นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาฯจี้ ‘ปลัดมท.’ ทบทวนการนั่งเก้าอี้นายกฯสมาคมศิษย์เก่า
https://www.dailynews.co.th/news/1850974/
"สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ" ออกแถลงการณ์ จี้ "ปลัด มท." พ้นเก้าอี้นายกฯสมาคมศิษย์เก่า ชี้กังวลต่อทัศนคติเลือกปฏิบัติและเหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หลังคลิปด่าข้าราชการโง่ พร้อมพาดพิงสถาบันการศึกษาอื่นว่อนเน็ต!
เป็นประเด็นที่ถูกวิจารณ์อย่างรุนแรงอยู่ในโลกออนไลน์อยู่ในขณะนี้ ภายหลังจากที่ปรากฎคลิปของ นาย
สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในการประชุมออนไลน์ของข้าราชการในกระทรวงมหาดไทย ซึ่งปรากฏว่ามีการใช้ถ้อยคำดูถูกเหยียดหยามผู้เข้าร่วมประชุม อาทิ “
ทำไมมันโง่แบบนี้”, “
เรียนจบที่ไหนมา” รวมถึงการพูดในเชิงดูหมิ่นสถาบันการศึกษาของผู้ใต้บังคับบัญชาว่า ไม่มีความรู้ จนถูกสังคมออนไลน์วิพากษ์วิจารณ์นั้น
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. โลกออนไลน์ ได้เกิดกระแสพูดถึง สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ออกแถลงการณ์นำโดยนายกฤตภาส เชษฐเจริญรัตน์ นายกสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“เรื่อง พิจารณาความเหมาะสมของท่านในการดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาฯ อีกครั้ง” โดยมีเนื้อหาระบุว่า
เนื่องด้วย สโมสรนิสิตรัฐตาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับร้องเรียนจากนิสิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยและบุคคลภายนอกจำนวนมากว่า ในที่ประชุมผู้บริหารกระทรวงมหาดไทยประจำเดือนธันวาคม 2565 ประธานที่ประชุม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และนายกสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ใช้วาจาหยามหมิ่นสติปัญญาและชื่อเสียงของสถานศึกษาของข้าราชการชั้นผู้น้อย ภายใต้บังคับบัญชา
ทั้งนี้ กิริยาและวาจาของนายกสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังแสดงให้เห็นถึงความนิยมชมชอบในระบอบอาวุโสและอำนาจนิยม นับว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง
สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รู้สึกเป็นกังวลอย่างยิ่งต่อทัศนคติอันเลือกปฏิบัติและดูถูกเหยียดยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ดังกล่าว การกระทำของนายกสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานที่ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทยได้ยังความเสียหายเหลือประมาณมาสู่บุคคลที่ถูกหยามหมิ่นและสถานศึกษาที่ปลูกฝังจิตสำนึกให้รับใช้ประชาชน
ทั้งนี้ เพื่อให้คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังคงเป็นแบบอย่างอันดีงามและเป็น สถานศึกษาที่ผลิตบุคลากรคุณภาพสู่สังคม จึงเรียนมาเพื่อให้ท่านพิจารณาทบทวนอีกครั้งถึงความเหมาะสมใน การดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย..
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ.
“สุทิน” ฝากรบ.อย่ากลัวอภิปราย ม.152 ชี้เป็นโอกาสดีได้ชี้แจง
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_475433/
“สุทิน”ฝากรัฐบาลอย่ากลัวอภิปราย ม.152 ชี้เป็นโอกาสดีได้ชี้แจง ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน หวังไม่เล่นเกมจนสภาล่ม
นาย
สุทิน คลังแสง รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) เปิดเผยกับสำนักข่าว INN ถึงการอภิปรายทั่วไป ม.152 ว่า
จะมุ่งเน้นในประเด็นที่เห็นว่ารัฐบาลล้มเหลว และไม่ใช่เกมการเมืองที่หวังดิสเครดิต โจมตีเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง เหมือนที่รัฐมนตรีบางคนออกมาแสดงความเห็น แต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.ในการตรวจสอบรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ และมองว่าเป็นอโอกาสของของรัฐบาลมากกว่า ที่ได้จะแถลง ชี้แจงถึงผลงานในรอบ 4 ปี อย่าไปกลัว อย่าไปคิดในเชิงลบ และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน
ทั้งนี้ ประธานวิปฝ่ายค้านยังกล่าวด้วยว่า หลังจากนี้ จะพรรคเพื่อไทย และพรรคฝ่ายค้าน จะมีการหารือกัน เพื่อเตรียมความพร้อมให้มากที่สุดสำหรับการอภิปรายทั่วไป ในช่วงปลายเทอม แบบนี้ และหวังว่า รัฐบาลจะไม่เล่นเกม จนทำให้สภาล่ม เกิดปัญหาในการอภิปรายแต่อย่างใด
"เด็กพท." แนะ "ประยุทธ์" ประกาศลงจากนายกฯเป็นของขวัญปีใหม่ให้ปชช.เลือกตั้งโดยเร็ว
https://siamrath.co.th/n/411888
วันที่ 1 ม.ค.65 น.ส.
