ยอดติดเชื้อยังสูง ป่วยใหม่ 8,078 ราย เสียชีวิต 22 คน หายป่วยเพิ่ม 6,595 คน
https://www.matichon.co.th/covid19/news_3152866
ยอดติดเชื้อยังสูง ป่วยใหม่ 8,078 ราย เสียชีวิต 22 คน หายป่วยเพิ่ม 6,595 คน
เมื่อวันที่ 27 มกราคม ศูนย์ข้อมูลโควิด 19 เผยแพร่ ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2565 รวม 8,078 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 7,853 ราย , ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 225 ราย , ผู้ป่วยสะสม 183,587 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) , หายป่วยกลับบ้าน 6,595 ราย , หายป่วยสะสม 133,670 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) , ผู้ป่วยกำลังรักษา 82,760 ราย และ เสียชีวิต 22 ราย
หมอธีระ ชี้"โอมิครอน"ในทวีปเอเชียอยู่ในช่วงขาขึ้น ยังไม่ใช่จุดพีคของเรา
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/103121/
หมอธีระ ชี้ "โอมิครอน"ในทวีปเอเชียอยู่ในช่วงขาขึ้น ตีความตามเนื้อผ้าทั้งในเรื่องเวลาการระบาดและสภาพแวดล้อมเชิงนโยบาย น่าจะยังไม่ใช่จุดพีคของเรา
วันนี้( 27 ม.ค.65) รศ.นพ.
ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด
ผ่านทางเฟซบุ๊ก
Thira Woratanarat โดยระบุว่า
"27 มกราคม 2565
ทะลุ 362 ล้านไปแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 3,343,710 คน ตายเพิ่ม 9,729 คน รวมแล้วติดไปรวม 362,701,881 คน เสียชีวิตรวม 5,644,172 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส อเมริกา อินเดีย บราซิล และเยอรมัน
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.87 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 83.3
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 50.44 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 33.85
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 11 ใน 20 อันดับแรกของโลก
...เทียบกันแต่ละทวีป
สถานการณ์ขณะนี้ จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวัน ทวีปยุโรปสูงสุด ตามมาด้วยเอเชีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ตามลำดับ
แต่ทวีปอเมริกาเหนือมีอัตราส่วนระหว่างการเสียชีวิตกับการติดเชื้อใหม่สูงสุด โดยมากกว่าทวีปยุโรปและทวีปเอเชียถึง 3 เท่า
...Omicron BA.2 ในเดนมาร์ก
ทำท่าไม่ค่อยดี เพราะ BA.2 นั้นกระจายไปหลากหลายเมือง และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับข้อมูลจากประเทศอื่นๆ ที่ชี้ตรงกันว่า BA.2 น่าจะแพร่ได้ไวกว่า Omicron ดั้งเดิมอย่าง BA.1 (ดังภาพที่ 1 และ 2 จาก Pandemic Prevention Institute)
คงต้องติดตามการวิจัยกันอย่างใกล้ชิดว่า ความรุนแรง การดื้อต่อวัคซีน และสมรรถนะในการติดเชื้อซ้ำของ BA.2 นั้นจะแตกต่างไปจาก BA.1 หรือไม่
...วิเคราะห์สถานการณ์ย้อนหลังของ Omicron ในอเมริกา
หากเทียบกับระลอกก่อนๆ จะพบว่าอเมริกาโดน Omicron โจมตีหนัก ทำให้มีจำนวนการติดเชื้อสูงกว่าทุกระลอกที่ผ่านมา
