ภารวรรคที่ ๓
๑. ภารสูตร ว่าด้วยขันธ์ ๕ เป็นภาระ
[๔๙] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง...
- ภาระ
- ผู้แบกภาระ
- เครื่องถือมั่นภาระ
- และเครื่องวางภาระ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภาระเป็นไฉน?
พึงกล่าวว่า...
-
ภาระ คืออุปาทานขันธ์ ๕
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ
อุปาทานขันธ์ คือรูป
อุปาทานขันธ์ คือเวทนา
อุปาทานขันธ์ คือสัญญา
อุปาทาน ขันธ์ คือสังขาร
และอุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาระ.
[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้แบกภาระเป็นไฉน?
พึงกล่าวว่า....
บุคคล บุคคลนี้นั้น
คือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าผู้แบกภาระ.
[๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เครื่องถือมั่นภาระเป็นไฉน?
ตัณหานี้ใด
นำให้เกิดภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน
มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์ นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าเครื่องถือมั่นภาระ.
[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การวางภาระเป็นไฉน?
ความที่ตัณหานั่นแลดับไป ด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการวางภาระ.
พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง แล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกในภายหลังว่า
[๕๓] ขันธ์ ๕ ชื่อว่าภาระแล และผู้แบกภาระคือบุคคล
เครื่องถือมั่น ภาระเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ในโลก
การวางภาระเสียได้เป็นสุข บุคคลวางภาระหนักเสียได้แล้ว
ไม่ถือภาระอื่น ถอนตัณหาพร้อม ทั้งมูลรากแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้วดังนี้.
จบ สูตรที่ ๑.
https://etipitaka.com/read/thai/17/25/
สรุป... <----อันนี้เป็นความเข้าใจของผม...หากมีคำแนะนำ-หรือ-เห็นต่าง..นำหลักฐานมาแสดง...ก็ยินดีเลยครับ
1.
ภาระ ...................= อุปาทานขันธ์๕ <---ไม่ใช่ขันธ์๕...มันต่างกันอยู่นะ
ผู้แบกภาระ ..........= บุคคล = สัตว์ = ผู้มีอุปาทาน = ผู้ทีมีทุกข์ ( อุปาทานขันธ์๕ = ทุกข์ )
เครื่องถือมั่นภาระ..= ตัณหาที่ยังมีอยู่
เครื่องวางภาระ.....= การกลดับของตัณหา
จะเห็นได้มันมี " บุคคล "....ผู้แบกภาระ..คือแบกอุปาทานขันธ์๕...อยู่
ไม่ใช่ขันธ์๕..มันมีอุปาทานของมันได้เอง
2 .
ดังนั้นการไปกล่าวว่า " สัตว์-บุคคล..ไม่มี "....อันนี้มันจะถูกหรือ?
สัตว์-บุคคลนะมีอยู่ในขันธ์๕..สำหรับผู้ที่มีอุปาทาน
ดังนั้น จึงมีการสอนให้ถอนตัณหาอุปาทานออกจากความมีความเป็นในอุปาทานขันธ์
ถ้าไม่มีตั้งแต่แรก...แล้วจะไปถอนอะไร???
ผมจะยกอุปามานะ... ดังนี้
หากประเทศหนึ่งออกกฏหมายว่าห้ามเล่นการพนัน
แล้วมีคนมาแสดงความเห็นว่า..ออกกฏหมายอย่างนี้มาได้อย่างไร
เพราะการเล่นการพนันมันผิดศีลธรรม.... เรารู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ควร...
เมื่อเรารู้ว่าไม่ควร---มันก็จะไม่มีการเล่นการพนัน
ก็การที่ท่านออกกฏหมายห้ามเล่นการพนันนี่ก็เท่ากับ...ท่านมากล่าวหากพวกเราว่าเล่นการพนัน
และยอมรับว่ามีการเล่นการพนัน
"
นี่ท่านไม่รู้หรอกหรือว่า...การเล่นการพนันมันไม่ดี ซึ่งพวกเรารู้ดีว่า...มันไม่ดี.."
