก็ได้เข้าใจว่า ผู้หญิงคนนึงสามารถทำเพื่อลูกได้แค่ไหน เป็นที่มาของการปลดล็อคตำแหน่งเมียน้อยและเริ่มต้นรับตำแหน่งใหม่คือแม่เลี้ยงเดี่ยวที่เชื่อว่าตัวเองทำได้ทุกอย่างเพื่อลูก คุณแพรแสดงได้อย่างน่าดูและไม่มีที่ติ
- วารี เอาตรงๆ ช่วงแรกเรารู้สึกว่า อินี่ประสาทหรือเปล่าวะ คุณนุ่นแสดงได้มึนดีมาก ออกไปทางจิตเวช ผู้หญิงอะไรเอาลูกมาอยู่ในบ้านร้างทิ้งลูกอยู่คนเดียวบ่อยๆ พอลูกบอกเห็นผีก็บอกว่าคิดไปเอง ทั้งๆที่บ้านนี่คือตั้งโต๊ะเก็บค่าเข้าชมบ้านผีสิงได้เลย แต่พอปลดล็อคด้วยสูจิบัตรว่าลูกมีจริง การแสดงของคุณนุ่น ก็เปลี่ยนไปทีละน้อย ทำให้เราเห็นความรักของวารีที่มีต่อลูก หนังใส่รายละเอียดดีมากๆ ในแง่ของเหตุการณ์ที่เปลี่ยร วารี ’ฉันมาหาลูก‘ ให้กลายเป็น วารี‘ลูกกูอยู่ไหน’ ทำให้เรารู้สึกเลยว่า เออ เป็นเรา เราก็บ้าวะ
สิ่งที่ท้าทายมากของคุณนุ่น คือ การที่ต้องรักลูก และรักแม่ไปด้วยพร้อมๆกัน ถึงแม้แม่สติไม่ดี แต่เราก็ยังเห็นการขอร้องจนวินาทีสุดท้าย ด้วยสถานการณ์นี้ ด้วยความสามารถของคุณนุ่นทำให้เราสงสารตัวละครนี้มากๆ
- สุดท้าย คือ พนิดา ซึ่งเรารู้สึกว่า เหมือนแม่หลายคนยุคปัจจุบัน ยุคที่ผู้หญิงเก่งขึ้นมาก เพราะพนิดาคือคนที่เอาความเจริญก้าวหน้าของตนเอง วางไว้เหนือความสุขของครอบครัว หลังอุบัติเหตุ หนังพยายามปูปมจิตเวชซ้ำๆ เพื่อเป็นเหตุผลสนับสนุนว่าทำไมพนิดาตัดสินใจฆ่าลูกได้ ตลอดเวลาที่วารีตะโกนว่าหนูเองลูกแม่ พนิดามัวแต่คิดว่า วารีตายไปแล้ว ยัยนี่โกหกแน่ๆ แต่ความจริง วารีนี้ คือวารี2ต่างหาก และพนิดาก็ได้รู้ความจริงที่น่าสะพรึงตอนวารี2โตแล้ว เป็นที่มาของชื่อ’อย่ากลับบ้าน’ บอกตรงๆ บทนี้ถ้าไม่ใช่คุณซินดี้ Maleficentเมืองไทย ก็นึกไม่ออกเลยว่าจะเป็นใคร หลายครั้งเวลาเราดูหนัง ถึงฉากที่เฉลยที่มาของหนัง เราก็จะเบลอๆว่าอ๋อ แบบนี้เนอะ แต่ไม่ใช่กับเรื่องนี้ ฉาก‘อย่ากลับบ้าน‘ของคุณซินดี้ ทำให้เรารู้สึกสยอง สงสาร และสมเพชในเวลาเดียวกัน
ในฐานะแม่ ถามว่าเราได้อะไรจากหนัง(ซีรีส์)เรื่องนี้บ้าง นอกจากได้ร้องไห้หนักๆกับการแสดงของแม่ทั้งสามคนหลังดูจบแล้ว มันคือความรู้สึกเข้าใจ (empathy) ถึงแม้การกระทำมันจะดูประสาทขนาดไหน ถึงแม้เราไม่เห็นด้วย แต่ในหัวอกแม่เหมือนกัน มันเข้าใจ
อีกสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า เป็นคำถามที่ตระหนักขึ้นมาได้จากหนังเรื่องนี้ คือ ความรักในฐานะแม่ ดูจะยิ่งใหญ่กว่าในฐานะลูกเสมอ ฟังดูเจ็บปวดนะ แต่เป็นความจริง อย่างน้อยก็เป็นความจริงในกรณีที่แม่ไม่ได้เป็นนางฟ้าเทวดาของลูก100% ทางจิตวิทยาคือ ตัวตนของเรามาจากปมวัยเด็กทั้งนั้น อีกนัยหนึ่งคือ childhood wound ที่เกิดจากพ่อแม่ทำเรา สร้างเราขึ้นมา ในขณะที่ ลูกอยู่กับเราไม่กี่ปี และอยู่กับเราตอนที่ตัวตนเราสร้างสำเร็จแล้ว ลูกจึงมีโอกาสก่อแผลเป็นในใจเราน้อยกว่าพ่อแม่มาก
