รีวิวการใช้งาน Mechanical keyboard (2 ยี่ห้อ) และ Optical-Mechanical (1 ยี่ห้อ)
จากการทดลองพิมพ์งาน โดยใช้ Corsair K68 Cherry MX red switch
เทียบกับ Cooler master CK351 Optical-mechanical LK-Dacro Brown switch
เทียบกับ Fantech MK852 Otemu Brown switch
โดยใช้งานยี่ห้อละประมาณ 1 วันเต็มๆ (Fantech 6 เดือน แล้วจึงงอกออกมาอีก 2) พิมพ์งานทั้งวัน เล่นเกมส์ทั้งวัน (เกมส์ไม่มากเท่าพิมพ์งาน)
ประเด็นหลักๆ ที่จะพูดถึงคือ การใช้งาน ฟีลลิ่ง และจะไม่พูดถึง Option อันแสนมากมาย, Software หรือ Driver ที่ให้มากับ Keyboard เพราะอันนี้สามารถไปหาอ่านจากใน Google ได้เลย มีเยอะแยะ และขอพิมพ์ยืดยาวหน่อย สำหรับคนชอบอ่าน
จุดประสงค์ในการรีวิวคือ
1. ก่อนที่จะซื้อ เข้าใจว่า ทุกๆ คนคงอยากเปรียบเทียบ รู้ข้อดี-ข้อเสีย ของสินค้าก่อนที่จะเสียเงินซื้อมัน เพราะมันก็ไม่ใช่ถูกๆ
2. สำหรับคนที่อยากรู้ความแตกต่าง ในรูปแบบของ "ฟีลลิ่ง" ในการพิมพ์และประสบการณ์การใช้งาน
ทำความเข้าใจกันก่อนรีวิว
1. ผมไม่ใช่ผู้รอบรู้ด้านคอมพิวเตอร์ แค่เป็นคนทำงานหาเช้ากินค่ำปกติ ไม่มีอะไรพิเศษกว่าคนธรรมดา
2. อยากจะแชร์ประสบการณ์การใช้งาน เพื่อที่ผู้อ่านจะได้รู้ เข้าใจ ก่อนจะเสียเงินซื้อสินค้า
3. ผมไม่ได้เงินจากผู้ผลิต ทุกอย่างซื้อเอง ฉะงั้น ดี ก็บอกว่าดี ไม่ดี ก็บอกกันตรงๆ ชัดเจนเข้าใจง่ายไม่ต้องแปล
4. รีวิวจาก ความคิดเห็นส่วนตัว และสิ่งที่คิดว่า "เหมาะสมกับตัวเอง เท่านั้น" และอยากให้ผู้อ่านพิจารณากันเอาเอง ว่าอะไรเหมาะสมกับตัวเอง หรือไม่เหมาะสม
Corsair K68
Fantech MK852
CoolerMaster Ck351
เปรียบเทียบ
1. ฟีลลิ่งในการกด เรียงจาก ดี > พอใช้ --> Cherry MX > Otemu >LK Dacro ของ Corsair ถึงจะเป็น Red switch ก็มีความหน่วงมือที่ดี เสียงเงียบ ถ้าเทียบกับ Outemu แล้ว Switch ของ Cherry MX จะให้ฟีลลิ่งในการกดที่ดีกว่ามาก ส่วน optical switch ของ Dacro ฟีลลิ่งในการกดจะไม่เท่าทั้ง 2 ตัวเลย ดูปลอมๆ บางทีก็คิดว่าเกือบๆจะเหมือน Membrane switch อยู่แล้ว (แต่ยังไงๆ ก็ยังดีกว่าอยู่) แต่ว่าแรงที่ใช้กดลงไปจะใช้แรงน้อยกว่า และเวลาเล่นเกมส์ สวิชต์แบบ Optical จะให้ความรู้สึกในการกดที่เร็ว และลื่นไหลกว่า
2. ปุ่ม Corsair มีความเสถียรในการกดปุ่มมากกว่ายี่ห้ออื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ทำให้เวลากด เวลาพิมพ์ มีฟิลลิ่งที่ดีกว่ามากๆ
3. Switch ของ Cherry MX มีความลื่น และมีการตอบสนองอย่างเป็นธรรมชาติมากกว่ายี่ห้ออื่นๆ เวลาพิมพ์งานไปนานๆแล้วไม่เมื่อย มีความมันกว่า
4. น้ำหนักตัวคีย์บอร์ด ของ Corsair เอง หนักมากกว่ายี่ห้ออื่นๆ ทำให้มีความเสถียรในการวางสูง (แต่บางคนอาจจะเป็นปัญหา เพราะบางทีต้องมีการเคลื่อนย้าย เพื่อวางเอกสาร หรือตรวจเอกสาร) ไล่เรียงหนัก > เบา จะเป็น Corsair > Cooler master > Fantech (Fantech เป็นพลาสติกล้วน เลยเบากว่าอันอื่น)
