ก่อนที่จะถามความคิดเห็นของเพื่อนๆ ผมมีข้อมูลเงินเดือนเกี่ยวกับตำแหน่งเหล่านี้มานำเสนอกันก่อน
-กำนัน ๑๐,๐๐๐-๑๕,๐๐๐.-
-ผู้ใหญ่บ้าน ๘,๐๐๐-๑๓,๐๐๐.-
-สารวัตรกำนัน ๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐.-
-ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐.-
-นายก อบต. ๒๖,๐๘๐.-
-รองนายก อบต. ๑๔,๑๔๐.-
-สมาชิกสภา อบต. ๗,๙๒๐.-
-อสม. ๑,๕๐๐.-
คราวนี้ก็มาถึงคำถามขอความคิดเห็นจากเพื่อนๆแล้วครับว่า บุคคลผู้มีตำแหน่งเหล่านี้ วันหนึ่งๆเขาทำราชการบำบัดทุกข์บำรุงสุขราษฎรในเขตความรับผิดชอบของเขาอะไรบ้าง? คุ้มค่าเงินเดือนที่เขาได้รับซึ่งมาจากภาษีของประชาชนหรือไม่?
หากไม่มีบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งเหล่านี้ พวกเราสามารถติดต่อสื่อสารกับทางราชการ,ภาครัฐฯลฯเองหรือไม่?
ซึ่งผมเองก็ขอเล่าตามความเป็นจริงว่า ผญบ.นั้นก็ราว๓-๕วันก็มาประกาศเสียงตามสายทีหนึ่ง เพื่อมาแจ้งข่าวให้ชาวบ้านไปติดต่อกับทางราชการเอาเอง นานๆถึงจะเป็นสื่อกลางระหว่างชาวบ้านกับทางราชการสักครั้ง
ช่วงที่มีการทำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผญบ.ก็ไปทำด้วย แต่ก็ให้ลูกบ้านไปกันเอง โดยไม่นัดหมายวัน,เวลาให้ไปพร้อมกันเพื่อความสะดวก
ช่วงฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดก็เหมือนกัน ตัวใครตัวมัน
ผมว่าถ้าทำหน้าที่แค่นี้ มันไม่คุ้มค่ากับเงินเดือนที่เขารับเอาทุกเดือนเลย
ส่วนกำนัน,นายก อบต.,อสม.ฯลฯ ผมสัมผัสไม่ได้เลยว่าเขาทำหน้าที่อะไรบ้าง
ประเทศไทยมีหมู่บ้านจำนวน๗๕,๐๓๒หมู่บ้าน มีตำบลจำนวน๗,๒๕๕ตำบล
ลองเอาจำนวนหมู่บ้านที่มีคูณกับจำนวนเงินเดือนผญบ.,ผช.ผญบ.,อบต. ,อสม.ฯลฯกับจำนวนตำบลคูณกับเงินเดือนกำนัน,สารวัตรกำนัน,นายก อบต.,รองนายก อบต.ฯลฯ ดูนะครับว่าตัวเลขออกมาเท่าไหร่?
ผมขอตอบคร่าวๆนะครับ หลายพันล้าน!
พวกเราจะปล่อยให้เงินภาษีของพวกเราสูญเปล่าไปอย่างไร้ค่าเดือนละหลายพันล้านหรือ?!
ขอให้เพื่อนๆได้เล่าบทบาท,หน้าที่,ผลงานของท่านผู้มีตำแหน่งเหล่านี้ในพื้นที่ของเพื่อนๆมาให้ฟังบ้าง
ถ้าเราไม่มีบุคคลผู้มีตำแหน่งเหล่านี้ ชีวิตของพวกเราจะดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร?
และขอให้ช่วยแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับว่า ในเมื่อเราสามารถรับรู้ข่าวสาร ติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานราชการเองได้ เรามีความจำเป็นต้องนำเงินภาษีของพวกเรามาจ่ายเงินเดือนให้พวกคนเหล่านี้เดือนหนึ่งๆหลายพันล้านเป็นการสูญเปล่าด้วยหรือ?
เงินจำนวนหลายพันล้านบาทต่อเดือน ถ้าเอามาพัฒนาสวัสดิการผู้สูงอายุ+สวัสดิการทางการแพทย์ให้กับประชาชน หรือพัฒนาประเทศในด้านต่างๆตามที่สมควร จะดีกว่าหรือไม่?
ขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับทุกๆเรื่องเล่าและความคิดเห็นนะครับ.
