.
.
.
ในมหากาพย์รามายณะที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย
ซึ่ง
Valmiki วัลมิกิ เขียนขึ้นเมื่อหลายพันปีก่อน
ได้กล่าวถึงสะพานข้ามมหาสมุทร
ที่เชื่อมระหว่างอินเดียกับศรีลังกา
บทกวีมหากาพย์ที่ยาวเกือบ 24,000 บรรทัด
บรรยายชีวิตการต่อสู้ของพระราม
เพื่อทวงคืนนางสีดาภรรยา
ที่ถูกยักษ์ทศกัณฐ์ลักพาตัวไป
กะว่าจะเสพย์สุขร่วมภิรมย์ที่นคราศรีลังกา
พระรามถูกบังคับให้สละสิทธิ์ในราชบัลลังก์
และต้องออกเดินทางเป็นเวลา 14 ปี
ในระหว่างที่ตะลอน ๆ อยู่ในป่า
นางสีดาภรรยาก็ถูกลักพาตัวโดยทศกัณฐ์
และถูกพาไปยังนคราศรีลังกา
พระรามจึงจัดกองทัพที่เป็นพวกลิง
เพื่อยกทัพไปยึดนครศรีลังกา
ทำให้เกิดสงครามที่ยาวนาน
แต่ในที่สุดทศกัณฐ์ก็พ่ายแพ้
และพระรามจึงพานางสีดากลับอินเดีย
และไปรับตำแหน่งกษัตริย์
ในมหากาพย์เมื่อกองทัพพระราม
ไปถึงมหาสมุทรซึ่งอยู่ตรงข้ามเกาะศรีลังกา
พวกลิงสร้างสะพานลอยข้ามทะเล
โดยเขียนชื่อพระรามลงบนก้อนหิน
แล้วโยนลงไปในน้ำทะเลหลายก้อนมาก
หินไม่จมน้ำเพราะมีชื่อพระรามเขียนไว้
กองทัพของพระรามจึงใช้สะพานนี้
ยกทัพข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังศรีลังกา
.
.
.
.
.
.
.
.
.
งานแกะสลักหินที่ Prambanan Temple
บนกาะชวา Java Indonesia
เหตุการณ์ลิงสร้างสะพานข้ามทะเล
© Margery H. Freeman
.
.
จากภาพถ่ายดาวเทียมของภูมิภาคนี้
จะสังเกตเห็นร่องรอยความเชื่อมโยง
ระหว่างประเทศอินเดียกับศรีลังกา
สะพานนี้เรียกว่า สะพานพระราม
Rama Setu (Setu สะพานภาษาทมิฬ)
หรือที่รู้จักในชื่อ สะพานของอดัม
ที่นี่เป็นแนวสันดอนและสันทราย
ที่ทอดยาวและคดเคี้ยวไปมา
ที่เชื่อมระหว่างเกาะ Rameswaram ของอินเดีย
นอกชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้
ของรัฐ Tamil Nadu ไปยังเกาะ Mannar
นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของศรีลังกา
สะพานแห่งนี้ยาวประมาณ 50 กิโลเมตร
ปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ใต้น้ำทะเล
ตามตำนานเมื่อหลายศตวรรษก่อน
มันก่อตัวเชื่อมโยงระหว่างอินเดียกับศรีลังกา
เป็นช่วง ๆ แต่ก็แข็งแรงพอให้คนเดินทางได้
(แต่ต้องรอน้ำขึ้นน้ำลงที่มีผลต่อการเดินทาง)
ทางหลวงแห่งนี้มีอยู่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 15
ตามบันทึกที่วัดราเมศวรัม Rameswaram
จนกระทั่งถูกพายุไซโคลนทำลายลงในที่สุด
พื้นที่แถวนี้เคยเกิด
สึนามิ หลายครั้งแล้ว
มีทั้งยกแผ่นดินขึ้น/น้ำทะเลท่วมแผ่นดิน
ตามรอยเลื่อนแผ่นเปลือกโลกแถวนี้
สะพานแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดี
ระหว่างคนอินเดียกับศรีลังกามาเป็นเวลานาน
โดยมีตำนานที่สืบทอดมายาวนาน
จากมหากาพย์รามายณะในสมัยโบราณ
ทะเลที่แยกสองประเทศนี้เรียกว่า
เศรษฐมุทราม Sethusamudram
ที่แปลว่า สะพานมหาสมุทร
Ibn Khordadbeh นักภูมิศาสตร์
ชาวเปอร์เซียในศตวรรษที่ 9
ใน Book of Roads and Kingdoms ระบุถึง
สะพาน Set Bandhai สะพานท้องทะเลแห่งนี้
ส่วนชื่อ สะพานอดัม
เป็นชื่อเรียกของคนอังกฤษ
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19
อ้างอิงตำนานอับราฮัม (มีหลายคนแต่ง)
อดัมใช้สะพานข้ามจากศรีลังกาไปยังอินเดีย
ตอนกินแอปเปิลแห่งความรู้ร่วมกับอีวา
.