ถามว่าดูแล้วจะทำยังไงต่อน่ะเหรอ คงรักลูก ให้เวลาลูกให้มากๆๆๆเหมือนเดิม นี่คงเป็นวิธีเดียว ที่ยังคงสายสัมพันธ์ความรัก กับลูกที่เรารักได้ยาวนานที่สุด เพราะวันนึง ยังไงความรักเขาที่มีให้เราในฐานะลูก ก็จะถูกความรักที่เขามีให้ลูกของเขาในฐานะพ่อแม่ แซงหน้าไปแน่นอน ไม่ได้อิจฉาหรือน้อยใจนะ แต่รัก แม่ก็จะพยายามให้ถึงที่สุด และเตรียมตัวสำหรับสัจธรรมนี้แหละนะลูกแม่
"อย่ากลับบ้าน" นะ "แม่"
ถ้าวัดจากกระทู้พันทิปที่ถกกันเรื่องพล็อตเวลา จะพบว่าซีรี่ส์นี้ประสปความสำเร็จระดับหนึ่งเลยทีเดียว หลายคนอาจจะชอบช่วง ep1-3 ด้วยเหตุผลว่าลึกลับ คาดเดายาก
แต่สำหรับเราช่วง ep ที่ดีที่สุด คือ 4-6 ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงหลังการเฉลยปมไปแล้วก็ตาม เพราะเป็นอีพีที่ทำให้เราเห็นอารมณ์ ปม ความรู้สึก ของ แม่สามคนอย่างชัดเจน
- สารวัตรฟ้า แม่ผู้มีอาชีพผดุงกฏหมาย ยอมที่จะทำผิดเสียเองโดยการเป็นเมียน้อยผู้กำกับ หลายคนคิดว่าเธอต้องการเลื่อนขั้น
ซึ่งเธอก็ได้พิสูจน์ในฉากสุดท้ายแล้วว่าไม่ใช่ โตมาในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรง สารวัตรฟ้าตั้งใจเลือกผู้กำกับที่อ่อนโยน ไม่ก้าวร้าว ซึ่งขั้วตรงข้ามกับ พ่อแท้ๆของตัวเองที่ตบตีแม่ทุกวัน สารวัตรฟ้า เป็นคนพร้อมฉะ พร้อมลุย ไม่ให้ใครมาหมิ่น ยกเว้นเรื่องเดียวคือยอมกลืนศักดิ์ศรี เป็นเมียน้อยให้นินทากันทั้งโรงพัก แต่เมื่อเธอไขคดีปริศนาสองช่วงเวลานี้สำเร็จ ผู้หญิงคนนึงโดนสามีซ้อม โดนแม่แท้ๆฆ่า เธอก็ได้เข้าใจว่า ผู้หญิงคนนึงสามารถทำเพื่อลูกได้แค่ไหน เป็นที่มาของการปลดล็อคตำแหน่งเมียน้อยและเริ่มต้นรับตำแหน่งใหม่คือแม่เลี้ยงเดี่ยวที่เชื่อว่าตัวเองทำได้ทุกอย่างเพื่อลูก คุณแพรแสดงได้อย่างน่าดูและไม่มีที่ติ
- วารี เอาตรงๆ ช่วงแรกเรารู้สึกว่า อินี่ประสาทหรือเปล่าวะ คุณนุ่นแสดงได้มึนดีมาก ออกไปทางจิตเวช ผู้หญิงอะไรเอาลูกมาอยู่ในบ้านร้างทิ้งลูกอยู่คนเดียวบ่อยๆ พอลูกบอกเห็นผีก็บอกว่าคิดไปเอง ทั้งๆที่บ้านนี่คือตั้งโต๊ะเก็บค่าเข้าชมบ้านผีสิงได้เลย แต่พอปลดล็อคด้วยสูจิบัตรว่าลูกมีจริง การแสดงของคุณนุ่น ก็เปลี่ยนไปทีละน้อย ทำให้เราเห็นความรักของวารีที่มีต่อลูก หนังใส่รายละเอียดดีมากๆ ในแง่ของเหตุการณ์ที่เปลี่ยร วารี ’ฉันมาหาลูก‘ ให้กลายเป็น วารี‘ลูกกูอยู่ไหน’ ทำให้เรารู้สึกเลยว่า เออ เป็นเรา เราก็บ้าวะ
