‘ส.ว.วันไชย’ จี้ รมต.คมนาคม ลาออก เซ่นปม บัสนักเรียน ห้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งปท.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4832244
เดือด! ‘สว.วันไชย’ ไล่ รมต.คมนาคม-ผู้บริหารลาออก เซ่นปม บัสนักเรียนมรณะ ยกเคส เรือเซวอลล่ม เจ้าหน้าที่ยังผูกคอตาย นายกฯ-ประธานาธิบดีต้องออก ด้าน ‘นันทนา’ ถามวัดผลอย่างไร เอาเด็กอนุบาลไปดูงานโรงไฟฟ้า นั่งรถ 8-9 ชม. แนะเปลี่ยนรถบัสนักเรียนมาตรฐาน-สีเดียวกันทั้งประเทศ
วันที่ 7 ตุลาคม ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี พล.อ.
เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม พิจารณาญัตติด่วน
เรื่อง ขอให้วุฒิสภาพิจารณาหาแนวทางในการป้องกัน แก้ไข และช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกรณีรถบัสทัศนศึกษาเกิดเหตุเพลิงไหม้ ที่เสนอโดย นาย
วุฒิชาติ กัลยาณมิตร ส.ว. เพื่อเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาและดำเนินการ
ต่อมาเวลา 11.10 น. พล.ต.ท.
วันไชย เอกพรพิชญ์ ส.ว. อภิปรายช่วงหนึ่งว่า ตนขอเรียกร้องให้ผู้บริหารของกระทรวงคมนาคมลาออก โดยขอยกตัวอย่างเหตุการณ์โศกนาฏกรรมเรือเซวอล ประเทศเกาหลีใต้เป็นบรรทัดฐาน ซึ่งจากเหตุการณ์นั้น เจ้าหน้าที่เรือยังต้องผูกคอตาย นายกรัฐมนตรีสมัยนั้นยังประกาศลาออก ประธานาธิบดีโดนถอดถอนออกจากตำแหน่ง ตนจึงถามหาความรับผิดชอบ
“
รัฐมนตรีคมนาคมท่านต้องลาออก อธิบดีกรมขนส่งทางบกท่านต้องลาออก ท่านทำให้ได้สิครับ สร้างบรรทัดฐานให้กับพี่น้องคนไทย ผมไม่รู้ว่าท่านคิดอย่างไร แต่วันนี้สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่เคยทำ และที่ผ่านมาก็ไม่เคยทำ และเดี๋ยว PM 2.5 มา น้ำท่วมมา ท่านก็เอาเรื่องพวกนี้ เป็นประเด็นไป ผมก็ฝากถึงผู้บริหารในรัฐบาลว่าอย่าให้มันเกิดมาอีกเลยครับ ขอให้ท่านดำเนินการในส่วนนี้ กำกับดูแลให้ผู้มีส่วนรับผิดชอบที่แท้จริง แล้วผมก็มีคำถามในวันจันทร์หน้าที่จะถึงในกระทู้สด ขอบคุณครับท่านประธาน” พล.ต.ท.
วันไชย กล่าว
จากนั้นเวลา 11.20 น. น.ส.
นันทนา นันทวโรภาส ส.ว. อภิปรายว่า ตนในฐานะที่เป็นทั้งครูและแม่ เข้าใจความรู้สึกสูญเสียของพ่อแม่ จึงอยากเสนอแนวทางให้รัฐบาลเพื่อให้โศกนาฏกรรมนี้เป็นกรณีสุดท้าย เหตุการณ์นี้สะท้อนความล้มเหลวในมาตรการการเดินทางเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในบริบทสวัสดิภาพครูและนักเรียน หนึ่งในสิ่งที่หยิบยกมาพูดถึงอย่างกว้างขวางคือสวัสดิภาพการทัศนศึกษาต้องได้รับการดูแลแบบใด
“
เราลองนึกดูว่าถ้าเอาเด็ก 7 ขวบ มาทัศนศึกษากับเด็กอายุ 15 อนุบาลไปจนถึงมัธยม การดูแลจะดูแลอย่างไร แล้วเรื่องครูที่ไปดูแลจะดูแลระดับใด ในเมื่อสัดส่วนอายุมันห่างกันอย่างยิ่ง ต้องไปตรวจสอบว่าต้องดำเนินการอย่างไร มีการตรวจสอบแผนการเดินทางว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ นักเรียนจะอิดโรยเหนือกว่าสภาพร่างกายจะรับได้หรือไม่ มีการตรวจสภาพรถโดยสารตามมาตรฐานหรือไม่ มีผู้ขับสำรอง แผนเผชิญเหตุหรือไม่” น.ส.
