คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02htwC6BUuWq52B2aG6p1Dwu459rpemsPTWKk2Avr8betMuvfKfyt7ajaKFJRVg4owl

จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 21 ส.ค. 2565)
รวม 142,467,918 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 21 สิงหาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 24,751 โดส
เข็มที่ 1 : 1,948 ราย
เข็มที่ 2 : 3,477 ราย
เข็มที่ 3 : 19,326 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,222,656 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,660,774 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 31,584,488 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02h6JVdeD96r36GShqJz8TkriavEh3Eum7d1fuoNYJL3c7UkdYpuh6CCUkvsjDtm4ml

ขอเชิญผู้ปกครอง พาบุตรหลาน อายุ 5-11 ปี ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น
● สำหรับกรณีน้องยังไม่เคยติดเชื้อโควิด 19
- ได้รับวัคซีนครบมาแล้ว 2 เข็ม ให้‘กระตุ้น’ หลังจากฉีดเข็มที่ 2 เวลา 3 เดือนขึ้นไป
● กรณีน้องที่เคยติดเชื้อโควิด 19
- ยังไม่เคยได้รับวัคซีน หรือ ได้รับมาแล้ว 1 เข็ม ให้‘กระตุ้น’ หลังจากการติดเชื้อ 3 เดือนขึ้นไป
- กรณีได้รับวัคซีนมาแล้ว 2 เข็ม ยังไม่แนะนำให้มารับวัคซีน
ที่มา สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid032CTUx7WHGYUjcM48GEemrsLYqzGtPyPvuFwb4CkXkdsZHMPaYoLFzT4245C8Mzbbl

สธ. ยืนยัน แยกกักรักษาโควิด 5 วัน สอดคล้องสถานการณ์จริง กลุ่มไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย แบบ 5+5
แยกกักรักษาที่บ้าน 5 วัน และป้องกันเข้มอีก 5 วัน เป็นการตัดสินใจบนข้อมูลข้อเท็จจริงทางวิชาการ
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ 11) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงแนวทางการรักษาโรคโควิด 19 กลุ่มไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยแบบ 5+5 ว่า การกำหนดให้แยกกักรักษา 5 วัน และเฝ้าระวังสังเกตอาการและเคร่งครัดมาตรการป้องกันตนเอง คือ สวมหน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่างอีก 5 วัน เป็นแนวทางการที่เป็นไปตามสถานการณ์ ถูกต้องตามหลักวิชาการ และผ่านคำปรึกษาของผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและสมดุลของการควบคุมโรคกับการใช้ชีวิตปกติสุขของประชาชน ทั้งนี้ มีข้อมูลการศึกษาในหลายประเทศ พบว่า ผู้ป่วยโรคโควิด 19 สามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มป่วย 1-2 วัน และวันเริ่มป่วยจะเป็นระยะที่มีโอกาสแพร่โรคให้ผู้อื่นได้มากที่สุด ซึ่งจำเป็นต้องแยกกักที่บ้าน เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อในชุมชน
การพิจารณาปรับระยะเวลาแยกกักที่บ้านลงนั้น เป็นการตัดสินใจบนข้อมูลข้อเท็จจริงทางวิชาการ ที่พบว่าการแยกกักที่บ้าน 5 วัน หรือ 7 วัน หรือนานกว่านั้น สามารถลดโอกาสเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อชุมชนไม่แตกต่างกัน ที่สำคัญคือ คนจำนวนมากฉีดวัคซีนแล้วทำให้มีภูมิคุ้มกันช่วยป้องกันอาการรุนแรง รวมถึงเมื่อทราบว่าตนเองติดเชื้อก็มีความรู้ความเข้าใจ และป้องกันตนเองอย่างเต็มที่ ดังนั้น การสังเกตอาการและเข้มมาตรการป้องกันตนเองเพิ่ม 3 วัน หรือ 5 วัน จึงไม่ได้แตกต่างกันมาก เพราะผู้ติดเชื้อจะมีการเฝ้าระวังตนเองไม่ให้แพร่เชื้อต่อ
ส่วนกลุ่มที่เราเป็นห่วง คือ กลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยหนัก หรือมีอาการรุนแรงหากติดเชื้อ ได้แก่ กลุ่ม 608 ที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนโควิดหรือยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น จึงต้องเน้นให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้น หากได้รับวัคซีนเข็มล่าสุดมาแล้วในช่วง 3-4 เดือน เพื่อคงระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคโควิด 19 นอกจากนี้ หากประชาชนยังคงร่วมมือกันสวมหน้ากากขณะทำกิจกรรมร่วมกันในกลุ่มคนจำนวนมาก หรือสวมหน้ากากขณะอยู่ในที่สาธารณะ รวมทั้งผู้ที่มีอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้ ไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ปวดตามตัว มีการสวมหน้ากาก ขณะอยู่ใกล้ชิดผู้อื่น จะช่วยลดการแพร่โรคได้
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02LfbGQLV5zDafwQKZSkmD4ypHixDDsj41a7oYAJzYVLJj87difPRCPudL2KTQoGAdl