แม้วิจัยพิสูจน์แล้วว่าความรุนแรงจะน้อยกว่าเดลต้า แต่ก็ส่งผลกระทบให้มีจำนวนคนป่วยที่ต้องมารับบริการฉุกเฉินและนอนโรงพยาบาลมากกว่าเดิม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวัยเด็ก ที่เราเห็นข้อมูลมาก่อนหน้านี้ว่ามีการติดเชื้อ และป่วยเพิ่มขึ้นมาก แม้ Omicron จะผ่านพีคไปแล้ว แต่ในช่วงอายุนี้ในหลายรัฐก็ยังถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
...สำหรับไทยเรา
ดูธรรมชาติการระบาดของทั่วโลก ต้องยอมรับว่าทวีปเอเชียนั้นเริ่มต้นการระบาดช้ากว่าทวีปอื่นๆ และกำลังอยู่ในขาขึ้น ยังไม่ได้พีคแล้วลงแบบทวีปอื่น ด้วยสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ที่มีการหลั่งไหลของนักท่องเที่ยวและคนที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ย่อมมีโอกาสที่ไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีนั้นจะเล็ดรอดเข้ามาได้ ดังที่เห็นล่าสุดคือ BA.2
ตีความตามเนื้อผ้า ทั้งในเรื่องเงื่อนเวลาการระบาด และสภาพแวดล้อมเชิงนโยบาย ณ จุดนี้ น่าจะยังไม่ใช่พีคของเรา
การป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด เป็นกิจวัตร เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า พบคนน้อยลง เท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ อยู่กันห่างๆ
เลี่ยงการกินดื่มร่วมกัน ไม่แชร์ของกินของใช้
เตรียมตัว เตรียมพร้อมเสมอ ข้าวของเครื่องใช้จำเป็น หยูกยาสามัญประจำบ้าน รวมถึงห้องหับและชุดตรวจ ATK เผื่อสมาชิกในครอบครัวไม่สบายจะได้ควักแผนที่เตรียมไว้มาใช้ได้ทันที
การดำรงชีวิตประจำวันในอนาคตถัดจากนี้ สวมหน้ากาก ลดความแออัด รักษาระยะห่าง และเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง จะเป็นเรื่องที่ควรทำเพื่อประคับประคองให้สุขภาพไปพร้อมกับการทำมาหาเลี้ยงชีพ
...รักตัวเองมากๆ ตระหนักถึง Long COVID ไว้เสมอ เพราะโควิดไม่ใช่หวัดธรรมดา..."
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10223800872922256
ทุเรียนตะวันออก…เคว้ง ! รถไฟจีน-ลาวขนได้กลางปี’65
https://www.prachachat.net/local-economy/news-849626
ความกังวลใจของผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนมูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาท ในภาคตะวันออกยิ่งทวีคูณหนักขึ้น เมื่อนับถอยหลังอีกไม่ถึง 2 เดือนที่ผลผลิตทุเรียนฤดูกาลใหม่จะเริ่มทยอยออกเดือนมีนาคม 2565 ปีนี้มีผลผลิตทุเรียนมากถึง 721,078 ตัน และมังคุด 193,389 ตัน
ขณะที่จีนยังคงมาตรการเข้มงวดในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในสินค้าทุกชนิดที่ผ่าน 4 ด่านทางบก ได้แก่ ด่านโหยวอี้กวน ด่านตงซิน ด่านบ่อเต็น ด่านรถไฟผิงเสียง จนทำให้ช่วงปลายปี 2564 รถขนส่งลำไยไปติดยาวนานสุดถึง 50 วัน เนื่องจากเมื่อด่านใดตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในคน สินค้า หรือในรถตู้ขนส่งสินค้า จะหยุดการนําเข้าและปิดด่านทันที 14 วัน แล้วจึงกลับมาเปิดใหม่ เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564
