Squid Game
(오징어게임)
ประเภทซีรี่ย์ : 18+ Restricted (violence & profanity)
จำนวนตอน : 9 ตอน
ออกอากาศช่อง : Netflix
เริ่มฉาย : 17 กันยายน 2564
ไฮไลต์ ไม่มีใครไม่รู้จักกับซีรีย์ Squid Game เป็นซีรีย์เกาหลีที่สร้างปรากฏการณ์ Squid Game ฟีเวอร์ ที่ปลุกกระแสให้คนต่างชาติแห่เรียนภาษาเกาหลีมากขึ้น และฟีเวอร์ถึงขั้นสินค้าทุกอย่างในซีรีย์มียอดขายโตเกินเกิน 100% ทุกรายการ เรียกได้ว่า 9 ตอนที่ทำออกกมาดูภายในวันเดียวจบยังได้ คอซีรีย์เกาหลีต้องห้ามพลาดเรื่องนี้ ขอเกริ่นเรียกน้ำย่อยหน่อยละกัน Squid Game เป็นเรื่องราวของคนที่สิ้นหวังจำนวน 456 คน ซึ่งได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน เอาชีวิตรอดลึกลับในชื่อ "Squid Game" ที่ออกแบบตามการละเล่นสุดโปรดสำหรับเด็ก ๆ แต่กลับเกิดเหตุการณ์ที่พลินผันเมื่อมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น มันจึงกลายเป็นเกมเสี่ยงชีวิตเพื่อชิงรางวัลมูลค่า 45.6 พันล้านวอน (ประมาณ 1,300 ล้านบาท) โดยจะมีผู้ชนะเพียงคนเดียวเท่านั้น!
[เนื้อหาในบทความต่อไปนี้ มีการเปิดเผยเนื้อเรื่องที่อาจส่งผลต่ออรรถรสในการชมได้]
เกมนี้มีกฏง่าย ๆ เพียง 3 ข้อคือ ห้ามหยุดเล่นโดยพลการ ผู้เล่นที่ไม่ยอมเล่นเกมจะตกรอบ และ จะสามารถยุติเกมลงได้หากผู้เล่นเกินครึ่งยินยอม ไม่มีการบังคับให้สมัครเข้าเล่นเกม ทุกคนใส่ชุดเหมือนกัน ได้รับอาหารเท่ากัน เล่นเกมภายใต้กติกาเดียวกัน ขณะผู้เข้าแข่งขันกำลังเดินขึ้นบันไดไปทำหน้าที่ของตน มีคนอีกกลุ่มได้ทางลัดขึ้นลิฟท์ไปอยู่เหนือพวกเขา ทั้งเจ้าหน้าที่ชุดชมพูที่ปิดหน้า ทำหน้าที่อย่างแข็งขันโดยห้ามมีความเห็น
‘ฟรอนท์แมน’ คอยคุมกฏทุกอย่างและรายงานต่อ
‘วีไอพี’ ที่คอยดูอย่างสนุกสนาน
ตัวเกมเองก็เป็นการเสียดสีกฏหมายและการใช้ชีวิตในสังคม เช่น
‘เกมเออีไอโอยู หยุด’ สื่อถึงการบังคับใช้กฏหมายอย่างเข้มงวด แต่ก็หลีกเลี่ยงได้หากไม่มีใครเห็น
เกมน้ำตาลแผ่น และเกมข้ามสะพานหิน อาจสื่อถึงสังคมที่ไม่มีพื้นที่ให้ข้อผิดพลาด และการทำพลาดแม้แต่นิดเดียวอาจจะต้องจ่ายด้วยชีวิต
การฟอร์มทีมเกมชักเย่อหรือลูกแก้วผู้หญิงและคนชราจะถูกเลือกเป็นคนท้าย ๆ ก็ชวนให้นึกถึงข่าวการเลือกจ้างงานผู้ชายมากกว่า