นันทนา กล่าว
น.ส.
นันทนา กล่าวต่อว่า ตนขอตั้งคำถามว่า โรงเรียนได้มีการประเมินผลจากการทัศนศึกษาหรือไม่ ตนคิดว่าไม่มีเหตุผลที่กระทรวงศึกษาธิการจะไม่ให้มีการทัศนศึกษา แต่ต้องมีการประเมินผลสัมฤทธิ์สอดคล้องกับวัยที่จะเรียนรู้หรือไม่ ถ้าการเดินทางสุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบ การนำเด็กอนุบาลไปเรียนรู้เรื่องการไฟฟ้ากับเด็กมัธยม ตนไม่แน่ใจว่าสัมฤทธิ์ผลของการทัศนศึกษาตรงตามเป้าหมายหรือไม่
“
การที่เด็กอนุบาลจะไปเรียนรู้โรงงานการผลิตไฟฟ้า จะตอบโจทย์เป้าหมายของการทัศนศึกษาหรือไม่ เดินทางกว่า 8-9 ชั่วโมง ตรงนี้ต้องดูแล พร้อมแนะนำว่าต้องทำรถบัสนักเรียนเป็นมาตรฐานเดียวกัน สีเดียวกันทั้งประเทศ เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อคนใช้รถใช้ถนน จะได้ระมัดระวัง ถึงเวลาแล้วเมืองไทยจะต้องพิจารณาชีวิตคนบนท้องถนน รัฐบาลต้องสังคายนาเรื่องนี้ เพื่อให้เรื่องนี้เป็นน้ำตาหยดสุดท้ายที่เราจะเสียไป” น.ส.
นันทนา กล่าว
เสียงจาก ‘พื้นที่รับน้ำอยุธยา’ แนะวิธีช่วยที่ใช้ได้จริง ดีกว่าแจกเงิน
https://www.dailynews.co.th/news/3946459/
เสียงจาก ‘พื้นที่รับน้ำอยุธยา’ แนะวิธีช่วยที่ใช้ได้จริง ดีกว่าแจกเงิน
ขอเขียนจากใจ! "ชาวกรุงเก่า" พื้นที่รองรับน้ำท่วม โพสต์เฟซบุ๊กแนะวิธีช่วยเหลือที่ใช้ได้จริง ดีกว่าแจกเงินเยียวยาหลักพันบาท วนลูปอยู่แบบนั้นไม่จบสิ้น
เรียกได้ว่าสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังคงน่าเป็นห่วง เพราะมีประชาชนประสบภัยน้ำล้นตลิ่ง ได้รับผลกระทบจำนวน 7 อำเภอ 96 ตำบล 545 หมู่บ้าน 23,497 ครัวเรือน
– อำเภอเสนา รวม 11 ตำบล 84 หมู่บ้าน 4 ชุมชน 5,433 ครัวเรือน
– อำเภอบางบาล รวม 16 ตำบล 102 หมู่บ้าน 4,666 ครัวเรือน
– อำเภอผักไห่ รวม 15 ตำบล 85 หมู่บ้าน 3,879 ครัวเรือน
– อำเภอบางไทร รวม 22 ตำบล 109 หมู่บ้าน 3,924 ครัวเรือน
– อำเภอพระนครศรีอยุธยา รวม 20 ตำบล 66 หมู่บ้าน 16 ชุมชน 2,274 ครัวเรือน
– อำเภอบางปะอิน รวม 11 ตำบล 78 หมู่บ้าน 3,211 ครัวเรือน
– อำเภอบางปะหัน รวม 1 ตำบล 5 หมู่บ้าน 110 ครัวเรือน วัด 14 แห่ง มัสยิด 2 แห่ง โรงเรียน 21 แห่ง (เป็นศูนย์เด็กเล็ก 2 แห่ง) สถานที่ราชการ 5 แห่ง ถนนภายในหมู่บ้าน 26 สาย
แม้ว่าทางด้าน
นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งกล่าวว่า รัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ประสานกับกรมชลประทานตลอด เพื่อเตรียมแผนระบายน้ำ ได้ประเมินความเสียหาย และวางงบประมาณที่จะต้องใช้ในการฟื้นฟูทั้งหมดประมาณ 3,700 ล้านบาท และได้ส่งข้อมูลไปให้กระทรวงมหาดไทยแล้ว ซึ่งคาดว่าน่าจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาอนุมัติได้ในสัปดาห์หน้า ตามที่ได้เสนอข่าวไปก่อนหน้านี้
ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บนโลกออนไลน์ได้มีการแชร์โพสต์ของเพจเฟซบุ๊ก อยุธยา-Ayutthaya Station ที่ได้ออกมาร่ายข้อความยาวจากใจผู้ประสบภัย ถึงประเด็นน้ำท่วม รวมถึงแนะนำวิธีการช่วยเหลือที่คาดว่าเป็นประโยชน์สูงสุด โดยระบุว่า
ผู้เสียสละรับน้ำ ไม่ควรนอนในน้ำ
ขอเขียนจากหัวใจของคนที่เกิดและโตที่อยุธยา ในพื้นที่แอ่งกระทะ ในพื้นที่อำเภอบางบาล ซึ่งปัจจุบันคือพื้นที่รับน้ำ
ตั้งแต่เกิดมาบ้านถูกน้ำท่วมมาตั้งแต่เกิดเลยค่ะ เพราะบ้านต่ำ ไม่มีเงินมาดีดบ้านหนีน้ำค่ะ ต้องจำใจก้มหน้ารับน้ำไปค่ะ ตอนเด็ก ๆ สนุกค่ะ น้ำท่วมได้เล่นน้ำสนุกมาก มันคือความทรงจำดีดี ที่อยากให้มีน้ำท่วมทุกปี แต่พอโตมาจึงเข้าใจว่าน้ำท่วมโคตรลำบาก เมื่อถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ำ โดยที่ชาวบ้านไม่รู้หรอกค่ะว่าเราต้องเป็นพื้นที่รับน้ำ จึงอยากส่งเสียงเรียกร้องค่ะ
การแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำที่ตรงไปตรงมา การประเมิณสถานการณ์น้ำจากผู้เชี่ยวชาญที่สามารถวิเคราะห์ได้ใกล้เคียง การช่วยเหลือแบบเร่งด่วน เมื่อน้ำท่วมปุ๊บ เยียวยาให้ทันค่ะ เพราะทุกครั้งที่น้ำท่วมมีค่าใช้จ่ายเสมอ การเยียวยาในตัวเลขที่เหมาะสมกับการที่ต้องเอาบ้านรับน้ำ 2-4 เดือนค่ะ ไม่ใช่เยียวยา 120 หรือ 2,000-3,000 บาท การเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ล่วงหน้าต้องพร้อมค่ะ เช่น เต๊นท์ เรือ ช่วยชาวบ้าน
คนอยุธยาไม่ได้อยากรับน้ำหรอกค่ะ แต่หากมันเลือกไม่ได้ ลองเปลี่ยนวิธีบริหารจัดการมาลงพื้นที่หน้างาน เก็บข้อมูลจริงไหมคะ จะได้ช่วยเหลือได้ตรงจุด เช่น ปล่อยน้ำ 1500 ลบ.ม./วิ พื้นที่ไหนท่วมหนัก ถึงพื้นบ้าน มีกี่หลังคาเรือน, ปล่อยน้ำ 2000 ลบ.ม./วิ มีพื้นที่ไหนเดือดร้อนเพิ่มบ้าง จากนั้นนำสถิติที่ได้มาประมวลผลข้อมูลช่วยชาวบ้านให้ตรงจุดค่ะ นั่นคือการดีดบ้านเขาให้พ้นน้ำ
การดีดบ้านให้พ้นน้ำ ทำให้ ปชช. มีที่นอนในยามที่ต้องรับน้ำค่ะ คุณไม่จำเป็นต้องช่วยเหลือทีเดียวทั้งหมด แต่ค่อย ๆ ทำค่อย ๆ ช่วยเหลือไปค่ะ ปีนี้ดีดไป 10 หลัง ปีหน้าก็ดีดเพิ่มค่ะ ค่าดีดบ้านหลังละ 1-3 แสน ไม่แพงเลยค่ะ สำหรับหน่วยงานราชการ แต่สำหรับชาวบ้านบางคนตายไปแล้ว ก็ยังหาเงินแสนไม่ได้เลยค่ะ
ไม่ต้องไปทำโครงการกู้ยืมให้ชาวบ้านกู้เงินไปดีดบ้านนะคะ ควรช่วยตรง ๆ เลย ลองปรับวิธีการช่วยเหลือให้มันเข้ากับสถานการณ์ ให้มันใช้ได้จริงดีกว่าค่ะ การแจกเงินเยียวยา 3,000-5,000 มันวนลูปต้องแจกอยู่แบบนั้นไม่จบสิ้นค่ะ
อย่างไรก็ตามเมื่อโพสต์ถูกเผยแพร่ออกไป ก็มีชาวเน็ตต่างเข้าไปคอมเมนต์วิพากษ์วิจารณ์ และแชร์ประสบการณ์ผู้ประสบภัยน้ำท่วมกันล้นหลามอีกด้วย…
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : @อยุธยา-Ayutthaya Station.
