💙มาลาริน/กรุงไทยชี้ปี 65 จุดเริ่มต้นเศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจน สอดรับ"เวิลด์แบงก์"คงจีดีพี"ไทย"ปี 64โต 1% ปี 65 ฟื้น 3.9%

เพี้ยนแข็งแรงกรุงไทยชี้ปี 65 จุดเริ่มต้นเศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจน


กรุงไทยชี้ปี 65 จุดเริ่มต้นเศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจน ประเมินโอมิครอนไม่กระทบหนัก คาดจีดีพีขยายตัว 3.8% หนุนภาครัฐเดินหน้านโยบายการคลังกระตุ้นเศรษฐกิจ มองเงินบาทแข็งค่าจากนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามามากขึ้น แนะผู้ประกอบการปรับตัวรัแนวคิด “GROWTH” ติดสปีดให้เศรษฐกิจไทย

นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า ทางกรุงไทยคอมพาสมองว่า การแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน จะกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยไม่มาก ด้วยเหตุผลที่แม้ว่า สายพันธุ์ดังกล่าวจะแพร่ระบาดเร็ว แต่ไม่รุนแรง ขณะที่ อัตราการฉีดวัคซีนของไทยก็อยู่ในระดับที่ดีหรือเกินกว่า 60%ของประชากร ดังนั้น ก็เชื่อว่า รัฐบาลจะไม่ประกาศล็อกดาวน์ ทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้

ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยปี 2565 จะกลับเข้าสู่เส้นทางของการฟื้นตัว หรือ “Recovery Path” ชัดเจนขึ้น การฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมประชากรในสัดส่วนที่สูงขึ้นในหลายประเทศ รวมถึง การปรับพฤติกรรมของคนให้สามารถอยู่ร่วมกับโควิด-19 จะช่วยรักษาโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้ส่งออกไทยโตได้ต่อเนื่องที่ 3.9% ในปีหน้า ถือว่า ยังเติบโตได้ได้ภายใต้ภาวะต้นทุนแพงและการขาดแคลนวัตถุดิบ
 
ด้านอุปสงค์ในประเทศของไทยคาดว่า จะปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ฟื้นตัวเป็นลำดับนับตั้งแต่ไตรมาสที่สี่ของปี 2564 อย่างไรก็ดี มีหลายปัจจัยท้าทายที่ทำให้การกลับเข้าสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ของเศรษฐกิจไทยต้องล่าช้าไปเป็นปี 2566 โดยเฉพาะการระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งเราก็มองว่า ยังเป็นความเสี่ยง

“แม้ว่าเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะฟื้นตัวชัดเจนขึ้นจากปีก่อน แต่ก็เป็นการเติบโตหลังจากที่เศรษฐกิจต้องสะดุดลงจากการแพร่ระบาดใหญ่ มีความเปราะบางทั้งจากการฟื้นตัวที่ไม่พร้อมเพรียงกัน (K-Shaped Recovery)  และปริมาณหนี้ในระดับสูง ทำให้เศรษฐกิจไทยจะยังไม่กลับเข้าสู่ก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 และยังต้องอาศัยการผ่อนคลายนโยบายการเงินและการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังเพื่อช่วยสร้างโมเมนตัม”
 
นายมานะ นิมิตรวานิช ผู้อำนวยการฝ่าย ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการลงเม็ดเงินเยียวยาเศรษฐกิจเพิ่มเติมใน 3 มิติหลัก ได้แก่ “กลบหลุมเดิม-เติมกำลังซื้อ-รื้อโครงสร้างธุรกิจ” เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการขาดหายรายได้ของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะการจ้างงานแรงงานในภาคบริการที่คาดว่า จะยังฟื้นตัวได้ช้ากว่ากลุ่มอื่น ทั้งนี้ ทางแบงก์ชาติได้ระบุว่า กำลังแรงงานที่หายไปทำให้หลุมรายได้หายไปราว 2.6 ล้านล้านบาท

