ในกระทู้นี้ ขอความร่วมมืองดวิจารณ์การเมือง และศาสนานะคะ
รพ. สนามราชพิพัฒน์1 จากเดิมที่รองรับเฉพาะผู้ป่วยสีเขียว ได้ปรับพื้นที่อาคารเดิมให้รองรับผู้ป่วยสีเหลือง 150 เตียง และสร้างอาคารห้องความดันลบ รองรับผู้ป่วยสีแดงอีก 40 เตียง ซึ่งเปิด 10 ก.ค.
รพ.สนามกองทัพบก มทบ. 11 และ รพ. ธนบุรี ปรับพื้นที่จากที่เคยรองรับผู้ป่วยสีเขียว มารองรับทั้งผู้ป่วยสีเหลือง 200 เตียง และแดง 55 เตียง เปิดวันที่ 2 ก.ค.
การเปิด รพ. สนามรองรับผู้ป่วยเหลืองและแดงที่ รพ.สนามราชพิพัฒน์ 1 และที่ รพ.สนามกองทัพบก มทบ.11 สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว เพราะได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์และบุคลากรจากโรงพยาบาลในเครือธนบุรี
โรงพยาบาลสนามสำหรับกลุ่มเปราะบาง มณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ. 11)
ซึ่งเป็นศูนย์พักคอย (Community Isolation – CI) ขนาด 200 เตียง สำหรับกลุ่มเปราะบางที่เป็นผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว ที่มีอาการไม่มาก

โรงพยาบาลสนาม มทบ.11 ซึ่งได้มีการเปิดเฟส 1 154 เตียง และรับผู้ป่วยเต็มแล้ว ขณะนี้ เราตัดสินใจเปิดเฟส 2 152 เตียง ดังนั้น รวมกันทั้ง 2 เฟส จะมีทั้งสิ้น 306 เตียง
โดยในเฟส 2 จะมีความพร้อมทั้งห้องความดันลบ แต่ยูนิตจะมีมอนิเตอร์และวงจรปิด และมีที่เอ็กซเรย์แยกส่วน
ถาม-ตอบ
หลายคนถามกันเยอะค่ะ รวมทั้งตัวเราเองที่ก่อนหน้านี้เข้าใจผิดเวลาเห็นเบอร์โทรโรงแรมแล้วอยากจอง Hospitel
-ขั้นตอนที่ถูกต้องคือ ติดต่อร.พ.ที่สะดวกก่อนค่ะ พบแพทย์ แล้วให้แพทย์แนะนำ ส่งตัวนะคะ
-ไม่ต้องตื่นตระหนกเตียงเต็ม หรือค่าค้างคืน hospitel แพงนะคะ แม้คนไม่มีประกัน
ร.พ.เอกชน บางแห่งอาจจะมีเก็บค่าใช้จ่ายบางส่วนในการรักษาตัวในร.พ.แม่ค่ะ
Hospitel และร.พ. สนาม เสียเงินยังไง แพงแค่ไหน?
สปสช.ย้ำตรวจรักษาโควิด-19 ผู้ป่วยทุกสิทธิรักษาได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐ-เอกชนไม่เสียค่าใช้จ่าย รัฐบาลรับผิดชอบค่ารักษาส่วนนี้ให้
โรงพยาบาลห้ามเรียกเก็บเงินเพิ่มจากผู้ป่วย ยืนยันสิทธิประโยชน์ครอบคลุมทุกกรณี ทั้งค่ายา ค่ารถส่งต่อ ค่าตรวจแล็บ ชุด PEE ห้องความดันลบ รพ.สนาม hospitel นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การดูแลประชาชนด้านการรักษาพยาบาลและการตรวจโควิด-19 หรือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นั้น ขอให้มั่นใจว่า รัฐบาลมีนโยบายดูแลคนไทยทุกคนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
โรงพยาบาลห้ามเรียกเก็บเงินจากผู้ป่วยในทุกสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นกรณีสงสัยว่าติดเชื้อและกรณีที่ติดเชื้อแล้ว และไม่มีคำว่าเรียกเก็บส่วนที่เกินจากที่รัฐบาลจ่ายให้ เพราะรัฐบาลจ่ายให้ครอบคลุมในทุกกรณีแล้ว
อ่านเพิ่มได้ในเว็บของ สปสช
https://www.nhso.go.th/news/3069
















ระยะเวลาการกักตัวใน Hospitel?
10 วัน หากเป็นสายพันธุ์ธรรมดา
เชื้อกลายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์อังกฤษ บราซิล แอฟริกาใต้ ต้องกักตัวจนครบ 14 วัน
Hospitel คืออะไร?
