เมื่อหลายปีก่อน ได้เคยมีหนังเกี่ยวกับตำนานสมเด็จพระนเรศวร มหาราช มาให้เราได้ชมกัน แต่ก็ค่อนข้างรวบรัดเนื่องจากต้องจำกัดเวลาในการเล่าเรื่อง และผมเองได้มีโอกาสศึกษาและอ่านประวัติของสมเด็จพระนเรศวรไว้หลายเล่มซึ่งเกี่ยวโยงและสอดคล้องกับพงศาวดารในประวัติศาสตร์ไทยเราก็มี ที่ไม่ตรงกันก็มี และจากที่อ่านมารู้สึกว่า พระราชประวัติในพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นหนังสือที่น่าอ่าน ชวนติดตาม สำนวนอ่านง่าย เข้าใจง่าย และมีความน่าเชื่อถือในเชิงประวัติศาสตร์อย่างสูง เนื่องมาจากท่านได้รวบรวมจากพงศาวดารและจดหมายเหตุหลายเล่มซึ่งท่านเองได้ใช้เหตุใช้ผลในการวิเคราะห์เรื่องราวได้อย่างสมเหตุสมผลและมีความเป็นไปได้สูง เล่มนี้จึงมีมากกว่าตำนานเท่านั้น ผมเองเห็นว่ายังมีเพื่อนๆหลายคนยังไม่มีโอกาสได้ชมภาพยนต์ หรือได้อ่าน หรือได้ศึกษาละเอียด เลยคิดว่าจะเรียบเรียงเนื้อหาโดยย่อมาให้เพื่อนๆอ่านดูเหมือนเป็นไกด์นำทางให้ไปศึกษาเพิ่มเติมต่อ หรือก่อนไปดูหนัง แต่หากมีข้อบกพร่องใดๆขอรับไว้แต่ผู้เดียว แต่หากจะมีความดีใดๆก็ขอยกให้เป็นความดีของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทั้งหมดครับ หรือถ้าเพื่อนๆสนใจอ่านหนังสือเล่มนี้ก็สามารถไปซื้อได้ที่ร้านหนังสือทั่วไปนะครับ ซึ่งปกหนังสือเป็นไปตามรูปนี้ครับ(เนื้อหาที่ผมเอาลงไม่ได้คัดลอกลงมาทั้งหมดนะครับแต่จะพยายามเรียบเรียงให้กระชับขึ้นซักนิดเพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้นครับ)
วัตถุประสงค์ -เพื่อเผยแพร่ความกล้าหาญของวีรกษัตริย์ไทยที่สละชีวิตมาเพื่อแลกกับเอกราชของชาติไทยทุกวันนี้ ให้คนรุ่นหลังได้ภาคภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทยครับ
ซึ่งในพระนิพนธ์เล่มนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ภาคคือ
ภาค1 เรื่องบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญ แบ่งเป็น 10 ตอน
ภาค2 เรื่องพระนเรศวรทรงกู้บ้านเมืองแบ่งเป็น 22 ตอน
ภาค3 สมเด็จพระนเรศวรทรงแผ่อาณาเขตแบ่งเป็น 30 ตอน
เรื่องย่อภาคที่1 เรื่องบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญ
-----ตอนที่2-----
พอสมเด็จพระนเรศวรพระชันษาได้ 8 ขวบ ก็เกิดศึกหงสาวดีครั้งที่2 ที่เรียกว่าสงครามช้างเผือก คือคราวพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองขอช้างเผือกอันเป็นต้นเรื่องตอนสำคัญของสมเด็จพระนเรศวร โดยหลังจากเสร็จศึกครั้งแรก พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ถูกปลงพระชนม์ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้ขึ้นครองราชย์แทนซึ่งเป็นพระญาติ เมื่อขึ้นครองราชย์ก็ตีมอญ ไทยใหญ่ได้ทั้งหมด ต่อมาก็มาตีเมืองเชียงใหม่ได้เป็นเมืองขึ้น ระหว่างนี้ก็สะสมกำลังเป็นเวลา10ปีซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่กรุงศรีอยุธยาว่างเว้นจากสงคราม14ปีดังกล่าว
ระหว่างนั้นทางไทยไม่ได้ประมาทเตรียมป้องกันบ้านเมืองทั้งในกรุงและหัวเมืองเหนืออยู่ตลอด แต่ก็ไม่มีกำลังพอจะไปบุกกรุงหงสาวดีก่อน จึงได้แต่เตรียมตัวต่อสู้ หลังจากพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแผ่อำนาจมาดังกล่าวแล้ว ก็เริ่มคิดเอาเมืองไทย จึงมีอุบายขอช้างเผือกจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ 2 เชือก ซึ่งการขอช้างเผือกเป็นการหาเรื่องทำสงครามมากกว่าเพราะช้างเผือกสมัยนั้นเป็นของคู่บารมีพระเจ้าแผ่นดิน ไม่มีที่ไหนที่จะยอมมอบให้กษัตริย์กันได้ เพราะถ้ายอมให้ก็คือยอมเป็นเมืองขึ้นนั่นเองและถ้าไม่ยอมก็เหมือนท้าให้พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองมาตีเมืองไทยนั่นเอง ฝ่ายไทยเองก็รู้เท่าทันว่าพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองต้องการไทยเป็นเมืองขึ้นและรู้ดีว่ากรุงหงสาวดีมีกำลังมากกว่าก่อนและถึงให้ช้างเผือกไปก็ต้องรบกันอยู่ดี แถมยังต้องเสียพระเกียรติยศเพิ่มขึ้นอีก จึงไม่ยอมให้ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองจึงยกทัพมาเมืองไทย
