ในปัจจุบันนั้นมีเพียง 43 ประเทศที่ยังมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ลักษณะการปกครองแต่ละประเทศต่างกัน โดยจะแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) เป็นรูปแบบที่พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเด็ดขาด เหนืออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ หรือจะเรียกแบบทางการว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์
2.ราชาธิปไตยกึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญ (Semi-Constitutional Monachy) เป็นรูปแบบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลอีกคนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามพระมหากษัตริย์ทรงจะใช้พระราชอำนาจร่วมกับคณะรัฐมนตรี หรือบางประเทศที่พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจอยู่มาก
3.ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monachy) เป็นรูปแบบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญและมีพระราชอำนาจที่จำกัดตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้
อนึ่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2492 ได้กำหนดในมาตรา 2 ว่า"ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" และมาตรา 3 วรรคหนึ่งที่กำหนดไว้ว่า"อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้"
ประเภทของระบบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
1.สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) เป็นรูปแบบที่พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเด็ดขาด เหนืออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ หรือจะเรียกแบบทางการว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์
2.ราชาธิปไตยกึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญ (Semi-Constitutional Monachy) เป็นรูปแบบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลอีกคนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามพระมหากษัตริย์ทรงจะใช้พระราชอำนาจร่วมกับคณะรัฐมนตรี หรือบางประเทศที่พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจอยู่มาก
3.ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monachy) เป็นรูปแบบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญและมีพระราชอำนาจที่จำกัดตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้