ตรีชฎา ศรีธาดา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ปี 2566 ของขวัญที่ประชาชนอยากได้และอยากได้ยินจาก พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม คือการประกาศว่า
‘พอแล้ว’ จากตัวอย่าง 1 ใน 3 ป.คือ พล.อ.
อนุพงศ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ออกตัวว่าไม่น่าเหมาะกับตำแหน่งนายกฯ ดังนั้น นับจากนี้ไปที่จะเหลือเวลาอีกไม่กี่เดือนจะครบวาระของสภา การใช้อำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรครวมไทยสร้างชาติ ของ พล.อ.
ประยุทธ์ ต้องไม่เอื้อประโยชน์ใดต่อตนเองและพรรคที่จะไปร่วมด้วย ต้องไม่เกิดการเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่นๆที่เป็นคู่แข่ง อย่าโยกย้ายข้าราชการเพื่อหวังประโยชน์ทางการเมือง อย่าใช้งบประมาณไปในทิศทางที่แฝงผลประโยชน์ทางการเมือง หากมีการฝ่าฝืนนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังผิดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมื่องอีกด้วย โดยเฉพาะในกรอบ 180 วันของกกต.ก่อนถึงวันเลือกตั้ง
น.ส.
ตรีชฎา กล่าวว่า การที่ พล.อ.
ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมืองหนึ่ง และประกาศจะเป็นแคนดิเดตนายกของอีกพรรคการเมืองหนึ่ง นอกจากจะสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ดี ฝืนหลักการประชาธิปไตยด้วยการแต่งตั้งหัวหน้าพรรคการเมืองนั้นขึ้นเป็นเลขานายกรัฐมนตรี เป็นการเอื้อประโยชน์ทางการเมืองหรือไม่ และขณะเป็นนายกรัฐมนตรี การหาเสียงก็ยังค้างอยู่และยังไม่ผลักดันตามนโยบายที่เคยหาเสียงไว้ในการเลือกตั้งปี 2562 ได้สำเร็จ ทั้งเรื่องค่าแรง 400-425 บาท เงินเดือนปริญญาตรี 20,000 บาท โครงการมารดาประชารัฐ ฯลฯ ประชาชนยังคงจดจำได้และยังคงทวงถามมาจนถึงทุกวันนี้
"
เลือกตั้งปี 2562 พล.อ.ประยุทธ์ถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯจากพรรคพลังประชารัฐ เมื่อเลือกตั้งเสร็จก็อาศัยเสียง ส.ว. 249 คน ที่ พล.อ.ประยุทธ์ มีส่วนร่วมในการสรรหา โหวตให้เป็นนายกฯตั้งรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ การเลือกตั้งปี 2566 หาก พล.อ.ประยุทธ์ อยากจะเป็นนายกฯอีก ก็ไม่ควรเอาเปรียบผู้ถูกเสนอชื่อคนอื่น ด้วยการอาศัยเสียง ส.ว.ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนอีก จึงจะเป็นการแข่งขันภายใต้กติกาเดียวกัน" น.ส.