.
.
© PlaneMad/Wikimedia
.
.
.
© NASA
.
.
.
© Landsat 7
.
.
.
© Landsat 5
.
.
บรรดาคนที่นับถือศาสนาฮินดูที่เคร่งครัด
จะเห็นพ้องต้องกันว่า การมีอยู่ของสะพานนั้น
เป็นข้อพิสูจน์ยืนยันที่ไม่สั่นคลอนถึงตำนาน
และเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงของพระนารายณ์
และตรงตามท้องเรื่องที่มีการอธิบายไว้ในนั้น
(มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
ถามความเชื่อคนนับถือศาสนาคริสต์/อิสลาม
คำถามคือ เชื่อหรือไม่ คนวิวัฒนาการมาจากลิง
คำตอบส่วนมากบอกว่า ไม่เชื่อ
เพราะถ้าเชื่อเท่ากับปฏิเสธพระเจ้าว่าไม่มีจริง)
นักวิทยาศาสตร์จอมปลอม นักทฤษฎีสมคบคิด
และนักศาสนศาสตร์ เชื่อว่าสะพานนี้สร้างขึ้น
โดยพระรามและกองทัพลิงจริง ๆ
เมื่อภาพถ่ายของ NASA ในภูมิภาค
ที่แสดงทางหลวงคดเคี้ยวที่หายไป
ในท้องทะเลที่ถูกเผยแพร่ในปี 2002
นักทฤษฎีสมคบคิดทางออนไลน์
ต่างพร้อมใจร่วมมือกันไล่ล่าห่านป่า
ผลัดกันนำผลัดกันตามผลัดกันอวยไส้แตก
ทฤษฎี ฝูงห่าน ผลัดกันนำ ผลัดกันตาม
เพื่อพยายามพิสูจน์ว่าเป็นโครงสร้าง
สะพานข้ามทะเลแห่งนี้เทพ/คนสร้างขึ้นมา
แม้ว่านักธรณีวิทยาจะพยายามหักล้าง
ตำนานเรื่องราวนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
แต่ก็ยังมีความคิดเห็นมากมาย
และความสับสนที่หลากหลาย
เกี่ยวกับธรรมชาติและที่มาของโครงสร้างนี้
มีทฤษฎีต่าง ๆ มากกว่าครึ่งโหล
ที่พยายามอธิบายโครงสร้าง
คุณลักษณะหนึ่งของสะพานนี้มาจาก
การสะสมของทรายอย่างต่อเนื่อง
และกระบวนการตกตะกอนตามธรรมชาติ
นำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มเกาะสันดอน
ในขณะที่อีกคนหนึ่งเสนอแนะว่า
สะพานอาจเป็นแนวชายฝั่งที่เก่าแก่
ที่ดินแดนทั้งสองของอินเดียและศรีลังกา
เคยเชื่อมติดต่อกันมาก่อนล่มสลายลง
ผลจากการศึกษาด้านต่าง ๆ
ได้อธิบายโครงสร้างนี้ว่า
เป็นห่วงโซ่ของหินโสโครก/สันดอน แนวปะการัง
แนวสันเขาที่ก่อตัวขึ้นมาในพื้นที่นี้
เป็นผลมาจากยกตัวขึ้นมาของเปลือกโลก
ทำให้เกิดสันดอนเชื่อมเกาะทั้งสอง หรือมาจาก
สันดอนจะงอยทราย/ชะวากทะเล Tombolo
แนวหินปะการังหรือพืดหินปะการังท้องทะเล
ปัญหาเรื่องสะพานพระรามนี้
เริ่มเผ็ดร้อนและแหลมคมยิ่งขึ้น
เมื่อรัฐบาลอินเดียเสนอให้ขุดลอก
สะพานพระรามส่วนหนึ่งออกไปจากทะเล
เพื่อสร้างเส้นทางเดินเรือในช่องแคบ
ที่ตื้นเขินระหว่างอินเดียและศรีลังกา
เพราะในตอนนี้ เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่
ต้องหลบหลีกไปมาระหว่าง
ชายฝั่งตะวันตกและตะวันออกของอินเดีย
หรือต้องเดินทางอ้อมเกาะศรีลังกา
ช่องแคบน้ำลึกที่ตัดใหม่แห่งนี้
จะเชื่อมต่อ
Palk Strait กับ
Gulf of Mannar
จะย่นระยะทางเดินเรือกว่า 400 กิโลเมตร
ประหยัดทั้งเงินประหยัดทั้งเวลา
แบบประโยชน์สูง ประหยัดสุด
(อินเดียได้ประโยชน์สูงสุด
เพราะเรือไม่ต้องอ้อมไกลกว่าเดิม)
.
