🇹🇭มาลาริน🌕29พ.ย. ป่วย4,753คน หายป่วย6,165คน เสียชีวิต27คน/โควิด76จว./โอมิครอน RT-PCRตรวจหาได้/10ข้อควรรู้ จาก หมอ ยง


https://www.sanook.com/news/8480998/



https://www.tnnthailand.com/news/covid19/97803/


https://siamrath.co.th/n/301612



https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000118182

ปูเสื่อ ติดตามข่าวโควิดกันนะคะ

ขณะนี้ สถานการณ์เริ่มดีขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตลดลง

ผู้รักษาตัวในร.พ.ก็ลดลงไปด้วย  วัคซีนใกล้ครบ 100 ล้านโดส

โควิดสายพันธุ์"โอมิครอน " ได้รับการชี้แจงให้อ่านว่า โอมิครอน จะง่ายต่อการออกเสียงที่พยางค์แรกค่ะ

ดูเหมือนทั่วโลกจะตื่นเต้นกับสายพันธุ์นี้  

ไทยเรายังไม่มีเข้ามา แต่รัฐบาลก็ระมัดระวังอย่างมากค่ะ

อย่าเพิ่งวิตกกังวลนะคะ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 24

นพ.ยงชี้ โควิดสายพันธุ์โอไมครอน
• แพร่กระจายมากกว่าสายพันธุ์เดลต้า
• ความรุนแรงของโรคยังต้องศึกษา
• สามารถตรวจ RT-PCT ได้
การฉีดวัคซีนยังจำเป็น ช่วยลดความรุนแรง ลดป่วย และเสียชีวิต ทำให้โควิดเป็นเหมือนโรคทางเดินหายใจ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ โพสต์ผ่านเฟสบุ๊ก ระบุว่า ขณะนี้ทั่วโลกให้ความสนใจมากกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอไมครอน ทั้งนี้เพราะการกลายพันธุ์เฉพาะในส่วนหนามแหลม สามารถเก็บจาก การกลายพันธุ์ที่เกิดในสายพันธุ์แอลฟา เบต้า และเดลต้า มาแล้ว ยังเพิ่มตำแหน่งการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้นอีก 30 ตำแหน่ง  

อย่างไรก็ตามสิ่งที่จะต้องตอบคำถามขณะนี้คือ

1. ไวรัสนี้ติดง่ายแพร่กระจายง่ายหรือไม่
จากการดูพันธุกรรมไวรัสนี้ พัฒนาเพิ่มขึ้นจากสายพันธุ์เดลต้า ที่แพร่กระจายง่ายอยู่แล้ว อย่างน้อยการแพร่กระจายของโรค ก็ไม่น่าจะน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้า

2. ความรุนแรงของโรคโควิด 19  
จากข้อมูล ที่ได้มาจากแอฟริกาใต้เบื้องต้น ในหลายครอบครัว พบว่าสายพันธุ์นี้มีอาการไม่มาก ทั้งในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนแล้วและไม่ได้รับวัคซีน โดยธรรมชาติของไวรัสที่แพร่กระจายง่าย ไวรัสเองก็ต้องการมีชีวิตอยู่ยาวนาน หรือแพร่พันธุ์ได้ยาวนาน ในการศึกษาในอดีตสำหรับไวรัสตัวอื่น ที่มีการถ่ายทอดลูกหลานมายาวนาน หรือการเพาะเลี้ยงจากรุ่นต่อรุ่นไปยาวๆ จะพบว่าความรุนแรงจะลดน้อยลง ในอดีตการทำวัคซีนจึงใช้วิธีการเพราะเลี้ยงไปเรื่อยๆ 30-40 ครั้ง ก็จะได้ไวรัสที่อ่อนฤทธิ์ลง แล้วเอามาทำวัคซีนเช่นการทำวัคซีนโปลิโอชนิดเชื้อเป็น
อย่างไรก็ตามสำหรับไวรัสตัวนี้ยังใหม่เกินไป ที่จะบอกว่า อาการของโรคลดน้อยลงหรือเพิ่มขึ้น จะต้องดูจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาล ผลการรักษา อัตราการเสียชีวิต ระยะเวลาที่นอนโรงพยาบาล เปรียบเทียบกับสายพันธุ์เดิมที่มีอยู่ เช่นสายพันธุ์ เดลต้า