5. เสียงปุ่มกด เพราะ ฟังดูดีสุด เรียงลำดับ เพราะมาก-น้อย Corsair > Fantech > Cooler master
5. Keycaps ของ Corsair ถอดง่ายมาก ไม่ต้องใช้ตัวดึง Keycaps เลย ทำให้เปลี่ยนง่าย ทำความสะอาดง่าย แค่ใช้มือดึงธรรมดาๆ ตัดปัญหาเรื่องลืม Keycaps puller ไปได้เลย
6. ปุ่ม Corsair กับ Cooler master ไฟลอดดีทั้ง 2 ภาษา สวย Laser keycaps มาทั้งอังกฤษและไทย ส่วนปุ่ม fantech แต่ตัวภาษาไทยจะปริ้นเอา ทำให้ไฟไม่ลอดตัวภาษาไทย มองแล้วบางทีเวียนหัว (ก็แน่นอนแหละราคามันต่างกันนี่)
7. Corsair และ Cooler master ปรับสีไฟ RGB ได้หลากหลาย 16.7 ล้านสี ส่วน Fantech เป็นไฟ RGB แต่ปรับสีไม่ได้ ส่วนฟังก์ชันแสงนิ่ง แสงแดนซ์ มีเหมือนกัน
ข้อสังเกต
1. Wrist rest ที่แถมมาของ Corsair ใช้งานอะไรไม่ได้ อันเล็กไป ไม่ได้วางเลย และแข็ง (Wrist rest ของ Cooler master ดีสุด นุ่ม และรองข้อมือได้จริงๆ ส่วน Fantech ไม่มี)
รูปบน Corsair รูปล่าง Cooler master

2. Keycaps ของ Corsair ที่ถอดง่ายมาก และก็หลุดง่ายมากเช่นกัน ถ้าวางตำแหน่งใช้งาน ไม่มีปัญหา แต่จะหลุดง่ายตอนยกเช็ดทำความสะอาด หรือบางทีถ้ากดปุ่มแบบ กดแล้วปล่อยให้หลุดจากนิ้วทันที (เกิดขึ้นไม่บ่อย แต่ก็มีโอกาสอยู่) จะเด้งหลุดออกมาเลย ตอนถือไปๆ มาๆ แนะนำให้ใส่ซองพลาสติก หรือกล่อง ที่แถมมาด้วยจะดีกว่า เพื่อป้องกัน keycaps หลุดหาย (ขี้เกียจซื้อใหม่ แพง และเสียเวลา บางทีจะทำงาน Keycaps หาย เอิ่ม...)
3. ตัวอักษรภาษาอังกฤษของ Corsair มันตัวใหญ่ไป เวลาดูและมันมึนๆ หัว ตอนที่เราพิมพ์ภาษาไทย ของ Cooler master กับ Fantech โอเค เป็นแบบธรรมดาๆ เหมือนคีย์บอร์ดที่เราคุ้นเคยทั่วๆไป แต่ถ้าใช้ๆไปคงชินไปเอง
4. Corsair K68 และ Fantech MK852 เปลี่ยน Switch ไม่ได้ (แต่คิดว่าไม่ใช่ปัญหา เพราะว่าไม่คิดจะเปลี่ยนอยู่แล้ว เสียดายเงิน เสียดายเวลามานั่งเปลี่ยน อีกอย่างเปลี่ยนคีย์บอร์ดไปเลย เมื่อถึงเวลาง่ายกว่า เพราะยังไงก็เบื่ออยู่ดี)
5. Corsair ราคาที่สูงกว่ายี่ห้ออื่นๆและเปลี่ยนสวิชท์ไม่ได้ แต่ก็ยังได้บาง Option เพิ่มมาเช่น ปุ่ม Multimedia แบบแยก (ซึ่งของ Fantech มันก็มี) ส่วนของ Cooler master ไม่มี แต่เปลี่ยน Switch ได้
6. ด้วยความที่ Corsair และ Fantech ยังเป็น Mechanical keyboard เพียวๆ ทำให้เวลากด จะยังมีเสียงดังแก๊งๆ ของสปริงอยู่ (ไม่ก็ทองแดงที่เป็นขั้วสวิชต์) ส่วนของ Optical switch ใน Cooler master จะไม่มีเสียงนี้
7. ในการใช้พิมพ์งานทั่วๆ ไป ไม่รู้สึกว่า Mechanical switch กับ Optical switch ตอบสนองต่างกัน เรียกได้ว่าเหมือนกันเลยดีกว่า
8. ฟีลลิ่งของ Mechanical switch ยังไงก็ดีกว่า Optical switch