การที่อาลีถูกเอาเปรียบในเกมด้วยความที่เป็นคนต่างด้าว ไม่ต่างกับชีวิตจริงข้างนอกของอาลีและแรงงานต่างด้าวทั่วโลก
ความเมินเฉยของเจ้าหน้าที่ ที่ปล่อยให้ใครทำอะไรได้ตามใจหากไม่ระบุไว้ในกฏ แม้ว่าจะผิดศีลธรรมก็ตาม
ผู้เล่นที่สมัครใจเข้ามาเล่นเกมทั้งโดยไม่มีใครบังคับ ทั้งที่รู้ว่าทุกอย่างเลวร้ายเหมือนนรกเพราะมันดีกว่ารอความตายอยู่ข้างนอก ก็เหมือนกับคนที่เข้ามาสู่ระบบทุนนิยมด้วยความสมัครใจ ยอมกู้หนี้ยืมสิน แลกร่างกายและความเป็นมนุษย์ให้กับนายทุนและระบบที่บอกว่า ถ้าเพียงทำตามกติกา เอาชนะเกมได้ก็จะประสบความสำเร็จในชีวิต ทั้งที่ความจริงแล้ว มีแค่หนึ่งในหลายร้อยที่จะได้สัมผัสสิ่งนั้นหลังจากพยายามแทบตาย ในขณะทีคนอีกกลุ่มไม่ต้องทำอะไรก็อยู่บนยอดปีรามิด
เหตุการณ์ใน Squid Game จึงไม่ต่างอะไรกับภาพชีวิตที่เราเห็นทุกวันของผู้คนที่กำลังต่อสู้เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น ในขณะที่ความจริงเขาอาจจะเป็นเพียงผู้เข้าแข่งขันในเกมที่ออกแบบไว้โดยคนเจนเนอร์เรชั่นก่อนซึ่งใกล้จะตายจากไป ทิ้งในคนรุ่นหลังติดอยู่ในเกมที่ถูกเล่นซ้ำไปไม่รู้จบ
ทุกคนมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ ?
SPOIL AND ANALYZE K-DRAMAS (SQUID GAME)
(오징어게임)
ประเภทซีรี่ย์ : 18+ Restricted (violence & profanity)
จำนวนตอน : 9 ตอน
ออกอากาศช่อง : Netflix
เริ่มฉาย : 17 กันยายน 2564
ไฮไลต์ ไม่มีใครไม่รู้จักกับซีรีย์ Squid Game เป็นซีรีย์เกาหลีที่สร้างปรากฏการณ์ Squid Game ฟีเวอร์ ที่ปลุกกระแสให้คนต่างชาติแห่เรียนภาษาเกาหลีมากขึ้น และฟีเวอร์ถึงขั้นสินค้าทุกอย่างในซีรีย์มียอดขายโตเกินเกิน 100% ทุกรายการ เรียกได้ว่า 9 ตอนที่ทำออกกมาดูภายในวันเดียวจบยังได้ คอซีรีย์เกาหลีต้องห้ามพลาดเรื่องนี้ ขอเกริ่นเรียกน้ำย่อยหน่อยละกัน Squid Game เป็นเรื่องราวของคนที่สิ้นหวังจำนวน 456 คน ซึ่งได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน เอาชีวิตรอดลึกลับในชื่อ "Squid Game" ที่ออกแบบตามการละเล่นสุดโปรดสำหรับเด็ก ๆ แต่กลับเกิดเหตุการณ์ที่พลินผันเมื่อมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น มันจึงกลายเป็นเกมเสี่ยงชีวิตเพื่อชิงรางวัลมูลค่า 45.6 พันล้านวอน (ประมาณ 1,300 ล้านบาท) โดยจะมีผู้ชนะเพียงคนเดียวเท่านั้น!