.
.
.
.
.
แต่องค์กรฮินดูฝ่ายขวาจัด
กลับต่อต้านโครงการนี้อย่างแรง
โดยระบุว่าสะพานแห่งนี้เป็น
อนุสาวรีย์ทางศาสนาไม่ควรถูกทำลาย
จนถึงขณะนี้
โครงการดังกล่าวถูกระงับไป
แต่ด้วยเหตุผลที่สอดคล้องกันมากขึ้น
นักสิ่งแวดล้อมระบุว่า
การขุดลอกร่องน้ำจะทำลายปะการัง
ในขณะเดียวกันก็สร้างความเสียหาย
ให้กับแหล่งประมงในพื้นที่แห่งนี้
ทำให้ระบบนิเวศในภูมิภาคเสียสมดุล
นอกจากนี้ สันทรายยังช่วยป้องกันคลื่นสึนามิ
ที่เดินทางจากชายฝั่งตะวันออก
ไปยังชายฝั่งตะวันตกโดยธรรมชาติ
และในทางกลับกัน
ขณะนี้รัฐบาลอินเดียกำลังพิจารณา
เส้นทางอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับ
การทำลายสะพานพระรามแห่งนี้
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3MDGsOK
https://bit.ly/3D7Qox7
https://bit.ly/3D5dYKE
https://bit.ly/3F6jZZh
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
คอคอดกระของไทย
มึบันทึกใน
จดหมายเหตุลาลูแบร์ ว่า
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พ.ศ. 2220
โดย เมอซิเออร์ เดอ ลา มาร์ (De La Mar)
วิศวกรชาวฝรั่งเศสที่เข้ามากับ
คณะราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ได้ทำการสำรวจเพื่อหาเส้นทางการค้า
ทางทะเลใหม่ระหว่างอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน
โดยจากการศึกษาพบว่า
สามารถขุดคลองข้ามคอคอดกระ
จากสงขลาเชื่อมไปยังทวายได้
ซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสเล็งเห็นความได้เปรียบ
ในประเด็นดังกล่าวจากการค้าเหนือกว่า
ชนชาติที่ควบคุมช่องแคบมะละกาในขณะนั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวดัชต์และชาวโปรตุเกส
(ฝรั่งเศสได้มาสำรวจคลองเชื่อม 2 ฝั่งทะเล
มีร่องน้ำ/คลองโบราณที่กระบี่ ทะลุออกมาที่ชุมพร
เรือขนาดเล็กล่องได้กับแบกหามไปในบางจุด
มีร่องรอยการผลิตลูกปัดสินค้ายอดนิยมในอดีต)
ฝรั่งเศสก็จะขอขุดผูกขาดคลองกระ
แต่ยุติเพราะรัฐประหารโดยพระเพทราชา
กับ พระเจ้าเสือ อวชาตบุตรพระนารายณ์
ในรัชกาลที่ 1
สมเด็จพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทเจ้า
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)
จะขุดคลองยุทธศาสตร์ที่บริเวณอำเภอกระบุรี
เชื่อมทะเลฝั่งอันดามันกับอ่าวไทย
เพื่อใช้ประโยชน์ในการเดินเรือในการรบกับพม่า
โดยการนำทัพเข้าไปเสริมเมื่อ
เมืองชายฝั่งทะเลอันดามันถูกโจมตี
ซึ่งจะช่วยร่นระยะเวลาในการเดินเรือ
ที่เดิมจะต้องร่องเรือจากอ่าวไทยไปอ้อมช่องแคบมะละกา
โดยให้ความสำคัญกับการขุดคลอง
เพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงการทหารมากกว่าในด้านเศรษฐกิจ
ในรัชกาลที่ 3
อังกฤษก็มาเจรจาทาบทาม
ขอขุดคลองกระในสยามรัฐ แต่มาแบบมโนมาก
แถมเงื่อนไข/ข้อจำกัดหลายเรื่องมาก
ในรัชกาลที่ 4
มีการเปิดให้ยื่นข้อเสนอ
ความเห็นขุดตลองกระแบบเสรี
คู่เทียบแข่งกันคือ อังกฤษ กับ ฝรั่งเศส
เลยกลายเป็นสงครามน้ำลาย
กับสยามต้องเสียดินแดนฝั่งตะวันตกเพิ่ม
ในรัชกาลที่ 5
ฝรั่งเศสกลับมาอีกครั้ง
หลังประสบความสำเร็จในการขุดคลองสุเอซ
คลองฟาโรห์ปฐมบทคลองสุเอซ
.