ดังนั้น ผู้ส่งออกทุเรียนจึงพยายามทุกทางให้ภาครัฐช่วยเจรจากับรัฐบาลจีน เพราะทุเรียนมูลค่าความเสียหาย 3 ล้านบาทต่อตู้คอนเทนเนอร์ ล่าสุดได้จัดเสวนา “ร่วมด้วยช่วยกัน ฝ่าฟันวิกฤตผลไม้ไทย” จัดโดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 ร่วมกับ 22 องค์กรที่เกี่ยวข้องวงการผลไม้ไทย และสมาคมด้านโลจิสติกส์
ทุเรียนตะวันออกมืดแปดด้าน
นาย
ภานุศักดิ์ สายพานิช นายกสมาคมทุเรียนไทย (TDA) กล่าวว่า ได้นำมาตรการป้องกันเชื้อโควิด-19 ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) มาใช้ควบคุมตั้งแต่สวนไปถึงการบรรจุ เพื่อรองรับการตรวจสินค้าที่นำเข้าจีนเป็นมาตรฐานเดียวกัน และได้วิจัยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ หาสารฆ่าเชื้อโควิด-19 ไม่ให้ติดออกไป
จากนั้นจะนำข้อมูลนี้ผลักดันให้ภาครัฐนำเสนอทางการจีน รวมถึงเจรจากับ สปป.ลาว และเวียดนาม เพื่อออกมาตรการป้องกันเชื้อโควิด-19 ร่วมกัน และขอให้จีนเปิดช่อง GREEN LANE เฉพาะผลไม้ รวมทั้งเร่งเปิดขนส่งทางรถไฟจีน-ลาวให้เร็วที่สุดตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2565 ผลไม้จะออกมา
นายสัญชัย ปุรณชัยคีรี นายกสมาคมการค้าและส่งออกผลไม้ไทย กล่าวว่า ปัญหาสำคัญในการส่งออกผลไม้ 1) หากจีนตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในคน สินค้า หรือในรถตู้ขนส่งสินค้า จะสั่งระงับการนําเข้าและปิดด่านทันที 14 วัน ไม่มีการเจรจาผ่อนผัน ส่งผลให้รถตู้ขนสินค้าติดค้างที่ด่าน มาตรการควบคุมเชื้อโควิด-19 ควรเป็นมาตรการเดียวกับจีน และให้จัดฝึกอบรมล้งเรื่องการควบคุมโควิด-19 ต้องตรวจจับหรือสั่งปิดล้งที่ไม่ปฏิบัติ รวมทั้งในสวนต้นทาง และให้มีการ ATK แรงงาน
นาย
มณฑล ปริวัฒน์ นายกสมาคมการค้าผลไม้ยุคใหม่ (MAFTA) กล่าวว่า จีนมีการปิด-เปิดด่านโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า ไม่ว่าพบเชื้อเป็น เชื้อตาย ล่าสุดแก้วมังกรจากเวียดนาม 400 ตู้ ถูกระงับการนำเข้าเช่นกัน ปีนี้มาตรการโควิด-19 ต้องเข้มงวดทั้งสวนและล้ง เพราะถ้ามีปัญหา เจ้าหน้าที่จีนต้องเข้ามาตรวจสอบ (audit) ต้องเตรียมพร้อมในทุเรียนภาคตะวันออก ไม่เช่นนั้นจะล้มเป็นโดมิโนลามถึงทุเรียนภาคใต้ที่จะออกตามมา
นาย
ชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการ สวพ.6 กล่าวว่า สวพ.6 ได้ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร เพิ่มมาตรการการป้องกันและการแพร่เชื้อโควิด-19 อย่างเข้มข้น นอกจากมาตรการตรวจแมลงและศัตรูพืช จัดทำมาตรฐาน GAP Plus และ GMP Plus ล้งในภาคตะวันออกมี 700 แห่ง ต้องทำมาตรฐานทั้งหมดเพื่อไม่ให้ถูกระงับการส่งออก
ส่วนปัญหาการปิดด่านและตู้คอนเทนเนอร์ช่วงพีกมาก ๆ สวพ.6 และด่านตรวจพืชได้เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่เพิ่มอีกเท่าตัว เพื่อตรวจปล่อยตู้ให้เร็วที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดจันทบุรีว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 21 มกราคม 2565 นายสุวิทย์ รัตนจินดา ประธานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย (TLSP) พร้อมทั้งคณะกรรมการสมาพันธ์ ได้เข้าร่วมประชุมร่วมกับสถาบันวิจัยโลจิสติกส์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้นครคุนหมิง (SSILR) และสมาคมการค้าผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์และนำเข้าส่งออกสินค้าของประเทศจีน ผ่านระบบ Zoom Meeting
โดยมีศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิบูลย์ ตั้งกิตติภาภรณ์ ประธานเครือฟาร์อีสต์โปรเฟสชั่นแนลส์ และที่ปรึกษาสถาบันวิจัยโลจิสติกส์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้นครคุนหมิง เป็นประธานในการประชุม ร่วมกับพันธมิตรผู้ประกอบการโลจิสติกส์และผู้ส่งออกนำเข้าไทย-ลาว-จีน ได้แก่ สมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย สมาคมการค้าผลไม้ยุคใหม่ สมาคมผู้ประกอบการผักผลไม้ไทย และสมาคมการค้าธุรกิจข้ามแดนไทย-จีน เพื่อหารือเตรียมความพร้อมเรื่องระบบโลจิสติกส์ทางรางและอากาศระหว่างไทย-ลาว-จีน และหาแนวทางการเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดให้บริการขนส่งสินค้าบนเส้นทางรถไฟจีน-ลาว-ไทย พร้อมทั้งเสนอปัญหาและอุปสรรคอันเนื่องมาจากการเปิดเส้นทางรถไฟจีน-ลาว
รถไฟจีน-ลาวขนผลไม้กลางปี’65
สมาพันธ์ได้เป็นผู้แทนของประเทศไทยในการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) เพื่อก่อตั้ง “
พันธมิตรโลจิสติกส์ขนส่งหลายรูปแบบ บนระเบียงเศรษฐกิจจีน-สปป.ลาว-ไทย” ระหว่างสถาบันวิจัยคุนหมิง China Kunming South Asia & Southeast Asia International Logistics Research Institute (SSILR) , สภาอุตสาหกรรมและการค้าแห่งชาติลาว และ TLSP วัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันส่งเสริมและผลักดันให้การขนส่งทางรางระหว่างไทย-ลาว-จีน ให้มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งเพื่อเป็นการเปิดศักราชใหม่ ในการผลักดันให้เป็นศูนย์กลางในการให้ความร่วมมือของการขนส่งทางราง ทางบก ทางอากาศ รวมทั้งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ในการพัฒนาเส้นทางการค้าใหม่ สิงคโปร์, มาเลเซีย, ไทย, ลาว, จีน และกลุ่มประเทศเอเชียกลางและยุโรปต่อไป
โดยที่ประชุมได้หารือประเด็นปัญหาการขนส่งสินค้าทางรถไฟจากไทย-ลาว-จีน 4 ประเด็น คือ
1. เรื่องการเชื่อมโยงทางรถไฟจีน-ลาวจากสถานีเวียงจันทน์ใต้กับสถานีท่านาแล้ง ซึ่งการพัฒนาโครงข่ายการขนส่ง (Missing Link) ยังไม่สามารถเชื่อมมายังฝั่งไทยที่ จ.หนองคายได้ เนื่องจากยังมีช่วงรอยต่อระหว่างสถานีท่านาแล้งและเวียงจันทน์ใต้เป็นระยะทาง 2.5 กิโลเมตร ทำให้ผู้ขนส่งต้องมาทำการเปลี่ยนถ่ายสินค้าจากรถไฟ-รถบรรทุก ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการขนถ่าย หากบริหารจัดการไม่ดีจะส่งผลให้การขนส่งสินค้าเกษตรเกิดการเน่าเสียได้ง่าย
2. ขนาดของรางที่มีความแตกต่างกัน ในส่วนของประเทศไทยยังคงเป็น metre gauge (รางรถไฟขนาด 1.006 เมตร) ในขณะที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นแบบ (standard gauge) (รางรถไฟขนาด 1.435 เมตร)
