ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงมองว่า เงินเดือน 1 แสนต้นๆเยอะ ถ้า 10 ปี + ก่อนก็ใช่ แต่ยุคนี้ถือว่ากลางๆ นะ

กระทู้คำถาม
ถ้าเป็น 10 ปี + ก่อนก็ใช่ แต่ 2-3 ปีผ่านมานี้ ดิฉันถือว่ากลางๆ นะ ถ้าเทียบกับคุณภาพชีวิตที่ได้ + วางแผนเกษียณ + เงินเก็บ ฯลฯ บางเดือนต้องรัดเข็มขัดด้วยซ้ำ และถ้าไม่หาเงินเพิ่มมากกว่านี้ แผนเกษียณ และเงินเก็บอาจจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายได้

แต่คนรอบดิฉันมองว่าข้างเงินเดือน 1 แสนต้นๆ เหมือนเยอะมาก จึงมาขอยืมเงินบ้าง ให้เลี้ยงเป็นเจ้ามือในโอกาสต่างๆ เมื่อปฏิเสธก็มองว่า ขี้เหนียวบ้างล่ะ (ซึ่งก็ไม่ปฏิเสธว่าขี้เหนียวจริง แต่ไม่เคยไปเบียดเบียนให้เป็นภาระใคร) แต่เห็นแก่ตัว รู้สึกไม่โอเค แต่คงไปเปลี่ยนความคิดใครไม่ได้ คงทำใจ คิดบวก และบ่นระบายออกบ้างครั้งเท่านั้น

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 55
ไม่รู้ว่ามองถูกไหม แต่ผมเข้าใจสิ่งที่ จขทก ต้องการสื่อนะครับ
จขกท ต้องการเปรียบเทียบว่า เงินเดือน 1 แสน vs คุณภาพชีวิต ในเมืองไทย มันไม่ได้ถือว่าเยอะ
โดยไม่ได้เน้นไปเปรียบเทียบกับ คนส่วนใหญ่ ว่ามากน้อยแค่ไหน
คนที่ได้เงินเดือนน้อยกว่านี้ เลยค่อนข้างมีอารมณ์ เลยพยายามบอกว่า สังคมเหลื่อมล้ำนะ 1 แสนนั่นคือมากแล้ว
สรุปคุยกันคนละประเด็นเดียวกัน นั่นเอง
.......................
เรื่องสังคมเหลื่อมล้ำเราก็ต้องแก้ไขครับ เห็นใจมากๆ สำหรับคนที่ได้เงินเดือนน้อย ต้องประหยัดมากจนขยับตัวลำบาก ซึ่งวิธีการแก้ไขนั้นก็ต้องแก้ไขกันที่โครงสร้าง ทั้งระดับมหภาค คือการเมืองการปกครอง ลงมาจนถึงระดับครอบครัวและบุคคลเลย
แต่เชื่อเถอะครับว่า ถ้าเรามีเงินเดือนแสนนึงจริงๆ แม้เราจะรู้สึกว่าสบายกว่าแต่ก่อน (ที่เงินเดือนไม่ถึงแสน) แต่ถ้าลองได้วางแผนชีวิตหลายๆอย่าง ก็จะรู้ว่า ไม่สามารถทำอะไรได้อิสระเหมือนที่เราเคยเข้าใจ นอกจากเราจะไม่วางแผนอะไรในชีวิตเลย ใช้เงินให้เกือบหมด 1 แสนไปทุกเดือน แบบนั้นก็สบายครับ แต่ถึงจุดๆหนึ่งจะรู้ว่ามันไม่ถูกและจะเริ่มกังวลว่าเราควรต้องวางแผนเก็บเงินเพื่ออะไรต่อมิอะไร ถึงตอนนั้นก็จะเข้าใจว่า 1 แสน มันมีกำลังประมาณไหนครับ
.........................
สำหรับมุมมองของผม ผมมองว่า 1 แสนกับคุณภาพชีวิต ก็ต้องระวังการใช้จ่าย ถ้าต้องวางแผนชีวิตหลายๆด้าน มันพอแหละ แต่ยังต้องคิดเยอะหน่อย และเห็นด้วยว่าความเหลื่อมล้ำมันมากเกินไปจริงๆ พวกที่ได้เฉลี่ยระดับ 1 ล้านขึ้นไปโดยที่ใช้อำนาจหรือวิธีในทางที่ผิด มันทำให้คนอีกหลายร้อยหลายพันคน มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี จากอำนาจหรือการกระทำของเขา
พูดง่ายๆว่า ในปัจจุบัน ถ้าคุณมองคนคนนึงที่ขยันทำงานอย่างสุจริตและได้เงินเดือน 1 แสน ก็อยากให้เข้าใจคนพวกนี้ที่เพิ่งถีบตัวเองขึ้นมาแบบลอยคอเหนือน้ำ เท่านั้น ถ้าจะเล่นเรื่องความเหลื่อมล้ำ ไปเล่นกับพวกที่ได้เยอะๆจากอำนาจหรือวิธีการผิดๆ พวกนี้มันได้เยอะแบบที่เราแทบคิดไม่ถึงเลยว่า คนเงินเดือน 1 แสน ดูง่อยๆไปเลยครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
รายได้เฉลี่ยคนไทย ปี 2565 อยู่ที่ 248,000 บาทต่อปี หรือตกเดือนละ 2หมื่นบาท  จากตัวเลขนี้หมายความว่า ถ้าเอาค่าเฉลี่ยรายได้คนเมือง ระดับคนมีรายได้สูงเกิน 1 แสนบาท มาถัวเฉลี่ย ลงในค่าเฉลี่ย เงินเดือนไทย ซึ่งมีคนกลุ่มนี้มากขึ้นเท่าไร ยิ่งทำให้คนที่มีรายได้ต่ำกว่า 2 หมื่นมากขึ้นเป็นเงาตามตัว  

