💗มาลาริน/เป็นสมาชิกอียูไม่ใช่ง่ายๆ ดับฝันเคียฟ! /นายกฯตั้งวอร์รูมติดตามไม่เลือกข้างสนับสนุนเจรจาสู่สันติ

เพี้ยนแคปเจอร์ดับฝันเคียฟ! EU ชี้ขั้นตอนรับสมาชิกใช้เวลาหลายปี สหรัฐฯ ก็เทเมินกำหนดเขตห้ามรัสเซียบินเหนือยูเครน



ยูเครนในวันจันทร์ (28 ก.พ.) ลงนามในเอกสารยื่นคำร้องสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) อย่างไรก็ตาม ความหวังเข้าร่วมโดยทันทีมีอันพังทลาย หลังเจ้าหน้าที่อียูหลายคนยอมรับว่ากระบวนการดังกล่าวต้องใช้เวลานานหลายปี ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ต้องพบความผิดหวังซ้ำซ้อน เมื่อสหรัฐฯ เพิกเฉิยต่อเสียงเรียกร้องให้กำหนดเขตห้ามเครื่องบินของรัสเซียบินเหนือท้องฟ้ายูเครน ระบุจะนำมาซึ่งความขัดแย้งโดยตรงระหว่างมอสโกกับวอชิงตัน

ประธานาธิบดีเซเลนสกี โพสต์ภาพถ่ายตัวเองกำลังลงสนามสมัครเป็นสมาชิกอียู ความเคลื่อนไหวทางสัญลักษณ์ครั้งสำคัญในกระบวนการที่คงต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะเป็นจริง และดูเหมือนว่ามันน่าจะทำให้ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย อยู่ไม่สุขและคงไม่นั่งดูอยู่เฉยๆ ในขณะที่ผู้นำรายนี้กล่าวหามานานว่าตะวันตกกำลังพยายามดึงยูเครนเข้าสู่เขตอิทธิพลของพวกเขา

ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นในขณะที่เจ้าหน้าที่รัสเซียและยูเครน พบปะเจรจาสันติภาพกันเป็นครั้งแรกในวันที่ 5 ของสงคราม ท่ามกลางคำขู่นิวเคลียร์ของปูติน ในขณะที่ปฏิบัติการรุกรานยูเครนของรัสเซียต้องเผชิญการต้านทานอย่างดุเดือดอย่างที่ไม่คาดหมายไว้
ในช่วงหัวค่ำวันจันทร์ (28 ก.พ.) ที่ปรึกษาระดับสูงของประธานาธิบดียูเครน เปิดเผยว่าการเจรจารอบแรกกับรัสเซียสิ้นสุดลงแล้ว และคณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายต่างเดินทางกลับบ้าน เพื่อกลับไปปรึกษาหารือในเมืองหลวงของพวกเขา

มีคาอิโล โปดอลยัค ที่ปรึกษาทำเนียบประธานาธิบดียูเครน ให้รายละเอียดแค่เล็กน้อย และบอกเพียงว่าการเจรจาที่จัดขึ้นใกล้ชายแดนยูเครน-เบลารุส มุ่งเน้นไปที่ความเป็นไปได้ในข้อตกลงหยุดยิง และการเจรจารอบ 2 จะมีขึ้น "ในอนาคตอันใกล้นี้"

เมื่อวันอาทิตย์ (27 ก.พ.) อัวร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ออกมาส่งสัญญาณหนุนให้ยูเครนเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) โดยระบุว่าประเทศซึ่งกำลังถูกรัสเซียโจมตีอย่างหนักแห่งนี้ “เป็นส่วนหนึ่งของเรา” ในความเคลื่อนไหวซึ่งถือเป็นการท้าทายผู้นำหมีขาวที่พยายามยกประวัติศาสตร์มาอ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมในการบุกยูเครน

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่อียูหลายคนเน้นย้ำยึดมั่นในกระบวนการที่ใช้เวลานานหลายปี ดับความหวังของยูเครนในการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอียูในทันที ที่อาจช่วยพวกเขายืนหยัดรับมือกับการโจมตีของรัสเซียได้ดีขึ้น และช่วยเร่งแรงสนับสนุนทั้งด้านการทหาร การเงินและการเมือง

ในขั้นนี้ ยูเครนยังคงอยู่ห่างไกลนานหลายปี จากการยกระดับมาตรฐานสำหรับการบรรลุเป้าหมายเป็นสมาชิกอียู และเวลานี้เองกลุ่ม 27 ชาติสมาชิกก็หมดความสนใจในการอ้าแขนรับสมาชิกใหม่ๆ ดังนั้น จึงไม่น่าจะเปิดรับสมาชิกใหม่ใดๆ ในอนาคตอันใกล้
ยิ่งไปกว่านั้น การอ้าแขนรับประเทศใดๆ เข้าเป็นสมาชิกอียู จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ และบางรัฐสมาชิกมีกระบวนการอนุมัติที่ยุ่งยากซับซ้อน