ตรีชฎา กล่าว
"ปิยบุตร" ชี้ การเมืองปี 65 แสดงพิษร้าย รธน.60 ซัด นึกแต่กีดกัน "ทักษิณ"
https://www.thairath.co.th/news/politic/2592163
"ปิยบุตร" เลขาฯคณะก้าวหน้า ชี้ การเมืองปี 65 แสดงพิษร้าย รธน.ปี 60 ชำแหละ 4 ปี สภา ตอกบัตร เป็นผู้แทนกลุ่มอำนาจ จวกพวกสิงสู่ ขัดขวางประชาธิปไตยล้วนได้ดิบได้ดี เขียน รธน.นึกแต่กีดกัน "ทักษิณ"
วันที่ 1 ม.ค. 66 นายปิ
ยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ประเมินภาพรวมสถานการณ์การเมืองปีเก่า 2565 ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ว่า ถ้าเรามองภาพใหญ่ทั้งปี น่าจะเป็นปีที่แสดงออกถึงพิษร้าย พิษภัยของรัฐธรรมนูญ 60 เช่น กรณีของรัฐสภา ในส่วนของสภาฯ ถ้าเรานับกลับไปตั้งแต่เลือกตั้งปี 62 เสียงข้างมากของประชาชนจริงๆ ไม่เอาการสืบทอดอำนาจของ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม หัวหน้าพรรคการเมือง ที่ไม่เอา พล.อ.
ประยุทธ์ รวมแล้วเยอะกว่าที่เอา พล.อ.
ประยุทธ์ คนที่ไม่เอา ไปร่วมกันเพราะรู้ว่าฝ่าย พล.อ.
ประยุทธ์ มี ส.ว.250 คน ไปอยู่ฝั่งนั้นมีโอกาสจะได้เป็นรัฐมนตรีมากกว่า พอเสียงปริ่มน้ำตั้งแต่เริ่มต้นก็ตามมาด้วยการช็อปปิ้งให้ผลประโยชน์แก่ ส.ส.
แม้กระทั่งในกลุ่มของรัฐบาลเองยังแตกแยกกันเพราะรัฐบาลชุดนี้เป็นแบบสหพรรค ช่วงต้นเรียกว่าฮันนีมูน พอผ่านไปแต่ละพรรคโวยวายเรื่องตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นรัฐบาลผสมแก้ปัญหาไม่ได้ นายกฯ อยากยึดกุมความเป็นรัฐบาล แต่ปัญหา คือ กระทรวงใหญ่ก็ไปอยู่ในมือของพรรคอื่น รวมทั้งนายกฯ เองก็ไม่ได้เป็นสมาชิก พปชร. ไม่ได้คุมพรรคเอง เป็นปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น
นาย
ปิยบุตร กล่าวว่า ในเรื่องภาพรวมฝ่ายนิติบัญญัตปี 2565 นั้น ในส่วนซีกฝ่ายค้าน ตั้งแต่เริ่มต้นที่อนาคตใหม่ถูกยุบ เจอการดึงตัวส.ส. ทำให้เสียงในสภาฯ ทิ้งขาด จากที่เสียงปริ่มน้ำ การโหวตแต่ละครั้งมันมีลุ้นหมด พอเสียงขาดช่วงปลายปี 2565 การประชุมสภาฯ ถูกลดความสำคัญ ในทางฝ่ายรัฐบาลเขาก็รู้สึกว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องมาประชุม เว้นแต่ว่าเรื่องนั้นมีความสำคัญต่อรัฐบาล วันนี้ภาพลักษณ์ของสภาฯ ทำไปทำมาภาพลักษณ์ออกมาที่ไม่ใช่ผู้แทนราษฎร แต่เป็นผู้แทนของกลุ่มก้อนอำนาจต่างๆ แล้ว ท้ายที่สุดมันเหมือนการเข้าเวรตอกบัตร ฉะนั้นแล้วประชาชนที่เฝ้าดูการประชุมก็จะเริ่มมีคำถามว่า ประชุมไปแล้วได้อะไร หรือถ้าจะใช้การลงมติก็จะใช้แบบการเล่นการเมืองเพื่อช่วงชิงอำนาจกัน เช่น การต่อรองของแต่ละพรรค ท้ายที่สุดแล้วผลประโยชน์ของประชาชนที่คิดว่าจะต้องดำเนินการแก้ไขก็ไม่เกิดขึ้นจริง แม้ว่าเราจะมีความพยายามผลักดันร่าง พ.ร.บ.ที่สำคัญๆ สุดท้ายแล้วก็ไม่ผ่านอยู่ดี ซึ่งตนมองว่า 4 ปีนี้ โดยโครงสร้างของรัฐธรรมนูญปี 2560 ทำให้ภาพลักษณ์ของสภาผู้แทนราษฎร มันไม่ใช่เป็นสภาผู้แทนราษฎรแล้ว แต่จะไปในทางผู้แทนของกลุ่มอำนาจทางการเมือง แต่แน่ว่าพอจะมีเลือกตั้งก็จะกลับไปไหว้ประชาชนอีก แต่เมื่อเข้ามาในสภาฯ สักพักก็จะหลุดอีก ซึ่งต้องเข้าใจว่าปัญหานี้ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทย ปัญหาประชาธิปไตยแบบผู้แทนเป็นกันทั่วโลก