https://www.facebook.com/Ayutthayastation/posts/pfbid0NazAvM1KKyTMmutFrygNQoVLV4H1CBd6VS2YV6pX3UTJMT2QQTZVp1CbntEJVpH7l
เตือน ชาวลำพูน รับมือมวลน้ำมหาศาล จากเชียงใหม่ จ่อถล่ม เปิด 3 โซน พื้นที่เสี่ยง
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_9447803
เตือน ชาวลำพูน รับมือมวลน้ำมหาศาล จากเชียงใหม่ จ่อถล่ม เปิด 3 โซน พื้นที่เสี่ยง ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบถัดไปตามลำดับ
วันที่ 7 ต.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งหลายจังหวัดยังคงเผชิญกับมวลน้ำที่ไหลเข้าท่วมพื้นที่ ล่าสุดมีการประกาศแจ้งเตือนชาว จ.ลำพูน ให้เตรียมรับมือมวลน้ำที่กำลังจะมาถึง โดยทางเพจ ส่วนติดตามภัยพิบัติ ลำพูน-เชียงใหม่ ได้แจ้งเตือนว่า
อัปเดต เวลา 10.00 น. วันนี้ เตือนชาว จ.ลำพูน เตรียมรับมวลน้ำมหาศาลจาก อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ถนนเรียบรางรถไฟ อุโมงค์ สารภี เนื่องจากระดับน้ำที่ล้นน้ำปิงจากตัวเมืองเชียงใหม่ ทำให้พื้นที่หลายตำบลได้รับผลกระทบจำนวนมาก น้ำได้ทะลักเข้าสู่บ้านเรือน และ ทิศทางน้ำไหลไม่เป็นทิศทาง
– อ.สารภี มีปริมาณน้ำมาก ไหลมาทาง จ.ลำพูน บนถนนเรียบรางรถไฟ ไทวัสดุ หนองแฝก
- จ.ลำพูนรับมวลน้ำ กรอบสีฟ้านี้ คือพื้นที่เสี่ยงได้รับน้ำต่อจาก อ.สารภี เชียงใหม่ คาดว่าจะไหลมาทางถนนเรียบรางรถไฟ ไทวัสดุ หนองแฝก เข้าสู่ ต.อุโมงค์ จ.ลำพูน มวลน้ำมหาศาลนี้จะแยกเป็น 3 โซนใหญ่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบถัดไปตามลำดับ
- โซนที่ 1 รับน้ำจาก ไทวัสดุ ถนนเรียบรางรถไฟ เตือน บ้านก่อม่วง บ้านป่าเห็ว บ้านป่าเส้า บ้านไร่ บ้านหนองหมู บ้านชัยสถาน ต.อุโมงค์ จ.ลำพูน บ้านต้นผึ้ง บ้านเหมืองง่า บ้านศรีบุญยืน ต.เหมืองง่า
ลงสู่น้ำกวง
- โซนที่ 2 ได้รับผลกระทบจากน้ำกวงที่เพิ่มสูงขึ้น บ้านแม่ร่องน้อย บ้านฮ่องก่อม่วง บ้านปูเลย บ้านเวียงยอง บ้านศรีเมืองยู้ บ้างวังไฮ บ้านสันต้นธง บ้านหลวย บ้านสันมะกรูด บ้านท่าศาลา บ้านปากล้อง ตลอดจนหมู่บ้านติดน้ำกวง เฝ้าระวังน้ำกวงที่เพิ่มสูงขึ้น และอาจจะล้นเข้าท่วมบ้านเรือนให้ได้รับความเสียหายได้
- โซนที่ 3 รับน้ำจากหนองแฝก อุโมงค์ บ้านหัวฝาย บ้านหนองช้างคืน บ้านทรายมูล บ้านป่าขาม บ้านหลุก บ้านน้ำโค้ง บ้านล่ามช้าง บ้านหนองมูล บ้านประตูป่า บ้านท่ากว้าง บ้านร่องเชี่ยว บ้านเจดีย์ขาว บ้านสันริมปิง ลงสู่น้ำปิง
https://www.facebook.com/Chingmailamphunwarningcenter/posts/pfbid02ebbiseFufCFS3g2C4tVnDsFaZFszBrQzJJXFwFgGvBCCNa3hMiEtA8jTZfp4aA97l
JJNY : ‘ส.ว.วันไชย’จี้รมต. ‘นันทนา’แนะเปลี่ยนรถ│เสียงจาก‘พื้นที่รับน้ำอยุธยา’│เตือนชาวลำพูนรับมือ│กัมพูชาประกาศลดคาร์บอน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4832244