[เนื้อหาในบทความต่อไปนี้ มีการเปิดเผยเนื้อเรื่องที่อาจส่งผลต่ออรรถรสในการชมได้]
เกมนี้มีกฏง่าย ๆ เพียง 3 ข้อคือ ห้ามหยุดเล่นโดยพลการ ผู้เล่นที่ไม่ยอมเล่นเกมจะตกรอบ และ จะสามารถยุติเกมลงได้หากผู้เล่นเกินครึ่งยินยอม ไม่มีการบังคับให้สมัครเข้าเล่นเกม ทุกคนใส่ชุดเหมือนกัน ได้รับอาหารเท่ากัน เล่นเกมภายใต้กติกาเดียวกัน ขณะผู้เข้าแข่งขันกำลังเดินขึ้นบันไดไปทำหน้าที่ของตน มีคนอีกกลุ่มได้ทางลัดขึ้นลิฟท์ไปอยู่เหนือพวกเขา ทั้งเจ้าหน้าที่ชุดชมพูที่ปิดหน้า ทำหน้าที่อย่างแข็งขันโดยห้ามมีความเห็น ‘ฟรอนท์แมน’ คอยคุมกฏทุกอย่างและรายงานต่อ ‘วีไอพี’ ที่คอยดูอย่างสนุกสนาน
ตัวเกมเองก็เป็นการเสียดสีกฏหมายและการใช้ชีวิตในสังคม เช่น ‘เกมเออีไอโอยู หยุด’ สื่อถึงการบังคับใช้กฏหมายอย่างเข้มงวด แต่ก็หลีกเลี่ยงได้หากไม่มีใครเห็น
เกมน้ำตาลแผ่น และเกมข้ามสะพานหิน อาจสื่อถึงสังคมที่ไม่มีพื้นที่ให้ข้อผิดพลาด และการทำพลาดแม้แต่นิดเดียวอาจจะต้องจ่ายด้วยชีวิต
การฟอร์มทีมเกมชักเย่อหรือลูกแก้วผู้หญิงและคนชราจะถูกเลือกเป็นคนท้าย ๆ ก็ชวนให้นึกถึงข่าวการเลือกจ้างงานผู้ชายมากกว่า
การที่อาลีถูกเอาเปรียบในเกมด้วยความที่เป็นคนต่างด้าว ไม่ต่างกับชีวิตจริงข้างนอกของอาลีและแรงงานต่างด้าวทั่วโลก
ความเมินเฉยของเจ้าหน้าที่ ที่ปล่อยให้ใครทำอะไรได้ตามใจหากไม่ระบุไว้ในกฏ แม้ว่าจะผิดศีลธรรมก็ตาม
ผู้เล่นที่สมัครใจเข้ามาเล่นเกมทั้งโดยไม่มีใครบังคับ ทั้งที่รู้ว่าทุกอย่างเลวร้ายเหมือนนรกเพราะมันดีกว่ารอความตายอยู่ข้างนอก ก็เหมือนกับคนที่เข้ามาสู่ระบบทุนนิยมด้วยความสมัครใจ ยอมกู้หนี้ยืมสิน แลกร่างกายและความเป็นมนุษย์ให้กับนายทุนและระบบที่บอกว่า ถ้าเพียงทำตามกติกา เอาชนะเกมได้ก็จะประสบความสำเร็จในชีวิต ทั้งที่ความจริงแล้ว มีแค่หนึ่งในหลายร้อยที่จะได้สัมผัสสิ่งนั้นหลังจากพยายามแทบตาย ในขณะทีคนอีกกลุ่มไม่ต้องทำอะไรก็อยู่บนยอดปีรามิด
เหตุการณ์ใน Squid Game จึงไม่ต่างอะไรกับภาพชีวิตที่เราเห็นทุกวันของผู้คนที่กำลังต่อสู้เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น ในขณะที่ความจริงเขาอาจจะเป็นเพียงผู้เข้าแข่งขันในเกมที่ออกแบบไว้โดยคนเจนเนอร์เรชั่นก่อนซึ่งใกล้จะตายจากไป ทิ้งในคนรุ่นหลังติดอยู่ในเกมที่ถูกเล่นซ้ำไปไม่รู้จบ
ทุกคนมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ ?