รู้จักโรคแอสเพอร์เกอร์ Asperger’s Syndrome (ออทิสติกแบบ High function) ตอนที่ 8 เข้าใจอารมณ์คนอื่น

The Asperger story By P surachet ตอนที่ 8 เข้าใจอารมณ์คนอื่น
 บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับ โรคแอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s Syndrome) ที่มาจากประสบการณ์ตรงของผม จากที่ผมเคยเรียน จากคุยกับเพื่อนที่เป็นเหมือนกัน และจากคุณหมอครับ เนื่องจากว่าผมเป็นโรคแอสเพอร์เกอร์และได้พบกับความยากลำบากหลายอย่างทั้งๆ ที่ผมเป็นน้อย และคนในสังคมไทยไม่ค่อยได้รู้จักโรคนี้ ผมจึงคิดที่จะทำสื่อเพื่อให้คนไทยรู้จักมากขึ้น โดยได้เขียนบทความที่ชื่อว่า “The Asperger story By P surachet” โดยจะแบ่งเป็น 15 ตอน อันนี้จะเป็นตอนที่ 8 ครับ หากว่าใครชอบดูในรูปแบบของคลิปวิดีโอมากกว่า สามารถรับชมคลิปได้เลยครับ แต่ถ้าใครชอบอ่านก็เลื่อนลงไปอ่านบทความได้เลยครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

 ผมจะมีปัญหาในการอ่านและเข้าใจอารมณ์คนอื่นเสมอ กับผู้ชายส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีปัญหาเยอะ ถ้าคุยรู้เรื่องก็จบ เต็มที่ก็ด่ากันนิดหน่อยแล้วก็จบ แต่กับผู้หญิงนี้ปวดหัวมาก บางครั้งผมก็ไม่รู้เรื่องระยะห่างเช่น เวลาคุยกับใครบางครั้งพอคุยไปแล้วก็ไปคุยเรื่องส่วนตัวเขา ผมไม่รู้หรอกว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องส่วนตัว คุยเรื่องอะไรได้ ผมสงสัยเรื่องอะไรก็ถามไป ซึ่งช่องว่างเรื่องส่วนตัวนั้นประเมินได้ยาก แต่ละคนไม่เหมือนกัน มันขึ้นอยู่กับความสนิทของแต่ละคนด้วย ถ้าเป็นผู้ชายส่วนใหญ่ถ้ามันเริ่มเกินไปเป็นเรื่องส่วนตัวเขาก็จะตอบกลับมาว่าเป็นเรื่องส่วนตัวเขา จบ แต่ถ้าเป็นผู้หญิงส่วนใหญ่ก็จะด่ากลับ “ถามคำถามแบบนี้ได้ไง” บราๆๆๆๆ บางครั้งก็ด่ากลับมาด้วยคำหยาบ คำดูถูกบ้าง บางคนก็เงียบแต่เก็บไว้ในใจแล้วทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับเรา บางคนก็แหกปากใส่แถมยังไปเล่าให้คนอื่นฟังด้วยว่าเราไปถามเรื่องของมันแบบนี้ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเขาเล่าแบบให้เราเสียหายไหม เพราะถ้าถามไปว่าเขาเล่าให้คนอื่นฟังยังไงเขาก็ไม่บอกหรอก คือปัญหาเยอะมาก นี้แระผมถึงเบื่อ ส่วนสิ่งที่ผมทำก็คือบางครั้งอารมณ์ดีก็ขอโทษเขาแล้วก็เลิกคุย แต่บางคนผมเซงผมก็เงียบๆ แล้วเดินหนี จริงๆ ถ้ารู้สึกว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของ ไม่อยากให้กูยุ่งก็พูดซิว่านี้เรื่องส่วนตัว คุยเรื่องอีกดีกว่า อะไรประมาณนี้ก็จบ ไม่เห็นจะต้องทำเป็นเรื่องใหญ่เลย
.
.
 มันมีอีกหลายๆ ครั้งที่เราอ่านใจแล้วทำในสิ่งที่ควรจะทำไม่ได้ บางครั้งเขาแสดงสีหน้าแบบนี้แต่เราก็ไม่รู้ความหมาย สำหรับผมถ้าอารมณ์หลักๆ ก็พอจะเดาได้แต่ถ้าอารมณ์ที่ซับซ้อนกว่านั้นก็ยากพอสมควร มันทำให้บางครั้งเวลาเราอยากเล่นก็เล่นไม่เป็น เอาอีกซักตัวอย่างหนึ่งละกันครับ ตัวอย่างนี้ต่อจากตัวอย่างในตอนที่ 4 เรื่องการทำงานกับเพื่อนตอนเรียนมหาลัย มันมีอยู่หลายครั้งที่ผมก็ผิดใจกับเพื่อนซึ่งในกลุ่มก็มีเพื่อนที่เป็นผู้หญิงด้วย บางครั้งผมก็ทำให้เขาไม่พอใจจนโดนด่า เขาโกรธแบบจริงจัง ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าทำไมเขาถึงโกรธ ผมขอเล่าที่เขาโกรธซักครั้งให้ฟังละกันครับ
.
