คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
ขออนุญาตช่วยอธิบายให้นะครับ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) คือ สิ่งที่กฎหมายกำหนดว่าอะไรที่บุคคลจะต้องปฏิบัติและอะไรที่ต้อมห้าม ผลของการกระทำต่าง ๆ รวมถึงหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ ซึ่งเป็นมาตราห้วน ๆ ไม่ได้มีอธิบายหลักเกณฑ์หรือฟังก์ชันการใช้งานแต่ละมาตราไว้
ยกตัวอย่างเช่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ทีนี้พอมาอ่านตัวอย่างข้างบนในมาตรา 15 คำว่า
"คลอด" หมายความว่าอย่างไร
"อยู่รอดเป็นทารก" หมายความว่าอย่างไร
"ตาย" หมายความว่าอย่างไร
เช่นนี้เราต้องไปเปิดในตำราคำอธิบายต่าง ๆ ที่เหล่าอาจารย์ทั้งหลายเขียนไว้ ซึ่งเป็นหนังสือแยกต่างหากจากประมวลกฎหมายแพ่งฯ มักจะตั้งชื่อหนังสือว่า "คำอธิบายกฎหมาย ..... " ครับ เช่น นิติกรรมสัญญา ซื้อขาย หนี้ ตั๋วเงิน ครอบครัว มรดก เป็นต้น
ส่วน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ป.วิ.พ.) เมื่อบุคคลทั้งหลายเกิดปัญหาทางกฎหมายซึ่งมีบางกรณีที่ต้องให้ศาลมาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ให้ หรือบางกรณีกฎหมายบังคับว่าต้องมีคำสั่งของศาลก่อนจึงจะดำเนินการได้ เช่นนี้ บุคคลเหล่านั้นก็ต้องมาสู่ศาลเพื่อให้ศาลช่วยตัดสิน หรือช่วยมีคำสั่งให้ เพื่อที่เขาเหล่านั้นจะได้รับการแก้ปัญหา ซึ่งกระบวนการในชั้นศาลตั้งแต่การยื่นคำร้อง/คำฟ้องต่อศาล การนัดสืบพยาน การทำคำพิพากษา ทั้กระบวนการในศาลเหล่านี้จะถูกเขียนไว้ใน ป.วิ.พ. เพื่อให้ศาลและคู่ความดำเนินการไปตามกฎหมาย จะข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไปไม่ได้ มิฉะนั้นจะถูก มาตรา 27 [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ขัดขาไว้ว่าคุณกำลังทำผิด/ข้ามขั้นตอนตามที่กฎหมายเขียนไว้ พูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นกฎหมายที่ควบคุมการพิจารณาในศาลให้เป็นไปโดยเรียบร้อย ยุติธรรมต่อคู่ความ ให้สิทธิและหน้าที่คู่ความจะยื่น จะอุทธรณ์ จะร้องขอหรือคัดค้านได้เต็มที่ในกรอบของกฎหมายครับ
เท่าที่ตอบมาถึงตรงนี้ก็คเห็นภาพแล้วว่า แพ่ง วิแพ่ง และคำอธิบายกฎหมาย ต่างกันอย่างไร
- ส่วนเรื่องที่จะอ่านเอกชนหรือมหาชน อันนี้น่าจะขึ้นกับความสนใจหรือความจำเป็นต้องอ่านนะครับ เพราะเนื้อหาและทฤษฎีต่าง ๆ ไม่ได้ยึดโยงกันเลย ถ้าไม่ได้ติดว่าจะต้องสอบก็ควรเลือกอ่านที่เราชอบดีกว่าครับ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) คือ สิ่งที่กฎหมายกำหนดว่าอะไรที่บุคคลจะต้องปฏิบัติและอะไรที่ต้อมห้าม ผลของการกระทำต่าง ๆ รวมถึงหลักเกณฑ์ทางกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ ซึ่งเป็นมาตราห้วน ๆ ไม่ได้มีอธิบายหลักเกณฑ์หรือฟังก์ชันการใช้งานแต่ละมาตราไว้
