ทำความรู้จักกับ Olympic Truce กับการโดนแบนของรัสเซียและเบลารุส

Olympic Truce คืออะไร ?
Olympic Truce หรือประเพณีการพักรบในช่วงกีฬาโอลิมปิก เป็นประเพณีที่ทำกันมาตั้งแต่กีฬาโอลิมปิกยุคโบราณ (ช่วง 800 ปีก่อนคริสตกาล) โดยในสมัยก่อนจะมีการประกาศให้แต่ละนครรัฐในกรีกทำการพักรบก่อนที่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจะเกิดขึ้น เพื่อที่จะให้แน่ใจว่านครรัฐ Elis ซึ่งเป็นนครรัฐที่เป็นเจ้าภาพนั้น จะไม่ถูกโจมตีจากนครรัฐอื่น ๆ และเพื่อให้แน่ใจว่านักกีฬาและผู้ชมการแข่งขันจะได้รับความปลอดภัย

แม้ว่ากีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่จะมีมาเกือบ 100 ปี แต่ Olympic Truce ถูกกลับนำมาใช้อีกครั้งโดยองค์การสหประชาชาติ หรือ UN ตามมติข้อที่ 48/11 วันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1993 จากการร้องขอของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ IOC ซึ่งมติของ UN ในครั้งนั้นได้ถูกนำมาใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปี 1994 ที่เมือง Lillehammer ประเทศนอร์เวย์ 

โดยช่วงเวลาการพักรบในช่วงกีฬาโอลิมปิกจะเริ่มตั้งแต่ 7 วันแรกก่อนที่พิธีเปิดโอลิมปิกจะเริ่มขึ้น จนถึง 7 วันสุดท้ายหลังจากพิธีปิดพาราลิมปิกได้จบลงไป 

ปล1. มติ Olympic Truce ของ UN จะร่างขึ้นมาใหม่ทุก ๆ 2 ปี ตามช่วงเวลาของโอลิมปิกที่มักจะจัดทุก ๆ 2 ปี (ฤดูร้อนสลับกับฤดูหนาว)
ปล2. ส่วนใหญ่เกือบทุกประเทศจะมีการเซ็นสัญญาว่าประเทศของตนเองจะมีพักรบในช่วงกีฬาโอลิมปิก แต่ก็มีบ้างที่บางประเทศไม่ได้เซ็น เช่นอย่างปีนี้ ก็มีออสเตรเลีย สหรัฐ อินเดีย ญี่ปุ่น และอินเดีย ที่ไม่ได้เซ็น Olympic Truce สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2022 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน จากประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศจีน
ปล3. ช่วงเวลาการพักรบ สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวปี 2022 จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 28 มกราคม จนถึงวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 2022 

ที่มา:
UN and the Olympic Truce | United Nations
Olympic Truce - Wikipedia
Olympic Truce - Promoting an Ancient Greek Tradition (olympics.com)
UN General Assembly adopts Olympic Truce for Beijing 2022, highlighting the contribution of sport to the promotion of peace and solidarity - Olympic News (olympics.com)



เหตุการณ์ใดบ้างที่ละเมิด Olympic Truce ?
จริง ๆ แล้ว มีหลายเหตุการณ์มากมายที่ขัดกับ Olympic Truce แต่ก็ไม่ค่อยมีประเด็นที่หนักพอที่จะทำให้ IOC แบนเหมือนครั้งนี้

จากการเดาของ จขกท คิดว่า เพราะส่วนใหญ่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมักจะเป็นสงครามกลางเมืองซะมากกว่า ซึ่งแม้ว่ามีหรือไม่มีโอลิมปิก พวกเขาก็ทำสงครามกันอยู่แล้ว เช่น สงครามยูโกสลาเวีย สงครามในอิรัก สงครามในอัฟกานิสถาน สงครามในซีเรีย สงครามในโซมาเลีย

และอีกสาเหตุหนึ่ง ก็อาจจะเพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับกรณีการพิพาทดินแดน ซึ่งก็เกิดการทะเลาะกันได้ตลอดเวลาอยู่แล้ว เช่น สงครามรัสเซีย-จอร์เจีย หรือการที่รัสเซียผนวกไครเมีย

แต่เห็นได้ว่าเหตุการณ์ที่รัสเซียกับเบลารุสบุกยูเครนถึงกรุงคีฟ นั้นแตกต่างจากเหตุการณ์อื่น ๆ เพราะกรุงคีฟไม่ใช่ดินแดนพาพาทอยู่แล้ว และจุดประสงค์ของรัสเซียต่อการบุกครั้งนี้นั้นแตกต่างจากสงครามรัสเซีย-จอร์เจีย หรือการที่รัสเซียผนวกไครเมีย อีกด้วย จึงเป็นประเด็นที่ทำให้ IOC Take Action กับทั้งสองประเทศในลักษณะนี้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่