นอกจากนี้ ยังเห็นว่า ภาครัฐควรเดินหน้ามาตรการที่ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อในรูปแบบของการช่วยออกค่าใช้จ่าย หรือ Co-payment ที่มี Multiplier กับเศรษฐกิจสูง ตลอดจนการช่วยเหลือและเสริมความแข็งแกร่งหรือปรับโครงสร้างให้ธุรกิจสามารถรองรับความเสี่ยง และแข่งขันได้ในยุค New Normal

ด้านนโยบายการเงินคาดว่า จะอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายอย่างต่อเนื่อง หลังคณะกรรมการนโยบายการเงินให้สัญญาณที่ชัดเจนว่าจะใช้นโยบายการเงินสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ทำให้คาดว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ 0.5% ตลอดทั้งปี

“ในปีหน้า เรายังไม่เห็นปัจจัยที่จะกดดันให้แบงก์ชาติต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย แม้ปีนี้ เราจะเผชิญกับราคาสินค้าที่แพงขึ้น แต่อัตราเงินเฟ้อก็ยังอยู่ในระดับ 1.2% และ ปีหน้าคาดว่า จะอยู่ที่ 1.5% ซึ่งอัตรานี้ ถือว่า อยู่ในกรอบล่างการดูแลนโยบายเงินเฟ้อของแบงก์ชาติ ฉะนั้น เงินเฟ้อไม่ได้กดดันต่อการดำเนินนโยบายการเงิน อย่างไรก็ดี เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวได้ เราคาดว่า อาจจะเห็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเริ่มขยับในปี 2566 เป็นต้นไป”

สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดนั้น คาดการณ์กัว่า มาตรการคิวอีของสหรัฐจะหมดลงในครึ่งปีหน้า ทำให้เฟดอาจขึ้นดอกเบี้ย 1-2 ครั้ง แต่เรื่องเงินเฟ้อไม่ได้เป็นปัญหาต่อสหรัฐ ดังนั้น แรงกดดันก็จะไม่ส่งผ่านมายังเศรษฐกิจไทย ฉะนั้น นโยบายการเงินของไทยก็ยังคงอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ

สำหรับค่าเงินบาทนั้น มีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นในครึ่งหลังของปีหน้า โดยเฉพาะกรณีที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มกลับมาคาดประมาณ 5.8 ล้านคนในปีหน้า จากปีนี้ที่อยู่ 4 แสนคน ซึ่งจะทำให้ดุลบริการดีขึ้นและทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวดีขึ้น ทำให้เงินบาท ณ สิ้นปีจะอยู่ที่ 31.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ด้านนายกิตติศักดิ์ กวีกิจมณี นักวิเคราะห์อาวุโส ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทยกล่าวเพิ่มเติมว่า ช่วงเวลานี้เป็นโอกาสที่ภาคธุรกิจจะทบทวนกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวและก้าวไปสู่ความเป็น winner ในอนาคต ด้วยการต่อยอดจากกระแสการพัฒนาในโลกยุค New Normal นำไปสู่การปรับโครงสร้างธุรกิจ

ไม่ว่าจะเป็นการให้ความสำคัญกับการลงทุนรองรับ Green Economy การส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวมูลค่าสูงและยั่งยืนรองรับการเปิดประเทศ การยกระดับ Productivity ด้วยการปรับกลยุทธ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ท่ามกลางกระแสการแย่งชิง Talent โลกที่เข้มข้นขึ้น การลงทุนต่อยอดจากเทคโนโลยีแห่งอนาคต