Hospitel มาจากคำว่า Hospital (โรงพยาบาล) + Hotel (โรงแรม) หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ
-
ผู้ป่วยต้องเข้ารับการสังเกตอาการด้วยการเอกซเรย์ปอดก่อน
- เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการ
รักษาในโรงพยาบาลมาแล้วไม่น้อยกว่า 5-7 วัน และมีผลภาพถ่ายรังสีปอดคงที่
- ผู้ป่วยยินดีให้ความร่วมมือ สามารถสื่อสารได้รู้เรื่อง ดูแลตนเองได้ดี ไม่ก้าวร้าว และไม่มีความเสี่ยงทางจิตเวช
- ผู้ป่วยไม่มีไข้ กรณีมีโรคประจำตัว ต้องควบคุมอาการได้ดี
- ต้องจัดยาให้พร้อม สำหรับให้ผู้ป่วยรับประทานด้วยตัวเองจนครบตามแผนการรักษาของแพทย์
- โรงพยาบาลต้นทางต้องยินดีรับผู้ป่วยกลับเข้ารักษาที่โรงพยาบาล หากผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง
-มีห้องปฏิบัติการตรวจพื้นฐาน (CBC)
เริ่มต้น ด้วยการส่องร.พ.ใหม่ๆ กันค่ะ นอกจากร.พ.ของ ทอ. ที่ดอนเมือง (
https://pantip.com/topic/40907201) ภายใต้การดูแลของทีมบุคลากรทางการแพทย์ BDMS แล้วเรายังมีร.พ. อะไรอีกบ้าง ใกล้บ้านใครกันบ้าง
ข้อมูลตามรูป 1-4 ต่อไปนี้มาจากวงใน อัพเดตเมื่อ กลางเดือน ก.ค. ที่ผ่านมาค่ะ

สามารถดูข้อมูลการติดต่อร.พ.เพิ่มเติม ที่อัพเดตใหม่ๆ สีเขียว ได้ที่
https://www.wongnai.com/articles/covid-19-hospitel













หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ ร.พ.สนาม และ ศูนย์พักคอย เหมือนกันไหม?
ร.พ.สนาม
-มีบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลอยู่ประจำและต่อเนื่อง
-เพื่อรับรองผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา เป็นการเตรียมความพร้อมของระบบบริการและควบคุมป้องกันการติดเชื้อ
-ผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ มีอาการไม่รุนแรง ได้รับการ
รักษาในโรงพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 7 วัน
ข้อปฏิบัติในการเข้าพัก หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ ร.พ.สนาม และ ศูนย์พักคอย ?
-เตรียมของใช้ส่วนตัวมาเอง เช่น ช้อนส้อม แปรงสีฟัน สบู่ ยาสระผม ผ้าเช็ดตัว และเสื้อผ้าตามเหมาะสม (บางร.พ. อาจมีชุดให้)
-ห้ามนำเข้ามาในที่พัก เช่น อุปกรณ์การเล่นการพนัน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ สารเสพติด อาวุธ และของมีคม
-ห้ามนำเครื่องดื่มและอาหารทุกชนิดเข้ามาในที่พัก โรงพยาบาลสนามมีการเตรียมอาหารที่เพียงพอให้ครบทั้ง 3 มื้อ
-ไม่ควรนำของมีค่าติดตัวมาด้วย
-ให้พักในอาคารตลอดเวลา และไม่ให้ออกจากที่พักยกเว้นในบริเวณที่มีการกำหนดไว้ให้
-ห้ามย้าย สลับ หรือแลกเตียง
-สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
-งดทานอาหารร่วมกัน รวมถึงการพูดคุยระยะใกล้ชิด หรือการจับกลุ่มทำกิจกรรม
-รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลทันที หากมีอาการเปลี่ยนแปลงจากเดิม เช่น มีไข้สูง ไอมากขึ้น
ปัญหาที่พบใน Hospitel และร.พ.สนาม ที่คนกำลังจะได้ไปอาจต้องเตรียมใจ?