ตำแหน่งกำนัน,ผญบ.ฯลฯ ถ้าไม่มีประเทศไทยจะดีขึ้นหรือแย่ลง?
-กำนัน ๑๐,๐๐๐-๑๕,๐๐๐.-
-ผู้ใหญ่บ้าน ๘,๐๐๐-๑๓,๐๐๐.-
-สารวัตรกำนัน ๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐.-
-ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ๕,๐๐๐-๑๐,๐๐๐.-
-นายก อบต. ๒๖,๐๘๐.-
-รองนายก อบต. ๑๔,๑๔๐.-
-สมาชิกสภา อบต. ๗,๙๒๐.-
-อสม. ๑,๕๐๐.-
คราวนี้ก็มาถึงคำถามขอความคิดเห็นจากเพื่อนๆแล้วครับว่า บุคคลผู้มีตำแหน่งเหล่านี้ วันหนึ่งๆเขาทำราชการบำบัดทุกข์บำรุงสุขราษฎรในเขตความรับผิดชอบของเขาอะไรบ้าง? คุ้มค่าเงินเดือนที่เขาได้รับซึ่งมาจากภาษีของประชาชนหรือไม่?
หากไม่มีบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งเหล่านี้ พวกเราสามารถติดต่อสื่อสารกับทางราชการ,ภาครัฐฯลฯเองหรือไม่?
ซึ่งผมเองก็ขอเล่าตามความเป็นจริงว่า ผญบ.นั้นก็ราว๓-๕วันก็มาประกาศเสียงตามสายทีหนึ่ง เพื่อมาแจ้งข่าวให้ชาวบ้านไปติดต่อกับทางราชการเอาเอง นานๆถึงจะเป็นสื่อกลางระหว่างชาวบ้านกับทางราชการสักครั้ง
ช่วงที่มีการทำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผญบ.ก็ไปทำด้วย แต่ก็ให้ลูกบ้านไปกันเอง โดยไม่นัดหมายวัน,เวลาให้ไปพร้อมกันเพื่อความสะดวก
ช่วงฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดก็เหมือนกัน ตัวใครตัวมัน
ผมว่าถ้าทำหน้าที่แค่นี้ มันไม่คุ้มค่ากับเงินเดือนที่เขารับเอาทุกเดือนเลย
ส่วนกำนัน,นายก อบต.,อสม.ฯลฯ ผมสัมผัสไม่ได้เลยว่าเขาทำหน้าที่อะไรบ้าง
ประเทศไทยมีหมู่บ้านจำนวน๗๕,๐๓๒หมู่บ้าน มีตำบลจำนวน๗,๒๕๕ตำบล
ลองเอาจำนวนหมู่บ้านที่มีคูณกับจำนวนเงินเดือนผญบ.,ผช.ผญบ.,อบต. ,อสม.ฯลฯกับจำนวนตำบลคูณกับเงินเดือนกำนัน,สารวัตรกำนัน,นายก อบต.,รองนายก อบต.ฯลฯ ดูนะครับว่าตัวเลขออกมาเท่าไหร่?
ผมขอตอบคร่าวๆนะครับ หลายพันล้าน!
พวกเราจะปล่อยให้เงินภาษีของพวกเราสูญเปล่าไปอย่างไร้ค่าเดือนละหลายพันล้านหรือ?!
ขอให้เพื่อนๆได้เล่าบทบาท,หน้าที่,ผลงานของท่านผู้มีตำแหน่งเหล่านี้ในพื้นที่ของเพื่อนๆมาให้ฟังบ้าง
ถ้าเราไม่มีบุคคลผู้มีตำแหน่งเหล่านี้ ชีวิตของพวกเราจะดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร?
และขอให้ช่วยแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับว่า ในเมื่อเราสามารถรับรู้ข่าวสาร ติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานราชการเองได้ เรามีความจำเป็นต้องนำเงินภาษีของพวกเรามาจ่ายเงินเดือนให้พวกคนเหล่านี้เดือนหนึ่งๆหลายพันล้านเป็นการสูญเปล่าด้วยหรือ?
เงินจำนวนหลายพันล้านบาทต่อเดือน ถ้าเอามาพัฒนาสวัสดิการผู้สูงอายุ+สวัสดิการทางการแพทย์ให้กับประชาชน หรือพัฒนาประเทศในด้านต่างๆตามที่สมควร จะดีกว่าหรือไม่?
ขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับทุกๆเรื่องเล่าและความคิดเห็นนะครับ.