นอกจากนี้ ธุรกิจดูแลสุขภาพอาจต้องปรับโมเดลกิจการให้รองรับสถานการณ์การอยู่ร่วมกับโควิด-19 ในระยะยาว หากธุรกิจสามารถจับกระแสและใช้ประโยชน์จากทิศทางดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ ก็จะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยในภาพรวมฟื้นตัวกลับเข้าสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 ได้เร็วขึ้น และจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงของการระบาดของโควิด-19 รวมถึงปัจจัยความไม่แน่นอนอื่นๆ ที่อาจเข้ามากระทบเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างแข็งแกร่งขึ้น

https://www.bangkokbiznews.com/news/977604

ปลื้มปริ่ม"เวิลด์แบงก์"คงจีดีพี"ไทย"ปี 64โต 1% ปี 65 ฟื้น 3.9% ก่อนโตเพิ่ม 4.3% ปี 66



"เวิลด์แบงก์"คงจีดีพี"ไทย"ปี 64โต 1% ปี 65 ฟื้น 3.9% ก่อนโตเพิ่ม 4.3% ปี 66 เกาะติดโอไมครอนหวั่นทุบเศรษฐกิจซ้ำ แนะรัฐเร่งหนุนดิจิทัลขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.64 นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทย ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดเผยว่า เวิลด์แบงก์ได้ออกรายงานตามติดเศรษฐกิจไทย ธ.ค.64 : อยู่กับโควิดในโลกยุคดิจิทัล โดยได้ประมาณการเศรษฐกิจไทย หรือจีดีพีในปี 2564 ไว้ที่ 1% ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากประมาณการครั้งก่อน หลังจากได้รับผลกระทบจากโควิดและเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาส 3 ซึ่งจะค่อยๆฟื้นตัวขึ้น และยังคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาเท่ากับก่อนโควิด-19 ได้ในช่วงปลายปี 2565 โดยจีดีพีในปี 2565 จะเติบโต 3.9% และจะเพิ่มขึ้นในปี 2566 ที่คาดว่าจะเติบโต 4.3% จากแรงส่งด้านการส่งออก การบริโภคและการท่องเที่ยว

สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นเกือบ 7 ล้านคนในปี 2565 โดยจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งหลังของปีและเพิ่มขึ้นอีกในปี 2566 เป็น 20 ล้านคนหรือประมาณครึ่งหนึ่งของระดับนักท่องเที่ยวในปี 2562 โดยคาดว่าการท่องเที่ยวจะช่วยส่งผลต่ออัตราการเติบโตของจีดีพีได้ 2% ในปี 2565 และ 4% ในปี 2566 ส่วนการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวเกือบ 4% ในปี 2565 และปี 2566 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่คาดการณ์ไว้ 1%

นอกจากนี้สิ่งที่ยังต้องติดตามใกล้ชิดคือกรณีหากมีการระบาดโควิด-19 ใหม่อีกรอบ และเป็นสายพันธุ์ใหม่ อาจทำให้ควบคุมได้ยาก จนภาครัฐต้องออกมาตรการเพื่อมาจำกัดการระบาด จำกัดการเดินทาง อาจทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 2565 กลับมาติดลบ 0.3% และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะช้าออกไป 1 ปี

ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมาแรงงานได้รับผลกระทบจากโควิด จำเป็นต้องย้ายจากภาคอุตสาหกรรมไปสู่ภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 3% สะท้อนว่ามีความเปราะบาง โดยภาครัฐได้มี พ.ร.ก.เงินกู้รวม 1.5 ล้านล้านบาท มาใช้กับการเยียวยา เป็นมาตรการช่วยประคับประคองคนที่ยากจนและรับผลกระทบโควิด ส่วนหนี้สาธารณะยังมีพื้นที่ทางการคลังใช้อย่างเพียงพอ แต่อาจต้องใช้อย่างเฉพาะจุดมากขึ้น
 