นาย
ปิยบุตร กล่าวว่า ส่วนในซีก ส.ว. เป็นปัญหาใหญ่เลย ตนมองโลกในแง่ดีว่าช่วงท้ายท้ายปี ส.ว.จะตัดบ้าง แต่สุดท้ายก็ไม่ปรับเลย จะเห็นได้จากญัตติร่างรัฐธรรมนูญต่างๆ ที่ไม่ยอมปล่อย ส.ว. นับเป็นการสมวัตถุประสงค์ของการออกแบบรัฐธรรมนูญฉบับนี้เลยก็ว่าได้ คือมาเป็นเครื่องหมายเครื่องมือในการประกันการสืบทอดอำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ กับพวกมาเป็นเครื่องไม้เครื่องมือพิทักษ์รักษาระบบนี้คือรัฐธรรมนูญปี 60
นาย
ปิยบุตร กล่าวว่า ในด้านบริหาร หรือฝ่ายรัฐบาลปี 65 นั้น ตนมองว่าปัญหาใหญ่คือพอเป็นรัฐบาลสหพรรคที่ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ลิ้มลองแล้วว่าสมัยที่เป็นนายกฯ จากการยึดอำนาจ กับเป็นนายกฯ ที่มีการเลือกตั้งมันไม่เหมือนกัน ยิ่ง พล.อ.
ประยุทธ์ ขาลอย คือไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรค ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค เวลาผ่านไปนักการเมืองก็ต้องแสดงฤทธิ์เดช คือเป็นเรื่องธรรมดาของระบบผู้แทนฯ ประเทศไทยเหมือนอยู่ในวิกฤติที่ต้องการรัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำเพียงพอ เป็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพพอ แต่เรากลับได้รัฐบาลที่ไม่มีเสถียรภาพ แก้ไขวิกฤติไม่ได้ ทุกวันนี้มีวิกฤติประเทศ และวิกฤติภายในรัฐบาล แล้วก็แก้ไม่ได้ ถ้าเป็นการเมืองเมื่อก่อน ถึงขนาดนี้คงยอมออกกันไปแล้ว แล้วก็ดึงพรรคใหม่มาเสียบ แต่รอบนี้ทุกคนทะเลาะกัน แต่ไม่มีใครยอมออก จนจะหมดอายุสภาฯ แล้วก็ไม่มีใครออก ถือเป็นการเมืองแบบตบจูบๆ กันไปแต่ก็อยู่กันไปได้ ฉะนั้นอย่าหวังว่าจะแก้ปัญหาได้
นาย
ปิยบุตร กล่าวว่า ในฝ่ายตุลาการ หรือด้านองค์กรอิสระปี 65 ก็แสดงให้เห็นถึงรัฐธรรมนูญ เพราะที่มาที่ไปของผู้ที่ไปดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระนั้นมาจาก คสช. สนช.ที่ตั้งมา เห็นได้จากในศาลยุติธรรมที่ถูกพูดถึงในการตีความมาตรา 112 ตนเรียกภาพใหญ่ของกระบวนการยุติธรรมว่าเป็นนิติสงคราม คือ การประหัตประหารกันโดยไม่ต้องใช้อาวุธ แต่ใช้กฎหมายแทน ทำให้องค์กรตุลาการที่เราตั้งความหวังว่าจะเป็นการถูกออกแบบมาเพื่อประกันสิทธิ์ ตรวจสอบอำนาจรัฐ ประกันหลักนิติธรรมนั้นไม่เกิดขึ้นตามหลักความจำเป็น
JJNY : 5in1 นิสิตรัฐศาสตร์จุฬาฯจี้‘ปลัดมท.’│“สุทิน”ฝากรบ.│เด็กพท.แนะ"ประยุทธ์"│"ปิยบุตร"ชี้รธน.60│'สีจิ้นผิง'ให้กำลังใจ
https://www.dailynews.co.th/news/1850974/
"สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ" ออกแถลงการณ์ จี้ "ปลัด มท." พ้นเก้าอี้นายกฯสมาคมศิษย์เก่า ชี้กังวลต่อทัศนคติเลือกปฏิบัติและเหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หลังคลิปด่าข้าราชการโง่ พร้อมพาดพิงสถาบันการศึกษาอื่นว่อนเน็ต!