3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจหาพันธุกรรมในการวินิจฉัยที่เรียกว่า RT-PCR ยังใช้ได้ดีอยู่หรือไม่
แต่จากการที่ได้พิจารณาตามรหัสพันธุกรรม อย่างน้อยการตรวจทางห้องปฏิบัติการส่วนใหญ่จะใช้ N gene อย่างน้อย 1 ยีนส์  ในตำแหน่งของ N gene เป็นตำแหน่งที่ค่อนข้างคงที่ ไม่มีผลกับการตรวจ แต่อาจจะมีผลต่อการตรวจในยีน RdRp ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบที่ใช้กันอยู่
ที่ห้องปฏิบัติการของศูนย์ ที่ทำอยู่ขณะนี้  เมื่อนำมาเปรียบเทียบ ตามรหัสพันธุกรรม ก็พบว่ายังสามารถใช้ได้ดี ส่วนของบริษัทต่างๆ ก็คงต้องมีการตรวจสอบโดยเฉพาะในส่วนของยีนอื่นที่ไม่ใช่ N ยีนส์

4. การศึกษาตำแหน่งพันธุกรรมที่เปลี่ยนแปลงบนหนามแหลม
มีความน่าสนใจมาก ที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้น  สิ่งที่จะต้องศึกษาอย่างยิ่งก็คือจะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนชนิดที่ใช้สไปรท์เพียงตัวเดียวลดลงหรือไม่ เช่นไวรัส Vector  และ mRNA  การตอบสนองต่อ T และ B เซลล์เป็นอย่างไร ต้องมีการศึกษาอย่างเร่งด่วน

5. การเตรียมตัวในการพัฒนา ทั้งวัคซีน และ การรักษา
แต่เดิมคิดว่าวัคซีนในเจนเนอเรชั่นที่ 2  จะต้องเป็นสายพันธุ์ Beta แต่ต่อมากลับพบว่าสายพันธุ์เบต้าสู้สายพันธุ์ Delta ที่แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วไม่ได้เลย สายพันธุ์เดลต้าหลบหลีกภูมิต้านทานที่ใช้อยู่เดิมที่เป็นสายพันธุ์อู่ฮั่นไม่มาก ดังนั้นวัคซีนที่ใช้อยู่จึงสามารถที่จะใช้ได้กับสายพันธุ์เดลต้า วัคซีนไม่มีการคิดที่จะเปลี่ยนสายพันธุ์ แต่ขณะนี้เมื่อเป็นสายพันธุ์ omicron  คงต้องรอการศึกษา รวมทั้งประสิทธิภาพของ monoclonal antibodies ที่วางจำหน่ายแล้ว และยาที่วางแผนในการรักษา

6. การสื่อสารทางด้านสังคม
ขณะนี้มีการตื่นตัวกันอย่างมาก ดังนั้นข้อมูลที่ให้กับประชาชนทั่วไป จะต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง โปร่งใส ใช้ความจริง เหตุผลทางวิทยาศาสตร์มากกว่าความรู้สึก ในการแพร่กระจายข่าวออกไป ในบางครั้งมีผลกระทบทางจิตใจค่อนข้างมาก โดยเฉพาะข่าวที่ไม่เป็นความจริง และการ bully ในสังคม ไม่ได้ช่วยอะไรเลยต่อภาพรวม

7. การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และการถอดรหัสพันธุกรรม
ในภาวะเช่นนี้เราต้องการเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ และการทดลองมาตอบคำถามทั้งหมด การถอดรหัสพันธุกรรมจะต้องดำเนินการต่อไปและเพิ่มจำนวนขึ้น ให้ได้เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง สำหรับประเทศไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน เกือบ 2 ปีมีการถอดรหัสพันธุกรรมไปทั้งตัว ประมาณ 6,000 ตัว ถือว่าไม่มากถ้าเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ป่วยถึง 2 ล้านคน  ขณะนี้การถอดรหัสพันธุกรรมหลัก จะอยู่ที่กรมวิทยาศาสตร์ที่ทำได้เป็นจำนวนมาก ในสถาบันโรงเรียนแพทย์เป็นส่วนเสริม สำหรับที่ศูนย์ จะถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวเพียงเดือนละ 30 ตัว และถอดส่วนของสไปรท์ อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้การพัฒนาการตรวจจำเพาะหาสายพันธุ์เลยซึ่งทำได้เร็วมาก ก็ได้พัฒนามาโดยตลอด การตรวจหาสายพันธุ์สามารถทำได้ตั้งแต่ตรวจหาจำเพาะ ตรวจหาตำแหน่งที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม กับการถอดรหัสทั้งตัว ที่ศูนย์ทำมาตลอดในการเฝ้าระวังในประเทศไทย

8. สายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นถ้าหลบหลีกภูมิต้านทาน
ก็จะทำให้ลดประสิทธิภาพของวัคซีนลง แต่ไม่ใช่ว่าวัคซีนจะไม่ได้ประสิทธิภาพเลย เช่นวัคซีนเคยได้ประสิทธิภาพ 90%  สายพันธุ์ใหม่อาจจะลดลงมาเหลือ 70-80 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นการฉีดวัคซีนก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องทำ ให้ได้มากที่สุด และทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปควรได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันการป่วยและเสียชีวิต เพราะเรารู้อยู่แล้วว่า ไวรัสนี้ไม่หมดไปอย่างแน่นอน ถ้าทุกคนมีภูมิต้านทาน ถึงแม้จะเป็นบางส่วนก็จะลดความรุนแรงของโรคลง ลดการป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาลและการเสียชีวิต จะทำให้มองดูว่าการติดเชื้อนี้เหมือนกับโรคทางเดินหายใจทั่วไป

9. การเฝ้าระวังด้วยการเดินทาง ที่ผ่านมาเรารู้อยู่แล้วว่าถ้าเดินทางทางอากาศเรามีมาตรการในการดูแลอย่างดี ในอดีตไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ G  หรือสายพันธุ์อังกฤษสายพันธุ์เดลต้า เข้าสู่ประเทศไทยด้วยการเดินเข้ามาทั้งนั้น ไม่ว่าจะเดินมาทางฝั่งตะวันตกหรือฝั่งตะวันออกของประเทศไทย หรืออาจจะว่ายน้ำมาก็ได้ ส่วนใหญ่จะไม่บินมา เพราะเรามีมาตรการที่เข้มงวดอยู่แล้ว

10. ในภาวะที่มีโรคระบาดทุกคนจะต้องช่วยกัน

ทุกคนจะต้องมีระเบียบวินัย  เคารพในกฎเกณฑ์กติกาต่างๆ ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขวางกฎเกณฑ์ไว้ รวมทั้งปฏิบัติตาม และสุขอนามัยจะต้องเข้มงวดเช่นล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย กำหนดระยะห่างยังคงต้องยึดอย่างเคร่งครัด

ที่มา : ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ
Yong Poovorawan
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/455935859358077


ออสเตรเลียพบผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอนครั้งแรก 2 ราย
ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว เดินทางมาจากแอฟริกาใต้

ออสเตรเลียพบผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอนครั้งแรก 2 ราย จากผู้โดยสารสายการบินกาตาร์แอร์เวย์ส ซึ่งเดินทางจากแอฟริกาใต้ โดยทั้งสองคนได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว แต่ยังตรวจพบว่าติดโควิดที่ท่าอากาศยานซิดนีย์ จึงถูกแยกกักตัว ขณะที่ผู้โดยสารจากแอฟริกาใต้ในเที่ยวบินเดียวกัน จำนวน 12 คน ไม่มีผู้ติดเชื้อ แต่ได้มีการกักตัวผู้โดยสารกลุ่มนี้เช่นกัน ส่วนผู้โดยสารเที่ยวบินเดียวกันอีกกว่า 260 คน ได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ให้กักตัวในที่พัก