.
 “ ในตอนนั้นเราทำงาน Project ด้วยกันเป็นงานที่เหนื่อยเพราะเป็น Project ยาวและต้องแก้เยอะ ส่งไปเท่าไหร่ก็ต้องแก้กลับมาหลายรอบ งานเป็นงานเดี่ยวของแต่ละคนแต่ต้องทำร่วมกันทั้งกลุ่ม ว่าง่ายๆ คือทุกคนในกลุ่มต้องช่วยกัน ทีนี้ในส่วนงานของผมนั้นผมไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่มันก็เลยดูจะกลายเป็นภาระของเพื่อนในกลุ่ม และก็มีเพื่อนผู้หญิงคนหนึ่งที่ช่วยเป็นหลักซึ่งเอาจริงๆ เขาก็เหนื่อยกับเราพอสมควร แล้วมีอยู่วันหนึ่งเรานั่งทำงานกลุ่มกัน อารมณ์ของเขาวันนั้นนิ่งๆ คือบางครั้งคนนี้ก็เป็นคนเจ้าอารมณ์เขาไม่ใช่คนดุร้ายแต่ออกแนวอ่อนไหวสูงแต่วันนั้นเขาดูนิ่งๆ เราเลยอ่านอารมณ์เขาไม่ได้ เขาก็มาพูดด้วยน้ำเสียงปกติประมาณว่า “เนี้ยทำผิดอีกแล้วนะ ต้องมาช่วยแก้ให้ ไม่อยากจะแก้ให้ละ” เราก็เลยตอบเล่นๆ กลับไปว่า “ไม่อยากแก้ก็ไม่ต้องแก้ กลับบ้านไปก็ได้” ย้ำนะครับว่าผมใช้น้ำเสียงและแสดงออกชัดเจนว่านี้คือพูดเล่น ทันใดนั้นสิ่งที่เขาตอบกลับมาก็คือ เสียงด่าลั่นโรงอาหาร มันไม่ได้เป็นคำหยาบคายหรอกแต่มันเป็นคำด่าที่จริงจังแล้วด่าแบบเจ็บๆ ประมาณว่า “พูดแบบนี้ได้ยังไง กูช่วยกูเหนื่อยนะ หลังจากนี้ไม่ต้องยุ่งกัน” หลังจากนั้นเขาก็กลับไป แล้วก็โกรธจริงโกรธจัง มีพูดต่อในกลุ่มแชท ลบไฟล์งานในส่วนของเขา คือมันเป็นเรื่องใหญ่มาก ส่วนผมก็ได้งงแล้วก็เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น”
.
.
 อันที่จริงผมก็เสียใจแระที่ไม่น่าไปพูดเล่นแบบนั้นแต่อีกความรู้สึกก็ไม่ได้เสียใจอะไรมากเพราะอันที่จริงเราไม่ได้ตั้งใจทำผิด ผมไม่รู้ว่าท่านผู้อ่านจะรู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าท่านมีลูกเป็นเด็กพิเศษแล้วเจอแบบนี้ท่านจะสอนลูกอย่างไร สิ่งที่ผมเตือนตัวเองเสมอก็คือ เราไม่ได้ทำอะไรผิด แค่เราอ่านจังหวะผิด เราอย่าโทษตัวเองให้ self esteem เสีย สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นผมมีความรู้สึกว่ามันไม่เห็นจะเป็นเรื่องใหญ่เรื่องโตขนาดนั้น ทำไมเขาต้องโกรธจริงจังขนาดนั้น หลังจากนั้นอีก 2-3วันถึงกลับมาคุยกันแล้วก็ตกลงว่าพยายามคุยกันแค่เรื่องงานพอ
.
.