9. ถึงแม้ว่า Optical switch จะมีความทนทานกว่าในหลักการ แต่การใช้งานทั่วๆ ไปแล้ว เบื่อ หรือ พัง ก็เปลี่ยนอยู่ดี เลยไม่กังวลมาก วันหน้าคู่แข่งเยอะขึ้น รุ่นใหม่ออกมา หรือรุ่นเก่ามือสอง ราคาก็ถูกลง
10. สวิชท์ Outemu มีฟีลลิ่งการกดที่ดีกว่า Optical switch ก็จริง แต่เนื่องจากปุ่ม และการประกอบงานของ Fantech ทำให้ตอนใช้งานจริงๆ Cooler master ที่เป็น Optical Brown switch ยังเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าตอนพิมพ์งาน เพราะปุ่มที่มีความอ่อนกว่าตอนออกแรงกด ทำให้เวลาพิมพ์งานไปนานๆ จะรู้สึกไม่เมื่อยมือ และปุ่ม Spacebar ของ Fantech เวลากดบางจังหวะจะรู้สึกติดๆ ขัดๆ ไปหน่อย บางทีบางครั้งก็แอบขัดใจและอารมณ์เสียอยู่เหมือนกัน ส่วนของ Cherry MX Red ใน Corsair ไม่มีอะไรต้องพูด ดีสุดเมื่อเทียบกับ 2 อันที่กล่าวมา
11. Cooler master ถ้าไม่ใช้ Wrist rest ที่แถมมาด้วยแล้ว จะพบว่าคีย์บอร์ดหนา และสูงมาก อาจเป็นปัญหาสำหรับบางคน เมื่อย
(แต่ส่วนตัวใช้ Wrist rest แบบนุ่มๆ ที่มันแถมมาให้อยู่แล้ว เลยไม่รู้สึกว่ามีปัญหา)
แต่อย่างว่า Fantech 1350 บาท < Cooler master 2290 บาท < Corsair < 2390 บาท (ซึ่งออกมาตอนแรกๆ Corsair อาจจะแพงกว่านี้ ละตอนนี้ก็ออกมาได้ซัก 2-3 ปีแล้ว) ก็ตามความคุ้มค่าและตามราคา สามารถเลือกพิจารณาหาซื้อกันตามกำลังทรัพย์ที่มี
สำหรับผมแล้ว Mechanical หรือ Optical keyboard ราคาที่ไม่เกิน 2000 บาท (จะมือหนึ่งหรือมือสองก็ตามแต่) เป็นราคาที่สายพิมพ์งาน หรือคนที่เป็นเจ้าของบริษัท หรือ Gamer ระดับเริ่มต้น มีคุณภาพที่ดีเพียงพอต่อการใช้งาน ให้ความรู้สึกในการพิมพ์ที่ดีแล้ว เพราะถ้าเกินมากกว่านี้ ผมว่ามันเกินความจำเป็น เอาเงินส่วนต่างที่ได้นี้ไปทำอย่างอื่นดีกว่า ส่วนคนที่ซีเรียสเรื่องฟีลลิ่ง หรือเรื่องความเร็ว การตอบสนอง และงบไม่จำกัด ก็ไม่ว่ากัน อันที่ดีกว่าราคาย่อมสูงกว่า ถูกและดี ไม่มีในโลก แต่แพงแล้วไม่ดี ก็มีถมไป หาอะไรที่คิดว่ามันเหมาะสมและ balance กับตัวเองเถิด
ส่วนตัวแล้ว Option ใน Keyboard ผมไม่ขออะไรมาก ขอแค่ปุ่ม Switch มีความเสถียร และมีฟีลลิ่งที่ดี พิมพ์ลื่นไหนไม่ติดขัด ผมก็พอใจแล้ว เอางบประมาณที่ไปลงกับปุ่มแยก จอเล็กๆ มาลงกับ Switch ดีกว่า
ปล. ไฟ LED บน Keyboard ของ Cooler master สวยสุด รองลงมาเป็น Corsair และ Fantech (Fantech มีไฟ RGB แต่ปรับเป็นสีเดียวไม่ได้ ซึ่งผมไม่ค่อยชอบไฟแบบ RGB ดูแล้วมันเวียนหัว ขอไฟเดียวเป็นสีๆ ดีกว่า)
Corsair
Fantech
CoolerMaster
สรุป
กลางๆ กลมกล่อม ไม่หนักไปทางใดทางหนึ่ง ให้การตอบสนองต่อการเล่นเกมส์ที่รวดเร็ว และราคานี้ได้ Optical switch พร้อม Hot swappable เปลี่ยน switch ได้ สายโม >> Cooler master CK351
ดีสุด งบเยอะ ฟีลลิ่งหนักแน่น (แต่ Option อาจจะไม่มากเท่าไหร่ ถอดเปลี่ยน Switch ก็ไม่ได้) >> Corsair K68