ศึกหงสาวดีครั้งที่2นี้พม่ายกมาเมื่อพศ.2106 พม่าได้เปรียบไทยหลายอย่างกว่าครั้งก่อนเนื่องด้วยพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้ขยายอาณาเขตไปกว้างขวาง มีกำลังมากกว่าไทยมาก ทั้งครั้งนี้พม่าได้เชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นแล้วจึงให้เชียงใหม่เป็นฝ่ายหาเสบียงให้ไม่เหมือนครั้งก่อนที่มีปัญหาเสบียงโดยลำเลียงมาทางเรือ อีกครั้งพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้ทรงเปลี่ยนแผนมาเข้าทางด่านแม่ละเมาซึ่งอยู่ทางเหนือของด่านเจดีย์3องค์ โดยมีเป้าหมายโจมตีหัวเมืองเหนือทั้ง6 เสียก่อน ซึ่งถือเป็นการวางแผนที่ชาญฉลาดของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง
ฝ่ายไทยนั้นไม่รู้เท่าทันความคิดพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง คิดว่าจะเข้ามาทางด่านเจดีย์3 องค์เหมือนครั้งก่อนจึงได้แต่เตรียมป้องกันทางกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น ดังนั้นพอพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเข้ามาก็ตีเมืองกำแพงเพชรอย่างง่ายดาย
กองทัพพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองนั้นแบ่งออกได้เป็น5กองทัพ ซึ่งล้วนเป็นกองทัพกษัตริย์ทั้งหมด โดยแยกไปรบตามหัวเมืองต่างๆตามลำพัง โดยพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองตั้งกองทัพใหญ่ ณ เมืองกำแพงเพชร โดยให้พระเจ้าอังวะกับพระเจ้าตองอูเข้าไปตีเมืองพิษณุโลกของพระมหาธรรมราชา ส่วนกองทัพพระมหาอุปราชนันทบุเรงกับกองทัพพระเจ้าแปรยกไปตีเมืองสุโขทัย เมืองสวรรคโลก และเมืองพิชัย โดยสายนี้เมื่อบุกเมืองสุโขทัยปรากฏว่าเมืองสุโขทัยสู้รบจนเสียเมือง ส่วนเมืองสวรรคโลกและเมืองพิชัยยอมแพ้โดยไม่ได้สู้รบกัน ขณะที่เมืองพิษณุโลกของพระมหาธรรมราชานั้นสู้รบต้านทานไว้ได้อย่างสุดความสามารถหวังรอให้กรุงศรีอยุธยายกทัพมาช่วย ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาเองไม่ได้นิ่งนอนใจ รู้ว่าข้าศึกเปลี่ยนไปตีหัวเมืองเหนือ จึงส่งกองทัพโดยพระราเมศวร(พระโอรสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ)ยกขึ้นไปช่วยแต่เจอข้าศึกดักตีที่ชัยนาททั้งทางบกและทางเรือ พ่ายแพ้จึงถอยทัพลงมา ส่วนพระเจ้าอังวะกับพระเจ้าตองอูเมื่อเห็นพิษณุโลกตั้งรับอย่างแข็งขันจึงล้อมไว้จนหมดสิ้นเสบียงแถมยังมีโรคระบาดเกิดขึ้น ในที่สุดพระมหาธรรมราชาจึงยอมแพ้แต่โดยดี ซึ่งสงครามครั้งนี้พระนเรศวรทรงเห็นการสงครามเป็นครั้งแรกเมื่อพระชันษา 8 ปี
-----จบตอนที่2-----
ตอนต่อไป ภาค 1 ตอนที่ 3
ตอนที่แล้ว ภาค 1 ตอนที่ 1
พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค1(ตอน2)
วัตถุประสงค์ -เพื่อเผยแพร่ความกล้าหาญของวีรกษัตริย์ไทยที่สละชีวิตมาเพื่อแลกกับเอกราชของชาติไทยทุกวันนี้ ให้คนรุ่นหลังได้ภาคภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทยครับ
ซึ่งในพระนิพนธ์เล่มนี้จะแบ่งออกเป็น 3 ภาคคือ
ภาค1 เรื่องบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญ แบ่งเป็น 10 ตอน
ภาค2 เรื่องพระนเรศวรทรงกู้บ้านเมืองแบ่งเป็น 22 ตอน
ภาค3 สมเด็จพระนเรศวรทรงแผ่อาณาเขตแบ่งเป็น 30 ตอน