 สิ่งที่เกิดขึ้นผมได้ลองไปคุยกับนักจิตวิทยาดูสิ่งที่เขาบอกก็คือผมพลาดไป 2 อย่าง 1 ผมไม่รู้ว่าเวลานั้นไม่ควรเล่น 2 ผมไม่เข้าใจความรู้สึกของเขา ถ้าเรามาวิเคราะห์กันอย่างสรุป คนๆ นี้เราไม่รู้ว่าก่อนหน้านี้เขาเจออะไรมาเขาอาจเหนื่อยเพลียหรือหัวเสียกับเรื่องอื่นมาก่อนก็ได้ พอมาถึงเราเขาก็ต้องช่วยเราเต็มที่ เขาช่วยเราเต็มที่จนกระทั้งเขาเหนื่อย ประกอบกับเราก็ไม่ค่อยรู้เรื่องทำให้เขาต้องเหนื่อยแก้งานให้อีก พอเขาได้ยินคำพูดของเราไปแล้วทันใดนั้นเขาอาจรู้สึกว่า เห้ย กูช่วยขนาดนี้แล้ว ทั้งๆ ที่กูเหนื่อยกูจะกลับห้องไปพักก็ได้ แต่กูสละเวลาส่วนตัวมาช่วย แทนที่จะขอบคุณกูแต่กลับพูดแบบนี้กับกูหรอ พอเขาได้ยินเราตอบแบบนั้นมันก็เลยทำให้เขาหัวร้อนและรู้สึกโกรธเรามาก ก็นั้นแระครับเอาจริงๆ ผมฟังที่เขาวิเคราะห์แล้วพบก็พอเข้าใจได้ ถ้าเป็นเราเราก็อาจโกรธเหมือนกันแระ แต่ผมก็ไม่เข้าใจอยู่ดีว่าทำไมจะต้องโกรธขนาดนั้น สำหรับผมมันไม่เห็นต้องเป็นเรื่องใหญ่เรื่องโตขนาดนี้เลย อาจไม่พอใจ ด่าว่าก็ได้ แต่ก็น่าจะพูดไปเลยว่าพูดแบบนี้ไม่ได้..... อะไรก็ว่าไป แล้วเคลียร์กันตอนนั้นให้จบ
.
.
 เอาละครับกรณีตัวอย่างผมคิดว่าเล่ามาได้พอประมาณละ ผมก็คิดนะครับว่าถ้าผู้หญิงคนนี้เข้าใจเราบอกเขาไปว่าเราเป็นแอสเพอร์เกอร์ผมว่าจะเป็นผลดีมากกว่า แต่ในเวลานั้นผมยังไม่จบปริญาตรี ยังโดนคำสั่งว่าห้ามบอกใครอยู่ และจริงๆ แล้วเราก็ไม่น่าเสี่ยงที่จะไปบอกผู้หญิงในวัย 20 ปีว่าเป็นด้วย เพราะถ้าเข้าไม่เข้าใจอาจยิ่งเป็นผลเสียไปกว่าเดิมแล้วผมว่ากับคนนี้ก็ไม่น่าจะเข้าใจเด็กพิเศษด้วยครับ ผมไม่ได้หมายความว่าไม่ดีนะ เขาเป็นคนดีคนหนึ่งเลยแต่การจะเข้าใจเด็กพิเศษผมว่ามันมีอะไรหลายๆ อย่างที่จะบอกได้ซึ่งคนนี้ในเวลานั้นไม่มี แล้วถ้าท่านมีลูกที่เจอเหตุกาณณ์แบบนี้จะทำอย่างไรครับ แลกเปลี่ยนกันได้ครับ
.
.
 ผมขอเสริมอีกนิดครับ อาจด้วยความที่ว่าการที่เราไม่ค่อยสนใจสภาพแวดล้อมก็อาจเป็นข้อดี เพราะชีวิตผมนั้นก็เจอคนนิสัยไม่ดี ใช้อารมณ์มาเยอะ รวมทั้งในโรงเรียนก็โดนเพื่อนแกล้งมาตลอดหลายปี เด็กปกติหลายๆ คนเมื่อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้อาจเป็นคนนิสัยไม่ดีหรือมีปัญหาทางจิตได้ แต่เราวนอยู่แค่ตัวเราเป็นหลักไม่ซึมซับสภาพแวดล้อมก็อาจเป็นข้อดีไปอีกอย่าง อีกอย่างผมเป็นคนจำบางเรื่องตอนเด็กแม่นเพราะเราชอบคิดซ้ำๆ เด็กปกติเจออะไรแล้วก็ปล่อยเหมือนสายน้ำแต่เราชอบเก็บมาคิดและจำก็เลยทำให้มีเรื่องบางเรื่องในตอนเด็กที่จำได้มากกว่าคนอื่นครับ

ผม P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร 
สามารถติดตามและพูดคุยกับผมได้ที่เพจ : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร
หรือลิงค์ : https://www.facebook.com/psurachet95/?show_switched_toast=0&show_invite_to_follow=0&show_switched_tooltip=0&show_podcast_settings=0&show_community_transition=0&show_community_review_changes=0
ช่อง Youtube : P สุรเชษฐ์ ฆังนิมิตร 
หรือลิงค์ :  https://www.youtube.com/channel/UCcaotwQy4XufCWfUdJGmFtw
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่