เริ่มต้น ประหยัด คุ้มค่าเงิน ฟีลลิ่งดี ข้อเสียก็มีบ้างตามราคาและถ้ารับได้ >> Fantech MK852
ส่วนความทนทานนั้น ตอนนี้ตอบไม่ได้ แต่อย่างที่บอก เราใช้ๆไป เราคงเบื่อ และหาเรื่องซื้อใหม่ก่อนที่มันจะพังแน่นอน
บางทีเราก็ต้องปรับตัวเข้าหา Keyboard เช่นกัน เช่น อย่างผมเคยใช้ Fantech MK852 มาก่อน เวลาลงนิ้วจะค่อนข้างหนักหน่อย รู้สึกพิมพ์มันมาก และไม่ชอบเสียงแก๊กๆ หนวกหูของ Blue switch เลยซื้อ Brown switch มาแทน พอเปลี่ยนมาเป็น Cooler master CK351 และ เวลากด เราไม่ต้องออกแรงกดมากเกินไป แค่ไหลๆ มือ แตะๆ มือ มันก็พิมพ์ติดแล้ว เลยทำให้ไม่เมื่อยนิ้วมือเวลาพิพม์นานๆ ตอนนี้ไม่กลับไปใช้ Fantech แล้ว (ถึงเวลาพิมพ์จะมันมือกว่าปุ่มเด้งสู้ดี แต่มันเมื่อย) และโปรไฟล์ความสูงของปุ่ม Fantech บางปุ่มก็สูง บางปุ่มก็ต่ำ ซึ่ง Corsair และ Cooler master ไม่เป็น ไม่มีผลต่อการใช้งานก็จริง แต่เวลาตามองเห็น มันขัดๆ ลูกตา บ่งบอกถึงงานประกอบทันที ส่วน Corsair K68 ดีสุด ฟีลลิ่งดีสุด แทบไม่ต้องปรับตัวอะไรเลย แต่พอเปลี่ยนจาก Corsair กลับมาเป็น Cooler Master จะรู้สึกได้เลยว่า เราออกแรงกดมากเกินไป และอีกอย่าง Corsair องศาของ Keyboard หลังจากเปิดขาตั้งแล้วจะเตี้ยกว่า Cooler master นิดหน่อย (ผมชอบเปิดขาตั้งวางคีย์บอร์ด) ทำให้เวลาสลับ keyboard จะต้องมีการปรับตัวนิดหน่อย แต่บางทีพิมพ์ไปซัก 10-20 นาที เดี๋ยวก็จะชินกับฟีลลิ่งของ keyboard แต่ละอันเอง
ตอนนี้ผมใช้ Corsair เพราะ Cooler master ยกให้สุดที่รักไปใช้ เพราะเธอชอบฟีลลิ่งแบบมีหนึบๆ บั๊มๆ ของ Brown switch มากกว่า แต่โดยภาพรวมแล้ว ผมยังชอบ Cooler master CK351 มากที่สุด ฟีลลิ่งปุ่มตอนกด มันอาจจะไม่ดูหนักแน่นเหมือน Cherry MX red switch ใน Corsair แต่ผมคิดว่า LK-Dacro optical switch มันก็มีเสน่ห์ของมัน ฟีลลิ่งมีหนึบๆ บั๊มๆ แต่ออกแรงกดน้อยกว่า อีกอย่างมันโมได้ ผมสามารถทำให้ Brown switch กลายเป็น Red switch ได้ ก็แค่ถอดสปริงออกตัวเดียว (ที่ชี้สีแดง) จบ ไม่ต้องซื้อสวิชท์ชุดใหม่ให้เปลืองเงิน (Cooler master Ck351 เป็น Hot swappable) และไฟของ Cooler master สวยกว่าด้วย
การที่เราไปยืนลองที่ร้าน กดๆ คลำๆ มันก็ไม่เท่ากับที่เราไปหาซื้อมาใช้งานเองจริงๆ พิมพ์งานเองจริงๆ ต้องลองสัมผัส ต้องลองใช้ และอยู่กับมันนานๆ ถึงจะรู้เอง วันหน้าคงซื้อมาลองอีก คงสอยมือสองรุ่นท๊อปในอดีตมาลองใช้ แต่ตอนนี้ เงินหมดแล้วครับ
รีวิวโดย Royalpradeleven วันที่ 19/04/2022
พิมพ์โดย Corsair K68 (Cherry MX Red switch) และ Cooler master CK351 (Mechanical-Optical Brown switch LK-Dacro) ส่วน Fantech MK852 (Otemu brown switch) ใช้มา 6 เดือนกว่าแล้ว จำฟีลลิ่งได้หมด
