ฟุตบอลเด็กญี่ปุ่น(เคลื่อนที่)ไปข้างหน้าเสมอ



บทความจากเพจ Fluke Family 

#สร้างเด็กแบบอะคาเดมี่ญี่ปุ่น
.
📌มีนาคมที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ไปคลุกคลีกับฟุตบอลเด็กญี่ปุ่นอีกครั้ง คราวนี้เป็นสโมสร "เวกัลตะ เซนได"

เพื่อหาคำตอบว่าเด็กญี่ปุ่นซ้อมอะไรกันบ้าง
มาครับตามไปดูเด็กๆด้วยกัน
เด็กอะคาเดมี่เค้าซ้อมกับสโมสรกี่วันต่อสัปดาห์ น้อออออ.....

ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับหัวหน้าโค้ชของรุ่นอายุไม่เกิน 13 ปี ท่านบอกว่า

🗣"เด็กของเรามาซ้อมกับสโมสร 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์เท่านั้น ที่เหลือ พวกเค้าจะใช้เวลาทำกิจกรรมอื่นตามวัยกับครอบครัว เด็กๆจะมาซ้อมกับทีม 1.30 ชั่วโมงต่อวัน"

📌เด็กทุกคนบ้าบอล 24 ชั่วโมง อยากเป็นนักฟุตบอลอาชีพในทุกลมหายใจของเค้าครับ แต่ไม่ได้หมายความว่าพวกเค้าจะซ้อม 7 วันต่อสัปดาห์ หรือ ซ้อม 3 ชั่วโมงต่อวันแบบไม่มีพัก

ตัดมาที่การแข่งขัน เด็กๆของ เซนได มีโปรแกรมให้เด็กได้อุ่นเครื่องในวันอาทิตย์กับอะคาเดมี่ ในจังหวัด , ละแวก , ภูมิภาคใกล้ๆกัน เพื่อให้เด็กและโค้ช ได้ทดสอบสิ่งที่พวกเค้าฝึกมาตลอดสัปดาห์ว่าเป็นอย่างไร

ข้อมูลจากโค้ช บอกผมว่า เด็กอะคาเดมี่ของพวกเค้า แข่ง 8 คนพร้อมกับการเล่นไลน์ล้ำหน้า
เด็กๆ ของเค้าจะยังไม่ได้ซ้อมแข่งแบบ 11 คนจนกว่าจะเข้าสู่รุ่น U-14 ปีแล้ว

แต่เด็กรุ่น U-13 ก็จะเริ่มทำความรู้จักฟุตบอล 11 คนบ้างครับ อย่างช่วงเวลาที่ผมไปดูเกม เป็นวันแรกของเด็กรุ่นนี้ที่ได้แข่ง 11 คน แต่ย่อสนามให้เล็กลง ไม่ใช่การเล่นสนามขนาด 11 คนแบบผู้ใหญ่

📌เรื่องแทคติกการเล่น ว่าการตามสายตาคือ "ไม่ได้มีแทคติกการเล่นชัดเจน" แต่ "มีคอนเซปต์การเล่นชัดมากครับ"

เด็กทุกคนถูกสอนตั้งแต่เด็กว่า "ช้อยส์แรก" ที่ต้องเลือกเล่นคือ "ไปข้างหน้า" ดังนั้นทุกคนจะเข้าใจและเล่นตามคอนเซปต์นี้ทั้งสนาม ส่วนฝ่ายรับจะบีบฝ่ายรุกแทบไม่ให้หายใจ
.
เมื่อไปข้างหน้าไม่ได้ เด็กจะเลือกช้อยส์ใหม่ในการเซ็ตบอลไม่กี่จังหวะเพื่อหาช่องว่าง จากนั้นพวกเขาจะกลับมาเริ่มโจมตีไปข้างหน้าด้วยความรวดเร็วอีกครั้ง
.
เท่าที่ผมนั่งดู สารภาพตามตรง ว่าเป็นฟุตบอลที่เร็วและมันมาก ทุกอย่างทะยานไปข้างหน้าด้วยความเร็ว ใครคิดช้า ทำช้า เสร็จ!!!
.
มันจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม เมื่อโตขึ้น เด็กๆจึงมีคอนเซปต์นี้ติดตัว โดยไม่ต้องมาสอนกันใหม่ จากนั้นโค้ชรุ่นโตก็สามารถเริ่มต้นใส่แทคติกได้ทันที

📌และสุดท้าย....ความเป็นเด็กญี่ปุ่นคือทัศนคติในสนามเชิงบวกเสมอ ให้กำลังใจ กระตุ้น ส่งเสียงตลอด ไม่มีใครด่าใคร ปะทะหนัก100% แต่ทุกอย่างอยู่ในเกม ไม่มีเสียงผู้ปกครองตะโกนจากข้างสนาม มีแต่เสียงเด็กกับโค้ชเท่านั้น

การอุ่นเครื่องแบบ 15 นาที 5 เซ็ต จบลงเร็วมาก ก่อนที่พี่ๆรุ่น 14 ปีจะอุ่นต่อ

ปิดท้าย บทความนี้อาจจะเป็นเพียงแค่มุมเล็กๆมุมนึงที่ไม่สามารถตอบเคล็ดลับความสำเร็จของฟุตบอลญี่ปุ่นทั้งหมดแต่อย่างน้อยๆ ผมเชื่อว่าน่าจะมีมุมที่ฟุตบอลเด็กไทยสามารถหยิบจับมาใช้ไม่มากก็น้อยนะครับ

--------------------------------------------------------------------------------------------------- (จบส่วนของเพจ Fluke Family)

เมื่อไร เราจะได้แนวคิดปรัชญาแบบเด็กญี่ปุ่นที่  

1. เน้นเคลื่อนบอลไปข้างหน้า
2.  หากทำไม่ได้ ก็รีบกลับมา set บอลและหาช่องเคลื่อนบอลไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว 

ทั้งหมดนี้ ใน Thailand Way(โค้ชเฮง วิทยา เลาหกุล) หรือแม้แต่ Thai Way (กาเลส โลมาโกช่า) ต่างก็บรรจุเอาไว้แล้ว แต่ถามว่ามาถึงวันนี้ เราได้เห็นทีมในลีคฟุตบอลทุกระดับเป็นแบบนี้มากน้อยแค่ไหน ?  แล้วระดับทีมชาติล่ะ ?

ที่สำคัญ ฝ่ายเทคนิคของสมาคมหลังจากยุคของทั้งสองท่านข้างบน ได้มีการตรวจสอบและติดตามผลการฝึกสอนตามแนวทางนี้เพื่อประเมินผลแล้วหรือยัง ?
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่