เดือด! ‘สว.วันไชย’ ไล่ รมต.คมนาคม-ผู้บริหารลาออก เซ่นปม บัสนักเรียนมรณะ ยกเคส เรือเซวอลล่ม เจ้าหน้าที่ยังผูกคอตาย นายกฯ-ประธานาธิบดีต้องออก ด้าน ‘นันทนา’ ถามวัดผลอย่างไร เอาเด็กอนุบาลไปดูงานโรงไฟฟ้า นั่งรถ 8-9 ชม. แนะเปลี่ยนรถบัสนักเรียนมาตรฐาน-สีเดียวกันทั้งประเทศ
วันที่ 7 ตุลาคม ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม พิจารณาญัตติด่วน
เรื่อง ขอให้วุฒิสภาพิจารณาหาแนวทางในการป้องกัน แก้ไข และช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกรณีรถบัสทัศนศึกษาเกิดเหตุเพลิงไหม้ ที่เสนอโดย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ส.ว. เพื่อเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาและดำเนินการ
ต่อมาเวลา 11.10 น. พล.ต.ท.วันไชย เอกพรพิชญ์ ส.ว. อภิปรายช่วงหนึ่งว่า ตนขอเรียกร้องให้ผู้บริหารของกระทรวงคมนาคมลาออก โดยขอยกตัวอย่างเหตุการณ์โศกนาฏกรรมเรือเซวอล ประเทศเกาหลีใต้เป็นบรรทัดฐาน ซึ่งจากเหตุการณ์นั้น เจ้าหน้าที่เรือยังต้องผูกคอตาย นายกรัฐมนตรีสมัยนั้นยังประกาศลาออก ประธานาธิบดีโดนถอดถอนออกจากตำแหน่ง ตนจึงถามหาความรับผิดชอบ
“รัฐมนตรีคมนาคมท่านต้องลาออก อธิบดีกรมขนส่งทางบกท่านต้องลาออก ท่านทำให้ได้สิครับ สร้างบรรทัดฐานให้กับพี่น้องคนไทย ผมไม่รู้ว่าท่านคิดอย่างไร แต่วันนี้สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่เคยทำ และที่ผ่านมาก็ไม่เคยทำ และเดี๋ยว PM 2.5 มา น้ำท่วมมา ท่านก็เอาเรื่องพวกนี้ เป็นประเด็นไป ผมก็ฝากถึงผู้บริหารในรัฐบาลว่าอย่าให้มันเกิดมาอีกเลยครับ ขอให้ท่านดำเนินการในส่วนนี้ กำกับดูแลให้ผู้มีส่วนรับผิดชอบที่แท้จริง แล้วผมก็มีคำถามในวันจันทร์หน้าที่จะถึงในกระทู้สด ขอบคุณครับท่านประธาน” พล.ต.ท.วันไชย กล่าว
จากนั้นเวลา 11.20 น. น.ส.นันทนา นันทวโรภาส ส.ว. อภิปรายว่า ตนในฐานะที่เป็นทั้งครูและแม่ เข้าใจความรู้สึกสูญเสียของพ่อแม่ จึงอยากเสนอแนวทางให้รัฐบาลเพื่อให้โศกนาฏกรรมนี้เป็นกรณีสุดท้าย เหตุการณ์นี้สะท้อนความล้มเหลวในมาตรการการเดินทางเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในบริบทสวัสดิภาพครูและนักเรียน หนึ่งในสิ่งที่หยิบยกมาพูดถึงอย่างกว้างขวางคือสวัสดิภาพการทัศนศึกษาต้องได้รับการดูแลแบบใด
“เราลองนึกดูว่าถ้าเอาเด็ก 7 ขวบ มาทัศนศึกษากับเด็กอายุ 15 อนุบาลไปจนถึงมัธยม การดูแลจะดูแลอย่างไร แล้วเรื่องครูที่ไปดูแลจะดูแลระดับใด ในเมื่อสัดส่วนอายุมันห่างกันอย่างยิ่ง ต้องไปตรวจสอบว่าต้องดำเนินการอย่างไร มีการตรวจสอบแผนการเดินทางว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ นักเรียนจะอิดโรยเหนือกว่าสภาพร่างกายจะรับได้หรือไม่ มีการตรวจสภาพรถโดยสารตามมาตรฐานหรือไม่ มีผู้ขับสำรอง แผนเผชิญเหตุหรือไม่” น.ส.นันทนา กล่าว