เป็นประเด็นที่ถูกวิจารณ์อย่างรุนแรงอยู่ในโลกออนไลน์อยู่ในขณะนี้ ภายหลังจากที่ปรากฎคลิปของ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในการประชุมออนไลน์ของข้าราชการในกระทรวงมหาดไทย ซึ่งปรากฏว่ามีการใช้ถ้อยคำดูถูกเหยียดหยามผู้เข้าร่วมประชุม อาทิ “ทำไมมันโง่แบบนี้”, “เรียนจบที่ไหนมา” รวมถึงการพูดในเชิงดูหมิ่นสถาบันการศึกษาของผู้ใต้บังคับบัญชาว่า ไม่มีความรู้ จนถูกสังคมออนไลน์วิพากษ์วิจารณ์นั้น
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. โลกออนไลน์ ได้เกิดกระแสพูดถึง สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ออกแถลงการณ์นำโดยนายกฤตภาส เชษฐเจริญรัตน์ นายกสโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“เรื่อง พิจารณาความเหมาะสมของท่านในการดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาฯ อีกครั้ง” โดยมีเนื้อหาระบุว่า
เนื่องด้วย สโมสรนิสิตรัฐตาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับร้องเรียนจากนิสิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยและบุคคลภายนอกจำนวนมากว่า ในที่ประชุมผู้บริหารกระทรวงมหาดไทยประจำเดือนธันวาคม 2565 ประธานที่ประชุม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และนายกสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ใช้วาจาหยามหมิ่นสติปัญญาและชื่อเสียงของสถานศึกษาของข้าราชการชั้นผู้น้อย ภายใต้บังคับบัญชา
ทั้งนี้ กิริยาและวาจาของนายกสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังแสดงให้เห็นถึงความนิยมชมชอบในระบอบอาวุโสและอำนาจนิยม นับว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง
สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รู้สึกเป็นกังวลอย่างยิ่งต่อทัศนคติอันเลือกปฏิบัติและดูถูกเหยียดยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ดังกล่าว การกระทำของนายกสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานที่ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทยได้ยังความเสียหายเหลือประมาณมาสู่บุคคลที่ถูกหยามหมิ่นและสถานศึกษาที่ปลูกฝังจิตสำนึกให้รับใช้ประชาชน
ทั้งนี้ เพื่อให้คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังคงเป็นแบบอย่างอันดีงามและเป็น สถานศึกษาที่ผลิตบุคลากรคุณภาพสู่สังคม จึงเรียนมาเพื่อให้ท่านพิจารณาทบทวนอีกครั้งถึงความเหมาะสมใน การดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย..
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาฯ.
