สำนักงาน กสทช. ภาค 4 และสำนักงาน กสทช. เขต 43 ตรวจจับเครื่องวิทยุคมนาคม

วันที่ 31 มีนาคม 2565 เจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช. ภาค 4 และเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช. เขต 43 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ท่าศาลา เข้าดำเนินการตรวจค้น ตามหมายค้นของศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช ภายในบริเวณร้านให้บริการอาหารและเครื่องดื่มแห่งหนึ่งในพื้นที่ ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช พบของกลางเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 13 เครื่อง พร้อมด้วยอุปกรณ์แท่นชาร์จ จำนวน 7 อัน โดยใช้ความถี่ 440.525 MHz ติดต่อสื่อสารภายในร้านดังกล่าว จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาในความผิดฐาน มี ใช้ เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต และใช้ความถี่โดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 6 และมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และได้นำส่งของกลางพร้อมด้วยผู้ต้องหา ต่อพนักงานสอบสวน สภ.ท่าศาลา เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

เพิ่มเติม..
-เครื่องวิทยุสื่อสารภาคประชาชน ตัวเครื่องต้องเป็นสีแดง หรือ สีเหลือเท่านั้น
-ความถี่ที่ใช้งานได้ 245.000-246.9875Mhz สำหรับเครื่องสีแดง และ 78.000-78.9875Mhz สำหรับเครื่องสีเหลือง
-กำลังส่งไม่เกิน 0.5W ไม่ต้องขอใบอนุญาตมีใช้ กำลังส่งเกิน 0.5W ต้องขอใบอนุญาตมีใช้
-หลังเครื่อง ต้องมีสติกเกอร์ NTC ID จาก กสทช.ทุกเครื่อง ไม่ว่าเครื่อง 0.5W หรือเครื่องที่กำลังส่งเกิน 0.5W สติกเกอร์ตัวนี้บ่งบอกว่าตัวเครื่องมีการนำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยอย่างถูกต้อง มีการตรวจรับรองมาตรฐานตัวเครื่องจาก กสทช.อย่างถูกต้อง และสามารถขอใบมีใช้และตั้งสถานีได้อย่างถูกต้อง หากไม่มีสติกเกอร์ NTC ID ห้ามซื้อมาใช้เด็ดขาด..

ตัวอย่างสติกเกอร์ NTC ID
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

-ซื้อเครื่องโมบายกำลังส่ง 10W จำเป็นต้องขอใบอนุญาตตั้งสถานีเพิ่มเติม และขอใบมีใช้ หรือใช้เครื่องแฮนดี้แต่ต้องการขึ้นเสาส่งเพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้งานก็จำเป็นต้องขอใบอนุญาตตั้งสถานี..
-เครื่องวิทยุภาคประชาชนไม่ต้องสอบใดๆทั้งสิ้น ซื้อเครื่องมาและขอใบอนุญาตให้ครบ ก็ใช้งานได้ทั้นที หรือจะไห้ทางร้านค้าที่เราซื้อเครื่องดำเนินการเรื่องเอกสารต่างๆไห้ก็ได้..
-ใช้เครื่องสีดำผิดทุกกรณี..
-ใช้งานความถี่ 400-470 MHz ผิดทุกรณี ไม่เกี่ยวว่ากำลังส่งมาก กำลังส่งน้อย..









แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่