ไทยไปมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับภูฏานได้อย่างไร

อยากทราบครับว่า ไทยไปมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับภูฏานได้อย่างไร

ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนว่า ภูฏานเป็นประเทศที่ยึดหลัก Isolation หรือโดดเดี่ยวค่อนข้างมาก เป็นอาณาจักรฤาษี (Hermit Kingdom) แห่งท้ายๆ ของเอเชียและของโลก มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับประเทศต่างๆ เพียง 54 ประเทศ จากจำนวน 190 กว่าประเทศที่เป็นสมาชิกสหประชวยชาติ ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับทั้งสาธารณรัฐจีนและสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอินเดียเป็นพิเศษ ซึ่งให้ความคุ้มครองภูฏานทั้งด้านเศรษฐกิจ การทหาร และการระหว่างประเทศ ภูฏานเป็นประเทศที่มีสถานทูตต่างชาติตั้งอยู่น้อยที่สุดในโลก คือในกรุงทิมพูนครหลวงมีเพียงสถานทูตเพียงสามประเทศ ได้แก่ อินเดีย บังคลาเทศ และคูเวต (น่าสนใจว่าเพราะอะไร) และสถานกงสุลอินเดียและบังคลาเทศในเมือง Phuntsholing โดยทั้งสองประเทศนี้ยังได้รับสิทธิเรื่อง Free Visa ในขณะที่ประเทศอื่นๆ แทบทุกประเทศในโลกต้องของวีซ่าเข้าภูฏาน

ในกรณีของไทย ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับภูฏานในปี 1989 สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงธากาของบังคลาเทศมีเขตอาณาถึงภูฏานด้วย ที่น่าสนใจคือ ด้วยความที่แม้เป็นอาณาจักรปิด แต่ไทยก็ไปมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดได้ สังเกตได้จากการที่ไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศ คือออสเตรเลีย เบลเยียม บังคลาเทศ อินเดีย คูเวต สหรัฐอเมริกา และไทย (และสหประชาชาติ) ที่มีสถานเอกอัครราชทูตของภูฏานตั้งอยู่ การตั้งสถานทูตแสดงว่าน่าจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันในระดับหนึ่งมาก่อนแล้ว ก่อนที่ภูฏานจะเป็นที่รู้จักมากขึ้นหลังการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งมกุฏราชกุมาร เพื่อทรงร่วมในพระราชพิธีเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่เก้า ซึ่งท่านและเชื้อพระวงศ์ภูฏานยังได้เสด็จเยือนไทยอีกหลายครั้ง ล่าสุดน่าจะเป็นสมเด็จพระราชินีเจ็ทซุน เปมา ที่ทรงมาลงพระนามถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

นอกจากนี้ก็มีนักศึกษาภูฏานในไทยอีกพอสมควร น่าสนใจว่าความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดนี้เริ่มต้นด้วยสาเหตุใด

รลกวนช่วยตอบด้วยครับ ขอบคุณครับ หากมีส่วนใดที่เข้าใจผิดหรือผิดพลาดไปก็ขออภัยด้วยครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่