ยกตัวอย่างเช่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ทีนี้พอมาอ่านตัวอย่างข้างบนในมาตรา 15 คำว่า
"คลอด" หมายความว่าอย่างไร
"อยู่รอดเป็นทารก" หมายความว่าอย่างไร
"ตาย" หมายความว่าอย่างไร
เช่นนี้เราต้องไปเปิดในตำราคำอธิบายต่าง ๆ ที่เหล่าอาจารย์ทั้งหลายเขียนไว้ ซึ่งเป็นหนังสือแยกต่างหากจากประมวลกฎหมายแพ่งฯ มักจะตั้งชื่อหนังสือว่า "คำอธิบายกฎหมาย ..... " ครับ เช่น นิติกรรมสัญญา ซื้อขาย หนี้ ตั๋วเงิน ครอบครัว มรดก เป็นต้น
ส่วน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ป.วิ.พ.) เมื่อบุคคลทั้งหลายเกิดปัญหาทางกฎหมายซึ่งมีบางกรณีที่ต้องให้ศาลมาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ให้ หรือบางกรณีกฎหมายบังคับว่าต้องมีคำสั่งของศาลก่อนจึงจะดำเนินการได้ เช่นนี้ บุคคลเหล่านั้นก็ต้องมาสู่ศาลเพื่อให้ศาลช่วยตัดสิน หรือช่วยมีคำสั่งให้ เพื่อที่เขาเหล่านั้นจะได้รับการแก้ปัญหา ซึ่งกระบวนการในชั้นศาลตั้งแต่การยื่นคำร้อง/คำฟ้องต่อศาล การนัดสืบพยาน การทำคำพิพากษา ทั้กระบวนการในศาลเหล่านี้จะถูกเขียนไว้ใน ป.วิ.พ. เพื่อให้ศาลและคู่ความดำเนินการไปตามกฎหมาย จะข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไปไม่ได้ มิฉะนั้นจะถูก มาตรา 27 [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ขัดขาไว้ว่าคุณกำลังทำผิด/ข้ามขั้นตอนตามที่กฎหมายเขียนไว้ พูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นกฎหมายที่ควบคุมการพิจารณาในศาลให้เป็นไปโดยเรียบร้อย ยุติธรรมต่อคู่ความ ให้สิทธิและหน้าที่คู่ความจะยื่น จะอุทธรณ์ จะร้องขอหรือคัดค้านได้เต็มที่ในกรอบของกฎหมายครับ
เท่าที่ตอบมาถึงตรงนี้ก็คเห็นภาพแล้วว่า แพ่ง วิแพ่ง และคำอธิบายกฎหมาย ต่างกันอย่างไร
- ส่วนเรื่องที่จะอ่านเอกชนหรือมหาชน อันนี้น่าจะขึ้นกับความสนใจหรือความจำเป็นต้องอ่านนะครับ เพราะเนื้อหาและทฤษฎีต่าง ๆ ไม่ได้ยึดโยงกันเลย ถ้าไม่ได้ติดว่าจะต้องสอบก็ควรเลือกอ่านที่เราชอบดีกว่าครับ
แสดงความคิดเห็น
ประมวลกฎหมายแพ่งกับวิธีพิจารณาความแพ่ง ควรอ่านเล่มไหนก่อนครับ
หรือผมควรจะเริ่มอ่านกฎหมายเอกชนกับมหาชน เพื่อเข้าใจภาพรวมกว้างๆก่อนดีครับ
ขอบอกก่อนว่าผมไม่ได้เรียนเกี่ยวกับกฎหมายมีอะไรอยากแนะนำสามารถแนะนำผมได้เลยยินดีมากๆครับ
ถ้าผมตั้งคำถามงงๆต้องขออภัยด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบครับ