ค่าต่อพรบ. และ ภาษีรถยนต์ ทั้งหมดเท่าไหร่?

ถาม : ค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์ และ พรบ. ทั้งหมดเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่
ตอบ : ขึ้นอยู่กับ ขนาดเครื่องยนต์ (cc) ประเภทของรถยนต์ และ อายุของรถ ครับ ราคามีตั้งแต่ 1,000 บาท – 6,000 บาท เลยทีเดียว

ค่าต่อพรบ. และ ภาษีรถยนต์
หากทุกคนต้องการจะต่อภาษีรถยนต์ ก็จะต้องทำพรบ. ก่อน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการต่อภาษีนั่นเองครับ
โดย ค่าใช้จ่ายของพรบ. ถ้าหากเรา ขับรถยนต์ทั่วไปๆใช้งานส่วนบุคคล ค่าพรบ. จะไม่แพงมาก เช่น
> รถเก๋ง และ รถกระบะ 4 ประตู = 645 บาท
> รถกระบะ 2 ประตู = 967 บาท
แต่ ค่าภาษีรถยนต์ จะขึ้นอยู่กับ ขนาดเครื่องยนต์ (cc) ยิ่ง cc เยอะ ยิ่งแพง ทำให้รถยนต์บางคันต้องจ่ายค่าภาษีรถยนต์ในราคาสูง เช่น
> กระบะ Isuzu D-max เครื่อง 2,500 = 4,900 บาท
> รถเก๋ง Toyota Vios เครื่อง 1,500 = 1,650 บาท
*แต่ถ้ารถของเราอายุเยอะขึ้นก็จะมีส่วนลดค่าภาษีรถยนต์ให้ตั้งแต่ 10%-50% ครับ เดี๋ยวเล่าให้ฟังแบบละเอียดด้านล่าง

1. ค่าต่อพรบ. รถเก๋ง และ รถอื่นๆ
ค่าต่อพรบ. จะแตกต่างกันไปตามประเภทของรถครับ
โดยจะเริ่มต้นที่ 645 บาท สำหรับ รถเก๋งและกระบะ 4 ประตูทั่วไป เช่น Toyota Yaris / Isuzu D-max 4 ประตู / Honda City เป็นต้นครับ
ต่อมาจะเป็นราคา 967 บาท สำหรับ รถกระบะ 2 ประตู เช่น Isuzu D-max 2 ประตู / Toyota Hilux-Revo 2 ประตู
และราคาก็จะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ สำหรับรถประเภทอื่นๆ เช่น
>> ราคา 1180 บาท สำหรับ รถตู้ไม่เกิน 15 ที่นั่ง
>> ราคา 1308 บาท สำหรับ รถบรรทุกน้ำหนัก 3-6 ตัน
>> ราคา 3427 บาท สำหรับ รถยนต์โดยสาร 20-40 ที่นั่ง


2. ค่าต่อภาษีรถยนต์
ค่าภาษีรถยนต์ รถรุ่นฮิตๆ
>> Toyota Hilux-Revo เครื่อง 2,400 cc = 4,500 บาท
>> Isuzu D-max เครื่อง 1,900 cc = 2,500 บาท
>> Toyota Vios เครื่อง 1,500 cc = 1,650 บาท
>> Honda City เครื่อง 1,000 cc = 900 บาท
*ยังไม่รวมส่วนลดสำหรับรถอายุเกิน 6 ปีนะครับ
ค่าภาษีรถยนต์ ถ้าออกรถมาใหม่ๆ และ เครื่องยนต์(cc) เยอะๆ จะมีราคาที่สูงมากทีเดียวครับ โดยมีหลักการคิดแบบนี้ครับ

อัตราค่าภาษีรถยนต์ คิดตาม ‘ขนาดเครื่องยนต์ (cc)’
600 ซีซี (cc) แรก = 300 บาท *คิด ซีซี (cc) ละ 0.50 บาท
601 – 1800 ซีซี (cc) ต่อมา = คิด ซีซี (cc) ละ 1.50 บาท
1801 ซีซี (cc) ขึ้นไป = คิด ซีซี (cc) ละ 4 บาท

โดยวิธีคำนวณคร่าวๆก็คือ เอาแต่ละขั้นที่คิดราคามารวมกันครับ ตัวอย่างเช่น
Toyota Yaris เครื่องยนต์ 1200 ซีซี (cc)
600 ซีซี (cc) แรก ก็คือ 0.50 x 600 = 300 บาท
601 – 1800 ซีซี (cc) ต่อมา ก็คือ 1.50 x 900 = 1,350 บาท
เท่ากับค่าภาษีรถยนต์ที่ต้องจ่ายคือ 1,650 บาท ครับ

เผื่อเป็นประโยชน์ให้กับใครหลายคนที่สงสัยครับ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่