JJNY : ป่วยใหม่8,078 เสียชีวิต22│หมอธีระชี้"โอมิครอน"ยังไม่ใช่จุดพีค│ทุเรียนตะวันออก…เคว้ง !│ส.ส.ก้าวไกล โชว์ผลแล็บจุฬาฯ
https://www.matichon.co.th/covid19/news_3152866
ยอดติดเชื้อยังสูง ป่วยใหม่ 8,078 ราย เสียชีวิต 22 คน หายป่วยเพิ่ม 6,595 คน
เมื่อวันที่ 27 มกราคม ศูนย์ข้อมูลโควิด 19 เผยแพร่ ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2565 รวม 8,078 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 7,853 ราย , ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 225 ราย , ผู้ป่วยสะสม 183,587 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) , หายป่วยกลับบ้าน 6,595 ราย , หายป่วยสะสม 133,670 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) , ผู้ป่วยกำลังรักษา 82,760 ราย และ เสียชีวิต 22 ราย
หมอธีระ ชี้"โอมิครอน"ในทวีปเอเชียอยู่ในช่วงขาขึ้น ยังไม่ใช่จุดพีคของเรา
https://www.tnnthailand.com/news/covid19/103121/
หมอธีระ ชี้ "โอมิครอน"ในทวีปเอเชียอยู่ในช่วงขาขึ้น ตีความตามเนื้อผ้าทั้งในเรื่องเวลาการระบาดและสภาพแวดล้อมเชิงนโยบาย น่าจะยังไม่ใช่จุดพีคของเรา
วันนี้( 27 ม.ค.65) รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด
ผ่านทางเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat โดยระบุว่า
"27 มกราคม 2565
ทะลุ 362 ล้านไปแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 3,343,710 คน ตายเพิ่ม 9,729 คน รวมแล้วติดไปรวม 362,701,881 คน เสียชีวิตรวม 5,644,172 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส อเมริกา อินเดีย บราซิล และเยอรมัน
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.87 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 83.3
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 50.44 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 33.85
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 11 ใน 20 อันดับแรกของโลก
...เทียบกันแต่ละทวีป
สถานการณ์ขณะนี้ จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวัน ทวีปยุโรปสูงสุด ตามมาด้วยเอเชีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ตามลำดับ
แต่ทวีปอเมริกาเหนือมีอัตราส่วนระหว่างการเสียชีวิตกับการติดเชื้อใหม่สูงสุด โดยมากกว่าทวีปยุโรปและทวีปเอเชียถึง 3 เท่า
...Omicron BA.2 ในเดนมาร์ก
ทำท่าไม่ค่อยดี เพราะ BA.2 นั้นกระจายไปหลากหลายเมือง และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับข้อมูลจากประเทศอื่นๆ ที่ชี้ตรงกันว่า BA.2 น่าจะแพร่ได้ไวกว่า Omicron ดั้งเดิมอย่าง BA.1 (ดังภาพที่ 1 และ 2 จาก Pandemic Prevention Institute)
คงต้องติดตามการวิจัยกันอย่างใกล้ชิดว่า ความรุนแรง การดื้อต่อวัคซีน และสมรรถนะในการติดเชื้อซ้ำของ BA.2 นั้นจะแตกต่างไปจาก BA.1 หรือไม่
...วิเคราะห์สถานการณ์ย้อนหลังของ Omicron ในอเมริกา