[CR] เปรียบเทียบการใช้งาน Mechanical switch keyboard (2 ยี่ห้อ) และ Optical-Mechanical switch keyboard (1 ยี่ห้อ)
จากการทดลองพิมพ์งาน โดยใช้ Corsair K68 Cherry MX red switch
เทียบกับ Cooler master CK351 Optical-mechanical LK-Dacro Brown switch
เทียบกับ Fantech MK852 Otemu Brown switch
โดยใช้งานยี่ห้อละประมาณ 1 วันเต็มๆ (Fantech 6 เดือน แล้วจึงงอกออกมาอีก 2) พิมพ์งานทั้งวัน เล่นเกมส์ทั้งวัน (เกมส์ไม่มากเท่าพิมพ์งาน)
ประเด็นหลักๆ ที่จะพูดถึงคือ การใช้งาน ฟีลลิ่ง และจะไม่พูดถึง Option อันแสนมากมาย, Software หรือ Driver ที่ให้มากับ Keyboard เพราะอันนี้สามารถไปหาอ่านจากใน Google ได้เลย มีเยอะแยะ และขอพิมพ์ยืดยาวหน่อย สำหรับคนชอบอ่าน
จุดประสงค์ในการรีวิวคือ
1. ก่อนที่จะซื้อ เข้าใจว่า ทุกๆ คนคงอยากเปรียบเทียบ รู้ข้อดี-ข้อเสีย ของสินค้าก่อนที่จะเสียเงินซื้อมัน เพราะมันก็ไม่ใช่ถูกๆ
2. สำหรับคนที่อยากรู้ความแตกต่าง ในรูปแบบของ "ฟีลลิ่ง" ในการพิมพ์และประสบการณ์การใช้งาน
ทำความเข้าใจกันก่อนรีวิว
1. ผมไม่ใช่ผู้รอบรู้ด้านคอมพิวเตอร์ แค่เป็นคนทำงานหาเช้ากินค่ำปกติ ไม่มีอะไรพิเศษกว่าคนธรรมดา
2. อยากจะแชร์ประสบการณ์การใช้งาน เพื่อที่ผู้อ่านจะได้รู้ เข้าใจ ก่อนจะเสียเงินซื้อสินค้า
3. ผมไม่ได้เงินจากผู้ผลิต ทุกอย่างซื้อเอง ฉะงั้น ดี ก็บอกว่าดี ไม่ดี ก็บอกกันตรงๆ ชัดเจนเข้าใจง่ายไม่ต้องแปล
4. รีวิวจาก ความคิดเห็นส่วนตัว และสิ่งที่คิดว่า "เหมาะสมกับตัวเอง เท่านั้น" และอยากให้ผู้อ่านพิจารณากันเอาเอง ว่าอะไรเหมาะสมกับตัวเอง หรือไม่เหมาะสม
Corsair K68
Fantech MK852
CoolerMaster Ck351
เปรียบเทียบ
1. ฟีลลิ่งในการกด เรียงจาก ดี > พอใช้ --> Cherry MX > Otemu >LK Dacro ของ Corsair ถึงจะเป็น Red switch ก็มีความหน่วงมือที่ดี เสียงเงียบ ถ้าเทียบกับ Outemu แล้ว Switch ของ Cherry MX จะให้ฟีลลิ่งในการกดที่ดีกว่ามาก ส่วน optical switch ของ Dacro ฟีลลิ่งในการกดจะไม่เท่าทั้ง 2 ตัวเลย ดูปลอมๆ บางทีก็คิดว่าเกือบๆจะเหมือน Membrane switch อยู่แล้ว (แต่ยังไงๆ ก็ยังดีกว่าอยู่) แต่ว่าแรงที่ใช้กดลงไปจะใช้แรงน้อยกว่า และเวลาเล่นเกมส์ สวิชต์แบบ Optical จะให้ความรู้สึกในการกดที่เร็ว และลื่นไหลกว่า
2. ปุ่ม Corsair มีความเสถียรในการกดปุ่มมากกว่ายี่ห้ออื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ทำให้เวลากด เวลาพิมพ์ มีฟิลลิ่งที่ดีกว่ามากๆ
3. Switch ของ Cherry MX มีความลื่น และมีการตอบสนองอย่างเป็นธรรมชาติมากกว่ายี่ห้ออื่นๆ เวลาพิมพ์งานไปนานๆแล้วไม่เมื่อย มีความมันกว่า
4. น้ำหนักตัวคีย์บอร์ด ของ Corsair เอง หนักมากกว่ายี่ห้ออื่นๆ ทำให้มีความเสถียรในการวางสูง (แต่บางคนอาจจะเป็นปัญหา เพราะบางทีต้องมีการเคลื่อนย้าย เพื่อวางเอกสาร หรือตรวจเอกสาร) ไล่เรียงหนัก > เบา จะเป็น Corsair > Cooler master > Fantech (Fantech เป็นพลาสติกล้วน เลยเบากว่าอันอื่น)