ที่มา : สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/455976832687313


รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564 จำนวน 27 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/455967506021579



กทม. ออกประกาศสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 47) ลงวันที่ 29 พ.ย. 64

1. ร้านอาหารสามารถให้บริการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านได้ถึง 23.00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 64
2. สถานที่ตามประกาศก่อนหน้านี้ ยังคงปิดตามเดิม จนถึง 31 ธ.ค. 64
3. สำหรับกิจกรรมการเล่นหรือแข่งขันที่ได้รับการผ่อนปรนตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย สามารถผ่อนปรนได้แต่ต้องขออนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องมีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  

ขอความร่วมมือประชาชน ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ประชาชนปลอดภัย และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด ที่จะทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้

ที่มา : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/456011002683896


18 ประเทศ/พื้นที่ ยืนยันพบเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน

1. บอตสวานา
2. เอสวาตินี
3. เลโซโท
4. มาลาวี
5. โมซัมบิก
6. นามิเบีย
7. แอฟริกาใต้
8. ซิมบับเว
9. อิตาลี
10. เยอรมนี
11. เนเธอร์แลนด์
12. อังกฤษ
13. เบลเยียม
14. สาธารณรัฐเช็ก
15. เดนมาร์ก
16. ฮ่องกง
17. อิสราเอล
18. ออสเตรเลีย

ที่มา : ศบค.
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/456051692679827


Q&A คลายข้อข้องใจ

Q : โควิดสายพันธุ์โอไมครอน มีระดับความรุนแรงเพียงใด ?
A : ข้อมูลเบื้องต้นยังมีไม่มากพอที่จะบอกถึงความรุนแรง สิ่งที่กังวล คือ ผลของการกลายพันธุ์ ทำให้เชื้อสามารถแพร่ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นกว่าสายพันธุ์อื่นๆ

สธ. ขอให้ประชาชน อย่าตื่นตระหนก และคงมาตรการป้องกันตัวเองแบบครอบจักรวาล จะเป็นเกราะป้องกันจากโควิด 19 ได้

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/456053459346317


(ศปก.สธ.) การปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรค
สำหรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร จากทวีปแอฟริกา
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1821730828013128&id=470988516420706


สธ. ยืนยัน ขณะนี้ยังไม่พบโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" ในไทย

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยถึงกรณีเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ชื่อว่า โอไมครอน (Omicron) พบเมื่อกลางเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา เป็นสายพันธุ์ที่น่าห่วงกังวล ขณะนี้ WHO ขอความร่วมมือทุกประเทศช่วยกันตรวจสายพันธุ์นี้ เพื่อทราบข้อมูลสถานการณ์การระบาดอย่างใกล้ชิด

ยืนยันว่า จากระบบการเฝ้าระวังสายพันธุ์ทางห้องปฏิบัติการฯ ยังไม่พบสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์เดลตา ส่วนอัลฟาและเบตาพบบ้างเล็กน้อย

สำหรับการตรวจไวรัสสายพันธุ์นี้ด้วยวิธีมาตรฐาน RT-PCR หรือการคัดกรองด้วย ATK ยังตรวจได้เหมือนสายพันธุ์อื่น

ขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุขได้ประสานกับ รพ. ที่เป็นคู่สัญญาของ ASQ ว่าเมื่อตรวจพบเชื้อโควิด-19 จากตัวอย่างของผู้เดินทางเข้าประเทศ ให้ส่งตัวอย่างมาตรวจสายพันธุ์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ทุกราย เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ส่วนข้อควรปฏิบัติของประชาชน ยังจำเป็นต้องป้องกันตนเองอย่างต่อเนื่อง เว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เมื่อมีอาการสงสัยให้รีบตรวจหาเชื้อ และที่สำคัญประชาชนที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ควรเข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในเกิดขึ้นโดยเร็ว
https://web.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/1307250109740792
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่