.

.
แต่อังกฤษขวางลำไม่ยอมให้ขุด
กับไม่ยอมปล่อยเงินกู้ให้สร้างทางรถไฟสายใต้
กับต้องการดินแดนฝั่งตะวันตกเพิ่มขึ้นอีก
ทางสยามรัฐจึงตัองยุติเจรจากับฝรั่งเศส
และมีหลากหลายความเห็นมากในหมู่เสนาบดี
มีทั้งเห็นด้วยไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้
เรื่องหลักคือ กลัวเสียด้ามขวานให้อังกฤษ
มีการบันทึกไว้ส่วนหนึ่งในจดหมายเหตุ
ในรัชกาลที่ 6
เพิ่งจะสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1
อังกฤษ ฝรั่งเศส อยู่ในช่วงฟื้นฟูประเทศ
กับเหยียบย่ำเยอรมันให้จมลงไปในพิ้นดิน
ในรัชกาลทึ่ 7
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกยังไม่ฟื้นตัว
การค้าการขายซบเซาไปหมด
ถัาจะเจ๊งแน่ขืนขุดคลองกระ เลยหยุดคิด
ในรัชกาลที่ 8
มีในสนธิสัญญาสงบศึกไทย-อังกฤษ
เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างกัน
ที่มาของคำว่า Siamese Talk แพ้แต่ไม่แพ้
เพราะเจอทึมนักกฎหมายระดับเมพ(เทพ)
จบจาก ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน
ดร.ปรึดี พนมยงค์ มรว.เสนีย์ ปราโมช
ดร.หยุด แสงอุทัย ทั้งสามท่านคือ แกนนำหลัก
วางแผนข้อกฎหมายต่อสู้กับฝรั่ง
ที่ยอมรับระบบนิติรัฐมากกว่าเผด็จการรัฐ
เมืองไทยตอนนั้นยังเป็นระบบรัฐสภาที่ถูกต้อง
การฟาดฝรั่งด้วยไม้หน้าสามของไทยมีดังนี้
การประกาศสงครามเป็นโมฆะ
เพราะคณะผู้สำเร็จราชการแทนรัชกาลที่ 8
ลงนามไม่ครบองค์คณะตามกฎหมาย
นายปรีดี พนมยงค์ อยู่ยุดยาตอนประกาศ
จากนั้นรีบออกกฎหมายอาชญากรสงคราม
กับตั้งศาลพิเศษพิจารณาคดีอาชญากรสงคราม
แต่มีคำพิพากษาศาลพิเศษ (ม้วนเดียวจบ) ว่า
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไม่มีความผิด
ฐานอาชญากรสงครามทึ่เขัาร่วมกับญึ่ปุ่น
เพราะกฎหมายไม่มึผลยัอนหลัง ส่วนที่เป็นโทษ
การฟ้องจำเลยในศาล 2 ครั้ง
กับความผิดประเภทเดียวกันอีกครั้ง
ทำไม่ได้ ไม่เป็นธรรม ตามหลักกฎหมายสากล
จอมพล ป. เลยไม่ตัองถูกส่งตัวให้พันธมิตร
แต่ในสนธิสัญญามึการระบุว่า
ห้ามสยามรัฐขุดคลองกระเด็ดขาด
ถ้าอังกฤษไม่ยินยอม เพราะท่าเรือปีนัง มะละกา
สิงคโปร์ อาณานิคมอังกฤษจะสูญเสียรายได้
เอกสารลับนี้อังกฤษเปิดเผยหลังครบ 50 ปีแล้ว
มีผู้นำมาแปลจากภาษาอังกฤษบางส่วน
สะพานพระรามที่พวกลิงสร้าง
.