เปิดให้บริการทุกวัน คนไม่เยอะ รอไม่นาน มาฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นกัน
ศูนย์ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 กรุงเทพมหานคร อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง เปิดให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 สำหรับอายุ 5 ปีขึ้นไป
ผู้ประสงค์รับวัคซีนสามารถเข้ารับบริการได้
โดยจะจองผ่านแอปฯ QueQ และรับวอล์คอิน (Walk in)
ทุกวัน เวลา 08.00 - 16.00 น.
เปิดให้บริการถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565
ที่มา กรุงเทพมหานคร
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0GxfeWi4nPVn71Qy1SVmeJXLabDdCgpi6GruTwymRFqktyT3cD3y6XFQ9q5Umkjqrl

สธ.ยืนยัน !!! ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงผู้ติดเชื้อฝีดาษวานร รายที่ 1 และ 2 ไม่พบผู้ติดเชื้อ แม้ตรวจเชื้อซ้ำ
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า พบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษวานรในประเทศแล้วจำนวน 5 ราย เป็นชาวต่างชาติ 2 ราย สัญชาติไทย 3 ราย โดยผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจากผู้ป่วยยืนยันรายแรก และรายที่สองครบ 21 วัน จำนวน 40 คน ไม่พบอาการป่วย และได้ตรวจหาเชื้อซ้ำ ไม่พบมีผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม ทั้งนี้โรงแรมที่ผู้ป่วยยืนยันไปเข้าพัก หลังจากทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม และเมื่อครบ 11 วัน ได้ตรวจเชื้อฝีดาษวานรอีกครั้ง ผลคือยังสามารถพบสารพันธุกรรมของเชื้อฝีดาษวานรได้ ซึ่งเป็นซากเชื้อที่ยังหลงเหลืออยู่ และจากการคัดกรองเชิงรุก ผู้ป่วยสงสัย จำนวน 58 ราย ผลตรวจยืนยันไม่พบเชื้อฝีดาษวานร โดยจากข้อมูลอาการป่วยของผู้ป่วยสงสัย พบว่าส่วนหนึ่งมีอาการป่วยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อ Herpes Simplex type 1 จำนวน 8 ราย (40%) Herpes Simplex type 2 จำนวน 3 ราย (15%) Herpes ชนิดอื่นๆ เช่น 6,7 จำนวน 3 ราย (15%) ติดเชื้อ Epstein Barr virus (EBV) 2 ราย (10%) ติดเชื้อ Syphilis และ Varicella zoster virus ชนิดละ 1 ราย รวม 2 ราย (10%) ซึ่งยังยืนยันว่าโรคฝีดาษวานรไม่ใช่โรคที่มีอาการรุนแรงหรือติดต่อได้ง่าย เช่น ผู้สัมผัสร่วมบ้านที่อยู่ด้วยกันเป็นสัปดาห์ ยังไม่มีใครติดเชื้อ กลุ่มเสี่ยงจึงได้แก่ผู้ที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ขอให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าวเพื่อเป็นการป้องกันและหยุดการแพร่ระบาด หากพบว่าตนเองหรือผู้ใกล้ชิดมีความเสี่ยงสูงสามารถติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับการตรวจหาเชื้อและวินิจฉัยโรค สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร. 1422
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0wRiiPmuYDDXEuA3jWzbMogBL1JQ1kShgCB9NsjRP6Z5eCHTfCz5vuAtqfZb4KYbil