โจเซฟ บอร์เรลล์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป ยอมรับเช่นกันว่าการยื่นขอเป็นสมาชิกใดๆ อาจต้องใช้เวลานานปลายปี

นอกจากฝั่งอียูแล้ว ยูเครนต้องได้ยินข่าวที่สร้างความผิดหวังซ้ำซ้อนมาจากฝั่งสหรัฐฯ เช่นกัน หลังทำเนียบขาวในวันจันทร์ (28 ก.พ.) แสดงปฏิกิริยาขานรับด้วยความเย็นชา ต่อข้อเสนอของประธานาธิบดีเซเลนสกี สำหรับกำหนดเขตห้ามบินสำหรับเครื่องบินของรัสเซียเหนือท้องฟ้ายูเครน โดยระบุว่าการเข้าร่วมใดๆ ของสหรัฐฯ ในความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเท่ากับเป็นความขัดแย้งโดยตรงกับรัสเซีย ซึ่งทางวอชิงตันไม่ต้องการ

เจน ซากิ โฆษกทำเนียบขาวกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า การบังคับใช้เขตห้ามบินจะเป็นก้าวย่างที่มุ่งหน้าสู่การส่งทหารสหรัฐฯ ไปสู้รบกับรัสเซีย ซึ่งเริ่มปฏิบัติการรุกรานยูเครนเต็มรูปแบบในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ "จะไม่มีการบังคับใช้เขตห้ามบิน" เธอกล่าวและบอกว่า "มันจำเป็นต้องประจำการทหารสหรัฐฯ เพื่อบังคับใช้ ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจก่อความขัดแย้งโดยตรงและอาจก่อสงความกับรัสเซีย ซึ่งเป็นบางอย่างที่เราไม่มีแผนเป็นส่วนหนึ่งในนั้น"

เมื่อถามถึงมาตรการอื่นๆ นอกเหนือจากการกำหนดเขตห้ามบินสำหรับเครื่องบินรัสเซีย ซากิ ตอบว่าทุกอย่างยังวางอยู่บนโต๊ะ แต่ด้วยที่เธอเน้นว่ามีสายการบินต่างๆ มากมายของสหรัฐฯ ที่บินผ่านรัสเซียไปยังเอเชียและที่อื่นๆ ของโลก มันจึงน่าจะเป็นอีกเหตุผลที่อเมริกาลังเลบังคับใช้มาตรการดังกล่าว

ในถ้อยแถลงที่เผยแพร่ผ่านวิดีโอ ประธานาธิบดีซเลนสกี ไม่ได้พูดอย่างเจาะจงในข้อเสนอของเขาว่า มาตรการกำหนดเขตห้ามบินสำหรับเครื่องบินรัสเซียนั้นจะบังคับใช้อย่างไรและใครจะเป็นผู้บังคับใช้

(ที่มา : ไทมส์ออฟอิสราเอล/รอยเตอร์)

https://mgronline.com/around/detail/9650000020375

เพี้ยนแคปเจอร์เผยโต๊ะเจรจาสันติภาพรัสเซีย-ยูเครน "นายกฯประยุทธ์"สั่งตั้งวอร์รูมติดตาม

กระทรวงการต่างประเทศเบลารุส เผยแพร่ภาพสถานที่เจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซีย-ยูเครน? ด้าน"นายกฯประยุทธ์" เรียกประชุมรมต.ฝ่ายความมั่นคงประเมินสถานการณ์และผลกระทบ พร้อม สั่งตั้งวอร์รูมติดตามความเคลื่อนไหวการสู้รบ ส่งตัวแทนประชุมยูเอ็นวันนี้
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Online
 
ภายหลังรัฐบาลยูเครนยืนยันว่าจะเข้าร่วมการเจรจากับรัสเซียที่ชายแดนเบราลุส  ล่าสุด  นายอนาโตลี กลาซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเบลารุส เปิดเผยทางสื่อออนไลน์ของกระทรวง ว่า เบลารุสได้เตรียมสถานที่เจรจาสันติภาพไว้พร้อมแล้วสำหรับคณะผู้แทนจากยูเครนและรัสเซีย 
 
นายอนาโตลี กลาซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเบลารุส เปิดเผยทางสื่อออนไลน์ของกระทรวง ว่า เบลารุสได้เตรียมสถานที่เจรจาสันติภาพไว้พร้อมแล้วสำหรับคณะผู้แทนจากยูเครนและรัสเซีย พร้อมภาพสถานที่ประชุมและธงชาติของรัสเซียและยูเครน ระบุว่าการประชุมจะมีขึ้นทันที่คณะผู้แทนจากทั้งสองฝ่ายมาถึงสถานที่ประชุม
 