5. เสียงปุ่มกด เพราะ ฟังดูดีสุด เรียงลำดับ เพราะมาก-น้อย Corsair > Fantech > Cooler master
5. Keycaps ของ Corsair ถอดง่ายมาก ไม่ต้องใช้ตัวดึง Keycaps เลย ทำให้เปลี่ยนง่าย ทำความสะอาดง่าย แค่ใช้มือดึงธรรมดาๆ ตัดปัญหาเรื่องลืม Keycaps puller ไปได้เลย
6. ปุ่ม Corsair กับ Cooler master ไฟลอดดีทั้ง 2 ภาษา สวย Laser keycaps มาทั้งอังกฤษและไทย ส่วนปุ่ม fantech แต่ตัวภาษาไทยจะปริ้นเอา ทำให้ไฟไม่ลอดตัวภาษาไทย มองแล้วบางทีเวียนหัว (ก็แน่นอนแหละราคามันต่างกันนี่)
7. Corsair และ Cooler master ปรับสีไฟ RGB ได้หลากหลาย 16.7 ล้านสี ส่วน Fantech เป็นไฟ RGB แต่ปรับสีไม่ได้ ส่วนฟังก์ชันแสงนิ่ง แสงแดนซ์ มีเหมือนกัน
ข้อสังเกต
1. Wrist rest ที่แถมมาของ Corsair ใช้งานอะไรไม่ได้ อันเล็กไป ไม่ได้วางเลย และแข็ง (Wrist rest ของ Cooler master ดีสุด นุ่ม และรองข้อมือได้จริงๆ ส่วน Fantech ไม่มี)
รูปบน Corsair รูปล่าง Cooler master
2. Keycaps ของ Corsair ที่ถอดง่ายมาก และก็หลุดง่ายมากเช่นกัน ถ้าวางตำแหน่งใช้งาน ไม่มีปัญหา แต่จะหลุดง่ายตอนยกเช็ดทำความสะอาด หรือบางทีถ้ากดปุ่มแบบ กดแล้วปล่อยให้หลุดจากนิ้วทันที (เกิดขึ้นไม่บ่อย แต่ก็มีโอกาสอยู่) จะเด้งหลุดออกมาเลย ตอนถือไปๆ มาๆ แนะนำให้ใส่ซองพลาสติก หรือกล่อง ที่แถมมาด้วยจะดีกว่า เพื่อป้องกัน keycaps หลุดหาย (ขี้เกียจซื้อใหม่ แพง และเสียเวลา บางทีจะทำงาน Keycaps หาย เอิ่ม...)
3. ตัวอักษรภาษาอังกฤษของ Corsair มันตัวใหญ่ไป เวลาดูและมันมึนๆ หัว ตอนที่เราพิมพ์ภาษาไทย ของ Cooler master กับ Fantech โอเค เป็นแบบธรรมดาๆ เหมือนคีย์บอร์ดที่เราคุ้นเคยทั่วๆไป แต่ถ้าใช้ๆไปคงชินไปเอง
4. Corsair K68 และ Fantech MK852 เปลี่ยน Switch ไม่ได้ (แต่คิดว่าไม่ใช่ปัญหา เพราะว่าไม่คิดจะเปลี่ยนอยู่แล้ว เสียดายเงิน เสียดายเวลามานั่งเปลี่ยน อีกอย่างเปลี่ยนคีย์บอร์ดไปเลย เมื่อถึงเวลาง่ายกว่า เพราะยังไงก็เบื่ออยู่ดี)
5. Corsair ราคาที่สูงกว่ายี่ห้ออื่นๆและเปลี่ยนสวิชท์ไม่ได้ แต่ก็ยังได้บาง Option เพิ่มมาเช่น ปุ่ม Multimedia แบบแยก (ซึ่งของ Fantech มันก็มี) ส่วนของ Cooler master ไม่มี แต่เปลี่ยน Switch ได้
6. ด้วยความที่ Corsair และ Fantech ยังเป็น Mechanical keyboard เพียวๆ ทำให้เวลากด จะยังมีเสียงดังแก๊งๆ ของสปริงอยู่ (ไม่ก็ทองแดงที่เป็นขั้วสวิชต์) ส่วนของ Optical switch ใน Cooler master จะไม่มีเสียงนี้
7. ในการใช้พิมพ์งานทั่วๆ ไป ไม่รู้สึกว่า Mechanical switch กับ Optical switch ตอบสนองต่างกัน เรียกได้ว่าเหมือนกันเลยดีกว่า
8. ฟีลลิ่งของ Mechanical switch ยังไงก็ดีกว่า Optical switch