“สุทิน” ฝากรบ.อย่ากลัวอภิปราย ม.152 ชี้เป็นโอกาสดีได้ชี้แจง
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_475433/
“สุทิน”ฝากรัฐบาลอย่ากลัวอภิปราย ม.152 ชี้เป็นโอกาสดีได้ชี้แจง ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน หวังไม่เล่นเกมจนสภาล่ม
นายสุทิน คลังแสง รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) เปิดเผยกับสำนักข่าว INN ถึงการอภิปรายทั่วไป ม.152 ว่า
จะมุ่งเน้นในประเด็นที่เห็นว่ารัฐบาลล้มเหลว และไม่ใช่เกมการเมืองที่หวังดิสเครดิต โจมตีเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง เหมือนที่รัฐมนตรีบางคนออกมาแสดงความเห็น แต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.ในการตรวจสอบรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ และมองว่าเป็นอโอกาสของของรัฐบาลมากกว่า ที่ได้จะแถลง ชี้แจงถึงผลงานในรอบ 4 ปี อย่าไปกลัว อย่าไปคิดในเชิงลบ และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน
ทั้งนี้ ประธานวิปฝ่ายค้านยังกล่าวด้วยว่า หลังจากนี้ จะพรรคเพื่อไทย และพรรคฝ่ายค้าน จะมีการหารือกัน เพื่อเตรียมความพร้อมให้มากที่สุดสำหรับการอภิปรายทั่วไป ในช่วงปลายเทอม แบบนี้ และหวังว่า รัฐบาลจะไม่เล่นเกม จนทำให้สภาล่ม เกิดปัญหาในการอภิปรายแต่อย่างใด
"เด็กพท." แนะ "ประยุทธ์" ประกาศลงจากนายกฯเป็นของขวัญปีใหม่ให้ปชช.เลือกตั้งโดยเร็ว
https://siamrath.co.th/n/411888
วันที่ 1 ม.ค.65 น.ส.ตรีชฎา ศรีธาดา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ปี 2566 ของขวัญที่ประชาชนอยากได้และอยากได้ยินจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม คือการประกาศว่า ‘พอแล้ว’ จากตัวอย่าง 1 ใน 3 ป.คือ พล.อ.อนุพงศ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ออกตัวว่าไม่น่าเหมาะกับตำแหน่งนายกฯ ดังนั้น นับจากนี้ไปที่จะเหลือเวลาอีกไม่กี่เดือนจะครบวาระของสภา การใช้อำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรครวมไทยสร้างชาติ ของ พล.อ.ประยุทธ์ ต้องไม่เอื้อประโยชน์ใดต่อตนเองและพรรคที่จะไปร่วมด้วย ต้องไม่เกิดการเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่นๆที่เป็นคู่แข่ง อย่าโยกย้ายข้าราชการเพื่อหวังประโยชน์ทางการเมือง อย่าใช้งบประมาณไปในทิศทางที่แฝงผลประโยชน์ทางการเมือง หากมีการฝ่าฝืนนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังผิดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมื่องอีกด้วย โดยเฉพาะในกรอบ 180 วันของกกต.ก่อนถึงวันเลือกตั้ง
น.ส.ตรีชฎา กล่าวว่า การที่ พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมืองหนึ่ง และประกาศจะเป็นแคนดิเดตนายกของอีกพรรคการเมืองหนึ่ง นอกจากจะสร้างบรรทัดฐานที่ไม่ดี ฝืนหลักการประชาธิปไตยด้วยการแต่งตั้งหัวหน้าพรรคการเมืองนั้นขึ้นเป็นเลขานายกรัฐมนตรี เป็นการเอื้อประโยชน์ทางการเมืองหรือไม่ และขณะเป็นนายกรัฐมนตรี การหาเสียงก็ยังค้างอยู่และยังไม่ผลักดันตามนโยบายที่เคยหาเสียงไว้ในการเลือกตั้งปี 2562 ได้สำเร็จ ทั้งเรื่องค่าแรง 400-425 บาท เงินเดือนปริญญาตรี 20,000 บาท โครงการมารดาประชารัฐ ฯลฯ ประชาชนยังคงจดจำได้และยังคงทวงถามมาจนถึงทุกวันนี้