สิ่งที่ท้าทายมากของคุณนุ่น คือ การที่ต้องรักลูก และรักแม่ไปด้วยพร้อมๆกัน ถึงแม้แม่สติไม่ดี แต่เราก็ยังเห็นการขอร้องจนวินาทีสุดท้าย ด้วยสถานการณ์นี้ ด้วยความสามารถของคุณนุ่นทำให้เราสงสารตัวละครนี้มากๆ
- สุดท้าย คือ พนิดา ซึ่งเรารู้สึกว่า เหมือนแม่หลายคนยุคปัจจุบัน ยุคที่ผู้หญิงเก่งขึ้นมาก เพราะพนิดาคือคนที่เอาความเจริญก้าวหน้าของตนเอง วางไว้เหนือความสุขของครอบครัว หลังอุบัติเหตุ หนังพยายามปูปมจิตเวชซ้ำๆ เพื่อเป็นเหตุผลสนับสนุนว่าทำไมพนิดาตัดสินใจฆ่าลูกได้ ตลอดเวลาที่วารีตะโกนว่าหนูเองลูกแม่ พนิดามัวแต่คิดว่า วารีตายไปแล้ว ยัยนี่โกหกแน่ๆ แต่ความจริง วารีนี้ คือวารี2ต่างหาก และพนิดาก็ได้รู้ความจริงที่น่าสะพรึงตอนวารี2โตแล้ว เป็นที่มาของชื่อ’อย่ากลับบ้าน’ บอกตรงๆ บทนี้ถ้าไม่ใช่คุณซินดี้ Maleficentเมืองไทย ก็นึกไม่ออกเลยว่าจะเป็นใคร หลายครั้งเวลาเราดูหนัง ถึงฉากที่เฉลยที่มาของหนัง เราก็จะเบลอๆว่าอ๋อ แบบนี้เนอะ แต่ไม่ใช่กับเรื่องนี้ ฉาก‘อย่ากลับบ้าน‘ของคุณซินดี้ ทำให้เรารู้สึกสยอง สงสาร และสมเพชในเวลาเดียวกัน
ในฐานะแม่ ถามว่าเราได้อะไรจากหนัง(ซีรีส์)เรื่องนี้บ้าง นอกจากได้ร้องไห้หนักๆกับการแสดงของแม่ทั้งสามคนหลังดูจบแล้ว มันคือความรู้สึกเข้าใจ (empathy) ถึงแม้การกระทำมันจะดูประสาทขนาดไหน ถึงแม้เราไม่เห็นด้วย แต่ในหัวอกแม่เหมือนกัน มันเข้าใจ
อีกสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า เป็นคำถามที่ตระหนักขึ้นมาได้จากหนังเรื่องนี้ คือ ความรักในฐานะแม่ ดูจะยิ่งใหญ่กว่าในฐานะลูกเสมอ ฟังดูเจ็บปวดนะ แต่เป็นความจริง อย่างน้อยก็เป็นความจริงในกรณีที่แม่ไม่ได้เป็นนางฟ้าเทวดาของลูก100% ทางจิตวิทยาคือ ตัวตนของเรามาจากปมวัยเด็กทั้งนั้น อีกนัยหนึ่งคือ childhood wound ที่เกิดจากพ่อแม่ทำเรา สร้างเราขึ้นมา ในขณะที่ ลูกอยู่กับเราไม่กี่ปี และอยู่กับเราตอนที่ตัวตนเราสร้างสำเร็จแล้ว ลูกจึงมีโอกาสก่อแผลเป็นในใจเราน้อยกว่าพ่อแม่มาก
ถามว่าดูแล้วจะทำยังไงต่อน่ะเหรอ คงรักลูก ให้เวลาลูกให้มากๆๆๆเหมือนเดิม นี่คงเป็นวิธีเดียว ที่ยังคงสายสัมพันธ์ความรัก กับลูกที่เรารักได้ยาวนานที่สุด เพราะวันนึง ยังไงความรักเขาที่มีให้เราในฐานะลูก ก็จะถูกความรักที่เขามีให้ลูกของเขาในฐานะพ่อแม่ แซงหน้าไปแน่นอน ไม่ได้อิจฉาหรือน้อยใจนะ แต่รัก แม่ก็จะพยายามให้ถึงที่สุด และเตรียมตัวสำหรับสัจธรรมนี้แหละนะลูกแม่