น.ส.นันทนา กล่าวต่อว่า ตนขอตั้งคำถามว่า โรงเรียนได้มีการประเมินผลจากการทัศนศึกษาหรือไม่ ตนคิดว่าไม่มีเหตุผลที่กระทรวงศึกษาธิการจะไม่ให้มีการทัศนศึกษา แต่ต้องมีการประเมินผลสัมฤทธิ์สอดคล้องกับวัยที่จะเรียนรู้หรือไม่ ถ้าการเดินทางสุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบ การนำเด็กอนุบาลไปเรียนรู้เรื่องการไฟฟ้ากับเด็กมัธยม ตนไม่แน่ใจว่าสัมฤทธิ์ผลของการทัศนศึกษาตรงตามเป้าหมายหรือไม่
“การที่เด็กอนุบาลจะไปเรียนรู้โรงงานการผลิตไฟฟ้า จะตอบโจทย์เป้าหมายของการทัศนศึกษาหรือไม่ เดินทางกว่า 8-9 ชั่วโมง ตรงนี้ต้องดูแล พร้อมแนะนำว่าต้องทำรถบัสนักเรียนเป็นมาตรฐานเดียวกัน สีเดียวกันทั้งประเทศ เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อคนใช้รถใช้ถนน จะได้ระมัดระวัง ถึงเวลาแล้วเมืองไทยจะต้องพิจารณาชีวิตคนบนท้องถนน รัฐบาลต้องสังคายนาเรื่องนี้ เพื่อให้เรื่องนี้เป็นน้ำตาหยดสุดท้ายที่เราจะเสียไป” น.ส.นันทนา กล่าว
เสียงจาก ‘พื้นที่รับน้ำอยุธยา’ แนะวิธีช่วยที่ใช้ได้จริง ดีกว่าแจกเงิน
https://www.dailynews.co.th/news/3946459/
เสียงจาก ‘พื้นที่รับน้ำอยุธยา’ แนะวิธีช่วยที่ใช้ได้จริง ดีกว่าแจกเงิน
ขอเขียนจากใจ! "ชาวกรุงเก่า" พื้นที่รองรับน้ำท่วม โพสต์เฟซบุ๊กแนะวิธีช่วยเหลือที่ใช้ได้จริง ดีกว่าแจกเงินเยียวยาหลักพันบาท วนลูปอยู่แบบนั้นไม่จบสิ้น
เรียกได้ว่าสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังคงน่าเป็นห่วง เพราะมีประชาชนประสบภัยน้ำล้นตลิ่ง ได้รับผลกระทบจำนวน 7 อำเภอ 96 ตำบล 545 หมู่บ้าน 23,497 ครัวเรือน
– อำเภอเสนา รวม 11 ตำบล 84 หมู่บ้าน 4 ชุมชน 5,433 ครัวเรือน
– อำเภอบางบาล รวม 16 ตำบล 102 หมู่บ้าน 4,666 ครัวเรือน
– อำเภอผักไห่ รวม 15 ตำบล 85 หมู่บ้าน 3,879 ครัวเรือน
– อำเภอบางไทร รวม 22 ตำบล 109 หมู่บ้าน 3,924 ครัวเรือน
– อำเภอพระนครศรีอยุธยา รวม 20 ตำบล 66 หมู่บ้าน 16 ชุมชน 2,274 ครัวเรือน
– อำเภอบางปะอิน รวม 11 ตำบล 78 หมู่บ้าน 3,211 ครัวเรือน
– อำเภอบางปะหัน รวม 1 ตำบล 5 หมู่บ้าน 110 ครัวเรือน วัด 14 แห่ง มัสยิด 2 แห่ง โรงเรียน 21 แห่ง (เป็นศูนย์เด็กเล็ก 2 แห่ง) สถานที่ราชการ 5 แห่ง ถนนภายในหมู่บ้าน 26 สาย
แม้ว่าทางด้าน นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งกล่าวว่า รัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ประสานกับกรมชลประทานตลอด เพื่อเตรียมแผนระบายน้ำ ได้ประเมินความเสียหาย และวางงบประมาณที่จะต้องใช้ในการฟื้นฟูทั้งหมดประมาณ 3,700 ล้านบาท และได้ส่งข้อมูลไปให้กระทรวงมหาดไทยแล้ว ซึ่งคาดว่าน่าจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาอนุมัติได้ในสัปดาห์หน้า ตามที่ได้เสนอข่าวไปก่อนหน้านี้
ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บนโลกออนไลน์ได้มีการแชร์โพสต์ของเพจเฟซบุ๊ก อยุธยา-Ayutthaya Station ที่ได้ออกมาร่ายข้อความยาวจากใจผู้ประสบภัย ถึงประเด็นน้ำท่วม รวมถึงแนะนำวิธีการช่วยเหลือที่คาดว่าเป็นประโยชน์สูงสุด โดยระบุว่า
ผู้เสียสละรับน้ำ ไม่ควรนอนในน้ำ
ขอเขียนจากหัวใจของคนที่เกิดและโตที่อยุธยา ในพื้นที่แอ่งกระทะ ในพื้นที่อำเภอบางบาล ซึ่งปัจจุบันคือพื้นที่รับน้ำ
ตั้งแต่เกิดมาบ้านถูกน้ำท่วมมาตั้งแต่เกิดเลยค่ะ เพราะบ้านต่ำ ไม่มีเงินมาดีดบ้านหนีน้ำค่ะ ต้องจำใจก้มหน้ารับน้ำไปค่ะ ตอนเด็ก ๆ สนุกค่ะ น้ำท่วมได้เล่นน้ำสนุกมาก มันคือความทรงจำดีดี ที่อยากให้มีน้ำท่วมทุกปี แต่พอโตมาจึงเข้าใจว่าน้ำท่วมโคตรลำบาก เมื่อถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่รับน้ำ โดยที่ชาวบ้านไม่รู้หรอกค่ะว่าเราต้องเป็นพื้นที่รับน้ำ จึงอยากส่งเสียงเรียกร้องค่ะ
การแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำที่ตรงไปตรงมา การประเมิณสถานการณ์น้ำจากผู้เชี่ยวชาญที่สามารถวิเคราะห์ได้ใกล้เคียง การช่วยเหลือแบบเร่งด่วน เมื่อน้ำท่วมปุ๊บ เยียวยาให้ทันค่ะ เพราะทุกครั้งที่น้ำท่วมมีค่าใช้จ่ายเสมอ การเยียวยาในตัวเลขที่เหมาะสมกับการที่ต้องเอาบ้านรับน้ำ 2-4 เดือนค่ะ ไม่ใช่เยียวยา 120 หรือ 2,000-3,000 บาท การเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ล่วงหน้าต้องพร้อมค่ะ เช่น เต๊นท์ เรือ ช่วยชาวบ้าน
คนอยุธยาไม่ได้อยากรับน้ำหรอกค่ะ แต่หากมันเลือกไม่ได้ ลองเปลี่ยนวิธีบริหารจัดการมาลงพื้นที่หน้างาน เก็บข้อมูลจริงไหมคะ จะได้ช่วยเหลือได้ตรงจุด เช่น ปล่อยน้ำ 1500 ลบ.ม./วิ พื้นที่ไหนท่วมหนัก ถึงพื้นบ้าน มีกี่หลังคาเรือน, ปล่อยน้ำ 2000 ลบ.ม./วิ มีพื้นที่ไหนเดือดร้อนเพิ่มบ้าง จากนั้นนำสถิติที่ได้มาประมวลผลข้อมูลช่วยชาวบ้านให้ตรงจุดค่ะ นั่นคือการดีดบ้านเขาให้พ้นน้ำ
การดีดบ้านให้พ้นน้ำ ทำให้ ปชช. มีที่นอนในยามที่ต้องรับน้ำค่ะ คุณไม่จำเป็นต้องช่วยเหลือทีเดียวทั้งหมด แต่ค่อย ๆ ทำค่อย ๆ ช่วยเหลือไปค่ะ ปีนี้ดีดไป 10 หลัง ปีหน้าก็ดีดเพิ่มค่ะ ค่าดีดบ้านหลังละ 1-3 แสน ไม่แพงเลยค่ะ สำหรับหน่วยงานราชการ แต่สำหรับชาวบ้านบางคนตายไปแล้ว ก็ยังหาเงินแสนไม่ได้เลยค่ะ
ไม่ต้องไปทำโครงการกู้ยืมให้ชาวบ้านกู้เงินไปดีดบ้านนะคะ ควรช่วยตรง ๆ เลย ลองปรับวิธีการช่วยเหลือให้มันเข้ากับสถานการณ์ ให้มันใช้ได้จริงดีกว่าค่ะ การแจกเงินเยียวยา 3,000-5,000 มันวนลูปต้องแจกอยู่แบบนั้นไม่จบสิ้นค่ะ
อย่างไรก็ตามเมื่อโพสต์ถูกเผยแพร่ออกไป ก็มีชาวเน็ตต่างเข้าไปคอมเมนต์วิพากษ์วิจารณ์ และแชร์ประสบการณ์ผู้ประสบภัยน้ำท่วมกันล้นหลามอีกด้วย…
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : @อยุธยา-Ayutthaya Station.