.
ในมหากาพย์รามายณะที่ยิ่งใหญ่ของอินเดีย
ซึ่ง Valmiki วัลมิกิ เขียนขึ้นเมื่อหลายพันปีก่อน
ได้กล่าวถึงสะพานข้ามมหาสมุทร
ที่เชื่อมระหว่างอินเดียกับศรีลังกา
บทกวีมหากาพย์ที่ยาวเกือบ 24,000 บรรทัด
บรรยายชีวิตการต่อสู้ของพระราม
เพื่อทวงคืนนางสีดาภรรยา
ที่ถูกยักษ์ทศกัณฐ์ลักพาตัวไป
กะว่าจะเสพย์สุขร่วมภิรมย์ที่นคราศรีลังกา
พระรามถูกบังคับให้สละสิทธิ์ในราชบัลลังก์
และต้องออกเดินทางเป็นเวลา 14 ปี
ในระหว่างที่ตะลอน ๆ อยู่ในป่า
นางสีดาภรรยาก็ถูกลักพาตัวโดยทศกัณฐ์
และถูกพาไปยังนคราศรีลังกา
พระรามจึงจัดกองทัพที่เป็นพวกลิง
เพื่อยกทัพไปยึดนครศรีลังกา
ทำให้เกิดสงครามที่ยาวนาน
แต่ในที่สุดทศกัณฐ์ก็พ่ายแพ้
และพระรามจึงพานางสีดากลับอินเดีย
และไปรับตำแหน่งกษัตริย์
ในมหากาพย์เมื่อกองทัพพระราม
ไปถึงมหาสมุทรซึ่งอยู่ตรงข้ามเกาะศรีลังกา
พวกลิงสร้างสะพานลอยข้ามทะเล
โดยเขียนชื่อพระรามลงบนก้อนหิน
แล้วโยนลงไปในน้ำทะเลหลายก้อนมาก
หินไม่จมน้ำเพราะมีชื่อพระรามเขียนไว้
กองทัพของพระรามจึงใช้สะพานนี้
ยกทัพข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังศรีลังกา
.
.
.
.
.
.
.
.
งานแกะสลักหินที่ Prambanan Temple
บนกาะชวา Java Indonesia
เหตุการณ์ลิงสร้างสะพานข้ามทะเล
© Margery H. Freeman
.
.
จากภาพถ่ายดาวเทียมของภูมิภาคนี้
จะสังเกตเห็นร่องรอยความเชื่อมโยง
ระหว่างประเทศอินเดียกับศรีลังกา
สะพานนี้เรียกว่า สะพานพระราม
Rama Setu (Setu สะพานภาษาทมิฬ)
หรือที่รู้จักในชื่อ สะพานของอดัม
ที่นี่เป็นแนวสันดอนและสันทราย
ที่ทอดยาวและคดเคี้ยวไปมา
ที่เชื่อมระหว่างเกาะ Rameswaram ของอินเดีย
นอกชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้
ของรัฐ Tamil Nadu ไปยังเกาะ Mannar
นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของศรีลังกา
สะพานแห่งนี้ยาวประมาณ 50 กิโลเมตร
ปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ใต้น้ำทะเล
ตามตำนานเมื่อหลายศตวรรษก่อน
มันก่อตัวเชื่อมโยงระหว่างอินเดียกับศรีลังกา
เป็นช่วง ๆ แต่ก็แข็งแรงพอให้คนเดินทางได้
(แต่ต้องรอน้ำขึ้นน้ำลงที่มีผลต่อการเดินทาง)
ทางหลวงแห่งนี้มีอยู่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 15
ตามบันทึกที่วัดราเมศวรัม Rameswaram
จนกระทั่งถูกพายุไซโคลนทำลายลงในที่สุด
พื้นที่แถวนี้เคยเกิด สึนามิ หลายครั้งแล้ว
มีทั้งยกแผ่นดินขึ้น/น้ำทะเลท่วมแผ่นดิน
ตามรอยเลื่อนแผ่นเปลือกโลกแถวนี้
สะพานแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดี
ระหว่างคนอินเดียกับศรีลังกามาเป็นเวลานาน
โดยมีตำนานที่สืบทอดมายาวนาน
จากมหากาพย์รามายณะในสมัยโบราณ
ทะเลที่แยกสองประเทศนี้เรียกว่า
เศรษฐมุทราม Sethusamudram
ที่แปลว่า สะพานมหาสมุทร
Ibn Khordadbeh นักภูมิศาสตร์
ชาวเปอร์เซียในศตวรรษที่ 9
ใน Book of Roads and Kingdoms ระบุถึง
สะพาน Set Bandhai สะพานท้องทะเลแห่งนี้
ส่วนชื่อ สะพานอดัม
เป็นชื่อเรียกของคนอังกฤษ
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19
อ้างอิงตำนานอับราฮัม (มีหลายคนแต่ง)
อดัมใช้สะพานข้ามจากศรีลังกาไปยังอินเดีย
ตอนกินแอปเปิลแห่งความรู้ร่วมกับอีวา
.