ขณะที่การประมาณการได้นำเรื่องดิจิทัลเข้ามาประมาณการเศรษฐกิจด้วย โดยคำนึงถึงการปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีมาช่วยเช่น การทำงานที่บ้านหรือเวิร์คฟอร์มโฮมในช่วงวิด , การเพิ่มประสิทธิภาพมาตรการเยียวยาภาครัฐ และไทยถือเป็นประเทศแรกๆที่นำฟินเทคมาใช้ ตั้งแต่ก่อนโควิด มีพร้อมเพย์ มีฐานข้อมูลการชำระเงิน และมองว่าโครงสร้างเศรษฐกิจไทยหลังจากนี้จะถูกขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล และยังต้องเร่งพัฒนา เพราะปัจจุบันทักษะแรงงานยังขาดดิจิทัลที่เป็นภาคบริการอยู่ จากโครงสร้างเดิมคือเน้นการส่งออก การท่องเที่ยวเป็นหลัก

ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และที่ผ่านมามีมาตรการประคับประคองความยากจน และคนตกงาน โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นกลับมาเท่ากับก่อนโควิดในช่วงปลายปี 2565 จากการส่งออกที่จะเป็นตัวขับเคลื่อน และการบริโภคที่อัดอั้นมานานจากช่วงโควิด และผลกระทบของโควิดต่อรายได้ แต่หนี้ครัวเรือนสูงยังเป็นอุปสรรคต่อการใช้จ่ายในระยะข้างหน้า

"เศรษฐกิจไทยมีทั้งข่าวดีและปัจจัยเสี่ยง โดยปัจจัยบวกคือ เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นไปและกลับเข้าสู่ระดับก่อนโควิดฯในช่วงปลายปีหน้า แต่อย่างไรก็ตาม ยังก็มีปัจจัยเสี่ยงใน 3 ประเด็นคือ การระบาดกลับมาของโควิด-19 หรือการกลายพันธุ์ใหม่ รวมถึงนโยบายการท่องเที่ยวในระดับโลกเนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังพึ่งพาการท่องเที่ยวสูง และปัญหา Global Supply chain disruption โดยมองกรณี down side อาทิ มีการระบาดรอบใหม่ที่รุนแรง ทำให้ต้องกลับมาใช้มาตรการควบคุมอีกครั้งคาดการณ์จีดีพีในปีหน้าติดลบ 0.3% และการกลับเข้าสู่ระดับก่อนโควิดช้าไป 1 ปี ซึ่งกรณีการระบาดของโอไมครอนรวมอยู่ในปัจจัยเสี่ยงนี้"

นางเบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า ได้มีข้อเสนอแนะนอกจากรัฐบาลได้ดำเนินการหลายด้านเพื่อขับเคลื่อนวาระดิจิทัลแล้ว รัฐบาลสามารถดำเนินการเพิ่มเติมได้อีกเพื่อพัฒนาบริการดิจิทัลและกระตุ้นธุรกิจดิจิทัล เช่น การส่งเสริมการแข่งขันและการจูงใจให้เกิดความสามารถในการทำงานร่วมกันในตลาดดิจิทัล การเพิ่มความพร้อมของทักษะด้านดิจิทัลและทักษะเสริมอื่นๆ รวมถึงยกระดับการเข้าถึงนวัตกรรมทางการเงิน ทั้งนี้ตั้งแต่การของโควิดในเดือนมี.ค.63 มีจำนวน 30% ของผู้ใช้บริการดิจิทัลทั้งหมดในไทยเป็นผู้ใช้บริการรายใหม่ และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสูงถึง 90% ซึ่งสูงเป็นอันดับสองในภูมิภาครองจากสิงคโปร์

“ในขณะที่แผลเป็นจากผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 อาจคงอยู่ไปอีกนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการสูญเสียงานและการปิดโรงเรียน การพัฒนาที่นำโดยดิจิทัลสามารถช่วยชดเชยผลกระทบจากรอยแผลเป็นเหล่านี้ และทำให้มั่นใจได้ว่าการเติบโตจะมีความทั่วถึงและเท่าเทียมกัน”

https://siamrath.co.th/n/305694

เพี้ยนสู้สู้ เชื่อมั่นทีมเศรษฐกิจ เชื่อมั่นลุงตู่จะขับเคลื่อนไทยให้แข็งแกร่งในอนาคตค่ะ  

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่