คลังชี้แจง แจกเงิน ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ใครบ้างที่ต้องยืนยันตัวตน มีประมาณ 10 ล้านคน ผ่านระบบใหม่ KYC มันคืออะไร
วันที่ 22 ตุลาคม 2566 สำนักข่าว TNN รายงานว่า นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทในเรื่องเงื่อนไขและเกณฑ์การเข้าร่วมว่า เบื้องต้นการรับสิทธิโครงการ ไม่ต้องมีการลงทะเบียน แต่ต้องมีการยืนยันตัวตนเพื่อรับตามสิทธิ เป็นไปตามกฎหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ทั้งนี้ คนที่เคยเข้าร่วมโครงการรัฐบาลชุดก่อน เช่น คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน เราชนะ ฯลฯ ประมาณ 40 ล้านคน ไม่ต้องยืนยันตัวตนใหม่ สามารถเริ่มจ่ายผ่านโครงการได้ทันที ส่วนผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการรัฐ และอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ จะต้องยืนยันตัวตนอีกครั้งผ่านระบบ KYC มีประมาณ 10 ล้านคน
KYC คือระบบอะไร
KYC ย่อมาจาก Know Your Customer เป็นกระบวนการที่สถาบันการเงินใช้ตรวจสอบตัวตนผู้ใช้บริการ โดยใช้เอกสารทางราชการออกข้อมูลส่วนตัวให้ เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเกิด โดยเป็นไปตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
การยืนยันตัวตนนี้ คล้ายกับการยืนยันตัวตนในแอปฯ เป๋าตัง เช่น การโหลดแอปฯ ถ่ายบัตรประชาชน กรอกเลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ ถ่ายรูปใบหน้าสแกนตัวตน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต่างกันคือ การแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต จะแจกในระบบบล็อกเชน ผ่านซูเปอร์แอปฯ ที่กำลังพัฒนาโดยธนาคารของรัฐบาล ไม่ใช่แอปฯ เป๋าตัง
วิธียืนยันตัวตน KYC
การทำ KYC สามารถทำได้ 2 ช่องทาง ได้แก่
1. การไปแสดงตนที่ธนาคาร เพื่อให้ธนาคารตรวจสอบบัตรประชาชนกับหน้าลูกค้าเจ้าของบัตรประชาชน
2. ออนไลน์หรือโมบาย ทำผ่านช่องทางออนไลน์ที่เรียกว่า E-KYC
ความเปลี่ยนแปลงเรื่องรัศมี 4 กิโลเมตร
ในตอนแรกรัฐบาลระบุว่าจะกำหนดรัศมีไว้ที่ 4 กิโลเมตร แต่ตอนนี้ยกเลิกไปแล้ว กำลังพิจารณาว่าจะใช้จ่ายในเขตตำบล อำเภอ แลจังหวัด คาดว่า สามารถเริ่มใช้บริการได้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://money.kapook.com/view274521.html
คลังแจง ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท คนที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้ ต้องยืนยันตัวตน 10 ล้านคน
คลังชี้แจง แจกเงิน ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ใครบ้างที่ต้องยืนยันตัวตน มีประมาณ 10 ล้านคน ผ่านระบบใหม่ KYC มันคืออะไร
วันที่ 22 ตุลาคม 2566 สำนักข่าว TNN รายงานว่า นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทในเรื่องเงื่อนไขและเกณฑ์การเข้าร่วมว่า เบื้องต้นการรับสิทธิโครงการ ไม่ต้องมีการลงทะเบียน แต่ต้องมีการยืนยันตัวตนเพื่อรับตามสิทธิ เป็นไปตามกฎหมายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ทั้งนี้ คนที่เคยเข้าร่วมโครงการรัฐบาลชุดก่อน เช่น คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน เราชนะ ฯลฯ ประมาณ 40 ล้านคน ไม่ต้องยืนยันตัวตนใหม่ สามารถเริ่มจ่ายผ่านโครงการได้ทันที ส่วนผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการรัฐ และอายุไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ จะต้องยืนยันตัวตนอีกครั้งผ่านระบบ KYC มีประมาณ 10 ล้านคน
KYC คือระบบอะไร
KYC ย่อมาจาก Know Your Customer เป็นกระบวนการที่สถาบันการเงินใช้ตรวจสอบตัวตนผู้ใช้บริการ โดยใช้เอกสารทางราชการออกข้อมูลส่วนตัวให้ เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเกิด โดยเป็นไปตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
การยืนยันตัวตนนี้ คล้ายกับการยืนยันตัวตนในแอปฯ เป๋าตัง เช่น การโหลดแอปฯ ถ่ายบัตรประชาชน กรอกเลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ ถ่ายรูปใบหน้าสแกนตัวตน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต่างกันคือ การแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต จะแจกในระบบบล็อกเชน ผ่านซูเปอร์แอปฯ ที่กำลังพัฒนาโดยธนาคารของรัฐบาล ไม่ใช่แอปฯ เป๋าตัง
วิธียืนยันตัวตน KYC
การทำ KYC สามารถทำได้ 2 ช่องทาง ได้แก่
1. การไปแสดงตนที่ธนาคาร เพื่อให้ธนาคารตรวจสอบบัตรประชาชนกับหน้าลูกค้าเจ้าของบัตรประชาชน
2. ออนไลน์หรือโมบาย ทำผ่านช่องทางออนไลน์ที่เรียกว่า E-KYC
ความเปลี่ยนแปลงเรื่องรัศมี 4 กิโลเมตร
ในตอนแรกรัฐบาลระบุว่าจะกำหนดรัศมีไว้ที่ 4 กิโลเมตร แต่ตอนนี้ยกเลิกไปแล้ว กำลังพิจารณาว่าจะใช้จ่ายในเขตตำบล อำเภอ แลจังหวัด คาดว่า สามารถเริ่มใช้บริการได้ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://money.kapook.com/view274521.html