.
© PlaneMad/Wikimedia
.
.
.
© NASA
.
.
.
© Landsat 7
.
.
.
© Landsat 5
.
.
บรรดาคนที่นับถือศาสนาฮินดูที่เคร่งครัด
จะเห็นพ้องต้องกันว่า การมีอยู่ของสะพานนั้น
เป็นข้อพิสูจน์ยืนยันที่ไม่สั่นคลอนถึงตำนาน
และเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงของพระนารายณ์
และตรงตามท้องเรื่องที่มีการอธิบายไว้ในนั้น
(มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
ถามความเชื่อคนนับถือศาสนาคริสต์/อิสลาม
คำถามคือ เชื่อหรือไม่ คนวิวัฒนาการมาจากลิง
คำตอบส่วนมากบอกว่า ไม่เชื่อ
เพราะถ้าเชื่อเท่ากับปฏิเสธพระเจ้าว่าไม่มีจริง)
นักวิทยาศาสตร์จอมปลอม นักทฤษฎีสมคบคิด
และนักศาสนศาสตร์ เชื่อว่าสะพานนี้สร้างขึ้น
โดยพระรามและกองทัพลิงจริง ๆ
เมื่อภาพถ่ายของ NASA ในภูมิภาค
ที่แสดงทางหลวงคดเคี้ยวที่หายไป
ในท้องทะเลที่ถูกเผยแพร่ในปี 2002
นักทฤษฎีสมคบคิดทางออนไลน์
ต่างพร้อมใจร่วมมือกันไล่ล่าห่านป่า
ผลัดกันนำผลัดกันตามผลัดกันอวยไส้แตก
ทฤษฎี ฝูงห่าน ผลัดกันนำ ผลัดกันตาม
เพื่อพยายามพิสูจน์ว่าเป็นโครงสร้าง
สะพานข้ามทะเลแห่งนี้เทพ/คนสร้างขึ้นมา
แม้ว่านักธรณีวิทยาจะพยายามหักล้าง
ตำนานเรื่องราวนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
แต่ก็ยังมีความคิดเห็นมากมาย
และความสับสนที่หลากหลาย
เกี่ยวกับธรรมชาติและที่มาของโครงสร้างนี้
มีทฤษฎีต่าง ๆ มากกว่าครึ่งโหล
ที่พยายามอธิบายโครงสร้าง
คุณลักษณะหนึ่งของสะพานนี้มาจาก
การสะสมของทรายอย่างต่อเนื่อง
และกระบวนการตกตะกอนตามธรรมชาติ
นำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มเกาะสันดอน
ในขณะที่อีกคนหนึ่งเสนอแนะว่า
สะพานอาจเป็นแนวชายฝั่งที่เก่าแก่
ที่ดินแดนทั้งสองของอินเดียและศรีลังกา
เคยเชื่อมติดต่อกันมาก่อนล่มสลายลง
ผลจากการศึกษาด้านต่าง ๆ
ได้อธิบายโครงสร้างนี้ว่า
เป็นห่วงโซ่ของหินโสโครก/สันดอน แนวปะการัง
แนวสันเขาที่ก่อตัวขึ้นมาในพื้นที่นี้
เป็นผลมาจากยกตัวขึ้นมาของเปลือกโลก
ทำให้เกิดสันดอนเชื่อมเกาะทั้งสอง หรือมาจาก
สันดอนจะงอยทราย/ชะวากทะเล Tombolo
แนวหินปะการังหรือพืดหินปะการังท้องทะเล
ปัญหาเรื่องสะพานพระรามนี้
เริ่มเผ็ดร้อนและแหลมคมยิ่งขึ้น
เมื่อรัฐบาลอินเดียเสนอให้ขุดลอก
สะพานพระรามส่วนหนึ่งออกไปจากทะเล
เพื่อสร้างเส้นทางเดินเรือในช่องแคบ
ที่ตื้นเขินระหว่างอินเดียและศรีลังกา
เพราะในตอนนี้ เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่
ต้องหลบหลีกไปมาระหว่าง
ชายฝั่งตะวันตกและตะวันออกของอินเดีย
หรือต้องเดินทางอ้อมเกาะศรีลังกา
ช่องแคบน้ำลึกที่ตัดใหม่แห่งนี้
จะเชื่อมต่อ Palk Strait กับ Gulf of Mannar
จะย่นระยะทางเดินเรือกว่า 400 กิโลเมตร
ประหยัดทั้งเงินประหยัดทั้งเวลา
แบบประโยชน์สูง ประหยัดสุด
(อินเดียได้ประโยชน์สูงสุด
เพราะเรือไม่ต้องอ้อมไกลกว่าเดิม)
.