หากเทียบกับระลอกก่อนๆ จะพบว่าอเมริกาโดน Omicron โจมตีหนัก ทำให้มีจำนวนการติดเชื้อสูงกว่าทุกระลอกที่ผ่านมา
แม้วิจัยพิสูจน์แล้วว่าความรุนแรงจะน้อยกว่าเดลต้า แต่ก็ส่งผลกระทบให้มีจำนวนคนป่วยที่ต้องมารับบริการฉุกเฉินและนอนโรงพยาบาลมากกว่าเดิม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวัยเด็ก ที่เราเห็นข้อมูลมาก่อนหน้านี้ว่ามีการติดเชื้อ และป่วยเพิ่มขึ้นมาก แม้ Omicron จะผ่านพีคไปแล้ว แต่ในช่วงอายุนี้ในหลายรัฐก็ยังถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
...สำหรับไทยเรา
ดูธรรมชาติการระบาดของทั่วโลก ต้องยอมรับว่าทวีปเอเชียนั้นเริ่มต้นการระบาดช้ากว่าทวีปอื่นๆ และกำลังอยู่ในขาขึ้น ยังไม่ได้พีคแล้วลงแบบทวีปอื่น ด้วยสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ที่มีการหลั่งไหลของนักท่องเที่ยวและคนที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ย่อมมีโอกาสที่ไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีนั้นจะเล็ดรอดเข้ามาได้ ดังที่เห็นล่าสุดคือ BA.2
ตีความตามเนื้อผ้า ทั้งในเรื่องเงื่อนเวลาการระบาด และสภาพแวดล้อมเชิงนโยบาย ณ จุดนี้ น่าจะยังไม่ใช่พีคของเรา
การป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด เป็นกิจวัตร เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า พบคนน้อยลง เท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ อยู่กันห่างๆ
เลี่ยงการกินดื่มร่วมกัน ไม่แชร์ของกินของใช้
เตรียมตัว เตรียมพร้อมเสมอ ข้าวของเครื่องใช้จำเป็น หยูกยาสามัญประจำบ้าน รวมถึงห้องหับและชุดตรวจ ATK เผื่อสมาชิกในครอบครัวไม่สบายจะได้ควักแผนที่เตรียมไว้มาใช้ได้ทันที
การดำรงชีวิตประจำวันในอนาคตถัดจากนี้ สวมหน้ากาก ลดความแออัด รักษาระยะห่าง และเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง จะเป็นเรื่องที่ควรทำเพื่อประคับประคองให้สุขภาพไปพร้อมกับการทำมาหาเลี้ยงชีพ
...รักตัวเองมากๆ ตระหนักถึง Long COVID ไว้เสมอ เพราะโควิดไม่ใช่หวัดธรรมดา..."
https://www.facebook.com/thiraw/posts/10223800872922256
ทุเรียนตะวันออก…เคว้ง ! รถไฟจีน-ลาวขนได้กลางปี’65
https://www.prachachat.net/local-economy/news-849626
ความกังวลใจของผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนมูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาท ในภาคตะวันออกยิ่งทวีคูณหนักขึ้น เมื่อนับถอยหลังอีกไม่ถึง 2 เดือนที่ผลผลิตทุเรียนฤดูกาลใหม่จะเริ่มทยอยออกเดือนมีนาคม 2565 ปีนี้มีผลผลิตทุเรียนมากถึง 721,078 ตัน และมังคุด 193,389 ตัน
ขณะที่จีนยังคงมาตรการเข้มงวดในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในสินค้าทุกชนิดที่ผ่าน 4 ด่านทางบก ได้แก่ ด่านโหยวอี้กวน ด่านตงซิน ด่านบ่อเต็น ด่านรถไฟผิงเสียง จนทำให้ช่วงปลายปี 2564 รถขนส่งลำไยไปติดยาวนานสุดถึง 50 วัน เนื่องจากเมื่อด่านใดตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในคน สินค้า หรือในรถตู้ขนส่งสินค้า จะหยุดการนําเข้าและปิดด่านทันที 14 วัน แล้วจึงกลับมาเปิดใหม่ เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564