https://www.facebook.com/Ayutthayastation/posts/pfbid0NazAvM1KKyTMmutFrygNQoVLV4H1CBd6VS2YV6pX3UTJMT2QQTZVp1CbntEJVpH7l
เตือน ชาวลำพูน รับมือมวลน้ำมหาศาล จากเชียงใหม่ จ่อถล่ม เปิด 3 โซน พื้นที่เสี่ยง
https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_9447803
เตือน ชาวลำพูน รับมือมวลน้ำมหาศาล จากเชียงใหม่ จ่อถล่ม เปิด 3 โซน พื้นที่เสี่ยง ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบถัดไปตามลำดับ
วันที่ 7 ต.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งหลายจังหวัดยังคงเผชิญกับมวลน้ำที่ไหลเข้าท่วมพื้นที่ ล่าสุดมีการประกาศแจ้งเตือนชาว จ.ลำพูน ให้เตรียมรับมือมวลน้ำที่กำลังจะมาถึง โดยทางเพจ ส่วนติดตามภัยพิบัติ ลำพูน-เชียงใหม่ ได้แจ้งเตือนว่า
อัปเดต เวลา 10.00 น. วันนี้ เตือนชาว จ.ลำพูน เตรียมรับมวลน้ำมหาศาลจาก อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ถนนเรียบรางรถไฟ อุโมงค์ สารภี เนื่องจากระดับน้ำที่ล้นน้ำปิงจากตัวเมืองเชียงใหม่ ทำให้พื้นที่หลายตำบลได้รับผลกระทบจำนวนมาก น้ำได้ทะลักเข้าสู่บ้านเรือน และ ทิศทางน้ำไหลไม่เป็นทิศทาง
– อ.สารภี มีปริมาณน้ำมาก ไหลมาทาง จ.ลำพูน บนถนนเรียบรางรถไฟ ไทวัสดุ หนองแฝก
- จ.ลำพูนรับมวลน้ำ กรอบสีฟ้านี้ คือพื้นที่เสี่ยงได้รับน้ำต่อจาก อ.สารภี เชียงใหม่ คาดว่าจะไหลมาทางถนนเรียบรางรถไฟ ไทวัสดุ หนองแฝก เข้าสู่ ต.อุโมงค์ จ.ลำพูน มวลน้ำมหาศาลนี้จะแยกเป็น 3 โซนใหญ่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบถัดไปตามลำดับ
- โซนที่ 1 รับน้ำจาก ไทวัสดุ ถนนเรียบรางรถไฟ เตือน บ้านก่อม่วง บ้านป่าเห็ว บ้านป่าเส้า บ้านไร่ บ้านหนองหมู บ้านชัยสถาน ต.อุโมงค์ จ.ลำพูน บ้านต้นผึ้ง บ้านเหมืองง่า บ้านศรีบุญยืน ต.เหมืองง่า
ลงสู่น้ำกวง
- โซนที่ 2 ได้รับผลกระทบจากน้ำกวงที่เพิ่มสูงขึ้น บ้านแม่ร่องน้อย บ้านฮ่องก่อม่วง บ้านปูเลย บ้านเวียงยอง บ้านศรีเมืองยู้ บ้างวังไฮ บ้านสันต้นธง บ้านหลวย บ้านสันมะกรูด บ้านท่าศาลา บ้านปากล้อง ตลอดจนหมู่บ้านติดน้ำกวง เฝ้าระวังน้ำกวงที่เพิ่มสูงขึ้น และอาจจะล้นเข้าท่วมบ้านเรือนให้ได้รับความเสียหายได้
- โซนที่ 3 รับน้ำจากหนองแฝก อุโมงค์ บ้านหัวฝาย บ้านหนองช้างคืน บ้านทรายมูล บ้านป่าขาม บ้านหลุก บ้านน้ำโค้ง บ้านล่ามช้าง บ้านหนองมูล บ้านประตูป่า บ้านท่ากว้าง บ้านร่องเชี่ยว บ้านเจดีย์ขาว บ้านสันริมปิง ลงสู่น้ำปิง
https://www.facebook.com/Chingmailamphunwarningcenter/posts/pfbid02ebbiseFufCFS3g2C4tVnDsFaZFszBrQzJJXFwFgGvBCCNa3hMiEtA8jTZfp4aA97l