3. มีคนถามว่า ก็ขันธ์๕...มันเกิด-ดับ..อย่างนี้ " สัตว์ "....มันจะเกิดดับหรือไม่
คำตอนนี้เป็นคำตอบของผม...แต่ผมอ้างอิงพระสูตร ว่า
" สัตว์...มันไม่ตายหรอก มันจะตายก็เมื่อนิพพานนั่นหละ เราจึงต้องทนทุกข์ในสังสารวัฏอย่างยาวนาน "
คำถามว่า แล้วสัตว์...มันเกิดมาได้อย่างไร?
คำตอบก็คือ มันเกิดมาได้เพราะมีการไปมี ฉันทะ-ราคะ-นันทิ-ตัณหา...ใน...รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ
คำถามว่า แล้วสัตว์...มันเกิดมาตั้งแต่เมื่อไร?
คำตอบก็คือ นามมากๆๆๆๆๆ จนพระศาสดาท่านกล่าวว่า " เบื้องต้นไม่ปรากฏ.. "
คำถามว่า แล้วก่อนที่จะเป็น...สัตว์...มันคืออะไร?
คำตอบก็คือ ไม่รู้.. แต่มันมันมีสภาวะก่อนที่จะเป็น " สัตว์ "
เพราะพระศาสดาท่านกล่าวว่า " ก่อนนี้..อวิชชามิได้มี...แต่ภายหลังจึงมี.."
4. จาก ถาม-ตอบ ในข้อ 3...
ทำให้ผมมาคิดเรื่อง..อวิชขา - วิชชา....ว่ามี 4 สภาวะ คือ...
- สภาวะที่...ไม่มีอวิชชา...และ...ไม่มีวิชชา <---------ก่อนได้สภาวะ " สัตว์ "
- สภาวะที่... มีอวิชชา...และ...ไม่มีวิชชา <----------ปุถุชนผู้ที่มิได้สดับ
- สภาวะที่... ยังมีอวิชชาบางส่วน...และ...มีวิชชามากส่วน <---อริยสาวกผู้ได้สดับ
- สภาวะที่... มีวิชชา...และอวิชชาดับไป <----อรหันต์
" สัตว์ "---ตอนที่ 6 :...สัตว์-บุคคล...ในขันธ์๕..มีกล่าวมีสอน....ทำไม่ว่าไม่มี..หละ?
ภารวรรคที่ ๓
๑. ภารสูตร ว่าด้วยขันธ์ ๕ เป็นภาระ
[๔๙] พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง...
- ภาระ
- ผู้แบกภาระ
- เครื่องถือมั่นภาระ
- และเครื่องวางภาระ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับสนองพระพุทธดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภาระเป็นไฉน?
พึงกล่าวว่า...
- ภาระ คืออุปาทานขันธ์ ๕
อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? คือ
อุปาทานขันธ์ คือรูป
อุปาทานขันธ์ คือเวทนา
อุปาทานขันธ์ คือสัญญา
อุปาทาน ขันธ์ คือสังขาร
และอุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาระ.
[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้แบกภาระเป็นไฉน?
พึงกล่าวว่า....
บุคคล บุคคลนี้นั้น คือ ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าผู้แบกภาระ.
[๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เครื่องถือมั่นภาระเป็นไฉน?
ตัณหานี้ใด นำให้เกิดภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน
มีปกติเพลิดเพลินยิ่งในภพหรืออารมณ์ นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าเครื่องถือมั่นภาระ.
[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การวางภาระเป็นไฉน?
ความที่ตัณหานั่นแลดับไป ด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความพ้น ความไม่อาลัย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าการวางภาระ.
พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง แล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกในภายหลังว่า
[๕๓] ขันธ์ ๕ ชื่อว่าภาระแล และผู้แบกภาระคือบุคคล
เครื่องถือมั่น ภาระเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ในโลก
การวางภาระเสียได้เป็นสุข บุคคลวางภาระหนักเสียได้แล้ว
ไม่ถือภาระอื่น ถอนตัณหาพร้อม ทั้งมูลรากแล้ว เป็นผู้หายหิว ดับรอบแล้วดังนี้.