-การรอคิวตรวจปอด ที่ยาวนานมาก
-อาหารอาจจะไม่ถูกปาก ไม่ว่าจะเป็นรสชาติ ความหลากหลายของเมนู ซึ่งมาตรฐานของแต่ละแห่งอาจต่างกันชัดเจน
ทั้งนี้อยากให้ใจเย็นและใช้ความอดทนกันนิดนึง เนื่องจากบุคลากรต่างๆ มีจำนวนจำกัดและทำงานกันหนักมากแล้ว เพื่อรองรับผู้ป่วยจำนวนมาก















ทางที่ดีที่สุด อยากให้ระวังให้ดี จะได้ไม่ติดนะ
สงสัยอะไรพิมพ์ถามได้ เดี๋ยวจะพยายามหาคำตอบให้ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก:
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2873736
https://www.wongnai.com/articles/covid-19-hospitel
https://workpointtoday.com/bangkokcovid/
https://www.nhso.go.th/news/3069
อัพเดตร.พ.สนามและ hospitel ที่เปิดใหม่ ก.ค.-ส.ค. 64 นี้ พร้อมไขข้อข้องใจพื้นฐานการใช้บริการที่ทุกคนควรรู้
รพ.สนามกองทัพบก มทบ. 11 และ รพ. ธนบุรี ปรับพื้นที่จากที่เคยรองรับผู้ป่วยสีเขียว มารองรับทั้งผู้ป่วยสีเหลือง 200 เตียง และแดง 55 เตียง เปิดวันที่ 2 ก.ค.
การเปิด รพ. สนามรองรับผู้ป่วยเหลืองและแดงที่ รพ.สนามราชพิพัฒน์ 1 และที่ รพ.สนามกองทัพบก มทบ.11 สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว เพราะได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์และบุคลากรจากโรงพยาบาลในเครือธนบุรี
โรงพยาบาลสนามสำหรับกลุ่มเปราะบาง มณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ. 11)
ซึ่งเป็นศูนย์พักคอย (Community Isolation – CI) ขนาด 200 เตียง สำหรับกลุ่มเปราะบางที่เป็นผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว ที่มีอาการไม่มาก
โรงพยาบาลสนาม มทบ.11 ซึ่งได้มีการเปิดเฟส 1 154 เตียง และรับผู้ป่วยเต็มแล้ว ขณะนี้ เราตัดสินใจเปิดเฟส 2 152 เตียง ดังนั้น รวมกันทั้ง 2 เฟส จะมีทั้งสิ้น 306 เตียง โดยในเฟส 2 จะมีความพร้อมทั้งห้องความดันลบ แต่ยูนิตจะมีมอนิเตอร์และวงจรปิด และมีที่เอ็กซเรย์แยกส่วน
-ขั้นตอนที่ถูกต้องคือ ติดต่อร.พ.ที่สะดวกก่อนค่ะ พบแพทย์ แล้วให้แพทย์แนะนำ ส่งตัวนะคะ
-ไม่ต้องตื่นตระหนกเตียงเต็ม หรือค่าค้างคืน hospitel แพงนะคะ แม้คนไม่มีประกัน
ร.พ.เอกชน บางแห่งอาจจะมีเก็บค่าใช้จ่ายบางส่วนในการรักษาตัวในร.พ.แม่ค่ะ
Hospitel และร.พ. สนาม เสียเงินยังไง แพงแค่ไหน?
สปสช.ย้ำตรวจรักษาโควิด-19 ผู้ป่วยทุกสิทธิรักษาได้ทั้งโรงพยาบาลรัฐ-เอกชนไม่เสียค่าใช้จ่าย รัฐบาลรับผิดชอบค่ารักษาส่วนนี้ให้
โรงพยาบาลห้ามเรียกเก็บเงินเพิ่มจากผู้ป่วย ยืนยันสิทธิประโยชน์ครอบคลุมทุกกรณี ทั้งค่ายา ค่ารถส่งต่อ ค่าตรวจแล็บ ชุด PEE ห้องความดันลบ รพ.สนาม hospitel นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การดูแลประชาชนด้านการรักษาพยาบาลและการตรวจโควิด-19 หรือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 นั้น ขอให้มั่นใจว่า รัฐบาลมีนโยบายดูแลคนไทยทุกคนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
โรงพยาบาลห้ามเรียกเก็บเงินจากผู้ป่วยในทุกสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นกรณีสงสัยว่าติดเชื้อและกรณีที่ติดเชื้อแล้ว และไม่มีคำว่าเรียกเก็บส่วนที่เกินจากที่รัฐบาลจ่ายให้ เพราะรัฐบาลจ่ายให้ครอบคลุมในทุกกรณีแล้ว
อ่านเพิ่มได้ในเว็บของ สปสช https://www.nhso.go.th/news/3069
ระยะเวลาการกักตัวใน Hospitel?
10 วัน หากเป็นสายพันธุ์ธรรมดา
เชื้อกลายพันธุ์ เช่น สายพันธุ์อังกฤษ บราซิล แอฟริกาใต้ ต้องกักตัวจนครบ 14 วัน
Hospitel คืออะไร?
