JJNY : ติดเชื้อ10,064 เสียชีวิต82│โควิด4จว.ใต้แซงกท.-ปริมณฑล│อุตุฯ เตือนมรสุมถล่ม46จว.│กรุงศรี ชี้ฟื้นตัวศก.ยังไม่แน่นอน

เกินหมื่นอีก! ติดเชื้อใหม่ 10,064ราย หายป่วย 10,988 ราย เสียชีวิต 82
https://www.dailynews.co.th/news/369507/
 
 
ยอด 'โควิด-19' วันนี้ พบเสียชีวิตเพิ่มอีก 82 ราย ขณะที่พบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มอีก 10,064 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,711,565ราย 
 
สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 13 ต.ค 64 พบผู้ติดเชื้อโควิด 10,064 ราย แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 9,946 ราย จากเรือนจำที่ต้องขัง 118 ราย หายป่วยกลับบ้าน 10,988 ราย หายป่วยสะสม 1,587,917 ราย กำลังรักษา 107,168
 
โดยวันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 82 ราย ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว17,917ราย
  

 
ติดเชื้อโควิด 4 จังหวัดใต้แซงหน้า 6 จังหวัด กรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล
https://www.thansettakij.com/general-news/499514

รายงานข่าวระบุว่า น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
 
4 จังหวัดภาคใต้ ติดโควิดเพิ่ม จนแซงหน้า 6 จังหวัดกรุงเทพฯและปริมณฑลเรียบร้อยแล้ว
 
หมอเฉลิมชัย ระบุว่า จากสถานการณ์โควิดระบาดระลอกที่ 3 ของประเทศไทย ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ 1 เมษายน 2564 โดยการติดเชื้อเป็นจำนวนมาก เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑล อันประกอบด้วย นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร รวม 6 จังหวัด
โดยในช่วงที่เป็นจุดสูงสุดของการติดเชื้อระลอกนี้ในกลางเดือนสิงหาคมนั้น
 
กรุงเทพและปริมณฑล มีผู้ติดเชื้อมากกว่าวันละ 10,000 คน และในปัจจุบันได้ลดลงมาเหลือ 1978 คน(กราฟเส้นสีน้ำเงิน)
ในขณะที่ในกลุ่มต่างจังหวัด ซึ่งเคยติดเชื้อรวมมากกว่าวันละ 10,000 คนเช่นกัน ก็ได้ลดลงมา แต่ช้ากว่ากรุงเทพฯและปริมณฑล เหลือวันละ 5000 คน (กราฟเส้นสีเขียว)
 
ในขณะที่กราฟเส้นสีส้ม แสดง 4 จังหวัดภาคใต้ จะเห็นการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อ
 
      จำนวนผู้ป่วย-ผู้ติดเชื้อโควิดในชุมชน
 
โดยตัวเลขล่าสุด มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 1999 คน มากกว่ากรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งติดเชื้อเพียง 1978 คน ในขณะที่ 67 จังหวัดที่เหลือติดเชื้อเพิ่ม 5254 คน
ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมของกรุงเทพฯและปริมณฑลน้อยกว่าในต่างจังหวัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
และถ้าดู 10 อันดับสูงสุด (Top Ten) ของผู้ติดเชื้อเพิ่มรายวัน จะพบว่า 4 จังหวัดภาคใต้ติดอยู่ในอันดับTop Ten ทั้งหมด คือ
ปัตตานี อันดับที่สอง 566 คน
ยะลา อันดับที่สี่ 493 คน
นราธิวาส อันดับที่ห้า 473 คน 
สงขลา อันดับที่หก 467 คน
ในขณะที่กรุงเทพฯและปริมณฑลติดอันดับ Top Ten เพียงสองจังหวัดคือ
กรุงเทพฯ อันดับหนึ่ง 1170 คน 
สมุทรปราการ อันดับเจ็ด 425 คน
 