จบ สูตรที่ ๑.
https://etipitaka.com/read/thai/17/25/
สรุป... <----อันนี้เป็นความเข้าใจของผม...หากมีคำแนะนำ-หรือ-เห็นต่าง..นำหลักฐานมาแสดง...ก็ยินดีเลยครับ
1. ภาระ ...................= อุปาทานขันธ์๕ <---ไม่ใช่ขันธ์๕...มันต่างกันอยู่นะ
ผู้แบกภาระ ..........= บุคคล = สัตว์ = ผู้มีอุปาทาน = ผู้ทีมีทุกข์ ( อุปาทานขันธ์๕ = ทุกข์ )
เครื่องถือมั่นภาระ..= ตัณหาที่ยังมีอยู่
เครื่องวางภาระ.....= การกลดับของตัณหา
จะเห็นได้มันมี " บุคคล "....ผู้แบกภาระ..คือแบกอุปาทานขันธ์๕...อยู่
ไม่ใช่ขันธ์๕..มันมีอุปาทานของมันได้เอง
2 . ดังนั้นการไปกล่าวว่า " สัตว์-บุคคล..ไม่มี "....อันนี้มันจะถูกหรือ?
สัตว์-บุคคลนะมีอยู่ในขันธ์๕..สำหรับผู้ที่มีอุปาทาน
ดังนั้น จึงมีการสอนให้ถอนตัณหาอุปาทานออกจากความมีความเป็นในอุปาทานขันธ์
ถ้าไม่มีตั้งแต่แรก...แล้วจะไปถอนอะไร???
ผมจะยกอุปามานะ... ดังนี้
หากประเทศหนึ่งออกกฏหมายว่าห้ามเล่นการพนัน
แล้วมีคนมาแสดงความเห็นว่า..ออกกฏหมายอย่างนี้มาได้อย่างไร
เพราะการเล่นการพนันมันผิดศีลธรรม.... เรารู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ควร...
เมื่อเรารู้ว่าไม่ควร---มันก็จะไม่มีการเล่นการพนัน
ก็การที่ท่านออกกฏหมายห้ามเล่นการพนันนี่ก็เท่ากับ...ท่านมากล่าวหากพวกเราว่าเล่นการพนัน
และยอมรับว่ามีการเล่นการพนัน
" นี่ท่านไม่รู้หรอกหรือว่า...การเล่นการพนันมันไม่ดี ซึ่งพวกเรารู้ดีว่า...มันไม่ดี.."
3. มีคนถามว่า ก็ขันธ์๕...มันเกิด-ดับ..อย่างนี้ " สัตว์ "....มันจะเกิดดับหรือไม่
คำตอนนี้เป็นคำตอบของผม...แต่ผมอ้างอิงพระสูตร ว่า
" สัตว์...มันไม่ตายหรอก มันจะตายก็เมื่อนิพพานนั่นหละ เราจึงต้องทนทุกข์ในสังสารวัฏอย่างยาวนาน "
คำถามว่า แล้วสัตว์...มันเกิดมาได้อย่างไร?
คำตอบก็คือ มันเกิดมาได้เพราะมีการไปมี ฉันทะ-ราคะ-นันทิ-ตัณหา...ใน...รูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณ
คำถามว่า แล้วสัตว์...มันเกิดมาตั้งแต่เมื่อไร?
คำตอบก็คือ นามมากๆๆๆๆๆ จนพระศาสดาท่านกล่าวว่า " เบื้องต้นไม่ปรากฏ.. "
คำถามว่า แล้วก่อนที่จะเป็น...สัตว์...มันคืออะไร?
คำตอบก็คือ ไม่รู้.. แต่มันมันมีสภาวะก่อนที่จะเป็น " สัตว์ "
เพราะพระศาสดาท่านกล่าวว่า " ก่อนนี้..อวิชชามิได้มี...แต่ภายหลังจึงมี.."
4. จาก ถาม-ตอบ ในข้อ 3...
ทำให้ผมมาคิดเรื่อง..อวิชขา - วิชชา....ว่ามี 4 สภาวะ คือ...
- สภาวะที่...ไม่มีอวิชชา...และ...ไม่มีวิชชา <---------ก่อนได้สภาวะ " สัตว์ "
- สภาวะที่... มีอวิชชา...และ...ไม่มีวิชชา <----------ปุถุชนผู้ที่มิได้สดับ
- สภาวะที่... ยังมีอวิชชาบางส่วน...และ...มีวิชชามากส่วน <---อริยสาวกผู้ได้สดับ
- สภาวะที่... มีวิชชา...และอวิชชาดับไป <----อรหันต์