ก่อนหน้านี้ ยูเครนตกลงจะส่งคณะผู้เจรจาไปยังสถานที่แห่งหนึ่งใกล้ชายแดนยูเครน-เบลารุส แม้ว่าจะมีรายงานว่า ประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโกของเบลารุส เตรียมส่งทหารเข้าร่วมกับรัสเซียในการบุกยูเครนในเร็วๆนี้
 
ด้านประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน แถลงต่อประชาชนผ่านโทรทัศน์เมื่อวานนี้ ว่า ไม่คาดหวังจะมีผลสำเร็จจากการประชุมระหว่างคณะผู้แทนยูเครนและรัสเซียในวันนี้
 
ทั้งนี้ ยูเครนจะส่งคณะผู้แทนไปร่วมพูดคุยกับคณะผู้แทนรัสเซีย เพื่อไม่ให้ชาวยูเครนรู้สึกเคลือบแคลงใจว่า เหตุใด เขาในฐานะประธานาธิบดี จึงไม่พยายามหาวิธีพูดคุยเพื่อยุติการสู้รบกับรัสเซีย ถึงแม้ว่าโอกาสประสบความสำเร็จจะไม่มากก็ตาม
 
ด้านความเคลื่อนไหวกำหนดท่าทีของไทยต่อสถานการณ์การสู้รบระหว่าง รัสเซีย - ยูเครน  วันเดียวกันนี้  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายรกรรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้เรียกประชุมรมต.ที่เกี่ยวข้อง

โดยนายดอน ปรมัติวินัย รมว.ต่างประเทศ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า  ขอพูดถึงในมุมมองของการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กระทบต่อทุกมุมโลกหากสถานการณ์ยืดเยื้อ ที่ผ่านมาทางกระทรวงฯ ได้ทำหลายอย่างไปแล้ว แต่ไม่ได้ออกมาพูด เพราะนักวิชาการที่ออกมาให้ข้อมูล หรือสื่อต่างๆ ก็ได้ให้ข้อมูลกับประชาชนถึงสิ่งที่รัฐบาลทำไปแล้ว 
 
"ผลกระทบจะมาจากความยืดเยื้อของสถานการณ์ ซึ่งไม่ใช่แค่เฉพาะคนไทย แต่ทั่วโลกก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน หากสถานการณ์บานปลาย ซึ่งการเจรจากับทางองค์การสหประชาชาติ หรือแต่ละประเทศ เราก็ขอให้มีการพูดจาหารือกัน เพื่อหาทางออก หากฟังดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ แต่เป็นความปกติที่จำเป็น เพราะการทะเลาะกันดีที่สุดคือการหันหน้ามาคุยกัน เฉพาะฉะนั้นเราจะมีแถลงการณ์ของประเทศไทย และแถลงการณ์ร่วมกับอาเซียน รวมถึงความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งเราให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก" นายดอน กล่าว 
 
นอกจากนี้ มีการประเมินสถานการณ์หากยืดเยื้อและเลวร้าย แต่ทุกอย่างไม่มีคำตอบสุดท้าย เพราะรู้ว่าหากยืดเยื้อก็จะไม่เป็นผลดี แต่ก็มีความพยายามให้ยืดเยื้อเหมือนกัน เพื่อประโยชน์ทางใดทางหนึ่ง ซึ่งก็เป็นมากับทุกเหตุการณ์ในอดีต แต่ในวันนี้สิ่งที่เห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีมากที่สุด คือ การที่มีการพูดคุยเจรากันของยูเครนและรัสเซีย ที่ชายแดนเบลารุส 
 
สำหรับแผนอพยพคนไทยนั้นมีอยู่แล้ว โดยวันที่ 1-2 มี.ค.65 จะกลับมา 99 คน  ผ่านมาทางเมืองวอร์ซอ แต่ยังมีคนไทยจำนวนหนึ่งไม่พร้อมกลับออกมา เพราะว่ามีครอบครัวอยู่ที่นั้น 
 
นายดอน ยอมรับว่า นายกรัฐมนตรีได้มีการแนะแนวทาง เพราะอาจมีผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ร่วมถึงด้านต่างๆ เพราะหากสถานการณ์ยืดเยื้อ เงินเฟื้อจะเกิดขึ้น ราคาพลังงานที่สูงขึ้น พร้อมขอทุกฝ่ายอย่างกังวล เพราะรัฐบาลได้พูดคุยกันอยู่แล้ว โดยจะมีการตั้งวอร์รูมเพื่อติดตามสถานการณ์ แต่ไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด
 
