หรือเพราะข่าวนี้ ต่างขาติถึงขาย ?
โดมิโน่ “รถโดนยึด” สะเทือนตลาด “รถมือสอง” หนี้เน่าปูด-ซื้อแล้วผ่อนต่อไม่ไหว ด้าน “รถโดนใจ” เชื่อ เศรษฐกิจชะลอตัวดัน “รถมือสอง” ขึ้นแท่นสินค้าทดแทน “รถมือหนึ่ง” ส่วนกระแส “รถอีวี” ยังกระจุกแค่กรุงเทพฯ-เมืองใหญ่ พบ “เมืองรอง” มีประชากรใช้รถไฟฟ้าเพียงหลักร้อยเท่านั้น
Key Points:
เอฟเฟ็กต์จากเศรษฐกิจชะลอตัวและภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น กระทบถึง “ตลาดรถยนต์” โดยเฉพาะ “รถยนต์มือสอง” ที่ถูกยึดจนล้นลานประมูล มี “ซัพพลาย” มากกว่า “ดีมานด์” ทำราคาดิ่งหนัก
สถานการณ์ “รถโดนยึด” ปี 2566 มีแนวโน้มตัวเลขใกล้เคียงกับช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดใหญ่ เนื่องจากเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นดีนัก หนี้ครัวเรือนยังสูง ทั้งยังมีหนี้เสียที่สะสมมากขึ้นจาก “หนี้สินเชื่อรถยนต์”
ภาพรวมตลาดรถยนต์ในปี 2567 ยังคาดการณ์ได้ยากเพราะมีปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง ทั้งภาวะสงครามที่ยังยืดเยื้อ และเศรษฐกิจในประเทศที่ทำให้คนตัดสินใจซื้อของชิ้นใหญ่ยากขึ้น คนไม่อยากเป็นหนี้ก้อนโตในช่วงนี้
ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น-เศรษฐกิจชะลอตัวไม่ได้กระทบเพียงตลาดอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ซื้อรถยนต์ จนทำให้ในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมาเริ่มมีสัญญาณของ “หนี้เน่า” ที่ก่อตัวขึ้นจากกลุ่มผู้ซื้อที่ “ไปต่อไม่ไหว” ทั้งที่ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการสิ้นสุดลงของมาตรการพักหนี้ในช่วงวิกฤติแพร่ระบาดใหญ่ เมื่อข้อกำหนดเดิมเริ่มเดินเครื่องต่อในช่วงเวลาที่สถานะทางการเงินยังคงเปราะบาง ธนาคารซึ่งเป็นผู้ออกสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ก็ต้องทำตามกฏในการ “ยึดรถ” ทันที
ผลสะเทือนต่อมาจากการผ่อนไม่ไหวของผู้ซื้อเหล่านี้ ทำให้ “หนี้เสีย” จากสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ปรับตัวสูงขึ้น แบงก์ทยอยปรับเกณฑ์การพิจารณาปล่อยกู้ที่เข้มข้นกว่าเดิม คล้ายกันกับกรณี “บ้านต่ำ 3 ล้าน” ที่มีแนวโน้มของ “หนี้ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ” หรือที่เรียกว่า “หนี้ SM” มากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าปริมาณ “รถโดนยึด” ที่มากขึ้นจะทำให้ผู้ประกอบการเต็นท์รถสามารถประมูลขายด้วยราคาที่ต่ำกว่าเดิมได้ แต่ก็พบว่า ภาพรวมเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ส่งผลกับการตัดสินใจซื้อ “รถมือสอง” อยู่ไม่น้อย
หลายคนไม่ต้องการสร้างหนี้ก้อนใหญ่ในเวลานี้หากไม่จำเป็น สถานการณ์ของเต็นท์รถมือสองขณะนี้จึงไม่ได้สวยงามกว่าตลาดรถมือหนึ่งมากนัก และอาจยืดเยื้อ-สะสมกลายเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือน-หนี้เสียรถยนต์ที่แก้ไม่ตก จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ
เศรษฐกิจที่เปราะบางมากขึ้นจากวิกฤติโควิด-19 ทำให้หลายคนต้องดึงเงินเก็บ-เงินออมออกมาใช้ เพื่อต่อสายป่านกระแสเงินสดให้ได้นานและแข็งแรงมากที่สุด ด้านภาครัฐเองก็ได้มีการออกมาตรการพักหนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อประคอง-ต่อลมหายใจไปพร้อมๆ กัน ทว่า เมื่อสิ้นสุดการแพร่ระบาดใหญ่ กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาเดินได้ตามปกติ มาตรการแช่แข็งหนี้ก็มีอันต้องสิ้นสุดลง
แน่นอนว่า การฟื้นตัวจากช่วงเวลาดังกล่าวไม่ง่ายนัก รอยต่อตรงนี้เองที่ทำให้เริ่มเกิด “ช่องโหว่” ที่ส่งสัญญาณผ่านจำนวนรถโดนยึดเข้าสู่ลานประมูลที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากประชาชาติธุรกิจระบุว่า ปี 2565 มีรถโดนยึดราว 300,000 คัน มี “หนี้ SM” รวมทั้งสิ้น “154,000 ล้านบาท” เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มี “หนี้ SM” ในส่วนของสินเชื่อรถยนต์อยู่ที่ “130,000 แสนล้านบาท”
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1109022