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02htwC6BUuWq52B2aG6p1Dwu459rpemsPTWKk2Avr8betMuvfKfyt7ajaKFJRVg4owl

จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 21 ส.ค. 2565)
รวม 142,467,918 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 21 สิงหาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 24,751 โดส
เข็มที่ 1 : 1,948 ราย
เข็มที่ 2 : 3,477 ราย
เข็มที่ 3 : 19,326 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,222,656 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,660,774 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 31,584,488 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02h6JVdeD96r36GShqJz8TkriavEh3Eum7d1fuoNYJL3c7UkdYpuh6CCUkvsjDtm4ml

ขอเชิญผู้ปกครอง พาบุตรหลาน อายุ 5-11 ปี ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น
● สำหรับกรณีน้องยังไม่เคยติดเชื้อโควิด 19
- ได้รับวัคซีนครบมาแล้ว 2 เข็ม ให้‘กระตุ้น’ หลังจากฉีดเข็มที่ 2 เวลา 3 เดือนขึ้นไป
● กรณีน้องที่เคยติดเชื้อโควิด 19
- ยังไม่เคยได้รับวัคซีน หรือ ได้รับมาแล้ว 1 เข็ม ให้‘กระตุ้น’ หลังจากการติดเชื้อ 3 เดือนขึ้นไป
- กรณีได้รับวัคซีนมาแล้ว 2 เข็ม ยังไม่แนะนำให้มารับวัคซีน
ที่มา สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid032CTUx7WHGYUjcM48GEemrsLYqzGtPyPvuFwb4CkXkdsZHMPaYoLFzT4245C8Mzbbl

สธ. ยืนยัน แยกกักรักษาโควิด 5 วัน สอดคล้องสถานการณ์จริง กลุ่มไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย แบบ 5+5
แยกกักรักษาที่บ้าน 5 วัน และป้องกันเข้มอีก 5 วัน เป็นการตัดสินใจบนข้อมูลข้อเท็จจริงทางวิชาการ
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ 11) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงแนวทางการรักษาโรคโควิด 19 กลุ่มไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยแบบ 5+5 ว่า การกำหนดให้แยกกักรักษา 5 วัน และเฝ้าระวังสังเกตอาการและเคร่งครัดมาตรการป้องกันตนเอง คือ สวมหน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่างอีก 5 วัน เป็นแนวทางการที่เป็นไปตามสถานการณ์ ถูกต้องตามหลักวิชาการ และผ่านคำปรึกษาของผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและสมดุลของการควบคุมโรคกับการใช้ชีวิตปกติสุขของประชาชน ทั้งนี้ มีข้อมูลการศึกษาในหลายประเทศ พบว่า ผู้ป่วยโรคโควิด 19 สามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มป่วย 1-2 วัน และวันเริ่มป่วยจะเป็นระยะที่มีโอกาสแพร่โรคให้ผู้อื่นได้มากที่สุด ซึ่งจำเป็นต้องแยกกักที่บ้าน เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อในชุมชน
การพิจารณาปรับระยะเวลาแยกกักที่บ้านลงนั้น เป็นการตัดสินใจบนข้อมูลข้อเท็จจริงทางวิชาการ ที่พบว่าการแยกกักที่บ้าน 5 วัน หรือ 7 วัน หรือนานกว่านั้น สามารถลดโอกาสเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อชุมชนไม่แตกต่างกัน ที่สำคัญคือ คนจำนวนมากฉีดวัคซีนแล้วทำให้มีภูมิคุ้มกันช่วยป้องกันอาการรุนแรง รวมถึงเมื่อทราบว่าตนเองติดเชื้อก็มีความรู้ความเข้าใจ และป้องกันตนเองอย่างเต็มที่ ดังนั้น การสังเกตอาการและเข้มมาตรการป้องกันตนเองเพิ่ม 3 วัน หรือ 5 วัน จึงไม่ได้แตกต่างกันมาก เพราะผู้ติดเชื้อจะมีการเฝ้าระวังตนเองไม่ให้แพร่เชื้อต่อ
ส่วนกลุ่มที่เราเป็นห่วง คือ กลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยหนัก หรือมีอาการรุนแรงหากติดเชื้อ ได้แก่ กลุ่ม 608 ที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนโควิดหรือยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น จึงต้องเน้นให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้น หากได้รับวัคซีนเข็มล่าสุดมาแล้วในช่วง 3-4 เดือน เพื่อคงระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคโควิด 19 นอกจากนี้ หากประชาชนยังคงร่วมมือกันสวมหน้ากากขณะทำกิจกรรมร่วมกันในกลุ่มคนจำนวนมาก หรือสวมหน้ากากขณะอยู่ในที่สาธารณะ รวมทั้งผู้ที่มีอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้ ไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ปวดตามตัว มีการสวมหน้ากาก ขณะอยู่ใกล้ชิดผู้อื่น จะช่วยลดการแพร่โรคได้
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02LfbGQLV5zDafwQKZSkmD4ypHixDDsj41a7oYAJzYVLJj87difPRCPudL2KTQoGAdl