ดังนั้น ผู้ส่งออกทุเรียนจึงพยายามทุกทางให้ภาครัฐช่วยเจรจากับรัฐบาลจีน เพราะทุเรียนมูลค่าความเสียหาย 3 ล้านบาทต่อตู้คอนเทนเนอร์ ล่าสุดได้จัดเสวนา “ร่วมด้วยช่วยกัน ฝ่าฟันวิกฤตผลไม้ไทย” จัดโดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 ร่วมกับ 22 องค์กรที่เกี่ยวข้องวงการผลไม้ไทย และสมาคมด้านโลจิสติกส์
ทุเรียนตะวันออกมืดแปดด้าน
นายภานุศักดิ์ สายพานิช นายกสมาคมทุเรียนไทย (TDA) กล่าวว่า ได้นำมาตรการป้องกันเชื้อโควิด-19 ขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) มาใช้ควบคุมตั้งแต่สวนไปถึงการบรรจุ เพื่อรองรับการตรวจสินค้าที่นำเข้าจีนเป็นมาตรฐานเดียวกัน และได้วิจัยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ หาสารฆ่าเชื้อโควิด-19 ไม่ให้ติดออกไป
จากนั้นจะนำข้อมูลนี้ผลักดันให้ภาครัฐนำเสนอทางการจีน รวมถึงเจรจากับ สปป.ลาว และเวียดนาม เพื่อออกมาตรการป้องกันเชื้อโควิด-19 ร่วมกัน และขอให้จีนเปิดช่อง GREEN LANE เฉพาะผลไม้ รวมทั้งเร่งเปิดขนส่งทางรถไฟจีน-ลาวให้เร็วที่สุดตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2565 ผลไม้จะออกมา
นายสัญชัย ปุรณชัยคีรี นายกสมาคมการค้าและส่งออกผลไม้ไทย กล่าวว่า ปัญหาสำคัญในการส่งออกผลไม้ 1) หากจีนตรวจพบเชื้อโควิด-19 ในคน สินค้า หรือในรถตู้ขนส่งสินค้า จะสั่งระงับการนําเข้าและปิดด่านทันที 14 วัน ไม่มีการเจรจาผ่อนผัน ส่งผลให้รถตู้ขนสินค้าติดค้างที่ด่าน มาตรการควบคุมเชื้อโควิด-19 ควรเป็นมาตรการเดียวกับจีน และให้จัดฝึกอบรมล้งเรื่องการควบคุมโควิด-19 ต้องตรวจจับหรือสั่งปิดล้งที่ไม่ปฏิบัติ รวมทั้งในสวนต้นทาง และให้มีการ ATK แรงงาน
นายมณฑล ปริวัฒน์ นายกสมาคมการค้าผลไม้ยุคใหม่ (MAFTA) กล่าวว่า จีนมีการปิด-เปิดด่านโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า ไม่ว่าพบเชื้อเป็น เชื้อตาย ล่าสุดแก้วมังกรจากเวียดนาม 400 ตู้ ถูกระงับการนำเข้าเช่นกัน ปีนี้มาตรการโควิด-19 ต้องเข้มงวดทั้งสวนและล้ง เพราะถ้ามีปัญหา เจ้าหน้าที่จีนต้องเข้ามาตรวจสอบ (audit) ต้องเตรียมพร้อมในทุเรียนภาคตะวันออก ไม่เช่นนั้นจะล้มเป็นโดมิโนลามถึงทุเรียนภาคใต้ที่จะออกตามมา
นายชลธี นุ่มหนู ผู้อำนวยการ สวพ.6 กล่าวว่า สวพ.6 ได้ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร เพิ่มมาตรการการป้องกันและการแพร่เชื้อโควิด-19 อย่างเข้มข้น นอกจากมาตรการตรวจแมลงและศัตรูพืช จัดทำมาตรฐาน GAP Plus และ GMP Plus ล้งในภาคตะวันออกมี 700 แห่ง ต้องทำมาตรฐานทั้งหมดเพื่อไม่ให้ถูกระงับการส่งออก
ส่วนปัญหาการปิดด่านและตู้คอนเทนเนอร์ช่วงพีกมาก ๆ สวพ.6 และด่านตรวจพืชได้เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่เพิ่มอีกเท่าตัว เพื่อตรวจปล่อยตู้ให้เร็วที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดจันทบุรีว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 21 มกราคม 2565 นายสุวิทย์ รัตนจินดา ประธานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย (TLSP) พร้อมทั้งคณะกรรมการสมาพันธ์ ได้เข้าร่วมประชุมร่วมกับสถาบันวิจัยโลจิสติกส์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้นครคุนหมิง (SSILR) และสมาคมการค้าผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์และนำเข้าส่งออกสินค้าของประเทศจีน ผ่านระบบ Zoom Meeting
โดยมีศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิบูลย์ ตั้งกิตติภาภรณ์ ประธานเครือฟาร์อีสต์โปรเฟสชั่นแนลส์ และที่ปรึกษาสถาบันวิจัยโลจิสติกส์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้นครคุนหมิง เป็นประธานในการประชุม ร่วมกับพันธมิตรผู้ประกอบการโลจิสติกส์และผู้ส่งออกนำเข้าไทย-ลาว-จีน ได้แก่ สมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย สมาคมการค้าผลไม้ยุคใหม่ สมาคมผู้ประกอบการผักผลไม้ไทย และสมาคมการค้าธุรกิจข้ามแดนไทย-จีน เพื่อหารือเตรียมความพร้อมเรื่องระบบโลจิสติกส์ทางรางและอากาศระหว่างไทย-ลาว-จีน และหาแนวทางการเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดให้บริการขนส่งสินค้าบนเส้นทางรถไฟจีน-ลาว-ไทย พร้อมทั้งเสนอปัญหาและอุปสรรคอันเนื่องมาจากการเปิดเส้นทางรถไฟจีน-ลาว
รถไฟจีน-ลาวขนผลไม้กลางปี’65
สมาพันธ์ได้เป็นผู้แทนของประเทศไทยในการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) เพื่อก่อตั้ง “พันธมิตรโลจิสติกส์ขนส่งหลายรูปแบบ บนระเบียงเศรษฐกิจจีน-สปป.ลาว-ไทย” ระหว่างสถาบันวิจัยคุนหมิง China Kunming South Asia & Southeast Asia International Logistics Research Institute (SSILR) , สภาอุตสาหกรรมและการค้าแห่งชาติลาว และ TLSP วัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันส่งเสริมและผลักดันให้การขนส่งทางรางระหว่างไทย-ลาว-จีน ให้มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งเพื่อเป็นการเปิดศักราชใหม่ ในการผลักดันให้เป็นศูนย์กลางในการให้ความร่วมมือของการขนส่งทางราง ทางบก ทางอากาศ รวมทั้งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ในการพัฒนาเส้นทางการค้าใหม่ สิงคโปร์, มาเลเซีย, ไทย, ลาว, จีน และกลุ่มประเทศเอเชียกลางและยุโรปต่อไป
โดยที่ประชุมได้หารือประเด็นปัญหาการขนส่งสินค้าทางรถไฟจากไทย-ลาว-จีน 4 ประเด็น คือ
1. เรื่องการเชื่อมโยงทางรถไฟจีน-ลาวจากสถานีเวียงจันทน์ใต้กับสถานีท่านาแล้ง ซึ่งการพัฒนาโครงข่ายการขนส่ง (Missing Link) ยังไม่สามารถเชื่อมมายังฝั่งไทยที่ จ.หนองคายได้ เนื่องจากยังมีช่วงรอยต่อระหว่างสถานีท่านาแล้งและเวียงจันทน์ใต้เป็นระยะทาง 2.5 กิโลเมตร ทำให้ผู้ขนส่งต้องมาทำการเปลี่ยนถ่ายสินค้าจากรถไฟ-รถบรรทุก ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการขนถ่าย หากบริหารจัดการไม่ดีจะส่งผลให้การขนส่งสินค้าเกษตรเกิดการเน่าเสียได้ง่าย
2. ขนาดของรางที่มีความแตกต่างกัน ในส่วนของประเทศไทยยังคงเป็น metre gauge (รางรถไฟขนาด 1.006 เมตร) ในขณะที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นแบบ (standard gauge) (รางรถไฟขนาด 1.435 เมตร)