สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
คนจำนวนมากเข้าใจผิดว่า 1 เดือนจันทรคติ คือเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ครบ 1 รอบ ซึ่งไม่ถูกเสียทีเดียว
ความจริงต้องบอกว่า เป็นเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ครบ 1 รอบเมื่อเทียบกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ซึ่งจะยาวกว่าเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเล็กน้อย ตามที่ คห 2 อธิบาย
ถ้ายังไม่เข้าใจ ทดลองกับนาฬิกาแบบเข็มดูได้ สมมติให้เริ่มต้นที่เวลาเที่ยง 12 น. เข็มยาวกับเข็มสั้นทับกันพอดี จากนั้นลองหมุนไปจนเข็มยาวเดินครบรอบกลับมาตรงเลข 12 แต่...ตอนนี้เข็มสั้นก็เดินไปอยู่ที่เลข 1 แล้ว ถ้าจะให้เข็มยาวกับเข็มสั้นทับกันอีกครั้ง ต้องหมุนเข็มยาวให้เกินรอบไปเล็กน้อย ถึงจะกลับมาตรงกับเข็มสั้นได้อีกครั้ง
ในกรณีนี้ เข็มยาวคือดวงจันทร์ เข็มสั้นคือดวงอาทิตย์ และเลขต่าง ๆ บนหน้าปัดนาฬิกา ก็เหมือนกลุ่มดาวจักรราศีต่าง ๆ ที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ผ่านไปบนท้องฟ้าในแต่ละช่วงปี
ความจริงต้องบอกว่า เป็นเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ครบ 1 รอบเมื่อเทียบกับตำแหน่งของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ซึ่งจะยาวกว่าเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเล็กน้อย ตามที่ คห 2 อธิบาย
ถ้ายังไม่เข้าใจ ทดลองกับนาฬิกาแบบเข็มดูได้ สมมติให้เริ่มต้นที่เวลาเที่ยง 12 น. เข็มยาวกับเข็มสั้นทับกันพอดี จากนั้นลองหมุนไปจนเข็มยาวเดินครบรอบกลับมาตรงเลข 12 แต่...ตอนนี้เข็มสั้นก็เดินไปอยู่ที่เลข 1 แล้ว ถ้าจะให้เข็มยาวกับเข็มสั้นทับกันอีกครั้ง ต้องหมุนเข็มยาวให้เกินรอบไปเล็กน้อย ถึงจะกลับมาตรงกับเข็มสั้นได้อีกครั้ง
ในกรณีนี้ เข็มยาวคือดวงจันทร์ เข็มสั้นคือดวงอาทิตย์ และเลขต่าง ๆ บนหน้าปัดนาฬิกา ก็เหมือนกลุ่มดาวจักรราศีต่าง ๆ ที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ผ่านไปบนท้องฟ้าในแต่ละช่วงปี
ความคิดเห็นที่ 5
ไหนๆ ก็ไหนๆ ขอเสริมเรื่องโลกหมุนรอบตัวเองด้วยครับ
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 23 ชั่วโมง 56 นาที แต่ทุกคนน่าจะรู้ว่าเวลา 1 วัน คือ 24 ชั่วโมง
ถึงตอนนี้ บางคนคงจะเริ่มสงสัยว่า ทำไมมันไม่เท่ากัน
ลองดูรูปนี้ครับ ณ ตำแหน่งที่ 1 เป็นเวลาเที่ยงวัน คือดวงอาทิตย์อยู่ตรงหัว และตำแหน่งที่ 2 เป็นเวลาที่โลกหมุนครบ 1 รอบ ซึ่งใช้เวลา 23 ชั่วโมง 56 นาที แต่จะเห็นว่าตอนนั้นยังไม่ใช่เวลาเที่ยงวัน แต่จะต้องเป็นตำแหน่งที่ 3 จึงจะเป็นเที่ยงวันถัดไป ซึ่งเป็นเวลาถัดไปอีก 4 นาที นั่นคือโลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 23 ชั่วโมง 56 นาที แต่ระยะเวลา 1 วันคือ 24 ชั่วโมง

เรื่องเวลา 23 ชั่วโมง 56 นาทีกับ 24 ชั่วโมงอาจดูเหมือนกับมั่ว ๆ เพราะเวลามันใกล้เคียงกัน เนื่องมาจากระยะเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ยาวกว่าระยะเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองมาก จึงทำให้ 2 ค่านี้เกือบเท่ากัน
คราวนี้ลองดูที่ดาวพุธกับดาวศุกร์ครับ
ดาวพุธหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 58.6 วัน และโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 88 วัน ทำให้ 1 วันของดาวพุธยาวนานถึง 176 วัน หรือเป็น 2 เท่าของ 1 ปี นับเป็นดาวเคราะห์ที่มีเวลา 1 วันยาวที่สุดในระบบสุริยะ
ถึงตรงนี้บางคนอาจจะคิดว่าดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 243 วันน่าจะมีเวลา 1 วันยาวกว่าของดาวพุธ แต่เนื่องจากดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองถอยหลัง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 224.7 วัน ทำให้ 1 วันของดาวศุกร์มีระยะเวลา 116.8 วัน ซึ่งสั้นกว่าของดาวพุธ
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ ใช้เวลา 23 ชั่วโมง 56 นาที แต่ทุกคนน่าจะรู้ว่าเวลา 1 วัน คือ 24 ชั่วโมง
ถึงตอนนี้ บางคนคงจะเริ่มสงสัยว่า ทำไมมันไม่เท่ากัน
ลองดูรูปนี้ครับ ณ ตำแหน่งที่ 1 เป็นเวลาเที่ยงวัน คือดวงอาทิตย์อยู่ตรงหัว และตำแหน่งที่ 2 เป็นเวลาที่โลกหมุนครบ 1 รอบ ซึ่งใช้เวลา 23 ชั่วโมง 56 นาที แต่จะเห็นว่าตอนนั้นยังไม่ใช่เวลาเที่ยงวัน แต่จะต้องเป็นตำแหน่งที่ 3 จึงจะเป็นเที่ยงวันถัดไป ซึ่งเป็นเวลาถัดไปอีก 4 นาที นั่นคือโลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 23 ชั่วโมง 56 นาที แต่ระยะเวลา 1 วันคือ 24 ชั่วโมง

เรื่องเวลา 23 ชั่วโมง 56 นาทีกับ 24 ชั่วโมงอาจดูเหมือนกับมั่ว ๆ เพราะเวลามันใกล้เคียงกัน เนื่องมาจากระยะเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ยาวกว่าระยะเวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองมาก จึงทำให้ 2 ค่านี้เกือบเท่ากัน
คราวนี้ลองดูที่ดาวพุธกับดาวศุกร์ครับ
ดาวพุธหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 58.6 วัน และโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 88 วัน ทำให้ 1 วันของดาวพุธยาวนานถึง 176 วัน หรือเป็น 2 เท่าของ 1 ปี นับเป็นดาวเคราะห์ที่มีเวลา 1 วันยาวที่สุดในระบบสุริยะ
ถึงตรงนี้บางคนอาจจะคิดว่าดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 243 วันน่าจะมีเวลา 1 วันยาวกว่าของดาวพุธ แต่เนื่องจากดาวศุกร์หมุนรอบตัวเองถอยหลัง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 224.7 วัน ทำให้ 1 วันของดาวศุกร์มีระยะเวลา 116.8 วัน ซึ่งสั้นกว่าของดาวพุธ
ความคิดเห็นที่ 2
ขออธิบายตามภาพ ครับ
คาบการโคจรแบบ Synodic เกิดขึ้นเพราะ
โลกก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ไปด้วยในขณะเดียวกัน

และหากดูตามปฏิทิน นี้
ข้าง - แรม จะนับต่อกันไปทุกเดือนเลยครับ
https://art-culture.cmu.ac.th/Lanna/calendar/2565
คาบการโคจรแบบ Synodic เกิดขึ้นเพราะ
โลกก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ไปด้วยในขณะเดียวกัน

และหากดูตามปฏิทิน นี้
ข้าง - แรม จะนับต่อกันไปทุกเดือนเลยครับ
https://art-culture.cmu.ac.th/Lanna/calendar/2565
แสดงความคิดเห็น
ทำไมถึงมีข้างขึ้นข้างแรม อย่างละ 15 ค่ำ ทั้งๆที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลกใช้เวลา 27 วันครับ
ซึ่งแปลว่า ใน 1 เดือนจะมีดวงจันทร์ 29-30 แบบ ตามการนับปฏิทิน
แต่ว่าเอาจริงๆ 1 รอบโคจรดวงจันทร์รอบโลก มันแค่ 27 วัน
https://www.google.com/search?q=how+long+the+moon+takes+to+orbit+the+earth&rlz=1C1ONGR_enTH996TH996&oq=how+long+the+moon+&aqs=chrome.0.0i512l2j69i57j0i512j0i22i30l5j0i15i22i30.9833j1j7&sourceid=chrome&ie=UTF-8
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เลยอยากถามครับว่า แล้วแบบนี้ อีก 2-3 วันที่เกินมาทุกเดือน มันคืออะไร แบบนี้การบอกข้างขึ้นแรมก็น่าจะผิดเพี้ยนไปเรื่อยๆ
แต่ถ้างั้นเค้าทำยังไงให้การนับไม่มีกระโดดข้าม (ยกเว้นการไม่มีแรม 15 ค่ำ ในบางเดือน) แล้วยังทำให้วันขึ้น 15 ค่ำ ก็ยังเป็นวันดวงจันทร์เต็มดวงได้ครับ