เปิดให้บริการทุกวัน คนไม่เยอะ รอไม่นาน มาฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นกัน
ศูนย์ฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 กรุงเทพมหานคร อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) เขตดินแดง เปิดให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 สำหรับอายุ 5 ปีขึ้นไป
ผู้ประสงค์รับวัคซีนสามารถเข้ารับบริการได้
โดยจะจองผ่านแอปฯ QueQ และรับวอล์คอิน (Walk in)
ทุกวัน เวลา 08.00 - 16.00 น.
เปิดให้บริการถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565
ที่มา กรุงเทพมหานคร
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0GxfeWi4nPVn71Qy1SVmeJXLabDdCgpi6GruTwymRFqktyT3cD3y6XFQ9q5Umkjqrl

สธ.ยืนยัน !!! ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงผู้ติดเชื้อฝีดาษวานร รายที่ 1 และ 2 ไม่พบผู้ติดเชื้อ แม้ตรวจเชื้อซ้ำ
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า พบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษวานรในประเทศแล้วจำนวน 5 ราย เป็นชาวต่างชาติ 2 ราย สัญชาติไทย 3 ราย โดยผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจากผู้ป่วยยืนยันรายแรก และรายที่สองครบ 21 วัน จำนวน 40 คน ไม่พบอาการป่วย และได้ตรวจหาเชื้อซ้ำ ไม่พบมีผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม ทั้งนี้โรงแรมที่ผู้ป่วยยืนยันไปเข้าพัก หลังจากทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม และเมื่อครบ 11 วัน ได้ตรวจเชื้อฝีดาษวานรอีกครั้ง ผลคือยังสามารถพบสารพันธุกรรมของเชื้อฝีดาษวานรได้ ซึ่งเป็นซากเชื้อที่ยังหลงเหลืออยู่ และจากการคัดกรองเชิงรุก ผู้ป่วยสงสัย จำนวน 58 ราย ผลตรวจยืนยันไม่พบเชื้อฝีดาษวานร โดยจากข้อมูลอาการป่วยของผู้ป่วยสงสัย พบว่าส่วนหนึ่งมีอาการป่วยจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อ Herpes Simplex type 1 จำนวน 8 ราย (40%) Herpes Simplex type 2 จำนวน 3 ราย (15%) Herpes ชนิดอื่นๆ เช่น 6,7 จำนวน 3 ราย (15%) ติดเชื้อ Epstein Barr virus (EBV) 2 ราย (10%) ติดเชื้อ Syphilis และ Varicella zoster virus ชนิดละ 1 ราย รวม 2 ราย (10%) ซึ่งยังยืนยันว่าโรคฝีดาษวานรไม่ใช่โรคที่มีอาการรุนแรงหรือติดต่อได้ง่าย เช่น ผู้สัมผัสร่วมบ้านที่อยู่ด้วยกันเป็นสัปดาห์ ยังไม่มีใครติดเชื้อ กลุ่มเสี่ยงจึงได้แก่ผู้ที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ขอให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าวเพื่อเป็นการป้องกันและหยุดการแพร่ระบาด หากพบว่าตนเองหรือผู้ใกล้ชิดมีความเสี่ยงสูงสามารถติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับการตรวจหาเชื้อและวินิจฉัยโรค สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร. 1422
ที่มา กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0wRiiPmuYDDXEuA3jWzbMogBL1JQ1kShgCB9NsjRP6Z5eCHTfCz5vuAtqfZb4KYbil
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭💛มาลาริน💛🇹🇭 22ส.ค.โควิดไทยอันดับที่29โลก/ป่วย1,531คน หาย2,298คน เสียชีวิต28คน/สธ.ยันกักโควิด 5 วันไม่ต่าง7วัน
https://www.bangkokbiznews.com/social/public_health/1022184