9. ถึงแม้ว่า Optical switch จะมีความทนทานกว่าในหลักการ แต่การใช้งานทั่วๆ ไปแล้ว เบื่อ หรือ พัง ก็เปลี่ยนอยู่ดี เลยไม่กังวลมาก วันหน้าคู่แข่งเยอะขึ้น รุ่นใหม่ออกมา หรือรุ่นเก่ามือสอง ราคาก็ถูกลง
10. สวิชท์ Outemu มีฟีลลิ่งการกดที่ดีกว่า Optical switch ก็จริง แต่เนื่องจากปุ่ม และการประกอบงานของ Fantech ทำให้ตอนใช้งานจริงๆ Cooler master ที่เป็น Optical Brown switch ยังเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าตอนพิมพ์งาน เพราะปุ่มที่มีความอ่อนกว่าตอนออกแรงกด ทำให้เวลาพิมพ์งานไปนานๆ จะรู้สึกไม่เมื่อยมือ และปุ่ม Spacebar ของ Fantech เวลากดบางจังหวะจะรู้สึกติดๆ ขัดๆ ไปหน่อย บางทีบางครั้งก็แอบขัดใจและอารมณ์เสียอยู่เหมือนกัน ส่วนของ Cherry MX Red ใน Corsair ไม่มีอะไรต้องพูด ดีสุดเมื่อเทียบกับ 2 อันที่กล่าวมา
11. Cooler master ถ้าไม่ใช้ Wrist rest ที่แถมมาด้วยแล้ว จะพบว่าคีย์บอร์ดหนา และสูงมาก อาจเป็นปัญหาสำหรับบางคน เมื่อย
(แต่ส่วนตัวใช้ Wrist rest แบบนุ่มๆ ที่มันแถมมาให้อยู่แล้ว เลยไม่รู้สึกว่ามีปัญหา)
แต่อย่างว่า Fantech 1350 บาท < Cooler master 2290 บาท < Corsair < 2390 บาท (ซึ่งออกมาตอนแรกๆ Corsair อาจจะแพงกว่านี้ ละตอนนี้ก็ออกมาได้ซัก 2-3 ปีแล้ว) ก็ตามความคุ้มค่าและตามราคา สามารถเลือกพิจารณาหาซื้อกันตามกำลังทรัพย์ที่มี
สำหรับผมแล้ว Mechanical หรือ Optical keyboard ราคาที่ไม่เกิน 2000 บาท (จะมือหนึ่งหรือมือสองก็ตามแต่) เป็นราคาที่สายพิมพ์งาน หรือคนที่เป็นเจ้าของบริษัท หรือ Gamer ระดับเริ่มต้น มีคุณภาพที่ดีเพียงพอต่อการใช้งาน ให้ความรู้สึกในการพิมพ์ที่ดีแล้ว เพราะถ้าเกินมากกว่านี้ ผมว่ามันเกินความจำเป็น เอาเงินส่วนต่างที่ได้นี้ไปทำอย่างอื่นดีกว่า ส่วนคนที่ซีเรียสเรื่องฟีลลิ่ง หรือเรื่องความเร็ว การตอบสนอง และงบไม่จำกัด ก็ไม่ว่ากัน อันที่ดีกว่าราคาย่อมสูงกว่า ถูกและดี ไม่มีในโลก แต่แพงแล้วไม่ดี ก็มีถมไป หาอะไรที่คิดว่ามันเหมาะสมและ balance กับตัวเองเถิด
ส่วนตัวแล้ว Option ใน Keyboard ผมไม่ขออะไรมาก ขอแค่ปุ่ม Switch มีความเสถียร และมีฟีลลิ่งที่ดี พิมพ์ลื่นไหนไม่ติดขัด ผมก็พอใจแล้ว เอางบประมาณที่ไปลงกับปุ่มแยก จอเล็กๆ มาลงกับ Switch ดีกว่า
ปล. ไฟ LED บน Keyboard ของ Cooler master สวยสุด รองลงมาเป็น Corsair และ Fantech (Fantech มีไฟ RGB แต่ปรับเป็นสีเดียวไม่ได้ ซึ่งผมไม่ค่อยชอบไฟแบบ RGB ดูแล้วมันเวียนหัว ขอไฟเดียวเป็นสีๆ ดีกว่า)
Corsair
Fantech
CoolerMaster
สรุป
กลางๆ กลมกล่อม ไม่หนักไปทางใดทางหนึ่ง ให้การตอบสนองต่อการเล่นเกมส์ที่รวดเร็ว และราคานี้ได้ Optical switch พร้อม Hot swappable เปลี่ยน switch ได้ สายโม >> Cooler master CK351
ดีสุด งบเยอะ ฟีลลิ่งหนักแน่น (แต่ Option อาจจะไม่มากเท่าไหร่ ถอดเปลี่ยน Switch ก็ไม่ได้) >> Corsair K68