แต่เราก็ให้ความมั่นใจว่าเรารับรู้ทุกมุม ทั้งเวทีในประเทศและต่างประเทศ แต่ท่าทีของรัฐบาลไทย คือ ไม่ต้องการให้เกิดความวุ่นวาย ไม่ว่าที่ไหนในโลกนี้ เราต้องการความสงบ เพราะความสงบสามารถทำให้ทุกประเทศพัฒนาตัวเองได้
 
เมื่อถามย้ำว่า จุดยืนของไทยจะเป็นอย่างไร จะไม่ส่งผลกระทบทางลบใช่หรือไม่ นายดอน กล่าวว่า โดนทุกประเทศมากน้อยต่างกัน และอยู่ที่ว่าเรารับมือได้อย่างไร แต่ประชาชนต้องให้ความร่วมมือด้วย เพราะเราไม่สามารถทำได้โดยลำพัง ในกลุ่มของอาเซียนเองก็มีการหารือกัน หลังจากนี้ต้องรอผลการเจรจาที่เกิดขึ้น ซึ่งหวังว่าจะเป็นเชิงบวก แต่เราไม่สามารถปักใจได้ เพราะผลประโยชน์แต่ละฝ่ายแตกต่างกัน แต่ก็หวังว่านานาประเทศจะให้ความร่วม ไม่บานปลาย เพื่อให้ทุกอย่างคลี่คลาย ซึ่งในคืนนี้จะมีการหารือใน UN โดยจะมีการเตรียมตัวให้ผู้แทนของไทย ได้แสดงท่าทีอย่างไร ไม่ใช่อยู่เฉยๆ ต้องมีสิ่งที่บอกกล่าวกับเวทีระหว่างประเทศ ว่าที่ผ่านมาได้ทำอะไรบ้างและเราคาดหวังว่า จะเกิดอะไร และจะได้รับความร่วมมือกันนานาประเทศอย่างไร พร้อมย้ำว่าคนไทยในประเทศต้องสามัคคี และเป็นปึกแผ่น ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศ หากประเทศไหนแตกจะเป็นเหยื่อได้อย่างง่ายดาย จึงฝากเรื่องนี้เป็นหลัก 
 
ถามต่อว่า หากสถานการณ์มีความจำเป็นที่ไทยจะต้องเลือกข้าง จะอยู่ข้างไหน นายดอน กล่าวว่า เราต้องดูสถานการณ์ที่เป็นจริงในวันนี้ ไม่ต้องเลือกข้างได้ยิ่งดีที่สุด ดังนั้นคนไทยและคนทั่วโลกต้องออกมาช่วยกันเรียกร้อง ให้เหตุการณ์ค่อยๆ คลี่คลาย แต่ก็เห็นหลายประเทศพูดคุยในโซเซียลเสมือนสะใจ เหมือนเกมส์ แต่ในชีวิตจริงมันต้องหาทางลดความขัดแย้ง ถึงจะสามารถเดินหน้าไปต่อได้ ตนไม่อยากจะพูดว่าสถานการณ์จะเลวร้ายหรือไม่ แต่อยากฝากว่า การหารือวันนี้วันแรกที่จะเริ่มต้น นำไปสู่จุดเริ่มต้นของจุดจบได้หรือไม่

https://www.nationtv.tv/news/378865187

เพี้ยนปักหมุด "แม้หวังตั้งสงบจงเตรียมรบไว้พร้อมสรรพ"

พระราชนิพนธ์นี้  ทำให้คนไทยต้องตระหนักนะคะ

ไทยห่างไกลแต่ก็ได้ผลกระทบจากราคาน้ำมัน ต้องวางตัวเป็นกลางเพื่อความมั่นคงของประเทศ

ยูเครนไม่ได้เป็นสมาชิกอียูง่ายๆ ตอนนี้จึงได้แต่อาสาสมัครนักรบมาช่วยเท่านั้น

ส่วนรัสเซียนั้นพร้อมสรรพมาหลายเพลาแล้ว

สงครามจะยืดเยื้อหรือจบลงก็อยู่ที่สองประเทศเจรจากัน  ไม่เกี่ยวกับประเทศใดๆเลยค่ะ สันติจึงจะเกิด

ประเทศไทยมีความเป็นนักเจรจา  เรื่องโดนรังแกในอดีตเราจึงผ่านมาได้  

ขอบคุณบรรพบุรุษไทย

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ถ้าคนที่มีความรู้เรื่องต่างประเทศนี่รู้กันทั้งนั้นว่าการจะพิจารณารับเป็นสมาชิก EU นี่เงื่อนไขมันเยอะและต้องใช้เวลา   ที่ประธานาธิบดียูเครนถ่ายทอดตอนลงนามสมัครอะไรนี่ก็แค่สร้างภาพเท่านั้นแหละ   สร้างกระแสให้คนฮือฮาสมกับที่เคยเป็นดาราตลกมาก่อน

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่