.
.
.
.
แต่องค์กรฮินดูฝ่ายขวาจัด
กลับต่อต้านโครงการนี้อย่างแรง
โดยระบุว่าสะพานแห่งนี้เป็น
อนุสาวรีย์ทางศาสนาไม่ควรถูกทำลาย
จนถึงขณะนี้
โครงการดังกล่าวถูกระงับไป
แต่ด้วยเหตุผลที่สอดคล้องกันมากขึ้น
นักสิ่งแวดล้อมระบุว่า
การขุดลอกร่องน้ำจะทำลายปะการัง
ในขณะเดียวกันก็สร้างความเสียหาย
ให้กับแหล่งประมงในพื้นที่แห่งนี้
ทำให้ระบบนิเวศในภูมิภาคเสียสมดุล
นอกจากนี้ สันทรายยังช่วยป้องกันคลื่นสึนามิ
ที่เดินทางจากชายฝั่งตะวันออก
ไปยังชายฝั่งตะวันตกโดยธรรมชาติ
และในทางกลับกัน
ขณะนี้รัฐบาลอินเดียกำลังพิจารณา
เส้นทางอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับ
การทำลายสะพานพระรามแห่งนี้
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3MDGsOK
https://bit.ly/3D7Qox7
https://bit.ly/3D5dYKE
https://bit.ly/3F6jZZh
.
.
เรื่องเล่าไร้สาระ
คอคอดกระของไทย
มึบันทึกใน จดหมายเหตุลาลูแบร์ ว่า
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ พ.ศ. 2220
โดย เมอซิเออร์ เดอ ลา มาร์ (De La Mar)
วิศวกรชาวฝรั่งเศสที่เข้ามากับ
คณะราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ได้ทำการสำรวจเพื่อหาเส้นทางการค้า
ทางทะเลใหม่ระหว่างอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน
โดยจากการศึกษาพบว่า
สามารถขุดคลองข้ามคอคอดกระ
จากสงขลาเชื่อมไปยังทวายได้
ซึ่งรัฐบาลฝรั่งเศสเล็งเห็นความได้เปรียบ
ในประเด็นดังกล่าวจากการค้าเหนือกว่า
ชนชาติที่ควบคุมช่องแคบมะละกาในขณะนั้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวดัชต์และชาวโปรตุเกส
(ฝรั่งเศสได้มาสำรวจคลองเชื่อม 2 ฝั่งทะเล
มีร่องน้ำ/คลองโบราณที่กระบี่ ทะลุออกมาที่ชุมพร
เรือขนาดเล็กล่องได้กับแบกหามไปในบางจุด
มีร่องรอยการผลิตลูกปัดสินค้ายอดนิยมในอดีต)
ฝรั่งเศสก็จะขอขุดผูกขาดคลองกระ
แต่ยุติเพราะรัฐประหารโดยพระเพทราชา
กับ พระเจ้าเสือ อวชาตบุตรพระนารายณ์
ในรัชกาลที่ 1
สมเด็จพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทเจ้า
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)
จะขุดคลองยุทธศาสตร์ที่บริเวณอำเภอกระบุรี
เชื่อมทะเลฝั่งอันดามันกับอ่าวไทย
เพื่อใช้ประโยชน์ในการเดินเรือในการรบกับพม่า
โดยการนำทัพเข้าไปเสริมเมื่อ
เมืองชายฝั่งทะเลอันดามันถูกโจมตี
ซึ่งจะช่วยร่นระยะเวลาในการเดินเรือ
ที่เดิมจะต้องร่องเรือจากอ่าวไทยไปอ้อมช่องแคบมะละกา
โดยให้ความสำคัญกับการขุดคลอง
เพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงการทหารมากกว่าในด้านเศรษฐกิจ
ในรัชกาลที่ 3
อังกฤษก็มาเจรจาทาบทาม
ขอขุดคลองกระในสยามรัฐ แต่มาแบบมโนมาก
แถมเงื่อนไข/ข้อจำกัดหลายเรื่องมาก
ในรัชกาลที่ 4
มีการเปิดให้ยื่นข้อเสนอ
ความเห็นขุดตลองกระแบบเสรี
คู่เทียบแข่งกันคือ อังกฤษ กับ ฝรั่งเศส
เลยกลายเป็นสงครามน้ำลาย
กับสยามต้องเสียดินแดนฝั่งตะวันตกเพิ่ม
ในรัชกาลที่ 5
ฝรั่งเศสกลับมาอีกครั้ง
หลังประสบความสำเร็จในการขุดคลองสุเอซ
คลองฟาโรห์ปฐมบทคลองสุเอซ
.
