จะทำอย่างไร ให้หมดสิ้นเวรกรรมกับแม่ตัวเองได้ มีวิธีไหมที่ชาตินี้เเละชาติหน้าไม่ต้องพบเจอกันอีก

ดีขึ้นมากแล้วค่ะ ขอบคุณที่เเบ่งปัน จะนำคำแนะนำดีๆ ไปปรับใช้ค่ะ

เชื่อว่า ทุกคนคงมีเจ้ากรรมนายเวร และก็ไม่ใช่เราคนเดียวที่เจอค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
มีวิธี ให้ สิ้นเวร กับเจ้ากรรมนายเวร ตัวใหญ่ๆ ประจำชีวิตเราอยู่นะคะ

แต่การจะตัดขาดกันจริงๆ น่ะ มันต้องใช้กำลังจิตที่กล้าแข็งมาก
ไม่ใช่แค่ความนึกคิด หรือ การพูดขออโหสิกรรมต่อกันเฉยๆ
แม้ทั้งคู่ จะยอมอโหสิกรรมต่อกันดีๆ ยามอารมณ์ดี ก็ไม่ทำให้วิบากร้ายๆ ขาดสะบั้นไปได้เพียงเพราะวาจาหรอกค่ะ

กรณีที่เจ้ากรรมนายเวร เป็นคนในครอบครัว ให้อาศัย ความนิ่งของใจ และ การให้ ค่ะ
เมื่อให้ถึงจุดๆหนึ่ง เสมอต้นเสมอปลายในความดี จนกระทั่ง  วิบากสิ้นผล
พวกเขาจะมีความเกรงใจมากขึ้นเรื่อยๆ  

หลักการมีเพียงสั้นๆ ง่ายๆ แค่นี้เองค่ะ
การจะปฏิบัติไปให้ถึงขั้นที่เรียกว่า อโหสิกรรมต่อกันโดยบริบูรณ์นั้น ทำได้ยากมากสำหรับปุถุชน แต่ไม่ยากเกินไป สำหรับกัลยาณชนค่ะ

วิธีต่อไปนี้ คุณลองนำเอาไปปรับใช้ดูนะคะ  เริ่มจากเบาๆก่อน เอาเท่าที่ไหวก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มเลเวลขึ้นไปเรื่อยๆค่ะ

1. ไม่โกรธตอบ
_ที่แม่เล่า เรื่องราวต่างๆให้คุณฟัง แล้วคุณพูดไปแบบนั้น เราคนนอก มองแบบเป็นกลางเข้าไป ก็เข้าใจได้ค่ะ ว่าแม่จะด่าคุณกลับ

คนบางคน มาพูดมาระบาย ไม่ใช่เพื่อต้องการให้เตือนสติ แต่พูดเพื่อหาพวก หาคนเข้าข้าง หรือ หาคนช่วยด่าคู่กรณี
คุณน่าจะรู้นิสัยแม่ตัวเองมานานแล้ว / จึงไม่มีเหตุผลใด ที่คุณต้องพูดออกไปแบบนั้นค่ะ คราวหน้า แค่รับฟังเฉยๆก็พอ
และการรับฟัง ไม่จำเป็นต้องทนฟังทุกเรื่อง ฟังผ่านๆหู ทำอย่างอื่นไปด้วยก็ได้ จะได้ไม่เสียงาน เสียเวลา

คนที่พล่ามระบายน่ะ มักจะเล่าเรื่องวนไปวนมา จับใจความแป๊ปเดียว เราก็สามารถรู้ได้แล้วล่ะ ว่าเรื่องอะไร

ก็แค่ฟังจนจบ กล่าวแสดงความเห็นใจเล็กน้อย และขอตัวไปทำงานต่อ  _ความขัดแย้งตรงนี้จะหมดไปค่ะ_

1.1 การจะไม่โกรธตอบใครได้ ก็เพราะเข้าใจธรรมชาติของเขาอย่างแจ้งชัด ว่าเขาเป็นแบบนี้มานานแล้ว หรือ เพิ่งเป็นเพราะมีเหตุใดไปกระตุ้น

1.2 อย่าคิดว่า ตนจะมีอำนาจใด ไปเปลี่ยนนิสัยใครได้ เพราะนิสัยตัวเราเองที่เราไม่ชอบตัวเองในบางเรื่อง ยังเปลี่ยนได้ยาก

2. ให้อภัย ด้วยใจที่เมตตา และ ไม่ถือสาหาความ

ข้อนี้แหละ ทำได้ยากที่สุด

สำหรับเจ้ากรรมนายเวรที่สร้างทุกข์ สร้างโทษ สร้างโทสะให้เกิดขึ้นในใจได้บ่อยเท่าไหร่  / เรายิ่งต้องมีสกิลของการให้อภัย คล่องแคล่วเท่านั้น

คนปกติทั่วไป ครั้งสองครั้ง ยังพอหยวนๆไปได้ ไม่เอาความได้

แต่พอถึงครั้งที่ สาม สี่ ห้า …. สองร้อย … ห้าพัน … หกหมื่น
ใครยังทนอยู่ได้บ้าง ตรงนี้แหละ ที่จะใช้มาวัดใจ … ว่าเราคู่ควรที่จะผ่านคู่เวรไปได้ไหม

_____เวร ย่อมระงับได้ ด้วยการไม่จองเวร_____

ถอดความมาก็คือ เราจะให้อภัย และ ไม่ถือสา คู่กรณีเราได้ ในเลเวลไหน ?

สูงสุด คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า _ ท่านมีวิธี ชนะ คู่เวรท่านด้วยน้ำพระทัยแบบใด ?
หรือ เลเวล ถัดๆมา เราก็ลองเทียบดู ประวัติครูบาอาจารย์ ท่านผ่านมาได้อย่างไร ?

เราเอง จะอภัยให้ถึงระดับนั้นได้ไหม ?
ถ้ายังไม่ได้

ที่เราบอกว่า เราทำ “ดีทุกอย่างแล้ว” น่ะ ดีพอไหม ?

คีย์สำคัญอยู่ตรงนี้จริงๆ เลยค่ะ “ ดีให้พอ” … พอที่ใจเราจะใสสว่าง และ สงัด จาก กิเลส คือ บรรดาโทสะ ที่จะเกิดขึ้น
เมื่อ ทำ “ตรงดี / ถึงดี / ถูกดี และ พอดีพอเหมาะกับใจตน”  ใจจะมีความเมตตา ออกมาเองโดยอัตโนมัติ

และการจะทำให้ได้ผลจริง ต้องอาศัยทั้งกำลัง ในด้านของ สมาธิ และ ปัญญา ประกอบกันค่ะ
อ่อนในส่วนใดส่วนหนึ่ง ก็จะทำไปไม่ได้ตลอด จะกลับมาบ่น ด้วยใจที่กรุ่นด้วยโทสะเหมือนเดิม

สรุป : สังเกต จิตใจตัวเองนะคะ ว่า ขณะนี้ เป็นกุศล หรือ อกุศล  แล้วมีความเพียร ที่จะละอกุศล และเจริญกุศลเนืองๆ
จิตที่ทรงพลังดีแล้ว ถึงจะเอาชนะ วิบากเก่าๆ ที่เจ้ากรรมนายเวรมาร้องขอให้ชดใช้หนี้ ได้หมดสิ้นค่ะ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่