ระหว่างนั้นทางไทยไม่ได้ประมาทเตรียมป้องกันบ้านเมืองทั้งในกรุงและหัวเมืองเหนืออยู่ตลอด แต่ก็ไม่มีกำลังพอจะไปบุกกรุงหงสาวดีก่อน จึงได้แต่เตรียมตัวต่อสู้ หลังจากพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแผ่อำนาจมาดังกล่าวแล้ว ก็เริ่มคิดเอาเมืองไทย จึงมีอุบายขอช้างเผือกจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ 2 เชือก ซึ่งการขอช้างเผือกเป็นการหาเรื่องทำสงครามมากกว่าเพราะช้างเผือกสมัยนั้นเป็นของคู่บารมีพระเจ้าแผ่นดิน ไม่มีที่ไหนที่จะยอมมอบให้กษัตริย์กันได้ เพราะถ้ายอมให้ก็คือยอมเป็นเมืองขึ้นนั่นเองและถ้าไม่ยอมก็เหมือนท้าให้พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองมาตีเมืองไทยนั่นเอง ฝ่ายไทยเองก็รู้เท่าทันว่าพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองต้องการไทยเป็นเมืองขึ้นและรู้ดีว่ากรุงหงสาวดีมีกำลังมากกว่าก่อนและถึงให้ช้างเผือกไปก็ต้องรบกันอยู่ดี แถมยังต้องเสียพระเกียรติยศเพิ่มขึ้นอีก จึงไม่ยอมให้ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองจึงยกทัพมาเมืองไทย
ศึกหงสาวดีครั้งที่2นี้พม่ายกมาเมื่อพศ.2106 พม่าได้เปรียบไทยหลายอย่างกว่าครั้งก่อนเนื่องด้วยพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้ขยายอาณาเขตไปกว้างขวาง มีกำลังมากกว่าไทยมาก ทั้งครั้งนี้พม่าได้เชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นแล้วจึงให้เชียงใหม่เป็นฝ่ายหาเสบียงให้ไม่เหมือนครั้งก่อนที่มีปัญหาเสบียงโดยลำเลียงมาทางเรือ อีกครั้งพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้ทรงเปลี่ยนแผนมาเข้าทางด่านแม่ละเมาซึ่งอยู่ทางเหนือของด่านเจดีย์3องค์ โดยมีเป้าหมายโจมตีหัวเมืองเหนือทั้ง6 เสียก่อน ซึ่งถือเป็นการวางแผนที่ชาญฉลาดของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง
ฝ่ายไทยนั้นไม่รู้เท่าทันความคิดพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง คิดว่าจะเข้ามาทางด่านเจดีย์3 องค์เหมือนครั้งก่อนจึงได้แต่เตรียมป้องกันทางกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น ดังนั้นพอพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเข้ามาก็ตีเมืองกำแพงเพชรอย่างง่ายดาย
กองทัพพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองนั้นแบ่งออกได้เป็น5กองทัพ ซึ่งล้วนเป็นกองทัพกษัตริย์ทั้งหมด โดยแยกไปรบตามหัวเมืองต่างๆตามลำพัง โดยพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองตั้งกองทัพใหญ่ ณ เมืองกำแพงเพชร โดยให้พระเจ้าอังวะกับพระเจ้าตองอูเข้าไปตีเมืองพิษณุโลกของพระมหาธรรมราชา ส่วนกองทัพพระมหาอุปราชนันทบุเรงกับกองทัพพระเจ้าแปรยกไปตีเมืองสุโขทัย เมืองสวรรคโลก และเมืองพิชัย โดยสายนี้เมื่อบุกเมืองสุโขทัยปรากฏว่าเมืองสุโขทัยสู้รบจนเสียเมือง ส่วนเมืองสวรรคโลกและเมืองพิชัยยอมแพ้โดยไม่ได้สู้รบกัน ขณะที่เมืองพิษณุโลกของพระมหาธรรมราชานั้นสู้รบต้านทานไว้ได้อย่างสุดความสามารถหวังรอให้กรุงศรีอยุธยายกทัพมาช่วย ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาเองไม่ได้นิ่งนอนใจ รู้ว่าข้าศึกเปลี่ยนไปตีหัวเมืองเหนือ จึงส่งกองทัพโดยพระราเมศวร(พระโอรสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ)ยกขึ้นไปช่วยแต่เจอข้าศึกดักตีที่ชัยนาททั้งทางบกและทางเรือ พ่ายแพ้จึงถอยทัพลงมา ส่วนพระเจ้าอังวะกับพระเจ้าตองอูเมื่อเห็นพิษณุโลกตั้งรับอย่างแข็งขันจึงล้อมไว้จนหมดสิ้นเสบียงแถมยังมีโรคระบาดเกิดขึ้น ในที่สุดพระมหาธรรมราชาจึงยอมแพ้แต่โดยดี ซึ่งสงครามครั้งนี้พระนเรศวรทรงเห็นการสงครามเป็นครั้งแรกเมื่อพระชันษา 8 ปี