กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดแถลงข่าวสรุปผลงานเด่น ปี 2563 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เปิดเผยถึงเรื่องการนำยานอวกาศไปดวงจันทร์อีกครั้ง หลังเป็นกระแสเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ยืนยัน นักวิทยาศาสตร์ไทยทำได้ พร้อมกับเผยรายละเอียดให้ทีมข่าวฟัง
โดยบอกว่า การพัฒนาสร้างยานอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์ ภายใน 7 ปี เป็นหนึ่งในแผนงานปี 2564 เพราะคนไทยมีคนที่มีความสามารถและทักษะในทางดาราศาสตร์ ที่สามารถพัฒนาต่อยอดในการทำดาวเทียมและยานอวกาศ
ปัจจุบันไทยทำดาวเทียมขนาด 1-5 กิโลกรัม ที่ส่งขึ้นไปโคจรในประเทศอยู่แล้ว และโดยในอีก 4 ปีต่อจากนี้มีแนวโน้มที่จะผลิตดาวเทียมด้วยเทคโนโลยีศักยภาพสูง ให้มีความทันสมัยมากขึ้นในขนาด 50-100 กิโลกรัม หลังจากทำสำเร็จก็จะเดินหน้าต่อเนื่องทำยานอวกาศขนาดประมาณ 300 กิโลกรัม เพื่อเป้าหมายในการโคจรรอบดวงจันทร์
หากดูจากภาพกราฟิกที่ทีมข่าวพยายามแสดงออกมาจากข้อมูลที่ระบุ จะพบว่า น้ำหนักของยานอยู่ที่ 150 กิโลกรัม และอีก 150 กิโลกรัม จะเป็นน้ำหนักของซีนอนและแก๊ส ที่จะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทำปฏิกิริยากับซีนอนแล้วเปลี่ยนเป็นพลังงาน ที่จะขับเคลื่อนด้วยความเร็ว 11 กิโลเมตร/วินาที เพื่อทะลุวงโคจรของโลก เมื่อยานเข้าใกล้ดวงจันทร์ก็จะปรับเป็นความเร็ว 2 กิโลเมตร/วินาที ทำการโคจรรอบดวงจันทร์ ภายในระยะเวลา 1 ปี โดยมีระบบบังคับจากโลก เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ
พี่ๆค่ะช่วยหนูคิดวีธีการโต้เเย้งหน่อยได้ไหมคะ
โดยบอกว่า การพัฒนาสร้างยานอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์ ภายใน 7 ปี เป็นหนึ่งในแผนงานปี 2564 เพราะคนไทยมีคนที่มีความสามารถและทักษะในทางดาราศาสตร์ ที่สามารถพัฒนาต่อยอดในการทำดาวเทียมและยานอวกาศ
ปัจจุบันไทยทำดาวเทียมขนาด 1-5 กิโลกรัม ที่ส่งขึ้นไปโคจรในประเทศอยู่แล้ว และโดยในอีก 4 ปีต่อจากนี้มีแนวโน้มที่จะผลิตดาวเทียมด้วยเทคโนโลยีศักยภาพสูง ให้มีความทันสมัยมากขึ้นในขนาด 50-100 กิโลกรัม หลังจากทำสำเร็จก็จะเดินหน้าต่อเนื่องทำยานอวกาศขนาดประมาณ 300 กิโลกรัม เพื่อเป้าหมายในการโคจรรอบดวงจันทร์