ดังนั้นมันมี 2 ประเด็นในสิ่งที่ จขกท. ตั้งกระทู้มาคือ
1. การกระจายรายได้และความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยมีสูงมาก เมื่อเทียบกับสังคมประเทศพัฒนาแล้ว ที่รายได้อาชีพ แต่ละอาชีพ จะไม่มีทางต่างกันถึง 5-10 เท่าแบบในประเทศไทย
2. ถ้าความรู้สึกของ จขกท. บอกว่าสมัยนี้รายได้เกินแสน มีมากขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ ยิ่งหมายความว่า คนไทย รู้สึกว่าชนชั้นรายได้สูง ไม่ได้สนใจคนรายได้น้อยในประเทศเท่าที่ควร จึงไม่แปลกใจที่ความแตกแยกในสังคม จึงสูงขึ้นมาตลอด จนนักการเมืองสามารถเอาประเด็นนี้มาปั่นให้เป็นผลประโยชน์ของตัวเองได้โดยง่าย เพราะความเห็นอกเห็นใจของคนรวย กับคนจนในสังคมมีน้อยเกินไป

ส่วนตัวผมเองเคยทำงานเป็นผู้บริหารบริษัทข้ามชาติ  เห็นเงินเดือนตั้งแต่ระดับ พนักงานชั่วคราว จนถึงระดับผู้บริหารระดับสูง จึงสามารถเข้าใจเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ว่ากระบอกเงินเดือนในประเทศไทย มันถ่างมาก ๆ เช่นรายได้ผู้จัดการหนึ่งคน ประมาณ 2 แสน สามารถจ่ายค่าจ้างระดับคนงานได้ถึงเกือบ 20คน  หรือรายได้ระดับผู้อำนวยการหนึ่งคนสามารถจ่ายคนงานได้เกือบ 50 คน เหตุเพราะ คนระดับผู้ชำนาญการ หรือระดับบริหารเงินเดือนต้องอิงกับ ต่างประเทศไม่เช่นนั้นหาคนมีความรู้ความสามารถมาทำงานได้ยาก แต่คนทำงานชั้นแรงงานซึ่งมีจำนวนสูงมาก ๆ รายได้อิงกับค่าแรงขั้นต่ำในประเทศ และนี่คือที่มาของปัญหาค่าแรงในประเทศไทย

จงดีใจที่คุณได้รายได้เกินแสนเพื่อตัวคุณเอง แต่จงอย่ายินดีที่คุณมีรายได้เกินแสนเพราะเพื่อนร่วมชาติ อีก 90 % เขาไม่สามารถมีรายได้เฉกเช่นเดียวกับคุณครับ
ความคิดเห็นที่ 6
ที่สำคัญไม่ต้องให้ใครรู้ว่าเงินเดือนแสนกว่า สบายใจดี
ความคิดเห็นที่ 5
สม้ยก่อนเงินเดือนข้าราชการ ระดับปริญญาตรี 7,680 บาท ทองคำราคาบาทละ 4,480 บาท
เดี๋ยวนี้เงินเดือนหมื่นห้าพันบาท ยังซื้อทองได้ไม่ถึงห้าสิบสตางค์เลยครับ

แต่ถ้าถามว่าเงินเดือนเท่าไหร่ ใช้อะไรวัด ส่วนตัวตอบว่า ความพอใจ
ความพอใจของแต่ละคนไม่เท่ากัน ความพอใช้ มาจากระดับเจำนวนเงินเท่าไหร่ลดความดึงเครียดและตอบสนองความต้องการของบุคคลคนน้นได้
ถ้าเลยจุดนั้นไปก็จะเรียกว่าความพอเพียง ...

ดังนั้นหนึ่งแสนบาท บางคนจึงบอกว่าเยอะ บางคนจึงบอกว่าน้อย ท้ายที่สุดต่างกันครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่