นิวรณ์ ๕... เจ้าต้นเหตุทำให้จิตว้าวุ่น ของผู้เพียรปฏิบัติธรรม แก้อย่างไรไปดูกัน..



🌺นิวรณ์ 5...ไม่ว้าวุ่น​ด้วย​ 5​ เคล็ดลับ​สำหรับ​นั่ง​สมาธิ🌺

ปัญหา​​เบื้องต้น ท่ามกลางบ้าง หลัก​ๆ​ ของผู้กำลัง​ฝึกสมาธิ​ คือ​ เมื่อ​นั่ง​สมาธิ​แล้ว​ ใจมักว้าวุ่น​ มีความยากลำบากใน​การวางใจ​ ตึงเครียด​ไป​ สติย่อหย่อน​ไป​ ใจไม่ยอมหยุดนิ่ง​
โดย​สรุป คือ เนื่องจาก​ว่ามีสาเหตุสำคัญ​คือ​ ​นิวรณ์ 5 ประการ​มาเป็นเครื่องกั้นนั่นเอง​

☀️​นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกั้น หมายถึง สิ่งที่ขวางกั้นจิตทำให้สมาธิไม่อาจเกิดขึ้นได้ คิอกั้นไม่ให้ใจของเรา หรือเห็น จำ​ คิด รู้ เข้าไปถึงดวงธรรมภายใน ไม่ให้ใจของเราตกศูนย์เข้าไป ถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบ ใส บริสุทธิ์ โตเท่ากับฟองไข่แดงของไก่ แล้วก็ลอยขึ้นมาเป็นดวงปฐมมรรค คือกั้นไม่ให้เข้าถึงปฐมมรรค เรียกว่า "นิวรณ์ 5" ได้​แก่...

👉1.กามฉันทะ คือ การตรึกถึงเรื่องเพศ เรื่องทรัพย์สมบัติ หรือเรื่อง​คน สัตว์ สิ่งของ เป็นต้น เป็น​ความยินดี พอใจ เพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ ความยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งสัมผัสทางกาย) อันน่ายินดี น่ารักใคร่พอใจ รวมทั้งความคิดอันเกี่ยวเนื่องด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะนั้น

🚩วิธี​แก้ไข​ : ​พิจารณาโทษของกาม, พิจารณาอสุภะ​ (ความ​ไม่​งาม​ของ​สังขาร​ร่างกาย)​

👉2.พยาบาท ความขุ่นมัว ขัดเคืองใจ มุ่งร้ายเขา คือ ความโกรธ  ความไม่พอใจ ขัดเคืองใจ​

🚩วิธี​แก้ไข​ : พิจารณาโทษของความโกรธ, ให้อภัยทาน  แผ่เมตตา เป็นเพื่อร่วมเกิด แก่ เจ็บตาย ไม่เกิน ๑๐๐ ปีก็ตายจากกัน

👉3. ถีนมิทธะ คือ ความง่วง ความท้อ เคลิบเคลิ้ม​
แยกเป็นถีนะ คือ ความหดหู่ท้อถอย และ
มิทธะ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน
ถีนะและมิทธะนั้นมีอาการแสดงออกที่คล้ายกันมาก คือทำให้เกิดอาการเซื่องซึมเหมือนกัน แต่มีสาเหตุที่ต่างกันคือ

ถีนะเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ทำให้เกิดความย่อท้อ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังที่จะทำความเพียรต่อไป

ส่วนมิทธะนั้นเกิดจากความเมื่อยล้าอ่อนเพลียของร่างกาย หรือจิตใจจริง ๆ เนื่องจากตรากตรำมามาก หรือขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ หรือการรับประทานอาหารที่มากเกินไป

🚩วิธี​แก้ไข : วิธีการ​ที่​พระพุทธเจ้าทรงสอนพระมหาโมคคัลลานะ​ เช่น​ ตรึกธรรมะ, นึกถึงแสงสว่าง​ ฯลฯ

👉4.อุทธัจจกุกกุจจะ คือ​ ความฟุ้งคิดไปในเรื่องราวต่างๆ

อุทธัจจกุกกุจจะ แยกเป็นอุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านของจิต และกุกกุจจะคือความรำคาญใจ

อุทธัจจะนั้นคือการที่จิตไม่สามารถยึดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นเวลานาน จึงเกิดอาการฟุ้งซ่าน เลื่อนลอยไปเรื่องนั้นเรื่องนี้

ส่วนกุกกุจจะนั้นเกิดจากความกังวลใจ หรือไม่สบายใจถึงอกุศลที่ได้ทำไปแล้วในอดีต ว่าไม่น่าทำไปอย่างนั้นเลย หรือบุญกุศลต่าง ๆ ที่ควรทำแต่ยังไม่ได้ทำ ว่าน่าจะได้ทำอย่างนั้นอย่างนี้

🚩วิธี​แก้ไข : ฝึกลมหายใจเข้า​-ออก​ให้ลึกๆ ยาวๆ, ฝึกสติ, ทำใจสบาย,​ ปล่อยวาง​

👉5.วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย สงสัยว่ามีจริงไหม คนอย่างเราจะสามารถ​เข้าถึงธรรมหรือไม่ ? หรือมีคนอื่นเข้าถึงหรือไม่​?
วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ หรือไม่ปักใจเชื่อว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด หรือควรทำแบบไหนดี จิตจึงไม่อาจมุ่งมั่นในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้อย่างเต็มที่ สมาธิจึงไม่เกิดขึ้น​

🚩วิธี​แก้ไข : หมั่นศึกษา & สอบถามครูบาอาจารย์
เพื่อพัฒนาให้มีสมาธิก้าวหน้า

☀️​นิวรณ์ 5 นี้เป็นเครื่องกั้นไม่ให้เราเข้าถึงธรรมภายใน อุปมาเหมือนเรามีดวงตาที่สามารถเห็นอะไรก็ได้ แต่ถูกถุงดำมาสวมศีรษะครอบเอาไว้ถึง 5 ชั้น ทำให้มองอะไรไม่เห็นไปตามความเป็นจริง ถุงดำ 5 ชั้นก็คล้ายๆ กับนิวรณ์ทั้ง 5 นี่แหละ เพราะนิวรณ์มันดำมืดเป็นเครื่องกั้นในการเห็น ไม่ให้ใจเราเข้าถึงดวงธรรม ถึงดวงปฐมมรรค แม้มีอยู่ในตัว ก็เข้าไม่ถึง เมื่อเข้าไม่ถึง จึงไม่รู้ว่ามี เราจึงไม่เคยเจอความสุขที่แท้จริง ไม่เคยอบอุ่นใจเลย เพราะเข้าไม่ถึงพระรัตนตรัย

🔰ที่มา​ : นิวรณ์​ 5​, หนังสือ​ "ง่าย​แต่​ลึก" เล่ม​ 4
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่