คนไทย ‘ผ่อนรถไม่ไหว’ ปล่อยแบงก์ยึดคืน “บ้านต่ำ 3 ล้าน” ที่มีแนวโน้มของ “หนี้ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ”
โดมิโน่ “รถโดนยึด” สะเทือนตลาด “รถมือสอง” หนี้เน่าปูด-ซื้อแล้วผ่อนต่อไม่ไหว ด้าน “รถโดนใจ” เชื่อ เศรษฐกิจชะลอตัวดัน “รถมือสอง” ขึ้นแท่นสินค้าทดแทน “รถมือหนึ่ง” ส่วนกระแส “รถอีวี” ยังกระจุกแค่กรุงเทพฯ-เมืองใหญ่ พบ “เมืองรอง” มีประชากรใช้รถไฟฟ้าเพียงหลักร้อยเท่านั้น
Key Points:
เอฟเฟ็กต์จากเศรษฐกิจชะลอตัวและภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น กระทบถึง “ตลาดรถยนต์” โดยเฉพาะ “รถยนต์มือสอง” ที่ถูกยึดจนล้นลานประมูล มี “ซัพพลาย” มากกว่า “ดีมานด์” ทำราคาดิ่งหนัก
สถานการณ์ “รถโดนยึด” ปี 2566 มีแนวโน้มตัวเลขใกล้เคียงกับช่วงวิกฤติการแพร่ระบาดใหญ่ เนื่องจากเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นดีนัก หนี้ครัวเรือนยังสูง ทั้งยังมีหนี้เสียที่สะสมมากขึ้นจาก “หนี้สินเชื่อรถยนต์”
ภาพรวมตลาดรถยนต์ในปี 2567 ยังคาดการณ์ได้ยากเพราะมีปัจจัยแวดล้อมหลายอย่าง ทั้งภาวะสงครามที่ยังยืดเยื้อ และเศรษฐกิจในประเทศที่ทำให้คนตัดสินใจซื้อของชิ้นใหญ่ยากขึ้น คนไม่อยากเป็นหนี้ก้อนโตในช่วงนี้
ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น-เศรษฐกิจชะลอตัวไม่ได้กระทบเพียงตลาดอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ซื้อรถยนต์ จนทำให้ในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมาเริ่มมีสัญญาณของ “หนี้เน่า” ที่ก่อตัวขึ้นจากกลุ่มผู้ซื้อที่ “ไปต่อไม่ไหว” ทั้งที่ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการสิ้นสุดลงของมาตรการพักหนี้ในช่วงวิกฤติแพร่ระบาดใหญ่ เมื่อข้อกำหนดเดิมเริ่มเดินเครื่องต่อในช่วงเวลาที่สถานะทางการเงินยังคงเปราะบาง ธนาคารซึ่งเป็นผู้ออกสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ก็ต้องทำตามกฏในการ “ยึดรถ” ทันที
ผลสะเทือนต่อมาจากการผ่อนไม่ไหวของผู้ซื้อเหล่านี้ ทำให้ “หนี้เสีย” จากสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ปรับตัวสูงขึ้น แบงก์ทยอยปรับเกณฑ์การพิจารณาปล่อยกู้ที่เข้มข้นกว่าเดิม คล้ายกันกับกรณี “บ้านต่ำ 3 ล้าน” ที่มีแนวโน้มของ “หนี้ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ” หรือที่เรียกว่า “หนี้ SM” มากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าปริมาณ “รถโดนยึด” ที่มากขึ้นจะทำให้ผู้ประกอบการเต็นท์รถสามารถประมูลขายด้วยราคาที่ต่ำกว่าเดิมได้ แต่ก็พบว่า ภาพรวมเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ส่งผลกับการตัดสินใจซื้อ “รถมือสอง” อยู่ไม่น้อย
หลายคนไม่ต้องการสร้างหนี้ก้อนใหญ่ในเวลานี้หากไม่จำเป็น สถานการณ์ของเต็นท์รถมือสองขณะนี้จึงไม่ได้สวยงามกว่าตลาดรถมือหนึ่งมากนัก และอาจยืดเยื้อ-สะสมกลายเป็นปัญหาหนี้ครัวเรือน-หนี้เสียรถยนต์ที่แก้ไม่ตก จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ
เศรษฐกิจที่เปราะบางมากขึ้นจากวิกฤติโควิด-19 ทำให้หลายคนต้องดึงเงินเก็บ-เงินออมออกมาใช้ เพื่อต่อสายป่านกระแสเงินสดให้ได้นานและแข็งแรงมากที่สุด ด้านภาครัฐเองก็ได้มีการออกมาตรการพักหนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อประคอง-ต่อลมหายใจไปพร้อมๆ กัน ทว่า เมื่อสิ้นสุดการแพร่ระบาดใหญ่ กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาเดินได้ตามปกติ มาตรการแช่แข็งหนี้ก็มีอันต้องสิ้นสุดลง
แน่นอนว่า การฟื้นตัวจากช่วงเวลาดังกล่าวไม่ง่ายนัก รอยต่อตรงนี้เองที่ทำให้เริ่มเกิด “ช่องโหว่” ที่ส่งสัญญาณผ่านจำนวนรถโดนยึดเข้าสู่ลานประมูลที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากประชาชาติธุรกิจระบุว่า ปี 2565 มีรถโดนยึดราว 300,000 คัน มี “หนี้ SM” รวมทั้งสิ้น “154,000 ล้านบาท” เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มี “หนี้ SM” ในส่วนของสินเชื่อรถยนต์อยู่ที่ “130,000 แสนล้านบาท”
https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1109022