กับไม่ยอมปล่อยเงินกู้ให้สร้างทางรถไฟสายใต้
กับต้องการดินแดนฝั่งตะวันตกเพิ่มขึ้นอีก
ทางสยามรัฐจึงตัองยุติเจรจากับฝรั่งเศส
และมีหลากหลายความเห็นมากในหมู่เสนาบดี
มีทั้งเห็นด้วยไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้
เรื่องหลักคือ กลัวเสียด้ามขวานให้อังกฤษ
มีการบันทึกไว้ส่วนหนึ่งในจดหมายเหตุ
ในรัชกาลที่ 6
เพิ่งจะสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1
อังกฤษ ฝรั่งเศส อยู่ในช่วงฟื้นฟูประเทศ
กับเหยียบย่ำเยอรมันให้จมลงไปในพิ้นดิน
ในรัชกาลทึ่ 7
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกยังไม่ฟื้นตัว
การค้าการขายซบเซาไปหมด
ถัาจะเจ๊งแน่ขืนขุดคลองกระ เลยหยุดคิด
ในรัชกาลที่ 8
มีในสนธิสัญญาสงบศึกไทย-อังกฤษ
เพื่อยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างกัน
ที่มาของคำว่า Siamese Talk แพ้แต่ไม่แพ้
เพราะเจอทึมนักกฎหมายระดับเมพ(เทพ)
จบจาก ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน
ดร.ปรึดี พนมยงค์ มรว.เสนีย์ ปราโมช
ดร.หยุด แสงอุทัย ทั้งสามท่านคือ แกนนำหลัก
วางแผนข้อกฎหมายต่อสู้กับฝรั่ง
ที่ยอมรับระบบนิติรัฐมากกว่าเผด็จการรัฐ
เมืองไทยตอนนั้นยังเป็นระบบรัฐสภาที่ถูกต้อง
การฟาดฝรั่งด้วยไม้หน้าสามของไทยมีดังนี้
การประกาศสงครามเป็นโมฆะ
เพราะคณะผู้สำเร็จราชการแทนรัชกาลที่ 8
ลงนามไม่ครบองค์คณะตามกฎหมาย
นายปรีดี พนมยงค์ อยู่ยุดยาตอนประกาศ
จากนั้นรีบออกกฎหมายอาชญากรสงคราม
กับตั้งศาลพิเศษพิจารณาคดีอาชญากรสงคราม
แต่มีคำพิพากษาศาลพิเศษ (ม้วนเดียวจบ) ว่า
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไม่มีความผิด
ฐานอาชญากรสงครามทึ่เขัาร่วมกับญึ่ปุ่น
เพราะกฎหมายไม่มึผลยัอนหลัง ส่วนที่เป็นโทษ
การฟ้องจำเลยในศาล 2 ครั้ง
กับความผิดประเภทเดียวกันอีกครั้ง
ทำไม่ได้ ไม่เป็นธรรม ตามหลักกฎหมายสากล
จอมพล ป. เลยไม่ตัองถูกส่งตัวให้พันธมิตร
แต่ในสนธิสัญญามึการระบุว่า
ห้ามสยามรัฐขุดคลองกระเด็ดขาด
ถ้าอังกฤษไม่ยินยอม เพราะท่าเรือปีนัง มะละกา
สิงคโปร์ อาณานิคมอังกฤษจะสูญเสียรายได้
เอกสารลับนี้อังกฤษเปิดเผยหลังครบ 50 ปีแล้ว
มีผู้นำมาแปลจากภาษาอังกฤษบางส่วน