"เลือกตั้งปี 2562 พล.อ.ประยุทธ์ถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯจากพรรคพลังประชารัฐ เมื่อเลือกตั้งเสร็จก็อาศัยเสียง ส.ว. 249 คน ที่ พล.อ.ประยุทธ์ มีส่วนร่วมในการสรรหา โหวตให้เป็นนายกฯตั้งรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ การเลือกตั้งปี 2566 หาก พล.อ.ประยุทธ์ อยากจะเป็นนายกฯอีก ก็ไม่ควรเอาเปรียบผู้ถูกเสนอชื่อคนอื่น ด้วยการอาศัยเสียง ส.ว.ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนอีก จึงจะเป็นการแข่งขันภายใต้กติกาเดียวกัน" น.ส.ตรีชฎา กล่าว
"ปิยบุตร" ชี้ การเมืองปี 65 แสดงพิษร้าย รธน.60 ซัด นึกแต่กีดกัน "ทักษิณ"
https://www.thairath.co.th/news/politic/2592163
"ปิยบุตร" เลขาฯคณะก้าวหน้า ชี้ การเมืองปี 65 แสดงพิษร้าย รธน.ปี 60 ชำแหละ 4 ปี สภา ตอกบัตร เป็นผู้แทนกลุ่มอำนาจ จวกพวกสิงสู่ ขัดขวางประชาธิปไตยล้วนได้ดิบได้ดี เขียน รธน.นึกแต่กีดกัน "ทักษิณ"
วันที่ 1 ม.ค. 66 นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ประเมินภาพรวมสถานการณ์การเมืองปีเก่า 2565 ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ว่า ถ้าเรามองภาพใหญ่ทั้งปี น่าจะเป็นปีที่แสดงออกถึงพิษร้าย พิษภัยของรัฐธรรมนูญ 60 เช่น กรณีของรัฐสภา ในส่วนของสภาฯ ถ้าเรานับกลับไปตั้งแต่เลือกตั้งปี 62 เสียงข้างมากของประชาชนจริงๆ ไม่เอาการสืบทอดอำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม หัวหน้าพรรคการเมือง ที่ไม่เอา พล.อ.ประยุทธ์ รวมแล้วเยอะกว่าที่เอา พล.อ.ประยุทธ์ คนที่ไม่เอา ไปร่วมกันเพราะรู้ว่าฝ่าย พล.อ.ประยุทธ์ มี ส.ว.250 คน ไปอยู่ฝั่งนั้นมีโอกาสจะได้เป็นรัฐมนตรีมากกว่า พอเสียงปริ่มน้ำตั้งแต่เริ่มต้นก็ตามมาด้วยการช็อปปิ้งให้ผลประโยชน์แก่ ส.ส.
แม้กระทั่งในกลุ่มของรัฐบาลเองยังแตกแยกกันเพราะรัฐบาลชุดนี้เป็นแบบสหพรรค ช่วงต้นเรียกว่าฮันนีมูน พอผ่านไปแต่ละพรรคโวยวายเรื่องตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นรัฐบาลผสมแก้ปัญหาไม่ได้ นายกฯ อยากยึดกุมความเป็นรัฐบาล แต่ปัญหา คือ กระทรวงใหญ่ก็ไปอยู่ในมือของพรรคอื่น รวมทั้งนายกฯ เองก็ไม่ได้เป็นสมาชิก พปชร. ไม่ได้คุมพรรคเอง เป็นปัญหาตั้งแต่เริ่มต้น
นายปิยบุตร กล่าวว่า ในเรื่องภาพรวมฝ่ายนิติบัญญัตปี 2565 นั้น ในส่วนซีกฝ่ายค้าน ตั้งแต่เริ่มต้นที่อนาคตใหม่ถูกยุบ เจอการดึงตัวส.ส. ทำให้เสียงในสภาฯ ทิ้งขาด จากที่เสียงปริ่มน้ำ การโหวตแต่ละครั้งมันมีลุ้นหมด พอเสียงขาดช่วงปลายปี 2565 การประชุมสภาฯ ถูกลดความสำคัญ ในทางฝ่ายรัฐบาลเขาก็รู้สึกว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องมาประชุม เว้นแต่ว่าเรื่องนั้นมีความสำคัญต่อรัฐบาล วันนี้ภาพลักษณ์ของสภาฯ ทำไปทำมาภาพลักษณ์ออกมาที่ไม่ใช่ผู้แทนราษฎร แต่เป็นผู้แทนของกลุ่มก้อนอำนาจต่างๆ แล้ว ท้ายที่สุดมันเหมือนการเข้าเวรตอกบัตร ฉะนั้นแล้วประชาชนที่เฝ้าดูการประชุมก็จะเริ่มมีคำถามว่า ประชุมไปแล้วได้อะไร หรือถ้าจะใช้การลงมติก็จะใช้แบบการเล่นการเมืองเพื่อช่วงชิงอำนาจกัน เช่น การต่อรองของแต่ละพรรค ท้ายที่สุดแล้วผลประโยชน์ของประชาชนที่คิดว่าจะต้องดำเนินการแก้ไขก็ไม่เกิดขึ้นจริง แม้ว่าเราจะมีความพยายามผลักดันร่าง พ.ร.บ.ที่สำคัญๆ สุดท้ายแล้วก็ไม่ผ่านอยู่ดี ซึ่งตนมองว่า 4 ปีนี้ โดยโครงสร้างของรัฐธรรมนูญปี 2560 ทำให้ภาพลักษณ์ของสภาผู้แทนราษฎร มันไม่ใช่เป็นสภาผู้แทนราษฎรแล้ว แต่จะไปในทางผู้แทนของกลุ่มอำนาจทางการเมือง แต่แน่ว่าพอจะมีเลือกตั้งก็จะกลับไปไหว้ประชาชนอีก แต่เมื่อเข้ามาในสภาฯ สักพักก็จะหลุดอีก ซึ่งต้องเข้าใจว่าปัญหานี้ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทย ปัญหาประชาธิปไตยแบบผู้แทนเป็นกันทั่วโลก
นายปิยบุตร กล่าวว่า ส่วนในซีก ส.ว. เป็นปัญหาใหญ่เลย ตนมองโลกในแง่ดีว่าช่วงท้ายท้ายปี ส.ว.จะตัดบ้าง แต่สุดท้ายก็ไม่ปรับเลย จะเห็นได้จากญัตติร่างรัฐธรรมนูญต่างๆ ที่ไม่ยอมปล่อย ส.ว. นับเป็นการสมวัตถุประสงค์ของการออกแบบรัฐธรรมนูญฉบับนี้เลยก็ว่าได้ คือมาเป็นเครื่องหมายเครื่องมือในการประกันการสืบทอดอำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ กับพวกมาเป็นเครื่องไม้เครื่องมือพิทักษ์รักษาระบบนี้คือรัฐธรรมนูญปี 60
นายปิยบุตร กล่าวว่า ในด้านบริหาร หรือฝ่ายรัฐบาลปี 65 นั้น ตนมองว่าปัญหาใหญ่คือพอเป็นรัฐบาลสหพรรคที่ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ลิ้มลองแล้วว่าสมัยที่เป็นนายกฯ จากการยึดอำนาจ กับเป็นนายกฯ ที่มีการเลือกตั้งมันไม่เหมือนกัน ยิ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ขาลอย คือไม่ได้เป็นหัวหน้าพรรค ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค เวลาผ่านไปนักการเมืองก็ต้องแสดงฤทธิ์เดช คือเป็นเรื่องธรรมดาของระบบผู้แทนฯ ประเทศไทยเหมือนอยู่ในวิกฤติที่ต้องการรัฐบาลที่มีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำเพียงพอ เป็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพพอ แต่เรากลับได้รัฐบาลที่ไม่มีเสถียรภาพ แก้ไขวิกฤติไม่ได้ ทุกวันนี้มีวิกฤติประเทศ และวิกฤติภายในรัฐบาล แล้วก็แก้ไม่ได้ ถ้าเป็นการเมืองเมื่อก่อน ถึงขนาดนี้คงยอมออกกันไปแล้ว แล้วก็ดึงพรรคใหม่มาเสียบ แต่รอบนี้ทุกคนทะเลาะกัน แต่ไม่มีใครยอมออก จนจะหมดอายุสภาฯ แล้วก็ไม่มีใครออก ถือเป็นการเมืองแบบตบจูบๆ กันไปแต่ก็อยู่กันไปได้ ฉะนั้นอย่าหวังว่าจะแก้ปัญหาได้
นายปิยบุตร กล่าวว่า ในฝ่ายตุลาการ หรือด้านองค์กรอิสระปี 65 ก็แสดงให้เห็นถึงรัฐธรรมนูญ เพราะที่มาที่ไปของผู้ที่ไปดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระนั้นมาจาก คสช. สนช.ที่ตั้งมา เห็นได้จากในศาลยุติธรรมที่ถูกพูดถึงในการตีความมาตรา 112 ตนเรียกภาพใหญ่ของกระบวนการยุติธรรมว่าเป็นนิติสงคราม คือ การประหัตประหารกันโดยไม่ต้องใช้อาวุธ แต่ใช้กฎหมายแทน ทำให้องค์กรตุลาการที่เราตั้งความหวังว่าจะเป็นการถูกออกแบบมาเพื่อประกันสิทธิ์ ตรวจสอบอำนาจรัฐ ประกันหลักนิติธรรมนั้นไม่เกิดขึ้นตามหลักความจำเป็น