      สถานการณ์การติดเชื้อตามพื้นที่
 
ซึ่งปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้การติดเชื้อในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จนต่ำกว่า 4 จังหวัดภาคใต้คือ จำนวนของการฉีดวัคซีน
ซึ่งจากตัวเลขสถิติ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2564
กรุงเทพฯและปริมณฑลฉีดวัคซีน เข็มหนึ่ง 80.4%  เข็มสอง 47.5%
ในขณะที่ต่างจังหวัดฉีดวัคซีน เข็มหนึ่ง 37.3%  เข็มสอง 24.7%
 
      ข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด
 
อย่างไรก็ตามเมื่อดูในรายจังหวัด พบว่า
ยะลาฉีดวัคซีน เข็มหนึ่ง 46.8% เข็มสอง 29.0% 
สงขลาฉีดวัคซีน เข็มหนึ่ง 43.1% เข็มสอง 29.2%
จะเห็นได้ว่าปริมาณการฉีดวัคซีนของจังหวัดภาคใต้ ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของต่างจังหวัดที่เหลือ
จึงคงไม่ใช่ปัจจัยวัคซีนแต่เพียงอย่างเดียว เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น ในต่างจังหวัดอีก 67 จังหวัด ซึ่งฉีดวัคซีนน้อยกว่า 4 จังหวัดภาคใต้ ก็ควรจะมีอัตราเพิ่มผู้ติดเชื้อมากกว่า
 
จึงคาดว่าปัจจัยที่อาจจะทำให้ 4 จังหวัดภาคใต้มีการติดเชื้อสูงก็คือ
เรื่องวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ที่คนใน 4 จังหวัดภาคใต้ มักจะมีกิจกรรมร่วมกัน ที่มีการรวมกลุ่มขนาดใหญ่กันเป็นประจำ และมักจะไม่สามารถรักษาระยะห่างทางสังคมได้ และมีจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้ใส่หน้ากากในระหว่างทำกิจกรรม
 
ดังนั้น นอกจากการเร่งระดมฉีดวัคซีนใน 4 จังหวัดภาคใต้ เพื่อควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อแล้ว
 
ยังจะต้องเร่งทำความเข้าใจ เกี่ยวกับวินัยในการป้องกันตนเอง ทั้งในเรื่องการใส่หน้ากากอนามัย ในเรื่องการรักษาระยะห่างสังคม ของประชาชนในจังหวัดภาคใต้ด้วย
 
สำหรับสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 (covid-19) ในประเทศไทย วันที่ 13 ตุลาคม 64 นั้น "ฐานเศรษฐกิจ" ติดตามข้อมูลจากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค. พบว่า ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นรวม 10,064 ราย มาจาก ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 9,946 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 118 ราย ผู้ป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 เม.ย.64) 1,711,565 ราย  เสียชีวิตเพิ่ม 82 ราย หายป่วย 10,988 ราย กำลังรักษา 107,168 ราย หายป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 เม.ย.64) 1,587,917 ราย 
 
https://www.blockdit.com/posts/6165859f46ce0d1270033f3b
 

 
สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุฯ เตือนมรสุมถล่ม46จว. ฝนตกหนักร้อยละ80
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6674010

สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุฯ เตือนมรสุมพัดถล่ม 46 จังหวัด อีสาน-ตะวันออก ฝนตกหนักร้อยละ 80 ของพื้นที่ ระวังอันตราย เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าหลาก
 
วันที่ 13 ต.ค.2564 กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เข้าสู่พายุโซนร้อนกำลังแรง “คมปาซุ” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย
ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกหนักมากบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคตะวันออก และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้ไว้ด้วย
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้
อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง “คมปาซุ” มีศูนย์กลางอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน และขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 13-14 ต.ค. 64 และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ ส่วนฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในช่วงของฤดูฝนการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันมีน้อย
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06.00 น.วันนี้ ถึงเวลา 06.00 น.วันพรุ่งนี้
 
ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

  
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
บริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
 
ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
 
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
 
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่