Hospitel มาจากคำว่า Hospital (โรงพยาบาล) + Hotel (โรงแรม) หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ
-ผู้ป่วยต้องเข้ารับการสังเกตอาการด้วยการเอกซเรย์ปอดก่อน
- เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมาแล้วไม่น้อยกว่า 5-7 วัน และมีผลภาพถ่ายรังสีปอดคงที่
- ผู้ป่วยยินดีให้ความร่วมมือ สามารถสื่อสารได้รู้เรื่อง ดูแลตนเองได้ดี ไม่ก้าวร้าว และไม่มีความเสี่ยงทางจิตเวช
- ผู้ป่วยไม่มีไข้ กรณีมีโรคประจำตัว ต้องควบคุมอาการได้ดี
- ต้องจัดยาให้พร้อม สำหรับให้ผู้ป่วยรับประทานด้วยตัวเองจนครบตามแผนการรักษาของแพทย์
- โรงพยาบาลต้นทางต้องยินดีรับผู้ป่วยกลับเข้ารักษาที่โรงพยาบาล หากผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง
-มีห้องปฏิบัติการตรวจพื้นฐาน (CBC)
เริ่มต้น ด้วยการส่องร.พ.ใหม่ๆ กันค่ะ นอกจากร.พ.ของ ทอ. ที่ดอนเมือง (https://pantip.com/topic/40907201) ภายใต้การดูแลของทีมบุคลากรทางการแพทย์ BDMS แล้วเรายังมีร.พ. อะไรอีกบ้าง ใกล้บ้านใครกันบ้าง
ข้อมูลตามรูป 1-4 ต่อไปนี้มาจากวงใน อัพเดตเมื่อ กลางเดือน ก.ค. ที่ผ่านมาค่ะ
สามารถดูข้อมูลการติดต่อร.พ.เพิ่มเติม ที่อัพเดตใหม่ๆ สีเขียว ได้ที่ https://www.wongnai.com/articles/covid-19-hospitel
หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ ร.พ.สนาม และ ศูนย์พักคอย เหมือนกันไหม?
ร.พ.สนาม
-มีบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลอยู่ประจำและต่อเนื่อง
-เพื่อรับรองผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา เป็นการเตรียมความพร้อมของระบบบริการและควบคุมป้องกันการติดเชื้อ
-ผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ มีอาการไม่รุนแรง ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 7 วัน
ข้อปฏิบัติในการเข้าพัก หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ ร.พ.สนาม และ ศูนย์พักคอย ?
-เตรียมของใช้ส่วนตัวมาเอง เช่น ช้อนส้อม แปรงสีฟัน สบู่ ยาสระผม ผ้าเช็ดตัว และเสื้อผ้าตามเหมาะสม (บางร.พ. อาจมีชุดให้)
-ห้ามนำเข้ามาในที่พัก เช่น อุปกรณ์การเล่นการพนัน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ สารเสพติด อาวุธ และของมีคม
-ห้ามนำเครื่องดื่มและอาหารทุกชนิดเข้ามาในที่พัก โรงพยาบาลสนามมีการเตรียมอาหารที่เพียงพอให้ครบทั้ง 3 มื้อ
-ไม่ควรนำของมีค่าติดตัวมาด้วย
-ให้พักในอาคารตลอดเวลา และไม่ให้ออกจากที่พักยกเว้นในบริเวณที่มีการกำหนดไว้ให้
-ห้ามย้าย สลับ หรือแลกเตียง
-สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
-งดทานอาหารร่วมกัน รวมถึงการพูดคุยระยะใกล้ชิด หรือการจับกลุ่มทำกิจกรรม
-รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลทันที หากมีอาการเปลี่ยนแปลงจากเดิม เช่น มีไข้สูง ไอมากขึ้น
ปัญหาที่พบใน Hospitel และร.พ.สนาม ที่คนกำลังจะได้ไปอาจต้องเตรียมใจ?
-การรอคิวตรวจปอด ที่ยาวนานมาก
-อาหารอาจจะไม่ถูกปาก ไม่ว่าจะเป็นรสชาติ ความหลากหลายของเมนู ซึ่งมาตรฐานของแต่ละแห่งอาจต่างกันชัดเจน
ทั้งนี้อยากให้ใจเย็นและใช้ความอดทนกันนิดนึง เนื่องจากบุคลากรต่างๆ มีจำนวนจำกัดและทำงานกันหนักมากแล้ว เพื่อรองรับผู้ป่วยจำนวนมาก
ทางที่ดีที่สุด อยากให้ระวังให้ดี จะได้ไม่ติดนะ
สงสัยอะไรพิมพ์ถามได้ เดี๋ยวจะพยายามหาคำตอบให้ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก:
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2873736
https://www.wongnai.com/articles/covid-19-hospitel
https://workpointtoday.com/bangkokcovid/
https://www.nhso.go.th/news/3069