เริ่มต้น ประหยัด คุ้มค่าเงิน ฟีลลิ่งดี ข้อเสียก็มีบ้างตามราคาและถ้ารับได้ >> Fantech MK852
ส่วนความทนทานนั้น ตอนนี้ตอบไม่ได้ แต่อย่างที่บอก เราใช้ๆไป เราคงเบื่อ และหาเรื่องซื้อใหม่ก่อนที่มันจะพังแน่นอน
บางทีเราก็ต้องปรับตัวเข้าหา Keyboard เช่นกัน เช่น อย่างผมเคยใช้ Fantech MK852 มาก่อน เวลาลงนิ้วจะค่อนข้างหนักหน่อย รู้สึกพิมพ์มันมาก และไม่ชอบเสียงแก๊กๆ หนวกหูของ Blue switch เลยซื้อ Brown switch มาแทน พอเปลี่ยนมาเป็น Cooler master CK351 และ เวลากด เราไม่ต้องออกแรงกดมากเกินไป แค่ไหลๆ มือ แตะๆ มือ มันก็พิมพ์ติดแล้ว เลยทำให้ไม่เมื่อยนิ้วมือเวลาพิพม์นานๆ ตอนนี้ไม่กลับไปใช้ Fantech แล้ว (ถึงเวลาพิมพ์จะมันมือกว่าปุ่มเด้งสู้ดี แต่มันเมื่อย) และโปรไฟล์ความสูงของปุ่ม Fantech บางปุ่มก็สูง บางปุ่มก็ต่ำ ซึ่ง Corsair และ Cooler master ไม่เป็น ไม่มีผลต่อการใช้งานก็จริง แต่เวลาตามองเห็น มันขัดๆ ลูกตา บ่งบอกถึงงานประกอบทันที ส่วน Corsair K68 ดีสุด ฟีลลิ่งดีสุด แทบไม่ต้องปรับตัวอะไรเลย แต่พอเปลี่ยนจาก Corsair กลับมาเป็น Cooler Master จะรู้สึกได้เลยว่า เราออกแรงกดมากเกินไป และอีกอย่าง Corsair องศาของ Keyboard หลังจากเปิดขาตั้งแล้วจะเตี้ยกว่า Cooler master นิดหน่อย (ผมชอบเปิดขาตั้งวางคีย์บอร์ด) ทำให้เวลาสลับ keyboard จะต้องมีการปรับตัวนิดหน่อย แต่บางทีพิมพ์ไปซัก 10-20 นาที เดี๋ยวก็จะชินกับฟีลลิ่งของ keyboard แต่ละอันเอง
ตอนนี้ผมใช้ Corsair เพราะ Cooler master ยกให้สุดที่รักไปใช้ เพราะเธอชอบฟีลลิ่งแบบมีหนึบๆ บั๊มๆ ของ Brown switch มากกว่า แต่โดยภาพรวมแล้ว ผมยังชอบ Cooler master CK351 มากที่สุด ฟีลลิ่งปุ่มตอนกด มันอาจจะไม่ดูหนักแน่นเหมือน Cherry MX red switch ใน Corsair แต่ผมคิดว่า LK-Dacro optical switch มันก็มีเสน่ห์ของมัน ฟีลลิ่งมีหนึบๆ บั๊มๆ แต่ออกแรงกดน้อยกว่า อีกอย่างมันโมได้ ผมสามารถทำให้ Brown switch กลายเป็น Red switch ได้ ก็แค่ถอดสปริงออกตัวเดียว (ที่ชี้สีแดง) จบ ไม่ต้องซื้อสวิชท์ชุดใหม่ให้เปลืองเงิน (Cooler master Ck351 เป็น Hot swappable) และไฟของ Cooler master สวยกว่าด้วย
การที่เราไปยืนลองที่ร้าน กดๆ คลำๆ มันก็ไม่เท่ากับที่เราไปหาซื้อมาใช้งานเองจริงๆ พิมพ์งานเองจริงๆ ต้องลองสัมผัส ต้องลองใช้ และอยู่กับมันนานๆ ถึงจะรู้เอง วันหน้าคงซื้อมาลองอีก คงสอยมือสองรุ่นท๊อปในอดีตมาลองใช้ แต่ตอนนี้ เงินหมดแล้วครับ
รีวิวโดย Royalpradeleven วันที่ 19/04/2022
พิมพ์โดย Corsair K68 (Cherry MX Red switch) และ Cooler master CK351 (Mechanical-Optical Brown switch LK-Dacro) ส่วน Fantech MK852 (Otemu brown switch) ใช้มา 6 เดือนกว่าแล้ว จำฟีลลิ่งได้หมด
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้