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ 11) และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงแนวทางการรักษาโรคโควิด-19 กลุ่มไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อยแบบ 5+5 ว่า การกำหนดให้แยกกักรักษา 5 วัน และเฝ้าระวังสังเกตอาการ เคร่งครัดมาตรการป้องกันตนเอง คือ สวมหน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่างอีก 5 วัน เป็นแนวทางการที่เป็นไปตามสถานการณ์ ถูกต้องตามหลักวิชาการ และผ่านคำปรึกษาของผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสมดุลของการควบคุมโรคกับการใช้ชีวิตปกติสุขของประชาชน
ทั้งนี้ มีข้อมูลการศึกษาในหลายประเทศ พบว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 สามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มป่วย 1-2 วัน และวันเริ่มป่วยจะเป็นระยะที่มีโอกาสแพร่โรคให้ผู้อื่นได้มากที่สุด ซึ่งจำเป็นต้องแยกกักที่บ้าน เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อในชุมชน
“ช่วงแรก เราใช้ระยะเวลา 14 วัน แต่เมื่อเชื้อมีความรุนแรงลดลง ประชาชนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีภูมิคุ้มกันจำนวนมาก ส่วนใหญ่จึงเป็นการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย และไม่ได้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ซึ่งเรามีคำแนะนำให้ตรวจเมื่อมีอาการ เพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติมากขึ้น และอยู่ร่วมกับโควิด-19 รวมถึงเดินหน้าสังคมและเศรษฐกิจต่อไปได้ จึงมีการลดระยะเวลาแยกกักรักษาเป็น 10 วันลดเหลือ 7+3 และขณะนี้เป็นแนวทางของ 5+5”
นพ.รุ่งเรือง กล่าวว่า การพิจารณาปรับระยะเวลาแยกกักที่บ้านลงนั้น เป็นการตัดสินใจบนข้อมูลข้อเท็จจริงทางวิชาการที่พบว่า การแยกกักที่บ้าน 5 วัน หรือ 7 วัน หรือนานกว่านั้น สามารถลดโอกาสเสี่ยงในการแพร่เชื้อต่อชุมชนไม่แตกต่างกัน ที่สำคัญคือ คนจำนวนมากฉีดวัคซีนแล้ว ทำให้มีภูมิคุ้มกันช่วยป้องกันอาการรุนแรง รวมถึงเมื่อทราบว่าตนเองติดเชื้อ ก็มีความรู้ความเข้าใจ และป้องกันตนเองอย่างเต็มที่ ดังนั้น การสังเกตอาการและเข้มมาตรการป้องกันตนเองเพิ่ม 3 วัน หรือ 5 วัน จึงไม่ได้แตกต่างกันมาก เพราะผู้ติดเชื้อจะมีการเฝ้าระวังตนเองไม่ให้แพร่เชื้อต่อ
“ส่วนกลุ่มที่เราเป็นห่วง คือ กลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยหนัก หรือมีอาการรุนแรงหากติดเชื้อ ได้แก่ กลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และสตรีมีครรภ์) ที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนโควิด หรือยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น จึงต้องเน้นให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้น หากได้รับวัคซีนเข็มล่าสุดมาแล้วในช่วง 3-4 เดือน เพื่อคงระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคโควิด-19”
นพ.รุ่งเรือง กล่าว
นอกจากนี้ หากประชาชนยังคงร่วมมือกันสวมหน้ากากขณะทำกิจกรรมร่วมกันในกลุ่มคนจำนวนมาก หรือสวมหน้ากากขณะอยู่ในที่สาธารณะ รวมทั้งผู้ที่มีอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้ ไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ปวดตามตัว มีการสวมหน้ากากขณะอยู่ใกล้ชิดผู้อื่น จะช่วยลดการแพร่โรคได้
โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (22 ส.ค. 65)
https://www.infoquest.co.th/2022/227132
ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ.....